ข้ามไปเนื้อหา

โจเซฟ สตาลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Joseph Stalin)
โจเซฟ สตาลิน
Иосиф Сталин
ภาพถ่ายสตาลินเมื่อ ค.ศ. 1937 ซึ่งถูกนำไปใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อโดยรัฐบาลสหภาพโซเวียต
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์
แห่งสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน 1924 – 16 ตุลาคม 1952
ก่อนหน้าวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ
(ในฐานะเลขาธิการผู้เชื่อถือได้)
ถัดไปเกออร์กี มาเลนคอฟ (โดยพฤตินัย)
ประธานคณะกรรมการราษฎร
แห่งสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม 1941 – 15 มีนาคม 1946
ก่อนหน้าวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ
ถัดไปตัวเอง (ในตำแหน่งประธานสภารมต.)
ประธานสภารัฐมนตรีสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม 1946 – 5 มีนาคม 1953
ประธานาธิบดีมีฮาอิล คาลีนิน
นีโคไล ชเวียร์นิค
รองประธาน
ก่อนหน้าวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ
ถัดไปเกออร์กี มาเลนคอฟ
กรรมการราษฎรฝ่ายชนชาติ
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน 1917 – 7 กรกฎาคม 1923
หัวหน้ารัฐบาลวลาดีมีร์ เลนิน
ก่อนหน้าไม่มี (สถาปนาตำแหน่ง)
ถัดไปไม่มี (ยุบตำแหน่ง)
กรรมการราษฎรฝ่ายกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
19 กรกฎาคม 1941 – 15 มีนาคม 1946
หัวหน้ารัฐบาลตัวเอง
ก่อนหน้าเซมิออน ตีโมเชนโค
ถัดไปตัวเอง (ในตำแหน่งรมว.กลาโหม)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม 1946 – 3 มีนาคม 1947
หัวหน้ารัฐบาลตัวเอง
ก่อนหน้าตัวเอง (ในตำแหน่งกรรมการราษฎรฯ)
ถัดไปนีโคไล บุลกานิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
โยเซบ เบซาริโอนิส ดซูกัสวิลี

18 ธันวาคม ค.ศ. 1878
โกรี เขตผู้ว่าการติฟลิส จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต5 มีนาคม ค.ศ. 1953(1953-03-05) (74 ปี)
มอสโก สหภาพโซเวียต
สาเหตุการเสียชีวิตเลือดออกในสมองใหญ่
พรรคการเมือง
คู่สมรส
บุตร
บุพการี
การศึกษาวิทยาลัยสงฆ์แห่งทบิลีซี
รางวัล
วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นโคบา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหภาพโซเวียต
สังกัดกองทัพแดง
ประจำการ
  • ค.ศ. 1918–1920
  • ค.ศ. 1941–1953
ยศ จอมพลสูงสุด
ผ่านศึก
Central institution membership
  • 1917–1953: Full member, 6th19th Presidium
  • 1922–1943: 11th19th Secretariat
  • 1920–1952: 9th18th Orgburo
  • 1912–1953: Full member, 5th19th Central Committee

อีโอซิฟ วิสซารีโอโนวิช สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин, อักษรโรมัน: Iosif Vissarionovich Stalin, สัทอักษรสากล: [ɪˈosʲɪf vʲɪsərʲɪˈonəvʲɪt͡ɕ ˈstalʲɪn]) หรือ โจเซฟ สตาลิน (อังกฤษ: Joseph Stalin; 18 ธันวาคม [ตามปฎิทินเก่า: 6 ธันวาคม] ค.ศ. 1878 – 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นนักปฏิวัติและผู้นำทางการเมืองโซเวียตชาวจอร์เจียซึ่งปกครองสหภาพโซเวียต ตั้งแต่ ค.ศ. 1924 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1953 เขาได้ขึ้นเถลิงอำนาจด้วยการขึ้นดำรงตำแหน่งทั้งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1922-1952) และประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1941-1953) แม้ว่าในช่วงแรกจะปกครองประเทศด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้นำส่วนรวม จนในที่สุดเขาก็รวบอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จจนกลายเป็นเผด็จการแห่งสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1930 ในอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มุ่งมั่นถึงการตีความลัทธิมากซ์ของฝ่ายนิยมลัทธิเลนิน สตาลินได้เรียกแนวคิดนี้อย่างเป็นทางการว่า ลัทธิมากซ์-เลนิน ในขณะที่นโยบายของเขาเองที่ได้เรียกกันว่า ลัทธิสตาลิน

