ข้ามไปเนื้อหา

ปลาถ้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาถ้ำตาบอดเม็กซิกัน (Astyanax mexicanus) ปลาถ้ำในจำพวกปลาคาราซิน (Characidae) พบในตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ปลาถ้ำ (อังกฤษ: Cave fish) คือปลาที่อาศัยอยู่ในถ้ำที่มืดมิด โดยมากจะเป็นปลาที่มีผิวหนังสีขาวซีดเผือกและตาบอดหรือตาเล็กมากเนื่องจากไม่ได้ใช้สายตาให้เป็นประโยชน์เลย เพราะแสงสว่างส่องเข้าไปไม่ถึง ปลาถ้ำจะมีระบบนิเวศน์และพฤติกรรมของตัวเองโดยเฉพาะ แตกต่างจากปลาที่พบทั่วไป ซึ่ง ปลาถ้ำสามารถพบได้ในถ้ำทุกภูมิภาคของโลก

ในส่วนของทวีปยุโรป เพิ่งจะมีการค้นพบปลาถ้ำเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2012 โดยนักดำน้ำผู้หนึ่งขณะสำรวจแม่น้ำดานูบ ที่ตอนเหนือของภาคใต้ประเทศเยอรมนี โดยพบปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาหมู (Cobitidae) ที่มีผิวหนังซีดขาวออกชมพู เห็นเส้นเลือดภายใต้ผิวหนังด้วยตาเปล่าได้ และมีดวงตาขนาดเล็ก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นปลาที่แยกออกมาจากปลาหมูหรือปลาค้อทั่วไปเมื่อ 20,000 ปีก่อน และคงจะไม่ได้มีเพียงแค่ชนิดเดียว[1]

สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะมีถึง 26–39 ชนิด การสำรวจในปี ค.ศ. 2001 ที่ต้นน้ำในจังหวัดจันทบุรี พบ 8 ชนิด ในสกุล Schistura

การจำแนก

[แก้]

ปัจจุบัน พบในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 8 ชนิด ใน 3 วงศ์ ได้แก่

  1. วงศ์ปลาค้อ (Balitoridae)
  2. วงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
  3. วงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae)
วงศ์ปลาค้อ
มี 5 ชนิด
วงศ์ปลาตะเพียน
มี 2 ชนิด
วงศ์ปลาเนื้ออ่อน
มี 1 ชนิด

อ้างอิง

[แก้]
  1. หน้า 7 โลกาภิวัฒน์ GLOBALIZATION, ค้นพบปลาถ้ำเป็นครั้งแรกของทวีปยุโรป. "โลกโศภิณ". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21631: วันพุธที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560 แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา
  2. ข้อมูลจากบอร์ดนิทรรศการวันประมงน้อมเกล้า ปี พ.ศ. 2544, ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางกะปิ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]