คนพื้นเมือง
หนึ่งในนิยามของ คนพื้นเมือง ชนเผ่าพื้นเมือง หรือ ชาวพื้นเมือง (อังกฤษ: indigenous peoples หรือ aboriginal peoples) ให้ความหมายของคำนี้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ มีกำเนิดในท้องถิ่นนั้น มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา เป็นของตนเอง มีเอกตลักษณ์การแต่งกายที่เป็นของตนเอง อย่างไรก็ดีไม่มีนิยามที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป[1]
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบ คำนี้มักใช้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับแผ่นดินก่อนการล่าอาณานิคมหรือการก่อตั้งรัฐชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวคงไว้ซึ่งความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการเมืองจากวัฒนธรรมและการเมืองกระแสหลักในรัฐชาติที่กลุ่มชาติพันธ์นั้นดำรงอยู่[2] ความหมายทางการเมืองของคำนี้หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่ง่ายต่อการถูกเอาเปรียบและกดขี่โดยรัฐชาติ ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดสิทธิพิเศษทางการเมืองให้กับชนพื้นเมืองโดยองค์การนานาชาติ อาทิเช่น สหประชาชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และธนาคารโลก[3] สหประชาชาติได้ประกาศ Declaration on the Rights of Indigenous Peoples เพื่อปกป้องสิทธิในวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ภาษา การจ้างงาน สุขภาพ การศึกษา และทรัพยากรธรรมชาติ ของชนพื้นเมือง ด้วยนิยามที่ต่างกันไป มีประมาณการณ์ว่าชนพื้นเมืองในโลกนี้มีอยู่ราว 220 ล้านคนใน ค.ศ. 1997[4]ถึง 350 ล้านคน ใน ค.ศ. 2004[2]
สิทธิ ปัญหา และความกังวล
[แก้]ชนพื้นเมืองประสบปัญหาหลายอย่างเกี่ยวกับสถานะและการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มวัฒนธรรมอื่น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ปัญหาบางอย่างก็เป็นปัญหาจำเพาะกลุ่ม บางปัญหาก็พบได้ทั่วไป Bartholomew Dean และ Jerome Levi (2003) ศึกษาหาสาเหตุว่าทำไมสภาพความเป็นอยู่ของชนพื้นเมืองในหลายส่วนของโลกพัฒนาขึ้น ในขณะที่อีกหลายส่วนยังตกอยู่ในสภาวะย่ำแย่และถูกกดขี่[5] ปัญหาเหล่านี้ได้แก่ การอนุรักษ์วัฒนธรรมและภาษา สิทธิในที่ดิน สิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิทางการเมืองและการปกครองตนเอง การเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ความยากจน สาธารณสุข และการเลือกปฏิบัติ
ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมชนพื้นเมืองและโลกภายนอกมีความซับซ้อนยิ่ง มีตั้งแต่ความยัดแย้งและการกดขี่อย่างเต็มรูปแบบ จนถึงการอยู่ร่วมกันและการถ่ายเทวัฒนธรรมอันก่อเกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย ในทางมานุษยวิทยาเรียกการที่สองวัฒนธรรมมาพบกันเป็นครั้งแรกว่า first contact
ปัญหาที่พบได้โดยทั่วไปในกลุ่มชนพื้นเมือง โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการเลือปฏิบัติและแรงกดดันให้ควบรวมกับสังคมส่วนใหญ่ มีข้อยกเว้นเพียงแต่ชนพื้นเมืองบางกลุ่มในรัสเซียและแคนาดาที่ได้รับสิทธิปกครองตนเอง (Sakha, Komi peoples และ Inuit) ในบางประเทศรัฐบาลก็แสดงความแข็งกร้าวและกดขี่ชนพื้นเมืองอย่างเด่นชัด เมื่อ ค.ศ. 2002 รัฐบาล บอตสวานา ขับไล่ชาว Kalahari จากแผ่นดินที่บรรพบุรุษของเขาอาศัยมาอย่างน้อยสองหมื่นปี[6] ประธานาธิบดี Festus Mogai เรียกคนเหล่านี้ว่า "สัตว์ยุคหิน"[7] และรัฐมนตรี Margaret Nasha เปรียบเปรยการวิพากษ์ของสาธารณชนในกรณีนี้ว่าก็คล้ายกับการวิพากษ์การฆ่าช้าง[8] ต่อมา ใน ค.ศ. 2006 จึงมีคำพิพากษาของศาลสูงว่าชนพื้นเมืองนี้มีสิทธิ์คืนสู่ที่ดินในบริเวณ Central Kalahari Game Reserve.[9][10]
เมื่อ ค.ศ. 2011 รัฐบาลบังกลาเทศประกาศว่า "ไม่มีชนพื้นเมืองในบังกลาเทศ"[11] สร้างความโกรธแค้นให้กับชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม[12] และถูกมองว่าเป็นความพยายามของรัฐบาลในการทำลายสิทธิ์ของชนพื้นเมืองซึ่งมีอยู่เพียงจำกัด[13] ผู้เชี่ยวชาญได้ประท้วงคำประกาศดังกล่าวและตั้งคำถามต่อนิยามของ "ชนพื้นเมือง" ที่รัฐบาลบังกลาเทศใช้[14][15]
ปัญหาสุขภาพ