เขาเกิดในครอบครัวยากจนจากเมืองกอรี ในจักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันคือ ประเทศจอร์เจีย) สตาลินได้เข้าเรียนที่สำนักเสมินาร์จิตวิญญาณแห่งทิฟลิส (Tbilisi Spiritual Seminary) ก่อนที่จะเข้าร่วมพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียของฝ่ายนิยมลัทธิมากซ์ในที่สุด เขาได้ทำการแก้ไขหนังสือพิมพ์ประจำพรรคที่มีชื่อว่า ปราฟดา("ความจริง") และระดมเงินทุนให้กับกลุ่มบอลเชวิคของวลาดีมีร์ เลนิน ผ่านทางการโจรกรรม การลักพาตัว และเงินค่าคุ้มครอง ซึ่งถูกจับกุมมาหลายครั้งแล้ว เขาจึงถูกเนรเทศภายในประเทศมาหลายครั้งเช่นกัน ภายหลังจากที่พวกบอลเชวิคได้เข้ายึดอำนาจในช่วงการปฏิวัติเดือนตุลาคม และสร้างรัฐพรรคการเมืองเดียวภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์ที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ใน ค.ศ. 1917 สตาลินได้เข้าร่วมกับโปลิตบูโรในการปกครอง เข้าเป็นทหารในสงครามกลางเมืองรัสเซีย ก่อนที่จะเข้าควบคุมดูแลการก่อตั้งสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1922 สตาลินได้ขึ้นรับตำแหน่งเป็นผู้นำประเทศ ภายหลังการเสียชีวิตของเลนินใน ค.ศ. 1924 ภายใต้การนำของสตาลิน ลัทธิสังคมนิยมในประเทศเดียวกลายเป็นหลักการที่สำคัญของความเชื่อของพรรค ด้วยผลลัพธ์มาจากแผนห้าปีที่ถูกดำเนินภายใต้การนำของเขา ประเทศได้ทำการรวบรวมผลผลิตทางเกษตรกรรมโดยรวม(agricultural collectivisation) และการทำให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว การสร้างเศรษฐกิจโดยสั่งการแบบรวมอำนาจ (a centralised command economy) สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การหยุดชะงักของการผลิตอาหารอย่างรุนแรง ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดทุกขพิภัยใน ค.ศ. 1932-33 เพื่อเป็นการกำจัดผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น "ศัตรูของชนชั้นกรรมกร" สตาลินได้จัดตั้งการกวาดล้างครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้ที่ถูกคุมขังจำนวนมากกว่าหนึ่งล้านคนและจำนวนผู้ถูกประหารชีวิตอย่างน้อย 700,000 คน ระหว่างปี ค.ศ. 1934 และ ค.ศ. 1939 ใน ค.ศ. 1937 เขาสามารถควบคุมพรรคและรัฐบาลได้อย่างเบ็ดเสร็จ

