ข้ามไปเนื้อหา

ชุดตัวอักษรอาหรับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุดตัวอักษรอาหรับ
ชนิด
ช่วงยุค
คริสต์ศตวรรษที่ 3 หรือ 4 ถึงปัจจุบัน
ทิศทางขวาไปซ้าย Edit this on Wikidata
ภาษาพูดอาหรับ
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ISO 15924
ISO 15924Arab (160), ​Arabic
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Arabic
ช่วงยูนิโคด
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ
อักษรอาหรับ
ه
ประวัติอักษรอาหรับ
เครื่องหมายการออกเสียง
ฟัตฮะฮ์ · กัสเราะฮ์ · ء ·ฎ็อมมะฮ์
เลขอาหรับ

ชุดตัวอักษรอาหรับ (อาหรับ: الْأَبْجَدِيَّة الْعَرَبِيَّة หรือ الْحُرُوف الْعَرَبِيَّة, สัทอักษรสากล: [ʔalʔabd͡ʒadijja lʕarabijja]) เป็นตัวอักษรที่ใช้เขียนภาษาอาหรับ เขียนจากขวาไปซ้ายในรูปตัวเขียน และมี 28 ตัวอักษร ตัวอักษรส่วนใหญ่มีรูปเชื่อม

อักษรอาหรับเคยพิจารณาเป็นอักษรไร้สระ (ใช้แค่พยัญชนะ) แต่ปัจจุบันถือเป็น "อักษรไร้สระไม่บริสุทธิ์"[1] ซึ่งมีการระบุเสียงสระด้วยเครื่องหมายเสริมสัทอักษร เช่นอักษรฮีบรู

อักษรอาหรับเป็นระบบอักษรที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองแค่อักษรละตินและอักษรจีน[2] โดยเป็นชุดของอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน

โครงสร้างของอักษรอาหรับ

[แก้]

เขียนจากขวาไปซ้าย มีอักษรพื้นฐาน 28 ตัว การปรับไปเขียนภาษาอื่น เช่น ภาษาเปอร์เซียและภาษาอูรดูจะเพิ่มอักษรอื่นเข้ามา ไม่มีความแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์กับตัวเขียนและตัวเล็กกับตัวใหญ่ อักษรแต่ละตัวจะเขียนติดกับอักษรตัวอื่นแม้ในการพิมพ์และรูปอักษรเปลี่ยนไปขึ้นกับตำแหน่งในคำ ไม่มีการเขียนสระเสียงสั้น ผู้อ่านต้องจดจำเอาเองว่าคำคำนั้นมีเสียงสระเป็นอย่างไร จะเขียนเฉพาะสระเสียงยาวเท่านั้น ในคัมภีร์อัลกุรอานหรือในการสอนจะใช้เครื่องหมายแสดงการออกเสียง ในหนังสือรุ่นใหม่จะแสดงเครื่องหมายการยกเว้นเสียงสระ (ซุกูน) และเครื่องหมายเพิ่มความยาวเสียงพยัญชนะ (ชัดดะฮ์) ชื่อของอักษรอาหรับมาจากคำที่มีความหมายในภาษาเซมิติกแรกเริ่ม การจัดเรียงอักษรอาหรับมี 2 แบบ

  • รูปแบบเดิมคือ แบบอับญะดี (Abjadī أبجدي) เป็นการจัดเรียงตามชุดตัวอักษรฟินิเชีย คล้ายกับการเรียงแบบ ABC ในภาษาอังกฤษ
  • รูปแบบที่ใช้ในปัจจุบันคือ แบบฮิญาอี (Hejā’i هجائي) ซึ่งเรียงตามรูปร่างของอักษร

การจัดเรียงแบบอับญะดี เป็นการจับคู่อักษรอาหรับ 28 ตัวกับอักษรฟินิเชีย 22 ตัว ที่เหลืออีก 6 ตัว เรียงไว้ข้างท้าย ٲ ب ج د ه و ذ ح ط ي ك ل م ن س ع ف ص ق ر ش ت ث خ ز ض ظ غ

