พ.ศ. 2542
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1999)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2542 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1999 MCMXCIX |
Ab urbe condita | 2752 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1448 ԹՎ ՌՆԽԸ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6749 |
ปฏิทินบาไฮ | 155–156 |
ปฏิทินเบงกอล | 1406 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2949 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 47 Eliz. 2 – 48 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2543 |
ปฏิทินพม่า | 1361 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7507–7508 |
ปฏิทินจีน | 戊寅年 (ขาลธาตุดิน) 4695 หรือ 4635 — ถึง — 己卯年 (เถาะธาตุดิน) 4696 หรือ 4636 |
ปฏิทินคอปติก | 1715–1716 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3165 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1991–1992 |
ปฏิทินฮีบรู | 5759–5760 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2055–2056 |
- ศกสมวัต | 1921–1922 |
- กลียุค | 5100–5101 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11999 |
ปฏิทินอิกโบ | 999–1000 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1377–1378 |
ปฏิทินอิสลาม | 1419–1420 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 11 (平成11年) |
ปฏิทินจูเช | 88 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4332 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 88 民國88年 |
เวลายูนิกซ์ | 915148800–946684799 |
พุทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีเถาะ เอกศก จุลศักราช 1361 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- ปีสากลแห่งผู้สูงอายุ
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: นายชวน หลีกภัย (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม-มิถุนายน
[แก้]- 1 มกราคม – ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 11 ประเทศเริ่มใช้สกุลเงินยูโร
- 2 มกราคม - เครื่องบินของสหประชาชาติถูกยิงตกในประเทศแองโกลา
- 16 กุมภาพันธ์ - ผู้ประท้วงชาวเคิร์ดบุกยึดสถานทูตกรีซในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยจับเอกอัครราชทูตเป็นตัวประกันไว้หลายชั่วโมงก่อนจะปล่อยตัวไป
- 1 มีนาคม - กองกำลังติดอาวุธเผ่าฮูมู 150 คน บุกโจมตีค่ายนักท่องเที่ยวในยูกันดา สังหารชาวยูกันดา 4 คน และลักพาตัวนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปเป็นตัวประกัน 16 คน ต่อมาตัวประกันถูกฆ่า 8 คน
- 26 มีนาคม – หนอนเมลิสซาโจมตีระบบอีเมลทั่วโลก
- 30 เมษายน – ประเทศกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
- 17 พฤษภาคม – เอฮุด บารัค ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอล
- 27 พฤษภาคม – สลอบอดัน มีลอเชวิช ถูกฟ้องร้องในข้อหาอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ จากเหตุการณ์ในคอซอวอ
- 30 พฤษภาคม - กองกำลัง ELN บุกยึดโบสถ์เมืองอาร์ดิน ประเทศโคลัมเบียเพื่อจับตัวประกัน 160 คนไปเรียกค่าไถ่ ในวันต่อมาได้ปล่อยตัวประกัน 80 คน
- 9 มิถุนายน – สงครามคอซอวอ: สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียและองค์การนาโต ลงนามในสัญญาสันติภาพ
- 27 มิถุนายน – เกิดเหตุลอบวางระเบิดแท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเชลส์ ในประเทศไนจีเรียโดยกลุ่มเพื่อความพอเพียงในแม่น้ำไนเจอร์ออกมาอ้างความรับผิดชอบ
กรกฎาคม-ธันวาคม
