นิมโบสเตรตัส
นิมโบสเตรตัส (อังกฤษ: nimbostratus) มีชื่อเรียกมาจากภาษาละติน nimbus แปลว่า ฝน และ stratus แปลว่า แผ่ขยาย นิมโบสเตรตัสเป็นเมฆสีเทา มีรูปร่างไม่แน่นอน มักก่อให้เกิดฝนหรือหิมะตกอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีฟ้าแลบฟ้าผ่า[1] นิมโบสเตรตัสเป็นเมฆที่ก่อตัวในระดับกลางของชั้นโทรโพสเฟียร์ ก่อนจะแผ่ขยายสู่ชั้นบนและชั้นล่างของท้องฟ้า[2] ฐานเมฆมักอยู่ที่ระดับความสูง 3,000 เมตร เมฆชนิดนี้พบได้ทั่วโลก แต่มักพบบ่อยบริเวณกึ่งเขตร้อนและเขตอบอุ่น[3] นิมโบสเตรตัสมีอักษรย่อคือ Ns และสัญลักษณ์
นิมโบสเตรตัสเป็นเมฆที่เกิดจากมวลอากาศร้อนที่ยกตัวสูงขึ้นช้า ๆ จากแนวปะทะอากาศร้อนหรือแนวปะทะปิด[4] และบางครั้งเกิดจากเมฆที่อยู่ระดับสูงกว่า เช่น เซอร์โรสเตรตัส และอัลโตสเตรตัส[5][6] โดยทั่วไปแล้ว นิมโบสเตรตัสไม่ก่อให้เกิดพายุฟ้าคะนอง แต่ด้วยแนวปะทะอากาศร้อนที่กลายสภาพเป็นอากาศร้อนและแห้ง ทำให้เมฆคิวมูโลนิมบัสซึ่งเป็นเมฆฝนเช่นกัน ก่อตัวใกล้กับนิมโบสเตรตัสและเกิดฟ้าผ่าและฟ้าแลบได้
เนื่องจากนิมโบสเตรตัสเป็นเมฆที่หนาทึบและไม่มีรูปร่างแน่นอน จึงไม่มีการแบ่งแยกเป็นเมฆย่อย[7][8] แต่เมฆชนิดนี้มีลักษณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ precipitation-based supplementary features (ก่อให้เกิดน้ำโปรยฐานเมฆ หรือหยาดน้ำฟ้าอื่น ๆ), นิมโบสเตรตัส แพนนัส (เมฆเสริมที่ก่อตัวใต้ฐานเมฆหลัก)[9], เมฆหลักเจนิตัส (เกิดจากเมฆคิวมูลัสและคิวมูโลนิมบัส) และเมฆหลักมิวเตตัส (เกิดจากเมฆอัลโตคิวมูลัส สเตรโตคิวมูลัส และอัลโตสเตรตัส)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nimbostratus เก็บถาวร 2019-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in the Oxford Dictionaries Online
- ↑ "Nimbostratus clouds". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 1, 2019.
- ↑ Pretor-Pinney, Gavin (2007). The Cloudspotter's Guide: The Science, History, and Culture of Clouds. Perigee. ISBN 0-399-53345-1.
- ↑ Bennett, Doug (April 25, 2017). "What Kind of Weather Do Nimbostratus Clouds Cause?". Sciencing. สืบค้นเมื่อ September 1, 2019.
- ↑ Dunlop, Storm (2003). Weather Identification Handbook: The Ultimate Guide for Weather Watchers. Guilford, Connecticut: Globe Pequot. ISBN 1-58574-857-9.
- ↑ Thompson, Graham; Turk, Jonathan (1993). Earth Science and the Environment. Fort Worth: Saunders College Publishing. ISBN 0-03-075446-1.
- ↑ World Meteorological Organization, บ.ก. (1975). Species, International Cloud Atlas (PDF). pp. 18–20. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
- ↑ World Meteorological Organization, บ.ก. (1975). Varieties, International Cloud Atlas (PDF). pp. 20–22. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
- ↑ World Meteorological Organization, บ.ก. (1975). Features, International Cloud Atlas (PDF). Vol. I. pp. 22–24. ISBN 92-63-10407-7. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.