ฟุตบอลทีมชาติเวลส์
ฉายา | มังกร (เวลส์: Y Dreigiau) มังกรแดง (ฉายาในภาษาไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลเวลส์ (FAW) | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | เคร็ก เบลลามี | ||
กัปตัน | แอรอน แรมซีย์ | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | แกเร็ธ เบล (111) | ||
ทำประตูสูงสุด | แกเร็ธ เบล (41) | ||
สนามเหย้า | คาร์ดิฟฟ์ซิตีสเตเดียม | ||
รหัสฟีฟ่า | WAL | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 29 (20 มิถุนายน 2024)[1] | ||
อันดับสูงสุด | 8 (ตุลาคม ค.ศ. 2015) | ||
อันดับต่ำสุด | 117 (สิงหาคม ค.ศ. 2011) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
สกอตแลนด์ 4–0 เวลส์ (กลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์; 25 มีนาคม ค.ศ. 1876) | |||
ชนะสูงสุด | |||
เวลส์ 11–0 ไอร์แลนด์ (เร็กซัม ประเทศเวลส์; 3 มีนาคม ค.ศ. 1888) | |||
แพ้สูงสุด | |||
สกอตแลนด์ 9–0 เวลส์ (กลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์; 23 มีนาคม ค.ศ. 1878) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 2 (ครั้งแรกใน 1958) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1958) | ||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||
เข้าร่วม | 2 (ครั้งแรกใน 2016) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบรองชนะเลิศ (2016) | ||
เกียรติยศ | |||
เว็บไซต์ | www |
ฟุตบอลทีมชาติเวลส์ (เวลส์: Tîm pêl-droed cenedlaethol Cymru) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศเวลส์ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลเวลส์ (FAW) และเป็นสมาชิกของยูฟ่า
แม้ประเทศเวลส์จะไม่ใช่ดินแดนที่เป็นรัฐเอกราช โดยมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แต่ก็มีสมาคมฟุตบอลและทีมชาติเป็นของตนเอง โดยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติในรายการสำคัญๆทุกรายการของฟีฟ่าและยูฟ่า อย่างไรก็ตามสำหรับการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิก ประเทศในเครือสหราชอาณาจักรอันประกอบไปด้วยอังกฤษ, สก็อตแลนด์, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือต้องรวมทีมกันลงแข่งขันภายใต้ชื่อของสหราชอาณาจักร
ทีมชาติเวลส์จัดเป็นฟุตบอลทีมชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอันดับที่ 3 รองจากทีมชาติอังกฤษและทีมชาติสก็อตแลนด์ แต่เคยผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายในรายการสำคัญๆ เพียงแค่ 3 ครั้งคือฟุตบอลโลกปี 1958 ที่ประเทศสวีเดน, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ประเทศฝรั่งเศส และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 โดยทีมชาติเวลส์มีฉายาที่ตั้งขึ้นโดยสื่อมวลชนกีฬาในประเทศไทยว่า มังกรแดง
โดยผลงานดีที่สุดในระดับชาติที่ทีมชาติเวลส์เคยทำได้คือการผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก 1958 และผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016
ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนยุโรป เวลส์ตกรอบคัดเลือกโดยมีคะแนนตามหลังทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ซึ่งอยู่อันดับ 2 เพียงแค่ 2 คะแนน อย่างไรก็ตามเวลส์สามารถผ่านเข้าไปแข่งขันในรอบสุดท้ายในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ได้สำเร็จ
การจัดอันดับโลกของฟีฟ่าที่ทีมชาติเวลส์เคยทำได้สูงสุดคืออันดับที่ 8 (ตุลาคม 2015) ภายใต้การคุมทีมของ คริส โคลแมน โดยในเดือนกันยายน 2015 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ เวลส์ กลายเป็นทีมชาติที่มีอันดับโลกดีที่สุดในบรรดาทีมชาติในสหราชอาณาจักร