[แก้]- 23 กรกฎาคม – เกิดเหตุจี้เครื่องบิน เที่ยวบิน ANA 61 ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
- 17 สิงหาคม – เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ในด้านตะวันตกเฉียงหนือของตุรกี ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 17,000 คน และบาดเจ็บ 44,000 คน
- 30 สิงหาคม – ชาวติมอร์ตะวันออก ลงประชามติแยกตัวเป็นอิสระจากอินโดนีเซีย
- 15 กันยายน - สหประชาชาติจัดตั้งกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก
- 19 กันยายน - เหตุการณ์โรงงานอบลำไยระเบิดในจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2542 อำเภอสันป่าตองเกิดระเบิดและไฟไหม้ มีผู้เสียชีวิต45ราย
- 1 ตุลาคม - กลุ่มนักศึกษาพม่าที่ต่อต้านรัฐบาลทหารบุกยึดสถานทูตพม่าในกรุงเทพมหานคร จับตัวประกัน 89 คน
- 12 ตุลาคม – เกิดรัฐประหารนำโดย พลเอกเปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ในปากีสถาน
- 20 พฤศจิกายน – สาธารณรัฐประชาชนจีนส่งยานเสินโจวลำแรก ขึ้นสู่อวกาศ
- 30 พฤศจิกายน – การชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดความวุ่นวายในที่ประชุมองค์การการค้าโลก ณ เมืองซีแอตเติล สหรัฐ
- 3 ธันวาคม – สัญญาณวิทยุจากยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์ขององค์การนาซา ขาดหายไปก่อนที่ยานจะเข้าสู่บรรยากาศของดาวอังคารไม่นาน
- 5 ธันวาคม - พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- 15 ธันวาคม – องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก
- 20 ธันวาคม – โปรตุเกสส่งมอบมาเก๊าคืนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
- 22 ธันวาคม – โคเรียนแอร์คาร์โก เที่ยวบินที่ 8509 ประสบอุบัติเหตุตกมีผู้เสียชีวิต 4 ราย
- 24 ธันวาคม - สลัดอากาศจี้เครื่องบินสายการบินอินเดียที่บินจากกาฐมาณฑุไปนิวเดลี โดยมีผู้โดยสารทั้งหมด 189 คน ต่อมาผู้โดยสารทั้งหมดถูกปล่อยตัวเมื่อ 31 ธันวาคม
- 31 ธันวาคม – วลาดีมีร์ ปูตินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซีย หลังจากบอริส เยลต์ซิน ลาออกจากตำแหน่ง
วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 7 มกราคม
- ปรัชญาลักษณ์ โชติวุฑฒินันท์ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- แพ็กกี้ สกลนรี นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- 14 มกราคม
- ปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์ นักแสดงและพิธีกรชาวไทย
- ลูเซียนา ฟุสเตร์ บุคคลทางโทรทัศน์, นางแบบ และนางงามชาวเปรู
- เดคลัน ไรซ์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- 21 มกราคม - วฑูศิริ ภูวปัญญาสิริ ไอดอลชาวไทย
- 24 มกราคม - นิโคล เซฟานยา นักร้องนักแต่งเพลงชาวอินโดนีเซีย
- 25 มกราคม - ลูคัส หว่อง นักร้องชาวฮ่องกงเชื้อสายไทยและจีน
- 26 มกราคม - ซิม คิวเท ยูทูปเปอร์ชาวเกาหลี
- 28 มกราคม - วิภาวี ศรีทอง นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
กุมภาพันธ์
[แก้]- 21 กุมภาพันธ์ - เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร นักแสดงชาวไทย
มีนาคม
[แก้]- 2 มีนาคม - สุพรรณิการ์ จำเริญชัย นักแสดงและนางงามชาวไทย
- 5 มีนาคม - เยรี ศิลปินเกาหลีใต้
- 12 มีนาคม - ราชภัทร วรสาร นักร้องนักแสดงไทย
- 18 มีนาคม - กฤษดา กาแมน นักฟุตบอลชาวไทย
เมษายน
[แก้]- 9 เมษายน - ลิลนาสเอ็กซ์ แร็ปเปอร์ นักร้อง และนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน
- 11 เมษายน - การอลีนา บีแยลัฟสกา นางแบบ ผู้จัดรายการโทรทัศน์ และนางงามชาวโปแลนด์
- 20 เมษายน - ธีรชา ดาราเย็น นักแต่งเรื่องตลกแห่งARC
- 23 เมษายน - มณิภา รู้ปัญญา ไอดอลชาวไทย
- 30 เมษายน - กฤษฏ์ อำนวยเดชกร นักร้อง นักแสดง และนายแบบชาวไทย
พฤษภาคม
