พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562
พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562 | |
---|---|
แผนที่สรุปปี | |
ขอบเขตของปี | |
ระบบแรก | โมนา |
ก่อตัว | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561 |
ระบบสุดท้าย | ซาไร |
สลายตัว | 2 มกราคม พ.ศ. 2563 |
พายุมีกำลังมากที่สุด | |
ชื่อ | หะลอง |
ความกดอากาศต่ำที่สุด | 905 mbar/hPa; 26.72 inHg |
พายุที่มีช่วงเวลายาวนานที่สุด | |
ชื่อ | โอมา |
ระยะเวลา | 15 วัน |
สถิติปี | |
พายุทั้งหมด | 143 ลูก |
พายุที่ได้รับชื่อ | 105 ลูก |
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด | ทั้งหมด 2,090 คน |
ความเสียหายทั้งหมด | > 6.064 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน USD พ.ศ. 2562) |
พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562[1] แบ่งออกเป็นพื้นที่เจ็ดบริเวณที่แตกต่างกันเรียกว่า แอ่ง รวมถึงพื้นที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย จนถึงขณะนี้ มีพายุก่อตัวขึ้นทั่วโลกในระหว่างปีนี้ 38 ลูก ในจำนวนนั้นมีพายุ 24 ลูกเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังจนได้รับชื่อเรียกจากบรรดาศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) หรือศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อน (TCWC) ในพื้นที่
พายุหมุนเขตร้อนที่เป็นเหตุให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดของปี คือ พายุไซโคลนรุนแรงอิดาอีในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวน 1,066 คนในประเทศโมซัมบิก ประเทศมาลาวี ประเทศซิมบับเว และประเทศมาดากัสการ์ ส่วนพายุที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดของปี คือ พายุไซโคลนกำลังแรงวิรอนิกาในภูมิภาคออสเตรเลีย โดยมีความเสียหายเกิดขึ้น 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
กิจกรรมพายุหมุนเขตร้อน[2] ในแต่ละแอ่งจะอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคต่าง ๆ[3] ดังนี้ ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC) รับผิดชอบพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก, ศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง (CPHC) รับผิดชอบพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง โดยทั้ง NHC และ CPHC เป็นหน่วยงานย่อยของบริการลมฟ้าอากาศแห่งชาติสหรัฐ, กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก, กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ขณะที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศสในเกาะเรอูว์นียง (MFR) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนในภูมิภาคออสเตรเลีย พายุหมุนเขตร้อนจะถูกติดตามโดย TCWC ห้าศูนย์ภายใต้การประสานงานของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM), กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี (FMS) และ เมทเซอร์วิสของนิวซีแลนด์ รวมถึงยังมีหน่วยงานที่ติดตามพายุอย่างไม่เป็นทางการ คือ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) และหน่วยงานที่ตั้งชื่อพายุอย่างไม่เป็นทางการ คือ สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ด้วย
สรุป
[แก้]
มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ | มหาสมุทรอินเดียเหนือ | ภูมิภาคออสเตรเลีย |
มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกและกลาง | มหาสมุทรอินเดียใต้ฝั่งตะวันตก | มหาสมุทรแอตแลนติกใต้ |
มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก | มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ | ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน |
พายุ
[แก้]มกราคม
[แก้]เดือนมกราคมเป็นเดือนที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมของพายุนัก มีพายุหมุนเขตร้อนเพียงแปดลูกเท่านั้น ซึ่งในจำนวนพายุทั้งหมดของเดือน มีพายุจำนวนห้าลูกที่ได้รับชื่อ อย่างไรก็ตาม พายุโซนร้อนปาบึก[4] กลายเป็นพายุโซนร้อนที่ก่อตัวเร็วที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ทำลายสถิติเดิมที่พายุไต้ฝุ่นอลิซทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2522 ปาบึกทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คนในประเทศไทย, ประเทศเวียดนาม และ ประเทศมาเลเซีย และทำให้มีความเสียหายเกิดขึ้น 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ค.ศ. 2019)[5] ต่อมาช่วงปลายเดือนมกราคม พายุโซนร้อนเอเกตแซงได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 27 คนในประเทศมาดากัสการ์
ชื่อพายุ | ช่วงที่พายุมีกำลัง | ลมแรงสุด กม./ชม. (ไมล์/ชม.) |
ควมกดอากาศ (hPa) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ความเสียหาย (USD) |
ผู้เสียชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
โมนา | 28 ธันวาคม—9 มกราคม | 95 (60) | 985 | หมู่เกาะโซโลมอน, ฟีจี, ตองงา | เล็กน้อย | ไม่มี | |
ปาบึก | 31 ธันวาคม—7 มกราคม | 85 (50) | 994 | หมู่เกาะนาตูนา, เวียดนาม, มาเลเซีย, ไทย, พม่า, หมู่เกาะอันดามัน | 151 ล้าน | 10 | [6][7] |
01W (อามัง) | 4–22 มกราคม | 55 (35) | 1004 | คิริบาส, หมู่เกาะมาร์แชลล์, หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์ | 4.11 ล้าน | 9 | [8] |
11U | 15—23 มกราคม | ไม่ได้ระบุ | 1004 | เกาะชวา | ไม่มี | ไม่มี | |
เดสมอนด์ | 17—22 มกราคม | 65 (40) | 995 | โมซัมบิก, มาดากัสการ์ | ไม่ทราบ | ไม่มี | |
ไรลีย์ | 19—30 มกราคม | 120 (75) | 974 | หมู่เกาะมาลูกู, ติมอร์ตะวันออก, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย | ไม่มี | ไม่มี | |
13U | 21—25 มกราคม | 55 (35) | 999 | คาบสมุทรเคปยอร์ก | ไม่มี | ไม่มี | |
เอเกตแซง | 22—24 มกราคม | 75 (45) | 993 | มาดากัสการ์ | ไม่ทราบ | 27 |
กุมภาพันธ์
[แก้]เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมของพายุนัก มีพายุหมุนเขตร้อนเพียงสิบลูกเท่านั้น ซึ่งในจำนวนพายุทั้งหมดของเดือน มีพายุจำนวนเจ็ดลูกที่ได้รับชื่อ อย่างไรก็ตาม พายุไต้ฝุ่นหวู่ติบ[9] ได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีกำลังแรงที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์
ชื่อพายุ | ช่วงที่พายุมีกำลัง | ลมแรงสุด กม./ชม. (ไมล์/ชม.) |
ควมกดอากาศ (hPa) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ความเสียหาย (USD) |
ผู้เสียชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฟูนานี | 3–10 กุมภาพันธ์ | 195 (120) | 940 | รอดริเกซ | ไม่มี | ไม่มี | |
06F | 3–9 กุมภาพันธ์ | 65 (40) | 994 | วอลิสและฟูตูนา, หมู่เกาะซามัว | None | None | |
เจเลนา | 4–14 กุมภาพันธ์ | 205 (125) | 942 | มาดากัสการ์, มอริเชียส, รอดริเกซ | 1.02 ล้าน | ไม่มี | |
โอมา | 7–22 กุมภาพันธ์ | 130 (80) | 974 | วานูวาตู, นิวแคลิโดเนีย, หมู่เกาะโซโลมอน, รัฐควีนส์แลนด์, รัฐนิวเซาท์เวลส์ | 51 ล้าน | 1 | |
เนอีล | 8–10 กุมภาพันธ์ | 65 (40) | 994 | วอลิสและฟูตูนา, ฟีจี, ตองงา | ไม่มี | ไม่มี | |
08F | 10–13 กุมภาพันธ์ | ไม่ได้ระบุ | 996 | ฟีจี, ตองงา | ไม่มี | ไม่มี | |