[แก้]องค์การอนามัยโลกพบว่าสถิติทางสุขภาพของชนพื้นเมืองมีค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะในแอฟริกา เอเชีย และยุโรปตะวันออก แต่ข้อมูลเบื้องต้นจากหลายประเทศที่มีการจัดเก็บข้อมูลต่างชี้ชัดว่าชนพื้นเมืองมีปัญหาสุขภาพมากกว่าประชากรทั่วไป ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อาทิเช่น ชนพื้นเมืองเป็นโรคเบาหวานมากกว่าประชากรทั่วไปในออสเตรเลีย[16] มาตรฐานทางสาธารณสุขที่ย่ำแย่และการขาดน้ำสะอาดของชนพื้นเมืองในรวันดา[17] การเกิดของเด็กที่ไร้การดูแลของผู้ปกครองในเวียดนาม[18] อัตราการฆ่าตัวตายของเยาวชนชาวอินุอิตในแคนาดาสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึงสิบเอ็ดเท่า[19] และอัตราการตายของทารกแรกเกิดของชนพื้นเมืองสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรทั่วไปในทุกแห่ง[20]
วันสากลของชนพื้นเมืองโลก
[แก้]วันสากลของชนพื้นเมืองโลกตรงกับวันที่ 9 สิงหาคม อันเป็นวันที่มีการประชุมของ United Nations Working Group of Indigenous Populations เป็นครั้งแรก
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติเมื่อ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1994 ให้วันที่ 9 สิงหาคมเป็นวันสากลของชนพื้นเมืองโลก (resolution 49/214) เป็นเวลาสิบปี ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2004 สมัชชาฯ มีมติให้ยืดเวลาของการฉลองวันสากลนี้ไปอีกทศวรรษหนึ่ง (ค.ศ. 2005–2014) (resolution 59/174).[21]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เพราะเงื่อนไขที่ชนพื้นเมืองอยู่ในแต่ละที่แตกต่างกันออกไปและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจึงไม่มีนิยามที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในแต่ละประเทศอาจเรียกชนเผ่าพื้นเมืองด้วยคำที่ต่างกันออกไป อาทิเช่น "ชนพื้นเมืองกลุ่มน้อย" "อะบอริจิน" "ชาวเขา" "minority nationalities," "scheduled tribes," หรือ "ชนเผ่า"[1]
- ↑ 2.0 2.1 Coates 2004:12
- ↑ Sanders, Douglas (1999). "Indigenous peoples: Issues of definition". International Journal of Cultural Property. 8: 4–13. doi:10.1017/S0940739199770591.
- ↑ Bodley 2008:2
- ↑ Bartholomew Dean and Jerome Levi (eds.) At the Risk of Being Heard: Indigenous Rights, Identity and Postcolonial States University of Michigan Press (2003)[2] เก็บถาวร 2006-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "afrol News – Botswana govt gets tougher on San tribesmen". Afrol.com. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
- ↑ Simpson, John (2 May 2005). "Africa | Bushmen fight for homeland". BBC News. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
- ↑ Monbiot, George (21 March 2006). "Who really belongs to another age – bushmen or the House of Lords?". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
- ↑ "Botswana bushmen ruling accepted". BBC News. 18 December 2006. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
- ↑ Brigitte Weidlich Botswana Bushmen win eviction case. namibian.com.na. 14 December 2006
- ↑ No 'indigenous', reiterates Shafique เก็บถาวร 2012-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. bdnews24.com (18 June 2011). Retrieved on 2011-10-11.
- ↑ Ministry of Chittagong Hill Tracts Affairs. mochta.gov.bd. Retrieved on 2012-03-28.
- ↑ Disregarding the Jumma เก็บถาวร 2011-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Himalmag.com. Retrieved on 2011-10-11.
- ↑ INDIGENOUS PEOPLEChakma Raja decries non-recognition เก็บถาวร 2012-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. bdnews24.com (28 May 2011). Retrieved on 2011-10-11.
- ↑ 'Define terms minorities, indigenous' เก็บถาวร 2011-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. bdnews24.com (27 May 2011). Retrieved on 2011-10-11.
- ↑ Hanley, Anthony J. Diabetes in Indigenous Populations, Medscape Today
- ↑ Ohenjo, Nyang'ori; Willis, Ruth; Jackson, Dorothy; Nettleton, Clive; Good, Kenneth; Mugarura, Benon (2006). "Health of Indigenous people in Africa". The Lancet. 367 (9526): 1937. doi:10.1016/S0140-6736(06)68849-1.
- ↑ Health and Ethnic Minorities in Viet Nam, Technical Series No. 1, June 2003, WHO, p. 10
- ↑ Facts on Suicide Rates, First Nations and Inuit Health, Health Canada
- ↑ "Health of indigenous peoples". Health Topics A to Z. สืบค้นเมื่อ 17 April 2011.
- ↑ International Day of the World's Indigenous People – 9 August. www.un.org. Retrieved on 2012-03-28.