ขวดรูปชมพู่
ขวดรูปชมพู่ (อังกฤษ: Erlenmeyer flask; conical flask (บริติช)[1]; titration flaskทรงกรวย และคอทรงกระบอก ถูกตั้งชื่อตาม เอมิล เออเลนเมเยอร์ (Emil Erlenmeyer; ค.ศ. 1825–1909) ผู้สร้างขึ้นมาเมื่อ ค.ศ. 1860[2]
การออกแบบ
[แก้]ขวดรูปชมพู่มีฐานกว้าง ด้านข้างแคบลงไปยังปลายที่สั้นและตั้งตรง อาจมีขีดบอกปริมาตร และมักมีจุดที่เป็นกระจกด้านหรือมีการเลือบให้สามารถทำเครื่องหมายได้ด้วยดินสอ แตกต่างกับบีกเกอร์ตรงที่มีทรงกรวยและปากแคบ[3] อาจทำจากพลาสติกหรือแก้วแล้วแต่จุดประสงค์[4] และมีหลายขนาด[5]
ปากของขวดรูปชมพู่อาจมีส่วนยื่นออกมาเพื่อให้สามารถปิดด้วยจุกหรือที่คลุม ตรงคออาจทำด้วยแก้วแบบด้าน สำหรับจุกปิดแบบเฉพาะ หรืออาจมีจุดต่อไว้สำหรับเชื่อมกับอุปกรณ์พิเศษ ขวดบุชเนอร์ (Büchner flask) เป็นขวดที่ดัดแปลงเพื่อการกรองใต้ภาวะสุญญากาศ
การใช้
[แก้]การใช้ในเคมี
[แก้]ด้านข้างที่เรียวลงและคอที่แคบทำให้สามารถทำการผสมสารโดยการเขย่าเป็นวงกลม โดยไม่ต้องกลัวกระเด็น ทำให้เหมาะกับการไทเทรต โดยวางไว้ใต้บิวเรตต์ และใส่ตัวทำละลายกับตัวบ่งชี้ลงไปในขวดรูปชมพู่[6] รูปลักษณ์เหล่านี้ยังทำให้เหมาะสำหรับการต้มของเหลว ไอน้ำร้อนรวมตัวกันในส่วนบนของขวดรูปชมพู่ ทำให้ลดการสูญเสียของตัวทำละลาย นอกจากนี้ความแคบของคอทำให้สามารถใช้ร่วมกับกรวยกรอง
สองคุณสมบัติทำให้ขวดรูปชมพู่เหมาะกับการเกิดผลึกใหม่ (recrystallization) เริ่มจากการให้ความร้อนตัวอย่างที่ต้องการเพิ่มความบริสุทธิ์จนเดือด จากนั้นจึงเติมตัวทำละลายจนละลายอย่างสมบูรณ์ ขวดรับถูกเติมด้วยตัวทำละลายปริมาณเล็กน้อย และให้ความร้อนจนเดือด ขณะกำลังร้อนตัวทำละลายถูกกรองผ่านกระดาษกรองที่ถูกพับไปยังขวดรับ ไอน้ำร้อนจากตัวทำละลายที่กำลังเดือดทำให้กรวยกรองยังคงอุ่น และป้องกันการตกผลึกก่อนที่จะผ่านลงไป
ขวดรูปชมพู่ไม่เหมาะกับการวัดปริมาตรแบบแม่นยำ เช่นเดียวกับบีกเกอร์ ขีดบนขวดมีความแม่นยำในระยะ 5%[7]
การใช้ในชีววิทยา
[แก้]ขวดรูปชมพู่ยังถูกใช้ในจุลชีววิทยาสำหรับการเพาะเลี้ยงจุลชีพ ขวดรูปชมพู่ที่ใช้เพื่อเพาะเลี้ยงเซลล์ต้องผ่านการฆ่าเชื้อ และอาจมีจุกปิดเพื่อให้แก๊สสามารถแลกเปลี่ยนได้ระหว่างการฟักตัวและการเขย่า ปกติแล้วจะใช้ของเหลวปริมาณไม่มาก และมักไม่เกินหนึ่งในห้าของความจุขวด เพื่อให้แก๊สแลกเปลี่ยนได้อย่างสะดวก และส่งเสริมการผสมอย่างทั่วถึงเมื่อขวดถูกเขย่า อัตราการแลกเปลี่ยนแก๊สในขวดรูปชมพู่ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเขย่า, ปริมาณของเหลว และการออกแบบของขวด[8] โดยความเร็วในการเขย่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลสูงสุดต่ออัตราการแลกเปลี่ยนออกซิเจน[9][10][11][12]
ข้อจำกัดทางกฎหมาย
[แก้]เพื่อกีดขวางการผลิตยาเสพติด รัฐเท็กซัสจำกัดการขายขวดรูปชมพู่ โดยจะขายให้กับผู้ที่มีใบอนุญาตเท่านั้น[13][14]
