ฟุตบอลทีมชาติรัสเซีย
ฉายา | Сборная / Sbornaya (ทีมชาติ) Наши парни / Nashi parni (Our Boys) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สหภาพฟุตบอลรัสเซีย (RFU) | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | วาเลรี คาร์ปิน | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | เซอร์เก อิกนาเชวิช (127) [1] | ||
ทำประตูสูงสุด | อเล็กซานเดอร์ เคอร์ซาคอฟ (30) | ||
สนามเหย้า | หลากหลาย | ||
รหัสฟีฟ่า | RUS | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 33 2 (20 มิถุนายน 2024)[2] | ||
อันดับสูงสุด | 3 (เมษายน ค.ศ. 1996) | ||
อันดับต่ำสุด | 70 (มิถุนายน ค.ศ. 2018) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
ในฐานะจักรวรรดิรัสเซีย: ฟินแลนด์ 2–1 รัสเซีย (สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน; 30 มิถุนายน ค.ศ. 1912) ในฐานะสหพันธรัฐรัสเซีย: รัสเซีย 2–0 เม็กซิโก (มอสโก ประเทศรัสเซีย; 16 สิงหาคม ค.ศ. 1992) | |||
ชนะสูงสุด | |||
ในฐานะสหภาพโซเวียต: สหภาพโซเวียต 11–1 อินเดีย (มอสโก สหภาพโซเวียต; 16 กันยายน ค.ศ. 1955) ฟินแลนด์ 0–10 สหภาพโซเวียต (เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์; 15 สิงหาคม ค.ศ. 1957) ในฐานะสหพันธรัฐรัสเซีย: รัสเซีย 9–0 ซานมารีโน (ซารันสค์ ประเทศรัสเซีย; 8 มิถุนายน ค.ศ. 2019) | |||
แพ้สูงสุด | |||
ในฐานะจักรวรรดิรัสเซีย: เยอรมนี 16–0 รัสเซีย (สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน; 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1912) ในฐานะสหพันธรัฐรัสเซีย: โปรตุเกส 7–1 รัสเซีย (ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส; 13 ตุลาคม ค.ศ. 2004) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 11 (ครั้งแรกใน 1958) | ||
ผลงานดีที่สุด | อันดับที่ 4 (1966 ในนาม สหภาพโซเวียต) | ||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||
เข้าร่วม | 12 (ครั้งแรกใน 1960) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1960 ในนาม สหภาพโซเวียต) | ||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2017) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบแบ่งกลุ่ม (2017) | ||
เว็บไซต์ | rfs.ru |
ฟุตบอลทีมชาติรัสเซีย (รัสเซีย: Сборная России по футболу) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศรัสเซีย ควบคุมโดยสหภาพฟุตบอลรัสเซีย และเป็นสมาชิกของยูฟ่า ทีมชาติรัสเซียได้เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 4 ครั้ง ในปี 1994, 2002, 2014 และ 2018 นอกจากนี้ ยังเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 5 ครั้ง ในปี 1996, 2004, 2008, 2012 และ 2016 ซึ่งผลงานที่ดีที่สุดคือผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในปี 2008
ฟีฟ่าได้พิจารณาให้รัสเซียเป็นทีมชาติที่สืบทอดจากทีมชาติสหภาพโซเวียตและทีมชาติเครือรัฐเอกราช
ประวัติ
[แก้]ทีมชาติรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นมาครั้งแรกในยุคจักรวรรดิรัสเซีย ในนามทีมชาติจักรวรรดิรัสเซีย เล่นเกมนานาชาติครั้งแรกกับทีมชาติฟินแลนด์ ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1912 ผลการแข่งขันเป็นฝ่ายแพ้ไป 1-2
ต่อมาได้มีการก่อตั้งเป็นสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นอาณาจักรใหญ่ ทีมชาติสหภาพโซเวียตจึงมีความแข็งแกร่ง และประสบความสำเร็จมากมาย เคยได้อันดับ 4 ในฟุตบอลโลก 1966 และแชมป์ยุโรป 1960
หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปในปี ค.ศ. 1991 ได้มีการแตกออกเป็นประเทศต่าง ๆ มากมาย ทีมชาติรัสเซียได้ลงเล่นเป็นครั้งแรกในกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1992 โดยใช้ผู้เล่นเดิมจากทีมชาติสหภาพโซเวียตเป็นหลัก และเป็นฝ่ายเอาชนะทีมชาติเม็กซิโกไปได้ 2-0
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]- 1960 สหภาพโซเวียต ได้แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 1964 สหภาพโซเวียต ได้รองแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 1966 สหภาพโซเวียต ได้อันดับที่ 4 ฟุตบอลโลก
- 1972 สหภาพโซเวียต ได้รองแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 1988 สหภาพโซเวียต ได้รองแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 1991 สหภาพโซเวียตได้มีการล่มสลายกลายเป็นหลายประเทศ ทำให้เกิดทีมชาติเครือรัฐเอกราชและทีมชาติรัสเซีย
- 1992 เครือรัฐเอกราช ตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 1994 รัสเซีย ตกรอบแบ่งกลุ่ม ฟุตบอลโลก โดยเป็นการเข้าแข่งฟุตบอลโลกครั้งแรกในชื่อรัสเซีย
- 1996 รัสเซีย ตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 2002 รัสเซีย ตกรอบแบ่งกลุ่ม ฟุตบอลโลก
- 2004 รัสเซีย ตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 2008 รัสเซีย ตกรอบ 8 ทีมฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 2012 รัสเซีย ตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 2014 รัสเซีย ตกรอบแบ่งกลุ่ม ฟุตบอลโลก
- 2016 รัสเซีย ตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 2018 รัสเซีย ตกรอบก่อนรองชนะเลิศฟุตบอลโลก ในการเป็นเจ้าภาพ
- 2022 รัสเซีย ถูกฟีฟ่าและยูฟ่าตัดสิทธิ์จากการแข่งขันฟุตบอลรอบคัดเลือก จากเหตุการณ์การรุกรานยูเครนของรัสเซีย
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
[แก้]- อังเดร อาร์ชาวิน
- โรมัน ปัฟลูย์เชนโค
- วลาดิมีร์ เบสชาส์ตนิก
- พาเวล โปเกรบเนียก
- ดีนียาร์ บิลยาเลตดีนอฟ
- อังเดร แคนเชลสกีส์
- อิกอร์ อาคินเฟเยฟ
- เซอร์เก อิกนาเชวิช
- เลฟ ยาชิน[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ สถิติผู้เล่นสูงสุดของรัสเซีย จาก rsssf.com
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ รัสเซีย, นพ.วิชาญ-พิเชษฐ์ เกิดวิชัย หน้า 21 เดลินิวส์: วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555 แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทีมชาติรัสเซียอย่างเป็นทางการ
- ทีมชาติรัสเซีย เก็บถาวร 2018-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากฟีฟ่า
- ทีมชาติรัสเซีย จากยูฟ่า