10F | 11–13 กุมภาพันธ์ | ไม่ได้ระบุ | 996 | วอลิสและฟูตูนา, ฟีจี | ไม่มี | ไม่มี | |
หวู่ติบ (เบตตี) | 18 กุมภาพันธ์–2 มีนาคม | 195 (120) | 920 | หมู่เกาะแคโรไลน์, กวม | 3.3 ล้าน | ไม่มี | |
โปลา | 23 กุมภาพันธ์–2 มีนาคม | 165 (105) | 950 | วอลิสและฟูตูนา, ฟีจี, ตองงา | ไม่มี | ไม่มี | |
ฮาเลฮ์ | 28 กุมภาพันธ์–7 มีนาคม | 175 (110) | 945 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี |
มีนาคม
[แก้]มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นในเดือนมีนาคมจำนวนสิบลูก ในจำนวนนี้หกลูกได้รับชื่อ ซึ่งไซโคลนอิดาอีเป็นพายุที่ทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตในทวีปอเมริกาใต้ถึง 1,007 คน.[10] ส่วนพายุโซนร้อนอีบากลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้นับตั้งแต่พายุแอนีตาใน พ.ศ. 2553
ชื่อพายุ | ช่วงที่พายุมีกำลัง | ลมแรงสุด กม./ชม. (ไมล์/ชม.) |
ควมกดอากาศ (hPa) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ความเสียหาย (USD) |
ผู้เสียชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
อิดาอี | 4–16 มีนาคม | 195 (120) | 940 | โมซัมบิก, มาลาวี, มาดากัสการ์, ซิมบับเว | ≥2 พันล้าน | 1,297 | [11][12] |
15U | 6–11 มีนาคม | ไม่ได้ระบุ | 1007 | หมู่เกาะมาลูกู | ไม่มี | ไม่มี | |
ซะแวนนาห์ | 7–20 มีนาคม | 175 (110) | 951 | เกาะชวา, เกาะคริสต์มาส, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) | >7.5 ล้าน | 10 | |
TL | 13–14 มีนาคม | ไม่ได้ระบุ | ไม่ได้ระบุ | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
03W (เชเดง) | 14–19 มีนาคม | ไม่ได้ระบุ | 1006 | ปาเลา, ฟิลิปปินส์ | 23,000 | ไม่มี | |
เทรเวอร์ | 15–26 มีนาคม | 175 (110) | 955 | ปาปัวนิวกินี, รัฐควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี | 71,000 | ไม่มี | 1 |
วิรอนิกา | 18–31 มีนาคม | 195 (125) | 938 | ติมอร์, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย | 1.2 พันล้าน | ไม่มี | [13] |
จัวนินฮา | 18–30 มีนาคม | 185 (115) | 939 | รอดริเกซ | ไม่มี | ไม่มี | |
อีบา | 23–28 มีนาคม | 85 (55) | 1006 | บราซิล | ไม่มี | ไม่มี | |
TL | 31 มีนาคม–3 เมษายน | ไม่ได้ระบุ | 1005 | ภาคตะวันออกเฉียงใต้ปาปัวนิวกินี | ไม่มี | ไม่มี |
เมษายน
[แก้]มีพายุหมุนเขตร้อนหกลูกก่อตัวขึ้นในเดือนเมษายน และสี่ลูกได้รับชื่อ ในเดือนนี้ เคนเนท ได้กลายเป็นพายุไซโคลนรุนแรงที่มีกำลังแรงที่สุดที่พัดขึ้นฝั่งประเทศโมซัมบิก[14] โดยทำให้มีผู้เสียชีวิต 48 คน ซึ่งในจำนวนนั้น 41 คนเสียชีวิตในประเทศโมซัมบิก[15] ส่วน ฟานี ได้พัดเข้าบางส่วนของประเทศอินเดียและบังกลาเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 72 คนในรัฐโอฑิศา[16] 17 คนในประเทศบังกลาเทศ[17] และ 8 คนในรัฐอุตตรประเทศ โดยนับเป็นพายุที่สร้างความเสียหายไว้มากที่สุดในปีนี้ (นับถึงปัจจุบัน) ที่ 2.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[18]
ชื่อพายุ | ช่วงที่พายุมีกำลัง | ลมแรงสุด กม./ชม. (ไมล์/ชม.) |
ควมกดอากาศ (hPa) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ความเสียหาย (USD) |
ผู้เสียชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
วอลลิซ | 1–16 เมษายน | 120 (75) | 980 | นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, หมู่เกาะมาลูกู, เกาะติมอร์, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย | ไม่มี | ไม่มี | |
22U | 5–15 เมษายน | ไม่ได้ระบุ | 1006 | เกาะนิวกินี, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี | ไม่มี | ไม่มี | |
