ข้ามไปเนื้อหา

นักบุญซาวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Saint Sava)
ซาวา
ภาพเฟรสโกแสดงนักบุญเซวาที่อารามสังฆบิดรเปช ประเทศเซอร์เบีย
เจ้าชาย, อาร์คบิชอป, ผู้สารภาพ,
ผู้เทียบเท่าอัครสาวก
เกิดรัสตโก เนมันยิช (Rastko Nemanjić)
1169 หรือ 1174[a]
เซตา
เสียชีวิต27 มกราคม พ.ศ. 1236 (61–62 or 66–67)
ตาร์โนโว จักรวรรดิบัลกาเรีย
นับถือ ในออร์ทอดอกซ์ตะวันออก
คาทอลิก[1][2][3]
สักการสถานหลักโบสถ์นักบุญซาวา เบลเกรด
วันฉลองJanuary 27 [ตามปฎิทินเก่า: January 14]
สัญลักษณ์เกลเตอร์, อาจารย์, นักเทววิยา, ผู้บัญญัติ, ทูต, ผู้พิทักษ์คนยากไร้, นักเขียน
องค์อุปถัมภ์เซอร์เบีย, ชาวเซอร์บ

นักบุญซาวา (เซอร์เบีย: Свети Сава, อักษรโรมัน: Sveti Sava, ออกเสียง: [sʋɛ̂ːtiː sǎːʋa]; Old Church Slavonic: Свѧтъ Сава / ⰔⰂⰤⰕⰟ ⰔⰀⰂⰀ; กรีก: Άγιος Σάββας; 1169 หรือ 1174 – 14 มกราคม 1236) หรือ ผู้สร้างความสว่าง (อังกฤษ: the Enlightener) เป็นเจ้าชายชาวเซอร์เบียและนักบวชอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ อาร์คบิชอปองค์แรกแห่งคริสต์จักรเซอร์เบียที่เป็นออโตเซฟาลัส, ผู้บัญญัติกฎหมายเซอร์เบีย และทูตแห่งเซอร์เบีย นามเมื่อเกิดขอบท่านคือ รัสตโก เนมันยิช (ซีริลลิกเซอร์เบีย: Растко Немањић; Rastko Nemanjić) เป็นบุตรคนสุดท้องของเจ้าชายเซอร์เบีย สเตฟัน เนมันยา ปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิเนมันยิช ต่อมาเนมันยิชได้หลบหนีไปยังเขาอาตอส และบวชในนามว่า ซาวา (ซับบัส) ต่อมาท่านได้สร้างอารามฮีลันดาร์ขึ้นที่เขาอาตอส ที่ซึ่งต่อมาเป็นศูนย์กลางศาสนาและวัฒนธรรมที่สำคัญของเซอร์เบีย ในปี 1219 สังฆบิดรผู้ลี้ภัยในนีเซยาระบุให้ซาวาเป็นอาร์คบิชอปเซอร์เบียคนแรก ในปีเดียวกัน ซาวาได้เขียน โนโมแคนนอน ซาโคโนปราวีโล ขึ้น เป็นรัฐธรรมนูญที่เก่าแก่ที่สุดของเซอร์เบีย ซึ่งช่วยยืนยันความเป็นเอกราชทั้งทางศาสนาและทางฆราวาส ซาวายังได้รับการยกย่องเป็นผู้ริเริ่มวรรณกรรมยุคกลางเซอร์เบีย[4][5][6][7][8]

ท่านได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สุดของประวัติศาสตร์เซอร์เบีย วันฉลองนักบุญซาวาในอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ตรงกับวันที่ 27 มกราคม [ตามปฎิทินเก่า: 14 มกราคม] ท่านเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์แห่งชาวเซอร์บ, ประเทศเซอร์เบีย และการศึกษาในเซอร์เบีย โบสถ์นักบุญซาวาที่เบลเกรดสร้างขึ้นตรงจุดที่ร่างของท่านถูกเผาโดยพวกออตโตมันในปี 1594[9] ซึ่งในยุคนั้นชาวเซอร์บลุกฮือต่อต้านการปกครองของออตโตมันโดยใช้รูปของนักบุญซาวาเป็นธงสงคราม ปัจจุบันโบสถ์หลังนี้ยังเป็นหนึ่งในโบสถ์คริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อ้างอิง

[แก้]
  1. "St Sava of Serbia". Independent Catholic News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-14. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  2. "Saint Sava Archbishop of Serbia". Catholic News Agency. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Saint Sava - Saints and Angels". Catholic Online. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Dvornik 1962, pp. 94–100.
  5. Matejić 1976.
  6. Obolensky 1988, pp. 115–172.
  7. Speake 2018, pp. 77–92.
  8. Curta 2018, pp. 91–99.
  9. Radić 2007, p. 234.

บรรณานุกรม

[แก้]