ตัวอักษรพื้นฐาน

[แก้]
อักษรอาหรับที่ใช้เขียนภาษาอาหรับ
ชื่อ ถอดอักษร เสียง (IPA) รูปร่าง อักษรเดี่ยว
ท้ายคำ กลางคำ ต้นคำ
’alif อลิฟ / ā หลายแบบ,
รวมทั้ง /aː/ [a]
ـا ـا ا ا
bā’ บาอ์ b b
(บางครั้ง p ในคำยืม)[b]
ـب ـبـ بـ ب
tā’ ตาอ์ t t ـت ـتـ تـ ت
thā’ ษาอ์ th (หรือ ṯ ) θ ـث ـثـ ثـ ث
jīm ญีม j (หรือ ǧ, g ) d͡ʒ ~ ʒ ~ ɡ [c] ـج ـجـ جـ ج
ḥā’ หาอ์ ħ ـح ـحـ حـ ح
khā’ คออ์ kh (also , ḵ ) x ـخ ـخـ خـ خ
dāl ดาล d d ـد ـد د د
dhāl ษาล (ซาล) dh (หรือ ḏ ) ð ـذ ـذ ذ ذ
rā’ รออ์ r r ـر ـر ر ر
zayn / zāy ซัย/ซาย z z ـز ـز ز ز
sīn ซีน s s ـس ـسـ سـ س
shīn ชีน sh (also š ) ʃ ـش ـشـ شـ ش
ṣād ศอด/ซ้อด ـص ـصـ صـ ص
ḍād ฎ๊อด/ด๊อด ـض ـضـ ضـ ض
ṭā’ ฏออ์ ـط ـطـ طـ ط
ẓā’ ษออ์~ซออ์ ðˤ ~ ـظ ـظـ ظـ ظ
‘ayn อัยน์ ʿ ʕ ـع ـعـ عـ ع
ghayn ฆอยน์ gh (also ġ, ḡ ) ɣ
(บางครั้ง ɡ ในคำยืม)[c]
ـغ ـغـ غـ غ
fā’ ฟาอ์ f f
(บางครั้ง v ในคำยืม)[b]
ـف ـفـ فـ ف [d]
qāf ก๊อฟ q q
(บางครั้ง ɡ ในคำยืม)[c]
ـق ـقـ قـ ق [d]
kāf ก๊าฟ k k
(บางครั้ง ɡ ในคำยืม)[c]
ـك ـكـ كـ ك
lām ลาม l l ـل ـلـ لـ ل
mīm มีม m m ـم ـمـ مـ م
nūn นูน n n ـن ـنـ نـ ن
hā’ ฮาอ์ h h ـه ـهـ هـ ه
wāw เวา w / ū / aw w, /uː/, /aw/,
บางครั้ง u, o, และ ในคำยืม
ـو ـو و و
yā’ ยาอ์ y / ī / ay j, /iː/, /aj/,
บางครั้ง i, e, และ ในคำยืม
ـي ـيـ يـ ي [e]
  • ^a อลิฟแสดงได้หลายหน่วยเสียงในภาษาอาหรับ:
    1. ไม่มี เครื่องหมายแสดงเสียงสระ: ا
      • ต้นคำ: a, i /a, i/ หรือเป็นรูปย่อของคำนำหน้านาม ال (a)l-
      • กลางหรือท้ายคำ: ā /aː/.
    2. อลิฟ กับ ฮัมซะฮ์ ด้านบน: أ
      • ต้นคำ: ’a, ’u /ʔa, ʔu/
      • กลางหรือท้ายคำ: ’a   /ʔa/.
    3. อลิฟ กับ ฮัมซะฮ์ ข้างล่าง: إ
      • ต้นคำ: ’i   /ʔi/; ไม่มีรูปกลางหรือท้ายคำ
    4. อลิฟ กับ มัดดะหฺ:آ
      • ต้น กลางหรือท้ายคำ: ’ā   /ʔaː/.
  • ^b p และ v แสดงด้วยپ และ ڤ‎/ڥ หรือไม่ใช้, ب และ ف‎/ڢ ใช้ได้ด้วยเช่นกัน แต่ไม่มีในภาษาอาหรับมาตรฐาน
  • ^c สำหรับผู้พูดภาษาอาหรับ หน่วยเสียงɡ แสดงด้วยอักษรต่างกัน ขึ้นกับสำเนียง ج ใช้ทั่วไปในอียิปต์ และบางครั้งในเยเมนและโอมาน ق ใช้แทนเสียง ɡ ในสำเนียงท้องถิ่น ك หรือ غ ใช้ในที่ที่ ɡ ไม่มีในสำเนียงท้องถิ่น อักษรอื่น ๆ เช่น گ,‎ ݣ หรือ ڨ ใช้ได้เช่นกัน แต่ไม่ถือเป็นอักษรอาหรับมาตรฐาน ในที่ที่ ج แสดง ɡ สามารถใช้ สำหรับ ʒ~d͡ʒ, หรืออักษร چ ที่ใช้ได้ในอียิปต์
  • ^d Fā’ และ qāf ในมักเรบ เขียนเป็น ڢ และ ڧـ ـڧـ ـٯ ตามลำดับ โดยเขียนจุดที่ต้นคำหรือกลางคำ
  • ^e Yā’ รูปเดี่ยวและรูปท้ายคำในลายมือเขียนและตัวพิมพ์ในอียิปต์ ซูดาน และบางครั้งในที่อื่นด้วย จะไม่มีจุด ى ทำให้บางครั้งเกิดความสับสนกับ ’alif maqṣūrah