เคนเนท | 21–29 เมษายน | 215 (130) | 934 | เซเชลส์, มาดากัสการ์, หมู่เกาะโคโมโร, โมซัมบิก, แทนซาเนีย, มาลาวี | >100 ล้าน | 50 | [15] |
โลร์นา | 21 เมษายน–1 พฤษภาคม | 110 (70) | 978 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
TL | 21–25 เมษายน | ไม่ได้ระบุ | 1003 | เกาะสุมาตรา, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) | ไม่มี | ไม่มี | |
ฟานี | 26 เมษายน–4 พฤษภาคม | 215 (130) | 937 | ศรีลังกา, รัฐอานธรประเทศ, ภาคตะวันออกของอินเดีย, บังกลาเทศ, ภูฏาน | 1.81 พันล้าน[19][20] | 89 | [16][17][18] |
พฤษภาคม
[แก้]เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมของพายุนัก มีพายุหมุนเขตร้อนเพียงแปดลูกเท่านั้น ซึ่งในจำนวนพายุทั้งหมดของเดือน มีพายุจำนวนสี่ลูกที่ได้รับชื่อ พายุไซโคลนลีลีก่อนตัวชึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนในแอ่งออสเตรเลีย นับเป็นพายุหมุนนอกฤดูกาลของภูมิภาคออสเตรเลีย และพัดเข้าติมอร์ตะวันออก และหมู่เกาะมาลูกูของประเทศอินโดนีเซีย ปริมาณน้ำฝนทำให้เกิดอุทกภัย และส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นที่และทรัพย์สินประชาชนเล็กน้อย พายุไซโคลนแอนน์ เป็นพายุหมุนนอกฤดูกาลของภูมิภาคออสเตรเลียอีกลูก พัฒนาขึ้นเป็นพายุในระดับพายุโซนร้อนที่มีความรุนแรงตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และพัดขึ้นฝั่งในฟาร์นอร์ทควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลียในฐานะความกดอากาศต่ำเขตร้อน โดยพายุแอนน์นับเป็นพายุหมุนแถบออสเตรเลียที่ก่อตัวในเดือนพฤษภาคมที่มีความรุนแรงที่สุด นับตั้งแต่พายุรอนดาเมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาพายุกึ่งโซนร้อนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และได้ชื่อว่า ฌากัวร์ ทำให้พายุฌากัวร์เป็นพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ลูกที่สองของปี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นสองลูกในปีเดียวกันของมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 และตามด้วยการก่อตัวของพายุกึ่งโซนร้อนอายุสั้นชื่อ แอนเดรีย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบอร์มิวดาในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทำให้ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติกเริ่มต้นขึ้นก่อนวันเริ่มฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เป็นปีที่ห้าติดต่อกันแล้ว
ชื่อพายุ | ช่วงที่พายุมีกำลัง | ลมแรงสุด กม./ชม. (ไมล์/ชม.) |
ควมกดอากาศ (hPa) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ความเสียหาย (USD) |
ผู้เสียชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีลี | 4–11 พฤษภาคม | 75 (45) | 997 | ภาคตะวันออกของอินโดนีเชีย, ติมอร์ตะวันออก, ท็อปเอ็นด์, คิมเบร์ลี | ปานกลาง | ไม่มี | |
TD | 7–8 พฤษภาคม | ไม่ได้ระบุ | 1006 | แยป, ปาเลา | ไม่มี | ไม่มี | |
TD | 7–15 พฤษภาคม | ไม่ได้ระบุ | 1004 | หมู่เกาะแคโรไลน์ | ไม่มี | ไม่มี | |
แอนน์ | 7–18 พฤษภาคม | 95 (60) | 993 | หมู่เกาะโซโลมอน, นิวแคลิโดเนีย, รัฐควีนส์แลนด์, ท็อปเอ็นด์ | ไม่มี | ไม่มี | |
TD | 10–11 พฤษภาคม | ไม่ได้ระบุ | 1006 | แยป, ปาเลา | ไม่มี | ไม่มี | |
12F | 16–21 พฤษภาคม | 55 (35) | 1002 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
ฌากัวร์ | 20–22 พฤษภาคม | 65 (40) | 1010 | บราซิล | ไม่มี | ไม่มี | |
แอนเดรีย | 20–21 พฤษภาคม | 65 (40) | 1006 | เบอร์มิวดา | ไม่มี | ไม่มี |
