พระเจ้าดวงทิพย์
พระเจ้าดวงทิพย์ (ไทยถิ่นเหนือ: ; พ.ศ. 2291 - 2369) เจ้าผู้ครองนครลำปาง[1] สืบต่อจากพระเจ้าคำโสมผู้เป็นพระเชษฐา ครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ.2337 - 2369 ซึ่งพระองค์ทรงเป็นเจ้าราชบุตรองค์ที่ 4 ของเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเป็น "พระเจ้าประเทศราช" องค์ที่ 2 (13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2366 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2369) ในสมัยรัชกาลที่ 3
พระเจ้าดวงทิพย์ | |
---|---|
พระเจ้าหอคำดวงทิพย์ | |
เจ้าผู้ครองนครลำปาง | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2337 - 2369 |
รัชสมัย | 31 ปี |
ก่อนหน้า | พระยาคำโสม |
ถัดไป | พระยาไชยวงศ์ |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
อุปราช | พระยาอุปราชหมูล่า |
พระยาอุปราชนครลำปาง | |
ดำรงพระยศ | พ.ศ. 2329 - 2337 |
ถัดไป | พระยาอุปราชหมูล่า |
เจ้าหลวง | พระยาคำโสม |
ประสูติ | พ.ศ. 2291 |
พิราลัย | พ.ศ. 2369 (78 ปี) |
ราชเทวี |
|
พระบุตร |
|
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
ราชสกุล | ณ ลำปาง |
พระบิดา | เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว |
พระมารดา | แม่เจ้าจันทาราชเทวี |
ศาสนา | เถรวาท |
พระเจ้าดวงทิพย์ หรือ "พระเจ้านครลำปางดวงทิพ" ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระเจ้าประเทศราช พระองค์ที่ 2 ถัดจากพระบรมราชาธิบดีฯ[2]
พระประวัติ
แก้พระเจ้าดวงทิพย์ เป็นพระอนุชาของพระเจ้ากาวิละ มีพระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐา รวม 10 พระองค์ โดยเจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน" มีพระนามตามลำดับ ดังนี้[3]
- พระเจ้ากาวิละ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 (นับเป็น "พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 3" ใน "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ")
- พระยาคำโสม พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4
- พระยาธรรมลังกา พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2
- พระเจ้าดวงทิพย์ พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 5
- เจ้าศรีอโนชาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
- เจ้าหญิงสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
- พระยาอุปราชหมูล่า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง
- พระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1
- เจ้าหญิงสรีบุญทัน (พิราลัยแต่เยาว์)
- พระเจ้าบุญมาเมือง พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2
ในปี พ.ศ. 2317 พระยาดวงทิพย์ ได้รับพระราชทานอาชญาสิทธิ์เป็นพระยาราชวงศ์นครลำปาง[4]
พระราชกรณียกิจ
แก้พระเจ้าดวงทิพย์ เมื่อครั้งยังดำรงอิสริยยศเป็น "พระยาอุปราช" ได้ร่วมกับพระยาคำโสม พระเจ้ากาวิละ และเจ้าพี่น้อง 7 พระองค์ (เจ้าเจ็ดตน) คุมไพร่พลสมทบในราชการสงครามตีเมืองเชียงแสน ในปี พ.ศ. 2336
พ.ศ. 2337 พระยาคำโสม ป่วยถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาให้พระยาอุปราชดวงทิพย์ ขึ้นครองนครลำปาง เป็น "พระยานครลำปาง” และได้รับพระราชทานเครื่องยศเป็น "เจ้านครลำปาง" ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2366[5] จนถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2369 พระชนมายุ 78 พรรษา
ราชโอรส ราชธิดา
แก้พระเจ้าดวงทิพย์ มีพระอัครชายาคือ แม่เจ้าสุวัณณเกี๋ยงคำ ราชธิดาเจ้าฟ้าชายสามจุฬามณีสิริเมฆภูมินทร์ เจ้าฟ้านครเชียงตุง พระเจ้าดวงทิพย์ยังมีราชเทวีอีกคือ แม่เจ้าสะหลีบุญนำ ธิดาเจ้าพระยาสะหลี และแม่เจ้าบัวแก้ว ราชธิดาพระยามงคลยศประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่าน มีราชบุตร-ราชธิดา ดังนี้
- เจ้าน้อยมหาพรหม เป็นเจ้าอุปราชนครลำปาง พิราลัยปี พ.ศ. 2406 มีโอรสคือ
- เจ้าแก้วเมืองมา เป็นเจ้าราชวงศ์นครลำปาง
- เจ้าหน่อเมือง เป็นเจ้าราชวงศ์นครลำพูน
- เจ้าวงศ์ หรือเจ้าพรหมวงศ์ ต่อมาขึ้นครองนครลำปางเป็นที่ เจ้าพรหมาภิพงษธาดา
- พระยาฤทธิภิญโญยศ เจ้าหลวงเมืองงาว (เจ้าหนานมหาวงศ์) เสกสมรสกับธิดาเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 8 พระยาน้อยอินท์
- เจ้าคำหล้า พระมารดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7
ราชตระกูล
แก้พงศาวลีของพระเจ้าดวงทิพย์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ หนานอินแปง. พระราชชายา เจ้าดารารัศมี. กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค, 2546
- ↑ วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค. 2556
- ↑ คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ วรชาติ มีชูบท (2556) เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค หน้า 4
- ↑ มงคล ถูกนึก. ไทยวน คนเมือง แห่งลุ่มแม่น้ำวัง. ลำปาง : ลำปางบรรณกิจ. 2555
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
- สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) . เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
- ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .
- เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
- คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546
- นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.
ก่อนหน้า | พระเจ้าดวงทิพย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าคำโสม | เจ้าผู้ครองนครลำปาง (2337 - 2369) |
พระเจ้าไชยวงศ์ | ||
พระบรมราชาธิบดี (พระเจ้านครเชียงใหม่) |
พระเจ้าประเทศราช องค์ที่ 2 (13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2366 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2369) |
พระเจ้าบุญมา (พระเจ้านครลำพูน) |