สตาลินได้ส่งเสริมลัทธิมากซ์-เลนินจากต่างประเทศผ่านทางองค์การคอมมิวนิสต์สากล และให้การสนับสนุนขบวนการต่อต้านฟาสซิสต์ในยุโรปในช่วงปี ค.ศ. 1930 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามกลางเมืองสเปน ใน ค.ศ. 1939 ระบอบการปกครองของเขาได้ลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันกับนาซีเยอรมนี ส่งผลทำให้โซเวียตบุกครองโปแลนด์ เยอรมนีได้ยุติกติกาสัญญาที่ได้ทำกันมาโดยการรุกรานสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1941 แม้ว่าจะพ่ายแพ้ในช่วงแรก แต่กองทัพแดงกลับสามารถขับไล่เยอรมันผู้รุกรานไปได้และเข้ายึดครองกรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1945 ซึ่งทำให้สงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปได้ยุติลง ท่ามกลางสงคราม โซเวียตได้ผนวกรัฐบอลติกและจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นแนวร่วมกับโซเวียตทั่วทั้งยุโรปกลางและตะวันออก จีน และเกาหลีเหนือ สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นอภิมหาอำนาจโลกและเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความตึงเครียด สงครามเย็น สตาลินได้เป็นผู้นำในการฟื้นฟูสภาพหลังสงครามของโซเวียตและการพัฒนาระเบิดปรมาณูใน ค.ศ. 1949 ในช่วงปีเหล่านี้ ประเทศกำลังประสบภาวะทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ขึ้นมาอีกครั้งและการณรงค์ต่อต้านชาวยิวซึ่งนำไปสู่แผนลับแพทย์ (doctors' plot) ภายหลังจากการเสียชีวิตของสตาลินใน ค.ศ. 1953 ในที่สุดเขาก็ได้รับการสืบทอดตำแหน่งโดยนีกีตา ครุชชอฟ ซึ่งต่อมาในภายหลังได้กล่าวประณามถึงความโหดร้ายจากการปกครองของเขาและริเริ่มการล้มล้างอิทธิพลของสตาลินในสังคมโซเวียต

จากการที่ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่สำคัญที่สุดในทศวรรษที่ 20 สตาลินเป็นหัวข้อของลัทธิบูชาบุคคลที่ได้กระจายแพร่หลายภายในขบวนการลัทธิมากซ์-เลนินระดับสากล ซึ่งได้เคารพเทิดทูนในฐานะนักสู้แห่งชนชั้นกรรมกรและสังคมนิยม นับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต สตาลินยังคงได้รับความนิยมในรัสเซียและจอร์เจียในฐานะผู้นำยามสงครามที่ได้รับชัยชนะ ซึ่งยึดมั่นสถานะของสหภาพโซเวียตในฐานะมหาอำนาจโลกที่สำคัญ ในทางตรงกันข้าม ระบอบการปกครองของเขาถูกมองว่าเป็นเผด็จการ และถูกประณามอย่างกว้างขวางจากการควบคุมดูแลการปราบปรามมวลชน การกวาดล้างชาติพันธุ์ การขับเนรเทศในวงกว้าง การประหารชีวิตนับแสนครั้ง และทุพภิกขภัยที่ได้คร่าชีวิตผู้คนนับล้าน

ครอบครัวและในวัยเด็ก

[แก้]
สตาลินใน ค.ศ. 1894 และ ค.ศ. 1902 สตาลินใน ค.ศ. 1894 และ ค.ศ. 1902
สตาลินใน ค.ศ. 1894 และ ค.ศ. 1902

ก่อนหน้าการเกิดของสตาลิน บิดาและมารดาของเขาได้ให้กำเนิดบุตรมาแล้วถึง 2 คน แต่ก็เสียชีวิตหลังจากเกิดได้ไม่นาน จนมีบุตรคนที่ 3 ซึ่งก็คือสตาลิน ภายหลังการเกิดนั้น มารดาของสตาลินได้สวดอ้อนวอนอธิษฐานต่อพระผู้เป็นเจ้าไม่ให้พรากชีวิตบุตรชายของเธอไป พร้อมกับอธิษฐานว่าเธอและบุตรชาย จะอุทิศตนเองเพื่อพระผู้เป็นเจ้าตลอดไป