ดูเพิ่ม
[แก้]รูปเพิ่มเติม
[แก้]-
ขวดรูปชมพู่แบบต่าง ๆ
-
รูปวาดต้นฉบับของขวดรูปชมพู่
-
ขวดรูปชมพู่หลายขนาด
-
ขวดรูปชมพู่ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Andrea Sella (July 2008). "Classic Kit: Erlenmeyer flask". Royal Society of Chemistry..
- ↑ Emil Erlenmeyer, "Zur chemischen und pharmazeutischen Technik," Zeitschrift für Chemie und Pharmacie, vol. 3 (January 1860), 21-22. He wrote that he first displayed the new flask at a pharmaceutical conference in Heidelberg in 1857, and that he had arranged for its commercial production and sale by local glassware manufacturers.
- ↑ Laboratory Glassware. 17 November 2011
- ↑ Laboratory Flasks Information. 15 July 2016
- ↑ Volumetric Glassware. 15 July 2016
- ↑ "Method of titration". www.sciencebuddies.org/. สืบค้นเมื่อ 2016-07-08.
- ↑ "Erlenmeyer Flasks and Beakers". www.dartmouth.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-16. สืบค้นเมื่อ 2016-06-17.
- ↑ Soccol CR, Pandey A, Larroche C (2013). Fermentation Processes Engineering in the Food Industry. CRC Press Taylor & Francis Group, Florida. ISBN 978-1439887653.
- ↑ Schiefelbein S, Fröhlich A, John GT, Beutler F, Wittmann C, Becker J (2013): "Oxygen supply in disposable shake-flasks: prediction of oxygen transfer rate, oxygen saturation and maximum cell concentration during aerobic growth". Biotechnology Letters. 35 (8): 1223-30, doi:10.1007/s10529-013-1203-9, PMID 23592306.
- ↑ Kloeckner W, Diederichs S and Buechs J (2014): "Orbitally Shaken Single-Use Bioreactors". Adv Biochem Eng Biotechnol. 138: 45-60, PMID 23604207
- ↑ Buechs J, Maier U, Mildbradt C et al. (2000b): "Power consumption in shaking flasks on rotary shaking machines: II. Nondimensional description of specific power consumption and flow regimes in unbaffled flasks at elevated liquid viscosity". Biotechnol Bioeng. 68(6): 594-601, PMID 10799984
- ↑ Buechs J, Lotter S, Mildbradt C (2001b): " Out-of-phase operating conditions, a hitherto unknown phenomenon in shaking bioreactors". Biochem Eng J. 7(2): 135-141, PMID 11173302
- ↑ "Note to Texas Residents about Lab Glassware". Crscientific.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-02-18.
- ↑ "TxDPS - Laws and Regulations". Txdps.state.tx.us. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-03. สืบค้นเมื่อ 2016-02-18.