พยาธิเส้นด้าย
พยาธิเส้นด้าย | |
---|---|
First stage larva (L1) of S. stercoralis | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Nematoda |
ชั้น: | Secernentea |
อันดับ: | Rhabditida |
วงศ์: | Strongyloididae |
สกุล: | Strongyloides |
สปีชีส์: | S. stercoralis |
ชื่อทวินาม | |
Strongyloides stercoralis Bavay, 1876 |
พยาธิเส้นด้าย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Strongyloides stercoralis) เป็นหนอนตัวกลมที่เป็นปรสิตก่อโรคในมนุษย์ ตัวเต็มวัยของพยาธิอาศัยอยู่ในชั้นเยื่อเมือกของลำไส้เล็ก ศัพท์ทางการแพทย์เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายว่า Strongyloidiasis
วงจรชีวิต
[แก้]วงจรชีวิตของพยาธิเส้นด้ายซับซ้อนกว่าพยาธิตัวกลมส่วนใหญ่ พยาธิเส้นด้ายสามารถออกลูกออกหลานและเพิ่มจำนวนในคนได้
ตัวอ่อนพยาธิในดินไชเข้าผิวหนัง ตัวอ่อนพยาธิบางตัวเข้าเส้นเลือดดำและผ่านไปในกระแสเลือดไปยังปอดและเข้าไปในถุงลม ต่อมาถูกไอและกลืนลงไปในทางเดินอาหาร กลายเป็นตัวเต็มวัยอยู่ในชั้นเยื่อเมือกของลำไส้เล็กและออกไข่ซึ่งฟักออกมาเป็นตัวอ่อน พยาธิเส้นด้ายจึงทำให้เกิดอาการทั้งระบบทางเดินอาหารและระบบหายใจ ตัวอ่อนพยาธิสามารถไชชั้นเยื่อเมือกของลำไส้เล็กหรือผิวหนังรอบรูทวารและทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ โดยพยาธิผ่านไปทางเดิมคือไปปอด หลอดลม คอหอย และลำไส้เล็กซึ่งกลายเป็นตัวเต็มวัย พยาธิเส้นด้ายจึงสามารถเพิ่มจำนวนในคนได้เรื่อยๆ
อาการ
[แก้]หลายคนที่ติดเชื้อไม่มีอาการในช่วงแรก อาการได้แก่ผิวหนังอักเสบ: บวม คัน เห็นรอยไชของพยาธิ และ เลือดออกเล็กน้อยบริเวณผิวหนังที่พยาธิไชเข้ามา ถ้าพยาธิไปถึงปอด อาจรู้สึกแสบร้อนที่หน้าอก และอาจมีเสียงหวีดและไอ รวมทั้งอาการคล้ายโรคปอดบวม (Löffler's syndrome) เมื่อพยาธิมาถึงและรุกรานลำไส้เล็กจะทำให้ปวดแสบปวดร้อน มีการทำลายเนื้อเยื่อ เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ และเกิดแผล อุจจาระอาจมีเมือกสีเหลืองและมีกลิ่นเฉพาะ อาจมีอาการท้องเสียเรื้อรังได้[1]
การติดเชื้อจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปในคนภูมิคุ้มกันดี แต่ในคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง พยาธิจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและแพร่กระจายทั่วร่างกายเนื่องจากพยาธิเส้นด้ายสามารถสืบพันธุ์และให้กำเนิดลูกหลานในมนุษย์ได้ ถ้าแพร่กระจายแล้วอัตราการเสียชีวิตสูงได้ถึง 90%[2][3][4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thamwiwat, Alisa; Mejia, Rojelio; Nutman, Thomas B.; Bates, Jeffrey T. (6 July 2014). "Strongyloidiasis as a Cause of Chronic Diarrhea, Identified Using Next-Generation Strongyloides stercoralis-Specific Immunoassays". Current Tropical Medicine Reports. 1 (3): 145–147. doi:10.1007/s40475-014-0026-7.
- ↑ Igra-Siegman, Y; Kapila, R; Sen, P; Kaminski, ZC; Louria, DB (1981). "Syndrome of hyperinfection with Strongyloides stercoralis". Reviews of Infectious Diseases. 3 (3): 397–407. doi:10.1093/clinids/3.3.397. PMID 7025145.
- ↑ Marcos, L. A.; Terashima, A.; Dupont, H. L.; Gotuzzo, E. (2008). "Strongyloides hyperinfection syndrome: An emerging global infectious disease". Transactions of the Royal Society of Tropical Medicine and Hygiene. 102 (4): 314–318. doi:10.1016/j.trstmh.2008.01.020. PMID 18321548.
- ↑ Newberry, AM; Williams, DN; Stauffer, WM; Boulware, DR; Hendel-Paterson, BR; Walker, PF (Nov 2005). "Strongyloides hyperinfection presenting as acute respiratory failure and gram-negative sepsis". Chest. 128 (5): 3681–4. doi:10.1378/chest.128.5.3681. PMC 1941746. PMID 16304332.