สตาลิน มีชื่อเล่นในวัยเด็กคือ โซซา ซึ่งพ่อของเขาเป็นช่างทำรองเท้า ชอบทุบตีคนในครอบครัวยามเมาสุราเสมอ ต่อมาพ่อของเขาต้องย้ายไปอยู่ที่เมืองทิฟลิส ทำให้สตาลินต้องอาศัยอยู่กับมารดาเพียงคนเดียวในจอร์เจีย[1] ซึ่งเมืองที่เขาอยู่ ก็เต็มไปด้วยอาชญากรรม การเอารัดเอาเปรียบ ความรุนแรงตามท้องถนน จึงทำให้สภาพแวดล้อมสังคมและความรุนแรงในครอบครัวบ่มนิสัยสตาลินให้เป็นคนก้าวร้าว และเกิดความเกลียดชังชาวยิวที่อยู่ในเมือง ทั้ง ๆ ที่เมืองที่เขาอยู่ ไม่มีใครต่อต้านชาวยิวเลย ซึ่งชาวยิวอยู่ร่วมกับคนพื้นเมืองมานานอย่างสันติ นิยมประกอบอาชีพนายทุนเงินกู้ พ่อค้า ช่างตัดเสื้อ ช่างตัดรองเท้า เป็นต้น ประกอบกับครอบครัวที่ลำบาก ส่งผลให้มารดาของเขาต้องไปกู้เงินจากนายทุนชาวยิวซึ่งเรียกดอกเบี้ยราคาแพง และจะเข้ามายึดสิ่งของในบ้านเป็นค่าปรับเมื่อผิดนัดชำระดอกเบี้ย ทำให้เขาเกลียดแค้นชาวยิวและอยากแก้แค้นอยู่เสมอ นอกเหนือจากนั้น ชีวิตสตาลินก็เป็นเด็กที่เรียนดี ทั้งที่พ่อแม่ของเขาไม่รู้หนังสือและครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก

การศึกษาในโรงเรียนสามเณรกอรี

[แก้]

มารดาของสตาลินเป็นผู้เคร่งในศีลธรรม เธอจึงตัดสินใจให้สตาลินบวชเป็นพระและเข้าเรียนในโรงเรียนสามเณรกอรี ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนศาสนาแห่งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1888 ด้วยความอุปการะจากเศรษฐีชาวจอร์เจียชื่อยาคอฟที่มารดาของเขาทำงานรับจ้างเป็นแม่บ้าน ซึ่งสตาลินเป็นคนที่สำนึกในบุญคุณคน เมื่อเขามีบุตรชายคนแรก เขาได้ตั้งชื่อว่ายาคอฟ ตั้งตามชื่อผู้ที่อุปการะเขา

ด้านการเรียนนั้น สตาลินเป็นคนขยัน และมีความจำดี และหัวไว ทำให้ได้รับทุนการศึกษาของโรงเรียน และได้รับเลือกให้เป็นนักเรียนตัวอย่าง ซึ่งทุก ๆ ปี หนังสือพิมพ์ของสำนักสงฆ์นิกายจอร์เจียนออโธดอกซ์แห่งเมืองกอรี จะตีพิมพ์รายชื่อของนักเรียนที่สอบได้คะแนนดีที่สุดในชั้น ซึ่งชื่อของสตาลิน ได้อยู่ลำดับที่ 1 ทุกครั้ง นอกเหนือจากนั้น หลังการสอบปลายภาคทุกครั้ง สตาลินยังได้รับประกาศนียบัตรเรียนดีที่โรงเรียนมอบให้ผู้ที่สอบได้ลำดับที่ 1 ของชั้นเรียน และเขายังได้รับประกาศนียบัตรความก้าวหน้าในการเรียน

สตาลินมีพรสวรรค์ด้านการขับร้องเพลง ครูที่โรงเรียนจึงฝึกให้เขาเพิ่มเติม จากนั้นสองปี สตาลินก็ร้องเพลงได้อย่างกับนักร้องอาชีพ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยคอนดักเตอร์ พร้อมกับเป็นหัวหน้าคณะนักร้อง โดยสตาลินเองมักถูกจ้างไปร้องเพลงในงานแต่งงานเสมอ