อักษรดัดแปลง

[แก้]
รูป ชื่อ ถอดอักษร หน่วยเสียง (IPA)
เดี่ยว ท้ายคำ กลางคำ ต้นคำ
آ ـآ آ ’alif maddah ’ā /ʔaː/
ة ـة tā’ marbūṭah h or
t / h /
/a/, /at/
ى ـى ’alif maqṣūrah[3] ā / /aː/

การใช้อักษรอาหรับเขียนภาษาต่าง ๆ

[แก้]

มีการใช้อักษรอาหรับเขียนภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอาหรับอย่างกว้างขวาง โดยมีการปรับแต่งหรือเพิ่มลักษณะเพื่อแทนเสียงที่ต่างไปจากอักษรอาหรับตัวอย่างเช่น ภาษาอาหรับไม่มีเสียง /ป/ ฉะนั้น ภาษาอื่น ๆ ที่มีเสียง /ป/ จึงต้องสร้างอักษรของตัวเองขึ้นมา การเพิ่มเติมนี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มอักษรดัดแปลงของเปอร์เซียใช้กับภาษาในอินเดียทั้งหมดรวมทั้งภาษาตุรกี
  2. กลุ่มอักษรอยามีใช้ในแอฟริกาตะวันตก
  3. อักษรยาวีใช้ในภาษามลายู

ภาษาปัจจุบันที่เขียนด้วยอักษรอาหรับได้แก่

ภาษาที่เคยเขียนด้วยอักษรอาหรับมาก่อนแต่เลิกใช้แล้วในปัจจุบัน ได้แก่

การเขียนอักษรอาหรับ

[แก้]

การเขียนอักษรอาหรับเป็นการเขียนแบบต่อเนื่องกันไป อักษรแต่ละตัวมีรูปร่างต่างไปขึ้นกับตำแหน่งในคำว่าอยู่ต้น กลางหรือท้ายคำ มีอักษร 6 ตัวที่มีเพียงแบบเดี่ยวกับท้ายคำ ดังนั้นเมื่อตามหลังอักษรตัวอื่นจะไม่มีการเชื่อมต่อและอักษรตัวต่อไปจะใช้แบบต้นคำหรือแบบเดี่ยวถ้าไม่มีแบบต้นคำ อักษรที่ไม่มีแบบต้นคำหรือกลางคำจะไม่ใช้เป็นตัวตามอักษรอื่นแม้ภายในคำ ฮัมซะฮ์ ไม่ใช้นำหน้าหรือตามหลังอักษรอื่นบางครั้งใช้เขียนบนวาว ยาอุ หรือ อลิฟเพื่อแสดงเสียง/อ/ อลิฟ มักศูเราะฮ์ (alif maqsurah) ในภาษาอาหรับ รูปร่างเหมือนตัวยาอุที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) ใช้เฉพาะตำแหน่งท้ายคำเท่านั้น ใช้แทนเสียงสระอา เช่นเดียวกับ อลิฟในภาษาเปอร์เซียและภาษาอูรดูเรียก ฟาร์ซี เยห์ (Farsi yeh) ซึ่งมีรูปต้นคำกับกลางคำด้วย ส่วนอลิฟ มักศูเราะฮ์ ไม่มีรูปดังกล่าว

