ข้ามไปเนื้อหา

การขูดรีดแรงงาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การขูดรีดแรงงาน (อังกฤษ: Exploitation of labour) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างนายจ้างซึ่งใช้งานลูกจ้างเพื่อแสวงหากำไร กำไรนี้เกิดจากการแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่าเทียมระหว่างพลังกายกับค่าจ้าง ตามหลักแล้ว แนวคิดนี้ได้สะท้อนถึงความเอารัดเอาเปรียบต่อบุคคลที่ด้อยกว่า ซึ่งบุคคลที่ไม่มีทุนหรือกรรมสิทธิเป็นของตนเองไม่มีทางเลือกที่จะประกอบอาชีพอื่นนอกจากขายแรงงานแก่นายทุน ดังนั้นในสมัยสังคมศักดินาและระบบทาสจึงเป็นยุคที่มีการขูดรีดแรงงานอย่างมหาศาล

คาร์ล มาคส์ ถือเป็นนักทฤษฎีคลาสสิกที่มีอิทธิพลที่สุดในเรื่องการขูดรีดแรงงาน แนวคิดการขูดรีดแรงงานของมาคส์นี้เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีมูลค่าแรงงานและมูลค่าส่วนเกิน เป็นสภาวะการณ์นายจ้างพยายามขูดรีดเอามูลค่าส่วนเกินมาจากลูกจ้าง โดยวิธีให้ลูกจ้างใช้ทำงานเกินเวลา ลูกจ้างได้ทำงานให้แก่นายจ้างเกินมูลค่าอำนาจซื้อที่ตนเองได้รับ แนวคิดการขูดรีดแรงงานของมาคส์นี้ ยืนอยู่บนหลักความคิดเรื่องมูลค่าของมาคส์ที่ว่า สินค้าทุกอย่างมีมูลค่าในตัวมันเอง และเงินไม่มีมูลค่า เป็นแค่สื่อการในการแลกเปลี่ยนเท่านั้น

อาทิ ราคาแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียมคือ 2 ชั่วโมงแรงงาน = 1 แถวขนมปัง = 20 ฟรังก์ การที่นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานให้ทำงาน 8 ชั่วโมงด้วยค่าจ้างเหมา 60 ฟรังก์ นั้น ตามสัญญานี้ ลูกจ้างต้องทำงานให้นายจ้างคิดเป็นมูลค่าขนมปัง 4 แถว แต่เขากลับได้รับค่าจ้างที่ซื้อขนมปังได้เพียง 3 แถว มูลค่าของขนมปังหนึ่งแถวที่ลูกจ้างทำเกินมานั้นตกไปอยู่ในมือของนายจ้าง

อ้างอิง

[แก้]
  • "Exploitation", Encyclopedia of Power, SAGE Publications, Inc.
  • Horace L. Fairlamb, 'Adam's Smith's Other Hand: A Capitalist Theory of Exploitation', Social Theory and Practice, 1996
  • Andrew Reeve, Modern Theories of Exploitation"