ความชื่นชอบในการละเล่นและกีฬา สตาลินชื่นชอบการตะลุมบอน เป็นการละเล่นและกีฬาพื้นเมือง ที่แบ่งกลุ่มผู้เล่นออกไป 2 ฝั่ง จากนั้นก็จะเข้าตะลุมบอนกันแบบไม่มีความปรานี โดยสตาลินขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มได้ทั้งที่อายุน้อยและแข็งแกร่งน้อยกว่าลูกน้องในทีมของตัวเอง 3 คน แต่เขาก็มีสิ่งที่ทดแทนคือความคล่องแคล่วว่องไว สตาลินตั้งฉายาให้กลุ่มเพื่อน 3 คนของเขาว่า สามทหารเสือ ซึ่งสตาลินไม่เคยลืมเพื่อนของเขาเลย แม้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สตาลินวัย 60 ปี ที่เป็นผู้นำสหภาพโซเวียตในขณะนั้น ได้ส่งเงินส่วนตัวไปให้กับเพื่อนทั้ง 3 คนนี้คนละหลายหมื่นรูเบิล และมีข้อความในจดหมายว่า "โปรดรับของขวัญเล็กน้อยนี้จากฉันด้วย จากโซซ่าของพวกนาย" โดยเพื่อนหนึ่งในสามของสตาลินได้กล่าวอีกว่า "เขาไม่เคยลืมพวกเรา และมักจะส่งการ์ดมาให้เราเมื่อถึงวันเกิด หรือวันสำคัญอื่น ๆ เสมอ ครั้งหนึ่งเขาก็เคยส่งการ์ดที่เขียนว่า ขอให้อยู่หมื่นปี มาให้ผม"

นอกเหนือจากเพื่อนสนิทสามทหารเสือแล้ว สตาลินยังมีเพื่อนสนิทอีกคนที่มาจากละแวกใกล้บ้านชื่อ ซิมอน เขาเป็นคนเกเร นิยมความรุนแรง ซึ่งสตาลินสามารถควบคุมและทำให้เขาเคารพได้ และได้กลายเป็นมือสังหารคนสำคัญของสตาลินในขณะทำงานปฏิวัติรัสเซีย

สิ่งที่สตาลินสนใจมากเป็นพิเศษอีกอย่าง คือการอ่านหนังสือ เพราะความขาดแคลนหนังสือ ทำให้เขามีความกระหายอ่านใฝ่รู้ และมักไปขอยืมหนังสือจากห้องสมุดของเมืองกอรี่มาอ่านเสมอ สตาลินชื่นในวรรณกรรมเรื่อง Otezubiza ซึ่งชื่อตัวละครเอก ชื่อ โคบา เป็นโจรปล้นคนรวยมาช่วยเหลือคนจน โดยสตาลินมีตวามฝันอยากจะเป็นโคบาคนที่สอง

ในวันคริสต์มาสอีฟ ของนิกายออโธดอกซ์ กลุ่มนักร้องประสานเสียงของโรงเรียนสามเณรกอรี่ โดยหนึ่งในนั้นมีสตาลินรวมอยู่ด้วย ได้มายืนร้องเพลงสวดที่ริมสะพานข้ามแม่น้ำคูร์ ก็ได้เกิดอุบัติเหตุมีรถม้าวิ่งพุ่งเข้าชนกลุ่มนักร้องประสานเสียง ซึ่งสตาลินโชคร้ายที่ม้าได้ชนสตาลินและล้อรถทับข้อมือซ้ายของเขาหัก และด้วยความยากจนทำให้มารดาของสตาลินไม่สามารถพาเขาไปรักษาข้อมือซ้ายได้ เขามือซ้ายของเขาจึงพิการตั้งแต่นั้นมา

และในปี ค.ศ.1894 สตาลินก็จบการศึกษาด้วยคะแนนยอดเยี่ยม และได้รับทุนศึกษาต่อที่วิทยาลัยสงฆ์แห่งทิฟลิส ซึ่งเป็นสถานที่ ๆ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของเขา

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]

