ตำราประวัติศาสตร์จีนยี่สิบสี่ชุด
ตำราประวัติศาสตร์จีนยี่สิบสี่ชุด | |||||||||||||||
ภาษาจีน | 二十四史 | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ตำราประวัติศาสตร์จีนยี่สิบสี่ชุด หรือ เอ้อร์ฉือซื่อฉื่อ (จีน: 二十四史; พินอิน: Èrshísì Shǐ; เวด-ไจลส์: Erh-shih-szu shih) เรียกได้อีกชื่อว่า เจิ้งฉื่อ (จีน: 正史; พินอิน: Zhèngshǐ; เวด-ไจลส์: Chêng4shih3) หรือตำราประวัติศาสตร์จีนดั้งเดิม เป็นตำราประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์อย่างเป็นทางการของจีน ครอบคลุมตั้งแต่ราชวงศ์แรกสุดเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาลถึงยุคราชวงศ์หมิงในศตวรรษที่ 17
ซือหม่า เชียนขุนนางในยุคราชวงศ์ฮั่นได้ริเริ่มแบบแผนหลายอย่างของตำราประวัติศาสตร์กลุ่มนี้ แต่แบบแผนยังไม่ได้กำหนดตายตัวจนกระทั่งในยุคหลัง ๆ นับตั้งแต่ราชวงศ์ถังเป็นต้นมา แต่ละราชวงศ์จัดตั้งสำนักงานทางการเพื่อเขียนประวัติศาสตร์ของยุคก่อนหน้าโดยใช้บันทึกราชสำนักที่เป็นทางการ ส่วนหนึ่งเพื่อเชื่อมโยงยุคสมัยของตนเข้ากับยุคก่อนหน้า ในตำราประวัติศาสตร์ที่ปรับปรุงแก้ไขในยุคราชวงศ์ชิง ทั้งชุดประกอบด้วยหนังสือ 3,213 เล่มและตัวอักษรประมาณ 40 ล้านตัว ถือเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน[1]
ชื่อ "เอ้อร์ฉือซื่อฉื่อ" ("ตำราประวัติศาสตร์จีนยี่สิบสี่ชุด") มีการใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1775 ซึ่งเป็นปีที่ 40 ในรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง เป็นช่วงที่หมิงฉื่อที่เป็นตำราประวัติศาสตร์ชุดสุดท้ายได้การแก้ไขจนเสร็จจนออกมาเป็นตำราประวัติศาสตร์ครบชุด
ชุดตำราประวัติศาสตร์
[แก้]ชื่อชุด | ราชวงศ์ที่เกี่ยวข้อง | นักเขียนหลัก | ปีที่รวบรวม | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ฉื่อจี้ 史記 |
ตั้งแต่ยุคของหฺวางตี้ถึงจักรพรรดิฮั่นอู่ | ซือหม่า เชียน (ราชวงศ์ฮั่น) |
91 ปีก่อนคริสตกาล | ส่วนหนึ่งของสี่ประวัติศาสตร์นิพนธ์ยุคแรก (前四史) |
ฮั่นชู 漢書 |
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์ซิน |
ปาน กู้ (ราชวงศ์ฮั่น) |
ค.ศ. 82 | ส่วนหนึ่งของสี่ประวัติศาสตร์นิพนธ์ยุคแรก (前四史) |
สามก๊กจี่ / ซานกั๋วจื้อ 三國志 |
วุยก๊ก / เฉาเว่ย์ จ๊กก๊ก / สู่ฮั่น ง่อก๊ก / ตงอู๋ |
เฉิน โช่ว / ตันซิ่ว (ราชวงศ์จิ้น) |
ค.ศ. 289 | ส่วนหนึ่งของสี่ประวัติศาสตร์นิพนธ์ยุคแรก (前四史) มีการขยายความอย่างมากโดยอรรถาธิบายที่แทรกเพิ่มในภายหลัง |
โฮ่วฮั่นชู 後漢書 |
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก | ฟ่าน เย่ (ราชวงศ์หลิวซ่ง) |
ค.ศ. 445 | ส่วนหนึ่งของสี่ประวัติศาสตร์นิพนธ์ยุคแรก (前四史) (前四史)[2] |
ซ่งชู 宋書 |
ราชวงศ์หลิวซ่ง | เฉิ่น เยฺว (ราชวงศ์เหลียง) |
ค.ศ. 488 | |
หนานฉีชู 南齊書 |
ราชวงศ์ฉีใต้ | เซียว จื๋อเสี่ยน (ราชวงศ์เหลียง) |
ค.ศ. 537 | |
เว่ย์ชู 魏書 |
ราชวงศ์เว่ย์เหนือ ราชวงศ์เว่ย์ตะวันออก |
เว่ย์ โชว (ราชวงศ์ฉีเหนือ) |
ค.ศ. 554 | |
เหลียงชู 梁書 |
ราชวงศ์เหลียง | เหยา ซือเหลียน (ราชวงศ์ถัง) |
ค.ศ. 636 | ส่วนหนึ่งของแปดประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่รวบรวมในยุคราชวงศ์ถัง (唐初八史) |
เฉินชู 陳書 |
ราชวงศ์เฉิน | เหยา ซือเหลียน (ราชวงศ์ถัง) |
ค.ศ. 636 | ส่วนหนึ่งของแปดประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่รวบรวมในยุคราชวงศ์ถัง (唐初八史) |
เป่ย์ฉีชู 北齊書 |
ราชวงศ์ฉีเหนือ | หลี ไป่เย่า (ราชวงศ์ถัง) |
ค.ศ. 636 | ส่วนหนึ่งของแปดประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่รวบรวมในยุคราชวงศ์ถัง (唐初八史) |
โจวชู 周書 |
ราชวงศ์เว่ย์ตะวันตก ราชวงศ์โจวเหนือ |
หลิงหู เต๋อเฟิน (ราชวงศ์ถัง) |