[แก้]29 พฤษภาคม - พัก จี-ฮุน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
มิถุนายน
[แก้]- 4 มิถุนายน - คิม โซ-ฮย็อน นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- 9 มิถุนายน - อาทิตยา ตรีบุดารักษ์ นักร้อง และนักแสดงชาวไทย
- 15 มิถุนายน - จตุรพัช สัทธรรม นักฟุตบอลชาวไทย
- 18 มิถุนายน - สรัณณัฏฐ์ ประดู่คู่ยามดี นักแสดงชาวไทย
- 19 มิถุนายน - รมิดา จีรนรภัทร นักแสดงชาวไทย
- 20 มิถุนายน - ยูอิ มิซูโนะ นักร้อง นักดนตรี นางแบบ และนักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 25 มิถุนายน - ณัชพัณณ์ ปรมะเจริญโรจน์ นักแสดงชาวไทย
- 30 มิถุนายน - ธิติสรรค์ กู้ดเบิร์น นักแสดง นายแบบ และอดีตนักกีฬารักบี้ชาวไทยเชื้อสายอังกฤษ
กรกฎาคม
[แก้]- 5 กรกฎาคม - คัง ฮเย-ว็อน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 7 กรกฎาคม - แคลร์ คอร์เล็ตต์ นักพากษ์เสียงชาวแคนาดา
- 10 กรกฎาคม - จีรภัทร พิมานพรหม นักร้องชาวไทย
- 11 กรกฎาคม - กรชิต บุญสถิต์ภักดี นักแสดงและนักร้องชาวไทย
- 19 กรกฎาคม - คิม โซ-ฮเย นักร้องชาวเกาหลีใต้
สิงหาคม
[แก้]- 2 สิงหาคม - มาร์ก ลี นักร้องชาวแคนาดา
- 5 สิงหาคม - ชุติมา โสดาภักดิ์ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 18 สิงหาคม - ปัณฑิตา คูณทวี ไอดอลชาวไทย
- 28 สิงหาคม - เจ้าชายนิโคไลแห่งเดนมาร์ก
กันยายน
[แก้]- 22 กันยายน - คิม โยฮัน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 23 กันยายน - อภิชญา แซ่จัง นักร้อง นักแสดงชาวไทย
- 29 กันยายน - ชเว เย-นา ศิลปินชาวเกาหลีใต้
ตุลาคม
[แก้]- 3 ตุลาคม - ณิชา ปิยะวัฒนานนท์ นักแสดงชาวไทย
- 8 ตุลาคม - พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล นักร้อง นักแสดง และนายแบบชาวไทย
- 12 ตุลาคม - ณัฐชา เจกะ นักแสดงชาวไทย
- 21 ตุลาคม - เอกนิษฐ์ ปัญญา นักฟุตบอลชาวไทย
- 26 ตุลาคม - พิชญาภา นาถา ไอดอลชาวไทย
- 28 ตุลาคม - กวิสรา สิงห์ปลอด ไอดอลชาวไทย
พฤศจิกายน
[แก้]- 6 พฤศจิกายน
- ชัชชุอร โมกศรี นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
- วิทยา เทพทิพย์ นักแสดงชาวไทย
- 7 พฤศจิกายน - มาณิฌา เอี่ยมดิลกวงศ์ ไอดอลชาวไทย
- 11 พฤศจิกายน - ดุสิตา กิติสาระกุลชัย นักร้องชาวไทย
ธันวาคม
[แก้]- 23 ธันวาคม - คิม ดา-นี นักร้องชาวเกาหลีใต้วงที-อาราเอ็นโฟร์และที-อารา
- 24 ธันวาคม - เกศรินทร์ น้อยผึ้ง นักแสดงชาวไทย
- 30 ธันวาคม - ฌ็อง-แกลร์ โตดีโบ นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 7 กุมภาพันธ์ - สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน (ประสูติ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478)
- 7 มีนาคม - สแตนลีย์ คูบริก ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2471)
- 2 กรกฎาคม - มาริโอ ภูโซ นักเขียน (เกิด 15 ตุลาคม พ.ศ. 2463)
- 16 กรกฎาคม - จอห์น เอฟ. เคนเนดี จูเนียร์ นักกฎหมายและสื่อมวลชนชาวอเมริกัน (เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503)
- 28 กรกฎาคม - ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย (เกิด 9 มีนาคม พ.ศ. 2459)
- 14 กันยายน - วินัย จุลละบุษปะ นักร้องชายชาวไทย (เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2465)
- สาขาเคมี – Ahmed H. Zewail
- สาขาวรรณกรรม – กึนเทอร์ กรัสส์
- สาขาสันติภาพ – องค์การแพทย์ไร้พรมแดน
- สาขาฟิสิกส์ – Gerardus 't Hooft, Martinus J. G. Veltman
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – กึนเทอร์ โบลเบล
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Robert A. Mundell
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พ.ศ. 2542