การประท้วงชายแดนกาซา พ.ศ. 2561
ชาวปาเลสไตน์หลายหมื่นคนเข้าร่วมการประท้วงชื่อ การเดินขบวนหวนคืนใหญ่ (Great March of Return) ในฉนวนกาซาใกล้กับชายแดนอิสราเอล[1] เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2561 ซึ่งเป็นวันแผ่นดิน (Land Day) ของชาวปาเลสไตน์ ผู้เดินขบวนส่วนใหญ่อยู่ในค่ายเต๊นต์ห่างจากชายแดนหลายร้อยเมตรและเดินขบวนอย่างสันติ แต่มีกลุ่มซึ่งประกอบด้วยชายหนุ่มเป็นส่วนใหญ่เดินเข้าใกล้ชายแดน ขว้างปาก้อนหินและโมโลตอฟค็อกเทล แล้วกลิ้งล้อรถยนต์จุดไฟใส่ทหารอิสราเอล[2][3] ทหารอิสราเอลฆ่าชาวปาเลสไตน์ 27 คนตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม ซึ่งบางส่วนเป็นสมาชิกองค์การนักรบปาเลสไตน์หลายกลุ่ม[4][5][1][6]
กระทรวงสาธารณสุขกาซาที่กลุ่มฮามาสดำเนินการแถลงในวันที่ 30 มีนาคมว่ามีจำนวนผู้บาดเจ็บ 1,416 คนจากกระสุนจริง กระสุนยางและการได้รับพิษแก๊สน้ำตา[7][8][9] ชาวปาเลสไตน์ 19 คนเสียชีิวิตในวันที่ 30 มีนาคมหรือเนื่องจากแผลตั้งแต่วันนั้น[10] ฝ่ายสหประชาชาติระบุว่า วันที่ 30 มีนาคมเป็นวันที่มีผู้สูญเสียมากที่สุดในความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์นับแต่การขัดกันด้วยอาวุธปี 2557 วันที่ 6 เมษายน กระทรวงฯ รายงานว่ามีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิต 7 คน ได้รับบาดเจ็บ 1,350 คน และ 25 คนมีอาการสาหัส และผู้บาดเจ็บประมาณ 400 คนถูกกระสุนจริงยิง สมาคมเสี้ยววงเดือนแดงรายงานว่าได้รักษาผู้บาดเจ็บ 700 คนในวันที่ 6 เมษายน รวมผู้ถูกยิงด้วยกระสุนจริง 320 คน[10] กำลังป้องกันอิสราเอลระบุว่า ชายสองคนที่ถูกฆ่าห่างจากรั้วชายแดนประมาณ 150 เมตรมีอาวุธปืนเล็กยาวเอเค 47 และระเบิดมือ และพยายามฝ่ารั้ว[9]
มีการวางแผนการประท้วงเป็นการรณรงค์หกสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคมถึง 15 พฤษภาคม มีการตั้งค่ายประท้วงห้าแห่งตามจุดต่าง ๆ ตลอดชายแดนกาซา–อิสราเอล มีผู้เข้าร่วมการประท้วงวันที่ 30 มีนาคมจำนวนสามหมื่นคน เรียกร้องให้ผู้ลี้ภัยและผู้สืบสันดานปาเลสไตน์ได้รับอนุญาตให้กลับคืนอาณาเขตประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ปัจจุบันค่ายยังอยู่ที่เดิม
การประท้วงใหญ่ระลอกสองเริ่มในวันที่ 6 เมษายน 2561 ชาวปาเลสไตน์นำยางรถยนต์จำนวนมากไปด้วยเพื่อสร้างโล่ควันสำหรับการประท้วง พยานว่าชาวปาเลสไตน์ใช้ก้อนหินและโมโลตอฟค็อกเทล ส่วนทหารอิสราเอลใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนจริง[11] ทางการอิสราเอลระบุว่า ฮามาสใช้การประท้วงบังหน้าการเปิดฉากโจมตีต่ออิสราเอล[12] ข้อมูลของอิสราเอลว่า มีสมาชิกกองพลน้อยกอสซัม (Qassam Brigade) ของฮามาสแปดคนถูกฆ่าด้วย[13] ฮามาสระบุตัวผู้ตายห้าคนว่าเป็นสมาชิกกองพลน้อยกอสซัม[14]
การใช้กำลังถึงชีวิตของอิสราเอลถูกองค์การสิทธิมนุษยชนประณาม และเจ้าหน้าที่สหประชาชาติวิจารณ์[15] [16] ฝ่ายผู้นำทหารและพลเรือนอิสราเอลยกย่องทหารอิสราเอลจากการกระทำนี้ ซึ่งอธิบายว่าเป็นมาตรการป้องกันที่จำเป็น ประเทศคูเวตเสนอถ้อยแถลงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้มีการสอบสวนการฆ่าผู้ประท้วงปาเลสไตน์ของอิสราเอลที่สหรัฐขัดขวาง[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Israeli army kills 17 Palestinians in Gaza protests". aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 3 April 2018.