ค.ศ. 636 | ส่วนหนึ่งของแปดประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่รวบรวมในยุคราชวงศ์ถัง (唐初八史) |
สุยชู 隋書 |
ราชวงศ์สุย | เว่ย์ เจิง (ราชวงศ์ถัง) |
ค.ศ. 636 | ส่วนหนึ่งของแปดประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่รวบรวมในยุคราชวงศ์ถัง (唐初八史) |
จิ้นชู 晉書 |
ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ราชวงศ์จิ้นตะวันออก |
ฝาง เสฺวียนหลิง (ราชวงศ์ถัง) |
ค.ศ. 648 | ส่วนหนึ่งของแปดประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่รวบรวมในยุคราชวงศ์ถัง (唐初八史) |
หนานฉื่อ 南史 |
ราชวงศ์หลิวซ่ง ราชวงศ์ฉีใต้ ราชวงศ์เหลียง ราชวงศ์เฉิน |
หลี่ เหยียนโช่ว (ราชวงศ์ถัง) |
ค.ศ. 659 | ส่วนหนึ่งของแปดประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่รวบรวมในยุคราชวงศ์ถัง (唐初八史) |
เป๋ย์ฉื่อ 北史 |
ราชวงศ์เว่ย์เหนือ ราชวงศ์เว่ย์ตะวันออก ราชวงศ์เว่ย์ตะวันตก ราชวงศ์ฉีเหนือ ราชวงศ์โจวเหนือ ราชวงศ์สุย |
หลี่ เหยียนโช่ว (ราชวงศ์ถัง) |
ค.ศ. 659 | ส่วนหนึ่งของแปดประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่รวบรวมในยุคราชวงศ์ถัง (唐初八史) |
จิ้วถังชู 舊唐書 |
ราชวงศ์ถัง | หลิว ซฺวี่ (ราชวงศ์จิ้นยุคหลัง) |
ค.ศ. 945 | |
จิ้วอู่ไต้ฉื่อ 舊五代史 |
ราชวงศ์เหลียงยุคหลัง ราชวงศ์ถังยุคหลัง ราชวงศ์จิ้นยุคหลัง ราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง ราชวงศ์โจวยุคหลัง |
เซฺว จฺวีเจิ้ง (ราชวงศ์ซ่ง) |
ค.ศ. 974 | |
อู่ไต้ฉื่อจี้ 五代史記 |
ราชวงศ์เหลียงยุคหลัง ราชวงศ์ถังยุคหลัง ราชวงศ์จิ้นยุคหลัง ราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง ราชวงศ์โจวยุคหลัง |
โอวหยาง ซิว (ราชวงศ์ซ่ง) |
ค.ศ. 1053 | มีอีกชื่อเรียกว่า "ซินอู่ไต้ฉื่อ" (新五代史) |
ซินถังชู 新唐書 |
ราชวงศ์ถัง | โอวหยาง ซิว (ราชวงศ์ซ่ง) |
ค.ศ. 1060 | |
เหลียวฉื่อ 遼史 |
ราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์เหลียวตะวันตก |
Toqto'a (ราชวงศ์หยวน) |
ค.ศ. 1343 | ส่วนหนึ่งของสามประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่รวบรวมในยุคราชวงศ์หยวน (元末三史)[3] |
จินฉื่อ 金史 |
ราชวงศ์จิน | Toqto'a (ราชวงศ์หยวน) |
ค.ศ. 1345 | ส่วนหนึ่งของสามประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่รวบรวมในยุคราชวงศ์หยวน (元末三史) |
ซ่งฉื่อ 宋史 |
ราชวงศ์ซ่งเหนือ ราชวงศ์ซ่งใต้ |
Toqto'a (ราชวงศ์หยวน) |
ค.ศ. 1345 | ส่วนหนึ่งของสามประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่รวบรวมในยุคราชวงศ์หยวน (元末三史) |
ยฺเหวียนฉื่อ 元史 |
ราชวงศ์หยวน | ซ่ง เหลียน (ราชวงศ์หมิง) |
ค.ศ. 1370 | |
หมิงฉื่อ 明史 |
ราชวงศ์หมิง | จาง ถิง-ยฺวี่ (ราชวงศ์ชิง) |
ค.ศ. 1739 |
ดูเพิ่ม
[แก้]- ตำราคลาสสิกจีน
- ร่างประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชิง ร่างตำราประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องถึงปี ค.ศ. 1911
- ประวัติศาสตร์จีน
- จือจื้อทงเจี้ยน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ch 49, "Standard Histories," in Endymion Wilkinson. Chinese History: A New Manual. (Cambridge, MA: Harvard University Asia Center, Harvard-Yenching Institute Monograph Series, 2012). ISBN 9780674067158. Also see "Standard Histories" link to the Googlebook of the 2000 edition of Wilkinson.
- ↑ Hill, John E. (2009) Through the Jade Gate to Rome: A Study of the Silk Routes during the Later Han Dynasty, 1st to 2nd Centuries CE. BookSurge, Charleston, South Carolina. ISBN 978-1-4392-2134-1.
- ↑ Xu Elina-Qian, p. 23.