มิถุนายน
[แก้]วันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันเริ่มต้นฤดูอย่างเป็นทางการของฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก แม้ว่าพายุลูกแรกของฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติกปีนี้ (พายุแอนเดรีย) จะก่อตัวไปตั้งแต่ก่อนฤดูกาลเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมก็ตาม หลังจากที่เว้นช่วงไปอย่างยาวนานที่สุดของปี ในที่สุด ระบบพายุแรกในทะเลอาหรับของฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2562 ก็ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน และได้ชื่อว่า วายุ มีกำลังเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมาก ต่อมาในช่วงปลายเดือน พายุเฮอริเคนแอลวินก่อตัวขึ้นและกลายเป็นพายุลูกแรกของฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิกนี้ นอกจากนี้ยังมีพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นและกลายเป็นพายุโซนร้อนชื่อ เซอปัต ซึ่งนับเป็นพายุโซนร้อนลูกแรกในรอบสี่เดือนนับแต่พายุหวู่ติบในเดือนกุมภาพันธ์
ชื่อพายุ | ช่วงที่พายุมีกำลัง | ลมแรงสุด กม./ชม. (ไมล์/ชม.) |
ควมกดอากาศ (hPa) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ความเสียหาย (USD) |
ผู้เสียชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
วายุ | 10—19 มิถุนายน | 150 (90) | 978 | ภาคเหนือของมัลดีฟส์, ลักษทวีป, อินเดียตะวันตก, ปากีสถานตะวันออกเฉียงใต้ | >140,000 | 8 | |
เซอปัต | 17—28 มิถุนายน | 75 (45) | 992 | หมู่เกาะแคโรไลน์, ญี่ปุ่น | ไม่มี | ไม่มี | |
TD | 26 มิถุนายน | 55 (35) | 1000 | หมู่เกาะรีวกีว, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น | ไม่มี | ไม่มี | |
แอลวิน | 25—29 มิถุนายน | 120 (75) | 992 | เกาะกลาริยง | ไม่มี | ไม่มี | |
04W | 26 มิถุนายน—1 กรกฎาคม | 55 (35) | 1006 | หมู่เกาะแคโรไลน์, ปาเลา | ไม่มี | ไม่มี | |
บาร์บารา | 30 มิถุนายน—6 กรกฎาคม | 250 (155) | 933 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี |
กรกฎาคม
[แก้]เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนค่อนข้างมากในปีนี้ โดยมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นสิบสามลูก ในจำนวนนั้นสิบลูกมีความรุนแรงถึงพายุโซนร้อน ในบรรดาพายุเหล่านี้ พายุโซนร้อนมูน ได้พัดขึ้นฝั่งทางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม และพายุเฮอริเคนแบร์รี ได้พัดขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งมิดเวสเทิร์นของสหรัฐและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐในฐานะพายุโซนร้อน สร้างความเสียหาย 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้เสียชีวิตทางอ้อมจากพายุจำนวน 1 คน
ชื่อพายุ | ช่วงที่พายุมีกำลัง | ลมแรงสุด กม./ชม. (ไมล์/ชม.) |
ควมกดอากาศ (hPa) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ความเสียหาย (USD) |
ผู้เสียชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
มูน | 1—4 กรกฎาคม | 65 (40) | 992 | เกาะไหหนัน, ภาคใต้ของจีน, หมู่เกาะพาราเซล, เวียดนาม, ลาว | 240,000 | 2 | |
คอสมี | 6—8 กรกฎาคม | 85 (50) | 1001 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
แบร์รี | 11—15 กรกฎาคม | 120 (75) | 991 | มิดเวสเทิร์นของสหรัฐ, ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ, ชายฝั่งด้านอ่าวของสหรัฐ, รัฐอาร์คันซอ, รัฐโอคลาโฮมา, ภูมิภาคเกรตเลกส์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ | ≥500 ล้าน | 1 | |
