ข้ามไปเนื้อหา

บิวเรตต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บิวเรตต์แบบปริมาตร มีอุณหภูมิและคุณภาพอยู่ด้านบน

บิวเรตต์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในเคมีวิเคราะห์ เพื่อจ่ายตัวแปรซึ่งวัดปริมาณของสารเคมีในสารละลาย บิวเรตต์แบบปริมาตรใช้สำหรับวัดปริมาตรของเหลว พิสตันบิวเรตต์ (Piston burette) มีลักษณะคล้ายกับหลอดดูดยา ทว่ามมีลูกสูบและที่บิด โดยสามารถใช้ด้วยมือหรือใช้เครื่องยนต์ช่วย[1] บิวเรตต์แบบน้ำหนัก (weight burette) ปล่อยของเหลวตามน้ำหนัก[2]

การใช้

[แก้]
  • ในเคมีวิเคราะห์ เพื่อจ่ายตัวแปรซึ่งวัดปริมมาณของสารเคมีในสารละลาย
  • บิวเรตต์แบบน้ำหนัก (weight burette) ปล่อยของเหลวตามน้ำหนัก


บิวเรตต์แบบปริมาตร

[แก้]

อนาล็อก

[แก้]

บิวเรตต์แบบปกตินั้นประกอบไปด้วยหลอดแก้วซึ่งมีระบบการวัดอยู่ด้านข้างและมีจุกปิดอยู่ด้านล่าง โดยจุกปิดนั้นต้องผ่านการหล่อลื่นด้วยวาสลีนหรือสารหล่อลื่นอื่นๆ บิวเรตต์นั้นถูกผลิตมาให้มีความทนทานโดยเฉพาะต่างกัน โดยแบ่งเป็น Class A และ Class B [3]

ความแม่นยำของบิวเรตต์ /mL
ความจุ, mL Class A Class B
10 0.02 0.04
25 0.03 0.06
50 0.05 0.10
100 0.10 0.20

ดิจิทัล

[แก้]
กราฟไทเทรต (สีน้ำเงิน) สำหรับ malonic acid และ 2nd. derivative (สีเขียว) ส่วนที่อยู่ในกล่องสีฟ้านั้นถูกขยาย 10 เท่า

บิวเรตต์แบบดิจิทัลนั้นมีพื้นฐานมาจากแบบของหลอดดูดยา ลำกล้องและลูกสูบนั้นอาจทำด้วยแก้ว ทว่าหากต้องใช้กับของเหลวซึ่งสามารถกัดกร่อนแก้วเช่น แอลคาไลน์ ลำกล้องและลูกสูบอาจทำด้วยพอลิเอทิลีน หรือพลาสติกแบบอื่นที่มีความทนทานแทน โดยปริมาตรจะบ่งบอกอยู่บนหน้าจอแบบดิจิทัล โดยดิจิทัลบิวเรตต์ที่มีเครื่องยนต์นั้นสามมารถถูกสั่งการโดยคอมพิวเตอร์ 

รูปภาพ

[แก้]

References

[แก้]
  1. Mendham, J.; Denney, R. C.; Barnes, J. D.; Thomas, M. J. K. (2000), Vogel's Quantitative Chemical Analysis (6th ed.
  2. Redman, H. N. (1963). "An improved type of weight burette for use in volumetric analysis". Analyst. 88: 654–655. doi:10.1039/AN9638800654.
  3. Pradyot Patnaik (2003). "Specifications for volumetric ware". Dean's Handbook of Analytical Chemistry, 2nd Edition. McGraw-Hill. ISBN 978-0071410601.