การเชื่อมต่อ

[แก้]
องค์ประกอบของคำว่า อัลลอหฺ "Allah":
1. อลิฟ
2. ฮัมซะฮ์ (همزة وصل)
3. ลาม
4. ลาม
5. ชัดดะฮ์ (شدة)
6. อลิฟบน (ألف خنجرية)
7. เฮ

การเขียนอักษรอาหรับแบบเชื่อมต่อเป็นสิ่งที่เห็นได้โดยทั่วไป บางตัวมีรูปแบบเฉพาะ เช่น lām + ’alif

รูป ชื่อ
ท้ายคำ กลางคำ ต้นคำ เดี่ยว
lām + ’alif

การเชื่อมต่อที่เป็นรูปแบบเฉพาะคือ ลาม + อลิฟ ( لا) ตัวอย่างเช่นคำว่า อัลลอฮ์ เขียนได้เป็น اﷲ

ฮัมซะฮ์

[แก้]

ในระยะแรก อลิฟใช้แทนเสียง /อ/ ซึ่งเป็นลักษณะที่มาจากอักษรฟินิเชีย ปัจจุบันนำมาใช้แทนสระเสียงยาวเช่นเดียงกับวาวและยาอุ ทำให้เกิดความคลุมเครือว่าอลิฟตัวนั้นแทนเสียง /อ/ หรือสระอา อักษรอาหรับปัจจุบันจึงเพิ่มฮัมซะฮ์ใช้แทนเสียง /อ/ ซึ่งปรากฏได้ทุกที่ภายในคำ เขียนทั้งโดยลำพังและเกาะกับอักษรอื่น

ชัดดะฮ์

[แก้]

ชัดดะฮ์ (◌ّ) บ่งถึงการซ้ำพยัญชนะ โดยเขียนบนพยัญชนะตัวที่ 2 เมื่อมีการซ้ำ

ซุกูน

[แก้]

พยางค์ในภาษาอาหรับมีทั้งพยางค์เปิด และพยางค์ปิดซึ่งใช้กับสระเสียงสั้นเท่านั้น เมื่อเป็นพยางค์ปิดพยัญชนะตัวที่เป็นตัวสะกดจะไม่มีเสียงสระ และใช้เครื่องหมายซุกูน (◌ْ) เพื่อลดความคลุมเครือ โดยเฉพาะเมื่อตัวหนังสือนั้นไม่ได้แสดงเครื่องหมายการออกเสียง ตัวหนังสือมาตรฐานนั้นจะมีแต่พยัญชนะเท่านั้น เช่น qalb “หัวใจ” เขียนเป็น qlb

ซุกูนเป็นตัวบ่งชี้ให้รู้ว่าตรงไหนไม่ต้องใส่เสียงสระ คำ qlb อาจหมายความว่าจะใส่เสียงสระเข้าที่ q l หรือ b ก็ได้ แต่เมื่อเติมซุกุนเหนือตัว l และ b ทำให้รู้ว่าต้องใส่สระที่ตัว q เท่านั้น เขียนได้ว่า قلْبْ เมื่อกำหนดการออกเสียงโดยสมบูรณ์จะเพิ่มเครื่องหมายฟัตฮะฮ์ เป็น قَلْبْ คัมภีร์อัลกุรอานเป็นหนังสือที่แสดงการออกเสียงโดยสมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้ว การใส่ซุกูนเหนือตัวยาอุเพื่อกำหนด /อี/ และ วาว เพื่อกำหนด /อู/ พบน้อยมาก เพราะยาอุ + ซุกุน อาจอ่านเป็น /ไอ/ และวาว + ซุกุนอาจอ่านเป็น /เอา/