สี่-อี | 12—14 กรกฎาคม | 55 (35) | 1006 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
ดานัส | 12—21 กรกฎาคม | 85 (50) | 985 | แยป, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, หมู่เกาะรีวกีว, ภาคตะวันออกของจีน, ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี, ภาคเหนือของจีน, รัสเซียตะวันออกไกล, หมู่เกาะคูริล | 302,000 | 4 | |
TD | 17—19 กรกฎาคม | 55 (35) | 996 | ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, หมู่เกาะรีวกีว | ไม่มี | ไม่มี | |
เดลิลา | 22—25 กรกฎาคม | 65 (40) | 1005 | ปานามา, คอสตาริกา, นิการาก้ว | ไม่มี | ไม่มี | |
สาม | 22—23 กรกฎาคม | 50 (30) | 1013 | บาฮามาส | ไม่มี | ไม่มี | |
01 | 22—24 กรกฎาคม | 45 (30) | 1001 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
นารี | 24—27 กรกฎาคม | 65 (40) | 998 | หมู่เกาะโบนิน, ญี่ปุ่น | ไม่มี | ไม่มี | |
เอริก | 27 กรกฎาคม—ปัจจุบัน | 215 (130) | 952 | รัฐฮาวาย | ไม่มี | ไม่มี | |
ฟลอสซี | 28 กรกฎาคม—ปัจจุบัน | 130 (80) | 990 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
วิภา | 30 กรกฎาคม—3 สิงหาคม | 55 (35) | 992 | หมู่เกาะพาราเซล, เกาะไหหนัน, ภาคใต้ของจีน, เวียดนาม, ลาว | ไม่มี | ไม่มี |
สิงหาคม
[แก้]ชื่อพายุ | ช่วงที่พายุมีกำลัง | ลมแรงสุด กม./ชม. (ไมล์/ชม.) |
ควมกดอากาศ (hPa) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ความเสียหาย (USD) |
ผู้เสียชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฟรานซิสโก | 1 สิงหาคม—ปัจจุบัน | 95 (60) | 992 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
เลกีมา | 1 สิงหาคม—ปัจจุบัน | 65 (40) | 996 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
กิล | 3 สิงหาคม—ปัจจุบัน | 65 (40) | 1006 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี |
ผลกระทบทั่วโลก
[แก้]- ↑ ผลรวมของจำนวนพายุในแต่ละแอ่งจะไม่เท่ากับจำนวนที่แสดงในทั้งหมด เพราะเมื่อพายุเคลื่อนตัวข้ามแอ่งมันจะถูกนับเป็นพายุในอีกหนึ่งด้วย ทำให้เกิกเป็นข้อแตกต่าง (ในสิ่งที่ควรจะเหมือนกัน) ของจำนวนพายุจริง
- ↑ ผลรวมของจำนวนผู้เสียชีวิตในแต่ละแอ่งจะไม่เท่ากับจำนวนที่แสดงในทั้งหมด เพราะเมื่อพายุเคลื่อนตัวข้ามแอ่งมันจะถูกนับเป็นพายุในอีกหนึ่งด้วย ทำให้เกิกเป็นข้อแตกต่าง (ในสิ่งที่ควรจะเหมือนกัน) ของจำนวนผู้เสียชีวิตจริง
หมายเหตุ
[แก้]1 เฉพาะพายุที่ก่อตัว ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เท่านั้นที่ถูกนับในจำนวนพายุรวม
2 เฉพาะพายุที่ก่อตัว ก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เท่านั้นที่ถูกนับในจำนวนพายุรวม
3 ความเร็วลมสูงสุดในแอ่งนี้อ้างอิงตามมาตราของกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย ซึ่งจะใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 3 นาที
4 ความเร็วลมสูงสุดในแอ่งนี้อ้างอิงตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ซึ่งจะใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 1 นาที
5ความเร็วลมของพายุหมุนเขตร้อนนี้อ้างอิงตามเมเตโอฟร็องส์ซึ่งวัดที่ความเร็วลมกระโชก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Meteorology, corporateName=Bureau of. "Tropical Cyclones". www.bom.gov.au (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-04-10.
- ↑ Doyle, Kate (2019-02-19). "Why are cyclone paths so difficult to predict?". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 2019-04-10.