โจเซฟ สตาลินนำสหภาพโซเวียตก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก เป็นหนึ่งในขั้วอำนาจในสงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกาหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 โซเวียตมีฐานะที่มั่นคงแข็งแรงทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารมากขึ้น แม้ว่าทางการทหารจะยังเป็นรองสหรัฐอเมริกาในระยะแรกก็ตาม หลังจากนั้นสตาลินได้เปลี่ยนท่าทีหันมาดำเนินนโยบายรุนแรง กวาดล้างผู้เป็นปรปักษ์จำนวนมากและมีนโยบายแข็งกร้าวต่อต้านสหรัฐอเมริกา ซึ่งโซเวียตมองว่าเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่ง

สิ่งแรกที่โซเวียตเร่งดำเนินการก็คือ สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ให้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในยุโรปตะวันออกเป็นแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การชี้นำของโซเวียต สนับสนุนขบวนการปลดแอก ให้เป็นเครื่องมือในการทำลายจักวรรดินิยมของอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และสหรัฐ สำหรับประเทศยุโรปตะวันออกนั้นมีความสำคัญต่อโซเวียตเป็นอย่างยิ่งในทางภูมิรัฐศาสตร์ ถือเป็นดุลอำนาจให้แก่โซเวียตในการแข่งขันกับกลุ่มประเทศทุนนิยมที่พัฒนาแล้ว

การผนึกกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์

[แก้]

สตาลินได้จัดตั้งโคมินฟอร์ม (Communist Information Bureau หรือ Cominform) ในเดือนกันยายน ปี 1947 เพื่อใช้สำนักงานนี้เป็นเครื่องมือในการควบคุมพรรคคอมมิวนิสต์ของประเทศอื่นให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และอยู่ในวินัยที่เคร่งครัด ภายใต้การควบคุมของโซเวียต แม้ว่าสตาลินจะถือนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติ (Peaceful Co-Existence) ก็เพียงชั่วคราวเพื่อผลประโยชน์เฉพาะหน้าเท่านั้น ยังมีความเชื่อมั่นตามอุดมการณ์ที่จะเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าไปในประเทศต่างๆ และเห็นว่าสงครามการปะทะกันระหว่างฝ่ายนายทุนกับสังคมนิยมนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้นนโยบายของสตาลินในช่วงนี้จึงนิยมความรุนแรงและรุกราน พยายามที่จะแยกประชาชาติต่างๆในยุโรปมิให้รวมกันได้ อาจกล่าวได้ว่าฝ่ายสหภาพโซเวียตริเริ่มทำให้เกิดสงครามเย็นระหว่างโลกตะวันตกหรือโลกเสรีซึ่งสหรัฐเป็นผู้นำ กับโลกตะวันออกหรือค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่โซเวียตเป็นผู้นำ ทำให้โลกอยู่ในสภาวะ 2 ศูนย์อำนาจอย่างเคร่งครัด สตาลินมีนโยบายรวบรวมผนึกกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้อาณัติของสหภาพโซเวียตอย่างเข้มงวด โดยใช้กำลังทหารและการบีบคั้นทางด้านอื่น เช่นทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ทำให้ประเทศในค่ายสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกถูกขนานนามว่าเป็นบริวารโซเวียต (Soviet Satellite หรือ Soviet Bloc) ซึ่งเรียกว่า ลัทธิสตาลิน (Stalinism)

การแทรกแซงการเมืองในประเทศอื่น

[แก้]

นอกจากนี้โซเวียตยังเข้าไปมีบทบาทแทรกแซงการเมืองในประเทศอื่นๆ อีก เช่นในปี 1947 ได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ให้ยึดครองกรีซ (เหตุการณ์ครั้งนี้พรรคคอมมิวนิสต์กระทำการไม่สำเร็จ เพราะสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาสกัดกั้น ให้ความช่วยเหลือกรีซและตุรกีตามแผนการมาแชล) และวิกฤตการณ์ปิดล้อมเบอร์ลิน ค.ศ. 1948 – 1949 (ทำให้มีการเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตกคืออังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐ จนต้องแบ่งแยกเยอรมันออกเป็น 2 ประเทศโดยเด็ดขาด) นอกจากนี้ก็มีเหตุการณ์ที่สตาลินขับไล่ ยูโกสลาเวีย ภายใต้การนำของติโต้ออกจากองการณ์โคมินฟอร์มในปี 1948 และ ในปี 1949 ก็ประสบความสำเร็จในการสร้างในการคิดสร้างอาวุธนิวเคลียร์เพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา และปีเดียวกันก็จัดตั้ง สภาเพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ:Council for Mutual Economic Assistance หรือ Comecon (โคเมคอน) หรือ CEMA (ซีมา) เพื่อต่อต้านองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป

