พ.ศ. 2443
ปี
พุทธศักราช 2443 (นับแบบใหม่) ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1900 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีชวด โทศก จุลศักราช 1262 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2443 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1900 MCM |
Ab urbe condita | 2653 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1349 ԹՎ ՌՅԽԹ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6650 |
ปฏิทินบาไฮ | 56–57 |
ปฏิทินเบงกอล | 1307 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2850 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 63 Vict. 1 – 64 Vict. 1 |
พุทธศักราช | 2444 |
ปฏิทินพม่า | 1262 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7408–7409 |
ปฏิทินจีน | 己亥年 (กุนธาตุดิน) 4596 หรือ 4536 — ถึง — 庚子年 (ชวดธาตุโลหะ) 4597 หรือ 4537 |
ปฏิทินคอปติก | 1616–1617 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3066 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1892–1893 |
ปฏิทินฮีบรู | 5660–5661 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 1956–1957 |
- ศกสมวัต | 1822–1823 |
- กลียุค | 5001–5002 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11900 |
ปฏิทินอิกโบ | 900–901 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1278–1279 |
ปฏิทินอิสลาม | 1317–1318 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเมจิ 33 (明治33年) |
ปฏิทินจูเช | N/A |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 12 หรือ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4233 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | 12 ก่อน ROC 民前12年 |
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าอินทยงยศโชติ (3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2454)
- เจ้าผู้ครองนครลำปาง: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465)
- เจ้าผู้ครองนครน่าน: พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 - 5 เมษายน พ.ศ. 2461)
- เจ้าผู้ครองนครแพร่: เจ้าพิริยเทพวงษ์ (5 เมษายน พ.ศ. 2433 - 25 กันยายน พ.ศ. 2445)
- เจ้าประเทศราช:
เหตุการณ์
แก้- 18 พฤษภาคม – สหราชอาณาจักรประกาศว่าตองงาเป็นรัฐในอารักขา
- 5 มิถุนายน – สงครามโบเออร์: ทหารบริติช เข้ายึดเมืองพริทอเรีย เมืองหลวงของแอฟริกาใต้
- 2 กรกฎาคม – เรือเหาะเที่ยวบินแรก ขึ้นบินเหนือทะเลสาบคอนสแตนส์ ในประเทศเยอรมนี
- 9 กรกฎาคม – สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร พระราชทานพระบรมราชานุญาต สถาปนาเครือรัฐออสเตรเลีย รวมอาณานิคมบนทวีปออสเตรเลียให้อยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน
- 16 สิงหาคม - วันสถาปนาโรงเรียนปทุมคงคา
- 31 สิงหาคม - วางศิลาฤกษ์พระที่นั่งวิมานเมฆ
- 1 มกราคม - ออสเตรเลียเปลี่ยนสถานะจากอาณานิคมของอังกฤษเป็นประเทศในเครือจักรภพ
- 23 มกราคม - เปลี่ยนชื่อมณฑลตะวันออกเป็นมณฑลบูรพา มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมณฑลอีสาน มณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร และมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือเป็นมณฑลพายัพ
- 16 มีนาคม – เซอร์ อาร์เธอร์ อีแวนส์ ซื้อซากเมืองนอสซัสบนเกาะครีต เพื่อการขุดค้นทางโบราณคดี
- ไม่ระบุวัน - เมื่อ ร.ศ.119 (พ.ศ. 2443) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชกำเนิดโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร(โรงเรียนเบญจมบพิตรในอดีต) พระองค์ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนด้วยพระองค์เอง เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์โดยตรง ไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการสมัยนั้น
ไม่ทราบวัน
แก้- ค้นพบ ธาตุเรดอน
วันเกิด
แก้- 1 มกราคม – ชิอุเนะ ซุงิฮะระ นักการทูตชาวญี่ปุ่น (เสียชีวิต 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2529)
- 11 กุมภาพันธ์ – โจะเซ โทะดะ นายกสมาคมสร้างคุณค่า (เสียชีวิต 2 เมษายน พ.ศ. 2501)
- 21 กุมภาพันธ์ – จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศไทย (เสียชีวิตเมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530)
- 31 มีนาคม – เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์ (สิ้นพระชนม์ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2517)
- 7 เมษายน – ครูบาอภิชัย (ขาวปี) พระภิกษุสงฆ์ชาวไทย (มรณภาพ 3 มีนาคม พ.ศ. 2520)
- 9 เมษายน – แฌร์แมน กอตี สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส (เสียชีวิต 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498)
- 11 พฤษภาคม – ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีไทย (ถึงแก่อนิจกรรม 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526)
- 17 พฤษภาคม – รูฮัลลาห์ โคไมนี อดีตผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน (เสียชีวิต 3 มิถุนายน พ.ศ. 2532)
- 5 มิถุนายน – เดนนิส กาบอร์ นักประดิษฐ์และวิศวกรไฟฟ้าชาวอังกฤษเชื้อสายยิว-ฮังการี (เสียชีวิต 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522)
- 17 มิถุนายน – มนตรี ตราโมท นักดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ (เสียชีวิต 6 สิงหาคม พ.ศ. 2538)
- 25 มิถุนายน – หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า รัฐบุรุษและทหารเรือชาวอังกฤษ (เสียชีวิต 27 สิงหาคม พ.ศ. 2522)
- 29 มิถุนายน – อังตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี นักบินและนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส (เสียชีวิต 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487)
- 27 กรกฎาคม – เจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก (สิ้นพระชนม์ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2519)
- 4 สิงหาคม – สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี (สวรรคต 30 มีนาคม พ.ศ. 2545)
- 8 กันยายน – แบลนช์ คอบบ์ บุคคลที่มีอายุยืนที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 7 (เสียชีวิต 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558)
- 18 กันยายน – เสียง คำโสม บุคคลที่อายุยืนที่สุดในจังหวัดบึงกาฬ (เสียชีวิต 11 มกราคม พ.ศ. 2559)
- 22 กันยายน – หลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี) สมาชิกคณะราษฎร (เสียชีวิต 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558)
- 21 ตุลาคม – สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สวรรคต 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)
- 8 พฤศจิกายน – มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ นักประพันธ์ชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 16 สิงหาคม พ.ศ. 2492)
ไม่ทราบวันที่
แก้- เย็น แก้วมะณี หรือ ปู่เย็น เจ้าของสมญานาม "เฒ่าทระนง" แห่งลุ่มน้ำเพชรบุรี (เสียชีวิต 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551)
- บุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กในรัชกาลที่ 8 (เสียชีวิต 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498)
- ถัด พรหมมาณพ นักการเมืองชาวไทย (เสียชีวิต 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2502)
วันถึงแก่กรรม
แก้- 11 เมษายน - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ (ประสูติ 13 มกราคม พ.ศ. 2400)
- 5 มิถุนายน - โอ เฮนรี่ นักเขียนนิยายชาวอเมริกัน (เกิด ค.ศ. 1862)
- 29 กรกฎาคม - พระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 แห่งอิตาลี (พระราชสมภพ 14 มีนาคม พ.ศ. 2387)
หมายเหตุ
แก้- พ.ศ. 2443 ไม่ใช่ปีอธิกสุรธิน ถึงแม้ว่าปี ค.ศ. 1900 จะหารลงตัวด้วยเลข 4 เนื่องจากหาร 100 ลงตัว แต่หาร 400 ไม่ลงตัว ปีนี้เป็นหนึ่งในปีที่ไม่ใช่ปีอธิกสุรทินตามปฏิทินเกรกอเรียน