แอ็นสท์ รุสคา
แอ็นสท์ รุสคา | |
---|---|
เกิด | แอ็นสท์ เอากุสท์ ฟรีดริช รุสคา 25 ธันวาคม ค.ศ. 1906 ไฮเดิลแบร์ค, จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 เบอร์ลินตะวันตก, เยอรมนี | (81 ปี)
สัญชาติ | เยอรมัน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิก |
มีชื่อเสียงจาก | ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน |
รางวัล | รางวัลแอลเบิร์ต แลสเกอร์สำหรับการวิจัยพื้นฐานทางการแพทย์ (ค.ศ. 1960) รางวัลและเหรียญดัดเดล (ค.ศ. 1975) รางวัลโรแบร์ท ค็อค (ค.ศ. 1986) รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (ค.ศ. 1986) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ฟิสิกส์ |
สถาบันที่ทำงาน | สถาบันฟริทซ์ ฮาเบอร์ มหาวิทยาลัยเทคนิคเบอร์ลิน |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | มัคส์ คน็อล |
แอ็นสท์ เอากุสท์ ฟรีดริช รุสคา (เยอรมัน: Ernst August Friedrich Ruska; 25 ธันวาคม ค.ศ. 1906 – 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1988) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองไฮเดิลแบร์ค และเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิก หลังเข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน รุสคาได้ตั้งข้อสังเกตว่ากล้องจุลทรรศน์ที่ใช้อิเล็กตรอนจะให้รายละเอียดของภาพมากกว่าชนิดที่ใช้แสง เขาและมัคส์ คน็อล จึงได้ร่วมกันสร้างกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนขึ้น[1] ต่อมารุสคาได้ร่วมงานกับบริษัทซีเมนส์ ซึ่งมีส่วนในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในเชิงพาณิชย์ ในปี ค.ศ. 1955 เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายจุลทรรศนศาสตร์ของสถาบันฟริทซ์ ฮาเบอร์[2] และเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคนิคเบอร์ลิน[3] รุสคาได้รับรางวัลแลสเกอร์ในปี ค.ศ. 1960 และในปี ค.ศ. 1986 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับแกร์ท บินนิช และไฮน์ริช โรเรอร์[4] รุสคาเสียชีวิตที่เบอร์ลินตะวันตกในอีก 2 ปีต่อมา
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แอ็นสท์ รุสคา