- ↑ "Tropical Cyclone Programme". www.wmo.int. สืบค้นเมื่อ 2019-04-07.
- ↑ Olarn, Kocha (5 January 2019). "Storm kills 3 in Thailand, moves into Andaman Sea". CNN. สืบค้นเมื่อ 2019-04-09.
- ↑ "Pabuk leaves 4 dead, billions of Baht in damage – Thailand". ReliefWeb. สืบค้นเมื่อ 2019-04-09.
- ↑ Olarn, Kocha. "Storm Kills 3 in Thailand, moves into Andaman Sea". CNN. CNN. สืบค้นเมื่อ 26 January 2019.
- ↑ Wright, Pam. "Tropical Storm Pabuk Makes First on Record Southern Thailand January Landfall; Two Killed, Thousands Evacuated". The Weather Channel. The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ 26 January 2019.
- ↑ Dalizon, Alfred. "Landslide buried 7 treasure hunters in Agusan del Norte". Journal Online. People's Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-20. สืบค้นเมื่อ 26 January 2019.
- ↑ "Wutip 2019 – Hurricane And Typhoon Updates". blogs.nasa.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-04-09.
- ↑ Leahy, Stephen (2019-03-19). "Why Cyclone Idai was so destructive". Environment. สืบค้นเมื่อ 2019-04-09.
- ↑ "Resources stretched as Cyclone Kenneth piles misery on Mozambique". Reliefweb. 27 April 2019. สืบค้นเมื่อ 27 April 2019.
- ↑ "Hundreds feared dead after Cyclone Idai". BBC News. 18 March 2019. สืบค้นเมื่อ 18 March 2019.
- ↑ Osental, Duffie (5 April 2019). "Insurers on standby as cyclone looms off Western Australia coast". Insurance Business America. สืบค้นเมื่อ 5 April 2019.
- ↑ Brandon Miller (25 April 2019). "Cyclone Kenneth: Thousands evacuated as Mozambique is hit with the strongest storm in its history". Cable News Network. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
- ↑ 15.0 15.1 Mutsaka, Farai. "Mozambique church a refuge for Muslim cyclone survivors". SF Gate. The Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-01. สืบค้นเมื่อ 1 May 2019.
- ↑ 16.0 16.1 "Number Of Dead From Cyclone Fani Rises To 29 In Odisha". NDTV. 5 May 2019. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019.
- ↑ 17.0 17.1 "Cyclone Fani: 14 killed in 8 districts". Dhaka Tribune. 4 May 2019. สืบค้นเมื่อ 4 May 2019.
- ↑ 18.0 18.1 "Lightning kills 8 in Uttar Pradesh". New Indian Express. 3 May 2019. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019.
- ↑ "Andhra Pradesh pegs loss due to Cyclone Fani at ₹58.62 crore". The Hindu. 5 May 2019. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019.
- ↑ "Fani storm loss estimated at Tk 536 crore". Banglanews24.com. 9 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค
- ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐ – แอตแลนติกเหนือ, แปซิฟิกตะวันออก
- ศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง – แปซิฟิกกลาง
- กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น – แปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ
- กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย – อ่าวเบงกอล และ ทะเลอาหรับ
- Météo-France – เรอูว์นียง – มหาสมุทรอินเดียใต้จาก 30°E ถึง 90°E
- Fiji Meteorological Service – แปซิฟิกใต้ทางตะวันตกของ 160°E ทางเหนือของ 25°S
ศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อน
- กรมอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศวิทยา และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย – มหาสมุทรอินเดียใต้จาก 90°E ถึง 141°E, บริเวณตอนเหนือของ 10°S
- สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (TCWC ศูนย์เพิร์ท, ดาร์วิน และ บริสเบน) – มหาสมุทรอินเดียใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกใต้จาก 90°E ถึง 160°E, บริเวณตอนใต้ของ 10°S
- บริการลมฟ้าอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกินี เก็บถาวร 2020-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – มหาสมุทรแปซิฟิกใต้จาก 141°E ถึง 160°E, บริเวณตอนเหนือของ 10°S
- เมทเซอร์วิสนิวซีแลนด์ – มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ทางตะวันตกของ 160°E, ทางใต้ของ 25°S