- ↑ Williams, Jennifer (2 April 2018). "The recent violence at the Gaza-Israel border, explained". Vox. สืบค้นเมื่อ 9 April 2018.
- ↑ Kershner, Isabel; Abuheweila, Iyad (30 March 2018). "Israeli Military Kills 15 Palestinians in Confrontations on Gaza Border". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2018. สืบค้นเมื่อ 6 April 2018.
- ↑ "20 Palestinians Killed in Gaza Since Friday". 5 April 2018.
- ↑ Fares Akram and Karin Laub, AP (2 April 2018). "Gaza toll rises to 18, Israel rejects excessive force claims". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-05. สืบค้นเมื่อ 6 April 2018 – โดยทาง washingtonpost.com.
- ↑ al-Mughrabi, Nidal (6 April 2018). "Israeli troops kill seven Palestinians on day of heightened Gaza border protests: medics". Reuters. สืบค้นเมื่อ 9 April 2018.
Israeli troops shot dead seven Palestinian protesters …Gaza medical officials said, raising the death toll to 27 in the week-long disturbances.
- ↑ Jack Khoury, Gaza Footage Shows Protester Shot in the Back While Running Away From Israeli Border Wall, Haaretz, 31 March 2018.
- ↑ Yoav Zitun, Elior Levy, and Matan TzuriReport: Israel holds body of Gaza terrorist killed Friday, YNETnews.com, 1 April 2018.
- ↑ 9.0 9.1 Family of slain soldier held by Hamas urges Israel to keep bodies of Gaza gunmen, Times of Israel, 1 April 2018.
- ↑ 10.0 10.1 "OCHA Flash Update: For the second Friday in succession, multiple Palestinian casualties during demonstrations at the perimeter fence in the Gaza Strip". ReliefWeb. 6 April 2018. สืบค้นเมื่อ 9 April 2018.
- ↑ "IDF uses tear gas, live fire as thousands protest at Gaza border". Times of Israel. 6 April 2018. สืบค้นเมื่อ 6 April 2018.
- ↑ "IDF warns of larger military response to Gaza protest". Jerusalem Post. 31 March 2018.
- ↑ CNN, Ian Lee, Abeer Salman and Amir Tal,. "17 Palestinians killed in confrontations with Israeli forces". cnn.com. สืบค้นเมื่อ 6 April 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ "'Imagine the march of return along Israel's main highway'". Arutz Sheva. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2018.
- ↑ Morris, Loveday; Balousha, Hazem; Eglash, Ruth (6 April 2018). "Burning tires, tear gas and live fire: Gaza clashes turn deadly". The Washington Post. ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2018. สืบค้นเมื่อ 9 April 2018.
- ↑ Halbfinger, David M.; Abuheweila, Iyad; Kershner, Isabel (6 April 2018). "10 Killed in Gaza as Palestinian Protesters Face Off With Israeli Soldiers". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 9 April 2018.
- ↑ "US blocks UNSC statement on Israel's use of force on Land Day". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 9 April 2018.