ข้ามไปเนื้อหา

กระจกนาฬิกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างของซีเซียมฟลูออไรด์บนกระจกนาฬิกา

กระจกนาฬิกา (อังกฤษ: watch glass) คือชิ้นกระจกเว้าซึ่งใช้วางเพื่อให้ของเหลวระเหย ใช้ใส่ของแข็งเวลาชั่งน้ำหนัก ใช้เป็นที่ปิดบีกเกอร์ และใช้ใส่เพื่อให้ความร้อนแก่สสารจำนวนน้อย ประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่ การใช้ปิดเพื่อป้องกันฝุ่นหรือสสารอื่น ๆ ไม่ให้เข้าไปในบีกเกอร์ กระจกนาฬิกาไม่ได้ปิดบีกเกอร์อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นก๊าซสามารถแลกเปลี่ยนได้

กระจกนาฬิกาทำให้สามารถเฝ้าดูตะกอนหรือการตกผลึก (crystallization) ได้ง่ายขึ้นเมื่อใช้เป็นพื้นผิวสำหรับการระเหย ทั้งนี้สามารถนำไปวางบนพื้นผิวที่มีสีแตกต่างกับสีของสสารเพื่อทำให้สังเกตได้ง่ายขึ้น

บางครั้งกระจกนาฬิกายังถูกนำไปครอบแก้ววิสกี้ เพื่อรวบรวมกลิ่นให้อยู่ในแก้วและปิดไม่ให้หกเมื่อวิสกี้ถูกเหวี่ยงเป็นวงกลมในแก้ว[1]

ชื่อของกระจกนาฬิกามาจากการที่กระจกนั้นมีความคล้ายกับกระจกบนนาฬิกาพกแบบโบราณ

ประโยชน์

[แก้]
ผลึกของแข็งบนกระจกนาฬิกาซึ่งมีกระดาษที่ถูกพับวางไว้ด้านบนเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
การตากแห้งของผลึกโดยใช้กระจกนาฬิกาและอากาศแห้งจากกรวยที่กลับหัว

จากที่กล่าวไว้ข้างต้น กระจกนาฬิกาถูกใช้เป็นฝาปิดบีกเกอร์อยู่บ่อยครั้ง โดยกระจกนาฬิกาถูกวางไว้บนภาชนะทำให้ควบคุมและเปลี่ยนแปลงสภาวะอิ่มตัวของไอน้ำได้ง่ายขึ้น[2] นอกจากนี้กระจกนาฬิกายังใช้เพื่อใส่ของแข็งเวลาชั่งบนตราชั่ง ก่อนการชั่งของแข็งกระจกนาฬิกาจะถูกนำไปชั่งก่อน ตามด้วยการกดปรับให้ตราชั่งเป็นศูนย์ จากนั้นค่อยใส่สสารที่ต้องการช่างลงไปบนกระจกนาฬิกาเพื่อให้ได้น้ำหนักตามต้องการ โดยตราชั่งจะแสดงน้ำหนักของสสารตัวอย่าง[3]

นอกจากนี้กระจกนาฬิกายังใช้สำหรับการตากสสาร โดยเมื่อสสารนั้นถูกแยกจากตัวทำละลายแล้วจะถูกเกลี่ยลงบนกระจกนาฬิกา และบางครั้งกระดาษกรอง ยังถูกพับแล้ววางไว้ด้านบนเพื่อป้องกันละอองบนอากาศไม่ให้ตกลงบนสสารที่ได้

เพื่อเร่งเวลาในการตาก กระจกนาฬิกาสามารถถูกนำไปวางในตู้ดูดควัน (fume hood) เพื่อเพิ่มการถ่ายเทของอากาศ[4]

อ้างอิง

  1. Graham, Lawrence. "E-pistle 2007/030 – Whisky Glasses; a Study". Malt Maniacs. Canada. สืบค้นเมื่อ 28 June 2015.
  2. Helmenstine, Anne Marie. "Watch Glass - Photo". About. สืบค้นเมื่อ 28 June 2015.
  3. Jones, Chad. "Chemistry Lab Equipment: Watch Glass". Answers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-06. สืบค้นเมื่อ 28 June 2015.
  4. Lehman, John W. (2008). The Student's Lab Companion: Laboratory Techniques for Organic Chemistry (2nd ed.). Prentice Hall. pp. 156–157. ISBN 9780131593817.