นโยบายต่างประเทศ-จีน

[แก้]

โซเวียตมีอิทธิพลมากขึ้น ให้ความช่วยเหลือจีนภายหลังจากที่คอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุง ปฏิวัติสำเร็จเมื่อ 1949 โซเวียตต้องการครอบงำจีนไว้เป็นมิตรทางยุทธศาสตร์ เพื่อสกัดกั้นญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าโซเวียตจะมีสนธิสัญญาพันธมิตรกับจีนเมื่อปี 1950 และมีอายุ 30 ปีก็ตาม แต่โซเวียตต้องการจะครอบงำจีนและขาดความจริงใจในการช่วยเหลือจีน จึงกลายเป็นเรื่องขัดแย้งต่อมาภายหลัง การที่โซเวียตสนับสนุนช่วยเหลือเกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี 1950 ซึ่งแม้โซเวียตไม่ได้ประจันหน้าโดยตรงเพราะจีนเข้ามามีบทบาทแทนโซเวียต ตลอดจนการสนับสนุนเวียดมินห์ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ต่อต้านฝรั่งเศสตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงจนประสบชัยชนะในปี 1954 เหตุการณ์ที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่โซเวียตเข้าไปมีบทบาทแทรกแซงเพื่อการขยายอำนาจและอิทธิพลของโซเวียต

สรุปได้ว่า นโยบายต่างประเทศสมัยสตาลินเป็นไปในทางรุกแข็งกร้าว เพื่อสร้างอำนาจให้แข็งแกร่งมีความเป็นปึกแผ่นในค่ายสังคมนิยม ภายใต้อิทธิพลของโซเวียตเพื่อแข่งขันและสกัดกั้นอิทธิพลของฝ่ายตะวันตกและสหรัฐ จนกระทั่งสตาลินถึงแก่กรรมในปี 1953 ด้วยวัย 75 ปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. วิกรม กรมดิษฐ์, มองซีอีโอโลก ภาค 7, โพสต์ พับลิชชิง, 2553

2. เพิ่มศักดิ์ โตสวัสดิ์, สตาลิน อำนาจบนซากศพ , กรุงเทพมหานคร: Animate Group, ISBN 978-616-7030-17-3

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า โจเซฟ สตาลิน ถัดไป
วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ ประธานคณะกรรมการราษฎรสหภาพโซเวียต
(6 พฤษภาคม 1941 – 15 มีนาคม 1946)
ตัวเอง
ในตำแหน่งประธานสภารัฐมนตรี
ตัวเอง
ในตำแหน่งประธานคณะกรรมการราษฎร
ประธานสภารัฐมนตรีสหภาพโซเวียต
(15 มีนาคม 1946 – 5 มีนาคม 1953)
เกออร์กี มาเลนคอฟ
ไม่มี กรรมการราษฎรฝ่ายชนชาติ
(8 พฤศจิกายน 1917 – 7 กรกฎาคม 1923)
ไม่มี
เซมิออน ตีโมเชนโค กรรมการราษฎรฝ่ายกลาโหม
(19 กรกฎาคม 1941 – 15 มีนาคม 1946)
ตัวเอง
ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ตัวเอง
ในตำแหน่งกรรมการราษฎรฝ่ายกลาโหม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(15 มีนาคม 1946 – 3 มีนาคม 1947)
นีโคไล บุลกานิน
วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ
ในตำแหน่ง เลขาธิการผู้รับผิดชอบ
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
(3 เมษายน 1922 – 16 ตุลาคม 1952)
นิกิตา ครุสชอฟ
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1939)
วินสตัน เชอร์ชิล
แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1942)
จอร์จ มาร์แชล