อารัด (ประเทศโรมาเนีย)
อารัด (โรมาเนีย: Arad; ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: aˈrad) เป็นศูนย์กลางการปกครองของเทศมณฑลอารัด ในภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ระหว่างกรีชานากับบานัต เทศบาลนครนี้ไม่มีหมู่บ้านในปกครอง อารัดเป็นนครที่ใหญ่ที่สุดอันดับสามในโรมาเนียตะวันตก รองจากตีมีชออาราและออราเดอา และถือว่าใหญ่ที่สุดอันดับที่ 12 ของประเทศ ด้วยประชากร 145,078 คน
อารัด | |
---|---|
ที่ตั้งในเทศมณฑลอารัด | |
พิกัด: 46°10′30″N 21°18′45″E / 46.17500°N 21.31250°E | |
ประเทศ | โรมาเนีย |
เทศมณฑล | อารัด |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี (2020–2024) | Călin Bibarț[1] (PNL) |
พื้นที่ | 46.18 ตร.กม. (17.83 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 117 เมตร (384 ฟุต) |
ประชากร (2011-10-31)[2] | 159,074 คน |
• ความหนาแน่น | 3,400 คน/ตร.กม. (8,900 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | EET/EEST (UTC+2/+3) |
Postal code | 31xxx |
Area code | (+40) 02 57 |
เว็บไซต์ | www |
อารัดเป็นศูนย์กลางการขนส่งเดินทางบนฝั่งแม่น้ำมูเรช และมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมหนึ่งของภูมิภาค รวมถึงยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนดนตรีแห่งแรก ๆ ของยุโรป[3][4] โรงเรียนธรรมดาแห่งแรก ๆ ของยุโรป[5] และโรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกในฮังการี และโรมาเนียในปัจจุบัน[6]
นครอารัดมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย อันเนื่องมาจากสถานะของนครที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฮังการี, ราชอาณาจักรฮังการีตะวันออก, เตเมชวาร์เอลาเยตในปกครองของออตโตมัน, รัฐทรานซิลวาเนีย, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และโรมาเนียตั้งแต่ปี 1920 จนถึงปัจจุบัน อารัดมีประชากรชาวฮังการี, เยอรมัน, ยิว, เซอร์บ, บัลกาเรีย[7] และ เช็กเกีย[8] อยู่อย่างมีนัยสำคัญตลอดช่วงต่าง ๆ ของประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 นครอารัดได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด พร้อมด้วยการก่อสร้างอาคารสถาปัตยกรรมมากมายที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน เช่น สถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิกของโรงละครโยอัน ซลาวีชี, สถาปัตยกรรมเอ็กเล็กติกของศาลาว่าการนคร และสถาปัตยกรรมนีโอกอธิกของโบสถ์แดง ล้วนแล้วแต่สร้างในสมัยดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันอารัดยังได้รับการขึ้นชื่อให้เป็นเวียนนาน้อย ด้วยงานสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่วิจิตรตระการตา
ชื่อ
แก้ชื่อของอารัดมีที่มาจาก ispán แรก ซึ่งเรียกอารัดว่า Arad มาจากภาษาฮังการี úr แปลว่า 'ลอร์ด'[9] ในสมัยขบวนการคอมมิวนิสต์แห่งชาติและขบวนการดาเกีย ชื่อ ซีรีดาวา จากชื่อของป้อมปราการเก่าแก่ ได้ถูกเสนอให้นำมาใส่ต่อท้ายชื่อเมืองเป็น "อารัด-ซีรีดาวา" (Arad-Ziridava) แบบเดียวกับที่เติมชื่อของป้อมปราการนาปอกาเข้ากับนครกลุฌ เป็นชื่อกลุฌ-นาปอกา กระนั้นข้อเสนอนี้ไม่ได้นำไปใช้[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Results of the 2020 local elections". Central Electoral Bureau. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2021.
- ↑ "Populaţia stabilă pe judeţe, municipii, oraşe şi localităti componenete la RPL_2011" (XLS). National Institute of Statistics.
- ↑ Dorin Frandeș, Spații arădene care au găzduit muzică – Pitești : Nomina 2011 ISBN 978-606-535-327-5;
- ↑ www.sysadmins.ro, SysAdmins :: 2015. "Consiliul Judetean Arad". www.cjarad.ro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-16. สืบค้นเมื่อ 11 June 2017.
- ↑ "Preparandia Română". AradCityGuide (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.
- ↑ "Prima fabrică de automobile din ţară a fost construită la Arad". adevarul.ro (ภาษาอังกฤษ). 31 March 2011. สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.
- ↑ Marco, Gabriela Adina. "Realități demografice de pe Valea Mureșului Inferior în a doua jumătate a secolului al XIX-lea și la începutul secolului al XX-lea" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-09. สืบค้นเมื่อ 23 February 2019.
- ↑ "Volumul II: Populația stabilă (rezidentă) – structura etnică și confesională". Recensământul populației și al locuințelor 2011. INSSE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2021. สืบค้นเมื่อ 23 February 2019.
- ↑ Kiss, Lajos (1988). Földrajzi nevek etimológiai szótára (ภาษาฮังการี). Akadémiai Kiadó. p. 108. ISBN 978-963-05-4568-6.
- ↑ Morar (2019). "Cîteva litere dintr-un dicționar sentimental". Dilema Veche (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 2022-10-02.