ตัวอักษร m-w-s-y-q-ā (موسيقى มีอลิฟ มักศูเราะฮ์ที่ท้ายคำ) ปกติอ่านเป็น mūsīqā (ดนตรี) ถ้าเขียนซุกุนบนตัววาว ยาอุ และอลิฟ เป็น موْسيْقىْ จะอ่านเป็น mawsaykāy (ควรจำไว้ว่า อลิฟ มักศูเราะฮ์แม้จะอยู่ท้ายคำแต่ไม่ต้องใส่ซุกุน คำนี้จะถูกเขียนเป็น مُوْسِيْقَى ในคัมภีร์อัลกุรอาน (ถ้ามีคำนี้อยู่) หรือ مُوسِيقَى โดยทั่วไป ซุกุนจะไม่วางที่ตำแหน่งท้ายคำแม้ว่าพยัญชนะนั้นจะไม่มีเสียงสระ

สระ

[แก้]

ในภาษาอาหรับไม่เขียนสระเสียงสั้นยกเว้นในหนังสือศักดิ์สิทธิ์ เช่น อัลกุรอาน จะใช้เฉพาะเมื่อกิดความคลุมเครือขึ้น โดยเครื่องหมายสระเสียงสั้นจะเป็นเครื่องหมายอยู่บนหรือล่างพยัญชนะ ในกรณีสระเสียงยาว เช่น /อา/ จะแสดงโดยใช้เครื่องหมายสระเสียงสั้นคู่กับอลิฟ (/อา/) ยาอุ (/อี/) หรือ วาว (/อู/) เสียงสระอาตามด้วยฮัมซะฮ์จะแทนด้วยอลิฟ มัดดะหรือเขียนฮัมซะฮ์ แล้วตามด้วยอลิฟ อักษรยาอุที่แทนสระอาจเชื่อมต่อกับพยัญชนะตัวต่อไปได้

สระเสียงสั้น

[แก้]
สระเสียงสั้น
(แสดงเสียงอ่าน)
ชื่อ ถอดอักษร ค่า
064E
َ
fatḥah a /a/
064F
ُ
ḍammah u /u/
0650
ِ
kasrah i /i/

สระเสียงยาว

[แก้]
สระเสียงยาว
(แสดงเสียงอ่าน)
ชื่อ ถอดอักษร ค่า
064E 0627
َا
fatḥah ’alif ā /aː/
064E 0649
َى
fatḥah ’alif maqṣūrah ā / á /aː/
064F 0648
ُو
ḍammah wāw ū /uː/
0650 064A
ِي
kasrah yā’ ī /iː/
สระเสียงยาว
(ไม่แสดงเสียงอ่าน)
ชื่อ ถอดอักษร ค่า
0627
ا
(implied fatḥah) ’alif ā /aː/
0649
ى
(implied fatḥah) ’alif maqṣūrah ā / aỳ /aː/
0648
و
(implied ḍammah) wāw ū / uw /uː/
064A
ي
(implied kasrah) yā’ ī / iy /iː/

สระประสม

[แก้]
สระประสม
(แสดงเสียงอ่าน)
ชื่อ ถอดอักษร ค่า
064E 064A
َي
fatḥah yā’ ay /aj/
064E 0648
َو
fatḥah wāw aw /aw/

ตันวีน (◌ً ◌ٍ ◌ٌ)

[แก้]

ใช้กำหนดการลงท้ายทางไวยากรณ์ด้วย /อัน/ /อิน/ และ /อุน/ ในภาษาอาหรับโบราณมักใช้เชื่อมกับอลิฟ แต่ไม่ค่อยใช้ในภาษาสมัยใหม่

