ข้ามไปเนื้อหา

การประท้วงโดยเผาตัวตายของชาวทิเบตในประเทศจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ร่างของภิกษุทิเบตรูปหนึ่งที่มรณภาพจากการจุดไฟเผาตนเองภายในสำนักยิตโส (Nyitso monastery) ท่านจุดไฟเผาตนเองเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2011

การประท้วงโดยการจุดไฟเผาตนเองของชาวทิเบตในประเทศจีน เป็นการประท้วงของชาวทิเบต ที่ซึ่งข้อมูลจากวันที่ 5 มิถุนายน 2017 มีชาวทิเบต 148 เสียชีวิตจากการประท้วงเผาตนเองนี้ตั้งแต่ 27 กุมภาพันธ์ 2009[1] [2] การจุดไฟเผาตนเองในทิเบตนั้นเริ่มมีรายงานครั้งแรกในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2009 เมื่อตาเปย์ (Tapey) สามเณรจากกีรติโกมปา จุดไฟเผาตนเองกลางตลาดแห่งหนึ่งในเมือง Ngawa City, Ngawa County, เสฉวน[3] ต่อมาในปี 2011 ได้มีกระแสการจุดไฟเผาตนเองของชาวทิเบตในทิเบต อินเดีย และเนปาล ตามหลังเหตุการณ์ที่พุนตซอก (Phuntsog) เมื่อ 16 มีนาคม 2011 ใน Ngawa County, เสฉวน การประท้วงนี้ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน[4] การประท้วงผ่านการจุดไฟเผาตนเองนั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นการเรียกร้องเอกราชของทิเบตคืนจากการปกครองของรัฐบาลจีนโดยไม่ชอบธรรม และเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจีนหยุดฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุทางวัฒนธรรมของทิเบต

ผู้ประท้วงที่จุดไฟเผาตนเองส่วนใหญ่เป็นพระภิษุและภิกษุณี หรือผู้ที่เคยบวชในพุทธศาสนา[5][6] มีบางส่วนเป็นวัยรุ่น[7][8][9][10] เหตุจุไฟเผาตนเองเพื่อประท้วงส่วนมากเกิดขึ้นในจังหวัดเสฉวนของจีน โดยเฉพาะบริเวณโดยรอบสำนักกีรติ (Kirti Monastery) ในเมือง Ngawa City, Ngawa County จังหวัดเสฉวน[3] ส่วนพื้นที่อื่น ๆ เช่น Gansu, Qinghai และ เขตปกครองตนเองทิเบต นอกจากนี้ยังมีเหตุประท้วงโดยการเผาตนเองเกิดขึ้นในประเทศอินเดีย[11] และในกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาลเช่นกัน[6]

ข้อมูลจากรอยเตอส์ระบุว่าองค์ดาไลลามะเคยกล่าวไว้เมื่อเดือนมีนาคม 2012 ว่าท่านไม่สนับสนุนการประท้วงนี้ แต่ชื่นชมในความกล้าหาญของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจุดไฟเผาตนเองนี้[12] และกล่าวโทษว่ามูลเหตุนั้นมากจาก "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม" (cultural genocide) ของรัฐบาลจีน[7]

ผลกระทบ

[แก้]

การจุดไฟเผาตนเองเพื่อประท้วงการยึดครองทิเบตโดยจีนนั้นมีผลกระทบที่มากกว่าการประท้วงต่าง ๆ ที่เคยมีมา ถึงแม้จะมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากการประท้วงของบาวทิเบตเมื่อปี 2008 ทั้งที่เป็นขาวทิเบตและชาวจีนฮั่นในทิเบต จำนวนผู้เสียชีวิตนั้นกลับไม่ถูกรายงานโดยรัฐบาลจีน ในขณะที่การจุดไฟเผาตนเองเพื่อประท้วงนั้นสร้างภาพที่ติดตรึงและมีผลกระทบมาก[6][13] และสามารถถูกส่งต่อเพื่อเผยแพร่และตีพิมพ์โดยข่าวและผู้สนับสนุนได้โดยง่าย ประกอบกับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของชาวทิเบต แม้ในพื้นที่ห่างไกลของจีน[14]

อย่างไรก็ตาม พื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ ของทิเบตเหล่านี้มักถูกตัดการสื่อสารโดยรัฐบาล[15] การตัดการสื่อสาร ประกอบกับการห้ามไม่ให้นักข่าวต่างชาติและผู้ตรวจการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน เดินทางเข้ามาในพื้นที่ ส่งผลให้การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเผาตนเองประท้วงนั้นเป็นไปได้อย่างยากลำบาก อย่างไรก็ตามได้มีองค์กรต่าง ๆ เช่น ขบวนการปลดปล่อยทิเบต ได้ทำรายชื่อเหตุการณ์ที่มีการอัปเดตตลอดเวลา[16]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Free Tibet. "Tibetan Monk Dies After Self-Immolating In Eastern Tibet". สืบค้นเมื่อ 20 May 2017.
  2. Edward Wong (11 April 2015). "Nun Sets Herself on Fire to Protest Chinese Rule in Tibet". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 11 April 2015. She was the second woman to set herself on fire this year and the 138th Tibetan to do so since 2009 in Tibetan regions ruled by China, according to the International Campaign for Tibet, an advocacy group based in Washington.
  3. 3.0 3.1 Edward Wong (2 June 2012). "In Occupied Tibetan Monastery, a Reason for Fiery Deaths". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 3 June 2012.
  4. http://freetibet.org/news-media/news-articles
  5. "Teenage Tibetan nun sets herself on fire in China". The Daily Telegraph. London. Associated Press. 12 February 2012. สืบค้นเมื่อ 12 February 2012.
  6. 6.0 6.1 6.2 "No impact: Tibetan protests seem increasingly ineffective". The Economist. 31 March 2012. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  7. 7.0 7.1 "Teenage Tibetan monk self-immolates, dies: rights group". Reuters. 19 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-18. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  8. "Tibetan teen burns himself to death in China protest". BBC News. 6 March 2012. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  9. "Teenage Tibetan nun sets herself on fire in China". The Daily Telegraph. London. 12 February 2012. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  10. "Two Tibetan teenagers die in self-immolations". BBC News. 28 August 2012.
  11. "Self-immolation in India: Frighteningly common". The Economist. 26 March 2012. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  12. "Teenage monk sets himself on fire on 53rd anniversary of failed Tibetan uprising". The Daily Telegraph. London. 13 March 2012. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  13. "Photos of immolations". SaveTibet.org. 15 มิถุนายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2012.
  14. Andrew Jacobs (23 May 2012). "Technology Reaches Remote Tibetan Corners, Fanning Unrest". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 May 2012.
  15. "Communications clampdown". Free Tibet. 19 March 2013. สืบค้นเมื่อ 13 June 2013.
  16. The violently peaceful struggle for Tibet, Modern Diplomacy

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]