ดาวิท ฮิลเบิร์ท
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ดาวิท ฮิลเบิร์ท | |
---|---|
ดาวิท ฮิลเบิร์ท ใน ค.ศ. 1912 | |
เกิด | 23 มกราคม ค.ศ. 1862 เคอนิชส์แบร์คหรือเวเลา แคว้นปรัสเซียในราชอาณาจักรปรัสเซีย (ปัจจุบันคือคาลีนินกราดหรือซนาเมนสค์ในรัสเซีย) |
เสียชีวิต | 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 เกิททิงเงิน นาซีเยอรมนี | (81 ปี)
สัญชาติ | เยอรมัน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเคอนิชส์แบร์ค (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, ปรัชญา |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยเคอนิชส์แบร์ค มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน |
ดาวิท ฮิลเบิร์ท (เยอรมัน: David Hilbert, ออกเสียง: [ˈdaːvɪt ˈhɪlbɐt]; 23 มกราคม ค.ศ. 1862 – 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา และนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอิทธิพลอย่างสูงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แม้ว่าผลงานของเขาเองก็มากพอที่จะทำให้เขาได้รับการยกย่องนี้ แต่ความเป็นผู้นำทางด้านคณิตศาสตร์ของเขาในช่วงบั้นปลายชีวิตต่างหากที่ทำให้เขาโดดเด่นจากผู้อื่น เขาเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกิททิงเงินแทบจะทั้งชีวิตของเขา
นอกจากงานคณิตศาสตร์แล้ว เขายังมีอิทธิพลในด้านฟิสิกส์ด้วย กล่าวคือ เขาเป็นหนึ่งในผู้ให้กำเนิดทฤษฎีสัมพัทธภาพ ร่วมกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แต่ไม่ได้หมายความว่าไอน์สไตน์ลอกงานของฮิลเบิร์ท เพียงแต่ทฤษฎีของทั้งคู่มีความคล้ายคลึงกัน
ผลงานโดยสังเขป
- ปริภูมิฮิลเบิร์ท (Hilbert space) ในทางฟิสิกส์ถือว่าเป็นมิติหนึ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด
- ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 23 ข้อ
- เมทริกซ์ฮิลเบิร์ท (Hilbert matrix)
- จำนวนฮิลเบิร์ท (Hilbert number) มาจากรูปแบบ 4n+1 ได้แก่จำนวนเต็มบวก 1, 5, 9, 13, 17, 21, 25, 29, 33, 37, 41, 45, 49, 53, 57, 61, 65, 69, 73... จำนวนเหล่านี้เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า "จำนวนเฉพาะของพีทาโกรัส" หรือ "จำนวนกึ่งเฉพาะ" ซึ่งมีรูปแบบ (4a + 3) × (4b + 3)
- พหุนามฮิลเบิร์ท (Hilbert polynomial)
- ลูกบาศก์ฮิลเบิร์ท (Hilbert cube) เป็นหนึ่งในปริภูมิทอพอโลยีของวิชาคณิตศาสตร์
- สัญลักษณ์ฮิลเบิร์ท (Hilbert symbol)
- ทฤษฎีบท 90 ของฮิลเบิร์ท (Hilbert's theorem 90) หรือซัทซ์ 90
- การแปลงฮิลเบิร์ท (Hilbert transform)
- ฟังก์ชันฮิลเบิร์ท (Hilbert function)
- สเปกตรัมฮิลเบิร์ท (Hilbert spectrum)
- ลูกบาศก์ฮิลเบิร์ท (Hilbert cube)
- วงแหวนฮิลเบิร์ท (Hilbert ring)
- เส้นโค้งฮิลเบิร์ท
- อนุกรมฮิลเบิร์ท-ปวงกาเร (Hilbert–Poincaré series)