ตัวเลข

[แก้]

ตัวเลขที่ใช้มี 2 แบบ คือแบบมาตรฐานกับแบบอาหรับตะวันออก ที่ใช้ในอิหร่าน ปากีสถาน และอินเดีย ในภาษาอาหรับเรียกเลขนี้ว่า ตัวเลขอินเดีย (هنديه أرقام arqām hindiyyah) ในแอฟริกาเหนือปัจจุบันใช้ตัวเลขแบบตะวันตก ในยุคกลางมีการใช้ตัวเลขแบบตะวันตกที่ต่างไปเล็กน้อย (เช่นจากอิตาลี) การเขียนตัวเลขต่างจากตัวอักษรคือเขียนจากซ้ายไปขวา

นอกจากนี้อักษรอาหรับใช้แทนเลขได้ด้วยแต่ใช้น้อยในปัจจุบัน การใช้ขึ้นกับอันดับอับญะดีย์ เช่น ا= 1 ب = 2 ج= 3 จนกระทั่ง 1000 = غ

อักษรอาหรับและการทับศัพท์

[แก้]
ข้อ อักษร ชื่ออักษร ภาษาไทย หมายเหตุ
1 / ا ฮัมซะฮ์/อลิฟ อ, สระ อา
2 บาอ์
3 ตาอ์
4 ษาอ์
5 ญีม ญ, จญ์ ญะวาด, ฮัจญ์, ฮิจญ์เราะฮ์, ฮิญิร
6 หาอ์
7 คออ์
8 ดาล
9 ษาล
10 รออ์
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ในภาษาไทยเป็น <ร่อ>
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพยัญชนะฮัมซะฮ์ ฮาอ์ และหาอ์ที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <เราะ>, <เราะฮ์> และ <เราะฮ์> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพพยัญชนะอื่นที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <ร่อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์+อลิฟ ในภาษาไทยเป็น <รอ>
11 ซัย
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ในภาษาไทยเป็น <ซะ>
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์+อลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ซา>
12 ซีน ซ, ส
  • ถ้าเป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <ส> เช่น <อับบาส>
  • ถ้าสะกดด้วยสระ ในภาษาไทยเป็น <ซ> <อับบาซียะฮ์>
13 ชีน
14 ศ้อด
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ในภาษาไทยเป็น <ศ็อ>, <เศาะ>
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพยัญชนะฮัมซะฮ์ ฮาอ์ และหาอ์ที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <เศาะ>, <เศาะฮ์> และ <เศาะฮ์> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพพยัญชนะอื่นที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <ศ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์+อลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ศอ>
15 ฎ๊อด
  • ถ้าสะกดด้วยฎ็อมมะฮ์ หรือฎ็อมมะฮ์+วาว ใช้ ด เป็น <ดุ> และ <ดู> เนื่องจากถ้าเขียนด้วย ฎ และ สระอุหรือสระอูแล้ว (ฎุ, ฎู) สระทั้งสองจะไม่ปรากฏออกมา
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ในภาษาไทยเป็น <ฎ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพยัญชนะฮัมซะฮ์ ฮาอ์ และหาอ์ที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <เฎาะ> <เฎาะฮ์> และ <เฎาะฮ์> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพยัญชนะอื่นที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <ฎ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์+อลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฎอ>
16 ฏออ์
  • ถ้าสะกดด้วยฎ็อมมะฮ์ หรือฎ็อมมะฮ์+วาว ใช้ ต เป็น <ตุ> และ <ตู> เนื่องจากถ้าเขียนด้วย ฏ และ สระอุหรือสระอูแล้ว (ฏุ, ฏู) สระทั้งสองจะไม่ปรากฏออกมา
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ในภาษาไทยเป็น <ฏ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพยัญชนะฮัมซะฮ์ ฮาอ์ และหาอ์ที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <เฏาะ>, <เฏาะฮ์> และ <เฏาะฮ์> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพพยัญชนะอื่นที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <ฏ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์+อลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฏอ>
17 ซออ์
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ในภาษาไทยเป็น <ซ่อ>
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพยัญชนะฮัมซะฮ์ ฮาอ์ และหาอ์ที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <เซาะ>, <เซาะฮ์> และ <เซาะฮ์> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพพยัญชนะอื่นที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <ซ่อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์+อลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ซอ>
18 อัยน์
  • ถ้าเป็นซุกูน จะเขียน อ์ ในภาษาไทย เช่น <มะอ์มูร>
19 ฆอยน์
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ในภาษาไทยเป็น <ฆ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์+อลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฆอ>
20 ฟาอ์
21 ก๊อฟ
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ในภาษาไทยเป็น <ก็อ>
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพยัญชนะฮัมซะฮ์ ฮาอ์ และหาอ์ที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <เกาะ>, <เกาะฮ์> และ <เกาะฮ์> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์ ตามด้วยพพยัญชนะอื่นที่เป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <ก็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วยฟัตฮะฮ์+อลิฟ ในภาษาไทยเป็น <กอ>
22 ก๊าฟ
23 ลาม
24 มีม
25 นูน
26 วาว
27 ฮาอ์ ฮ, ห
  • ถ้าเป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <ฮ์> เช่น <มะดีนะฮ์>
  • ถ้าสะกดด้วยสระ ในภาษาไทยเป็น <ฮ> เช่น <ฮิชาม>
28 ยาอ์
ข้อ คำอ่าน เสียงสระ หมายเหตุ
1 ฟัตฮะฮ์ สระอะ ถ้าตัว خ, ر, ص, ض, ط, ظ ,غ, ق เจอกับฟัตฮะฮ์ จะเป็นสระเอาะ
2 กัสเราะฮ์ สระอิ
3 ฎ็อมมะฮ์ สระอุ
4 ฟัตฮะฮ์ + อลิฟ สระอา เสียงยาว ถ้าเป็น خ, ر, ص, ض, ط, ظ, غ, ق เจอกับฟัตฮะฮ์อลิฟ จะเป็นสระออ
5 กัสเราะฮ์ + ยาอ์ สระอี เสียงยาว
6 ฎ็อมมะฮ์ + วาว สระอู เสียงยาว
7 ฟัตฮะฮ์ + ยาอ์ อัย, เอ ถ้าพยางค์นั้นลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นซุกูน จะเป็น สระเอ เช่น <ฮุเซน>, ถ้าเป็น خ, ر ,ص ,ض, ط, ظ, غ, ق เจอกับฟัตฮะฮ์ + ยาอ์ จะเป็นสระอ็อย
8 ฟัตฮะฮ์ + วาว เอา เช่น <เลา> ถ้าเป็น خ, ر, ص, ض, ط, ظ, غ, ق จะเป็นสระอ็อว

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ไม้ไต่คู้และสระออ <-็อ> ใช้กับ <ฎ>, <ฏ>, <ศ> เมื่อถอดรูปฟัตฮะฮ์ เช่น <ฎ็อ>, <ฏ็อ> <ศ็อ> และ <ก็อ>ถ้ามีตัวสะกด แต่อาจจะไม้ไต่คู้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น <ฎอ>, <ฏอ> และ <ศอ>
  2. ไม้เอกและสระออ< -่อ> ใช้กับ <ร> เมื่อถอดรูปฟัตฮะฮ์ เช่น <ร่อซูล> แต่อาจจะละไว้ในฐานเข้าใจ เช่น <รอซูล>
  3. ไม่มีการตัดสระอะเมื่อถอดรูปฟัตฮะฮ์ นอกจากคำว่า นบี, อลิฟ เท่านั้น เช่น <อบูบักรฺ> จะต้องเป็น <อะบูบักรฺ>

ยูนิโคด

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Zitouni, Imed (2014). Natural Language Processing of Semitic Languages. Springer Science & Business. p. 15. ISBN 978-3642453588.
  2. "The World's 5 Most Commonly Used Writing Systems". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
  3. ดูที่ ʾalif maqṣūrah ที่ อลิฟ ในภาษาอาหรับ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]