ประวัติ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]ทีมชาติเวลส์ลงแข่งขันฟุตบอลเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1876 โดยเป็นการแข่งขันนัดกระชับมิตรกับทีมชาติสก็อตแลนด์ ที่สนามแฮมิลตัน เครสเซนต์ ซึ่งเป็นสนามของทีมคริกเก็ตในเมืองกลาสโกว์ ทำให้เวลส์เป็นทีมฟุตบอลทีมชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอันดับที่ 3 รองจากทีมชาติอังกฤษและทีมชาติสก็อตแลนด์ โดยการแข่งขันในนามทีมชาติเป็นครั้งแรกของเวลส์จบลงด้วยการแพ้สก็อตแลนด์ถึง 4–0
ปีต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1877 ทีมชาติเวลส์และทีมชาติสก็อตแลนด์ กลับมาแข่งกันอีกครั้งที่สนามเรสคอส กราวน์ เมืองเร็กซ์แฮม ประเทศเวลส์ โดยถือเป็นการเล่นในฐานะเจ้าบ้านเป็นครั้งแรก และสก็อตแลนด์เอาชนะไปได้อีกครั้งด้วยผล 2–0
ทีมชาติเวลส์มีโอกาสลงแข่งขันกับทีมชาติอังกฤษเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ.1879 ที่สนามดิ โอวัล ในกรุงลอนดอน และเป็นฝ่ายแพ้ไป 2–1
ปี ค.ศ. 1882 ทีมชาติเวลส์ได้ลงแข่งกับทีมชาติเกาะไอร์แลนด์เป็นครั้งแรก ที่เมืองเร็กซ์แฮม และชนะไป 7–1 (ในสมัยนั้นเกาะไอร์แลนด์ยังไม่ได้แยกเป็นไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์)
สมาคมฟุตบอลเวลส์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่าครั้งแรกในปี ค.ศ. 1906 แต่ด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีนักระหว่างฟีฟ่าและสมาคมฟุตบอลของประเทศในเครือสหราชอาณาจักร ทำให้สมาคมฟุตบอลเวลส์ถูกถอดถอนออกจากการเป็นสมาชิกของฟีฟ่าในปี ค.ศ. 1928 ทำให้ไม่มีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก 1930 ซึ่งเป็นการจัดฟุตบอลโลกสมัยแรก และในอีก 2 ครั้งต่อมา
โดยการเดินทางออกไปแข่งขันภายนอกสหราชอาณาจักรเป็นครั้งแรกของทีมชาติเวลส์ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1933 เมื่อนักฟุตบอลทีมชาติเวลส์เดินทางไปที่กรุงปารีส เพื่อลงแข่งขันกับทีมชาติฝรั่งเศส ในวันที่ 23 พฤษภาคม ซึ่งผลจบลงด้วยการเสมอกัน 1–1 และ วอลเตอร์ ร็อบบินส์ กองหน้าสังกัดสโมสรเวสต์บรอมมิช อัลเบียน ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของสมาคมฟุตบอลเวลส์ว่าเป็นนักฟุตบอลทีมชาติคนแรกที่ยิงประตูได้ในการแข่งขันนอกสหราชอาณาจักร
หลังจบสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1946 สมาคมฟุตบอลเวลส์ได้กลับเข้ามาเป็นสมาชิกของฟีฟ่าอีกครั้ง พร้อมๆกับสมาคมฟุตบอลของประเทศในเครือสหราชอาณาจักรอื่นๆ และลงแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 1950 แต่ทีมชาติเวลส์จบอันดับสุดท้ายของกลุ่ม
อย่างไรก็ตามในยุค 50 ถือเป็นยุคทองของทีมชาติเวลส์ เมื่อทีมชาติในยุคนั้นอุดมไปด้วยดารานักเตะดังๆแทบจะทั้งทีมเช่น อิวอร์ ออลเชิร์ช, คลิฟฟ์ โจนส์, เทรเวอร์ ฟอร์ด และ จอห์น ชาร์ลส์
ฟุตบอลโลก 1958
[แก้]ทีมชาติเวลส์ผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งแรกและครั้งเดียวในฟุตบอลโลก 1958 ที่ประเทศสวีเดน ภายใต้การคุมทีมของ จิมมี่ เมอร์ฟี่ โดยในรอบแบ่งกลุ่มถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 3 ร่วมกับทีมชาติสวีเดน ที่เป็นเจ้าภาพ ,ทีมชาติฮังการี และทีมชาติเม็กซิโก
โดยการแข่งฟุตบอลโลกนัดแรกในประวัติศาสตร์ของทีมชาติเวลส์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1958 ที่สนามเจิร์นวัลเล่น เมืองแซนด์ไวเค่น เป็นการแข่งขันในรอบแรกระหว่างทีมชาติฮังการี และ ทีมชาติเวลส์ ผลจบลงด้วยการเสมอกันไป 1–1 ฮังการีได้ประตูขึ้นนำก่อนจากโจเซฟ บอสซิก ส่วนเวลส์ตีเสมอได้จาก จอห์น ชาร์ลส์ กองหน้าสังกัดยูเวนตุส ทำให้จอห์น ชาร์ลส์ ถูกบันทึกว่าเป็นนักเตะทีมชาติคนแรกของเวลส์ที่ยิงประตูได้ในฟุตบอลโลก
นัดต่อมาเวลส์เสมอกับทีมชาติเม็กซิโก 1–1 โดยเวลส์ได้ประตูขึ้นนำก่อนจากลูกยิงของอิวอร์ ออลเชิร์ช ก่อนที่ไคเม่ เบลมอนเต้จะตีเสมอให้เม็กซิโก
ผลจากการที่นัดสุดท้ายในรอบแรก ทีมชาติเวลส์เสมอกับเจ้าภาพสวีเดน 0–0 ทำให้สวีเดนผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์กลุ่ม ส่วนเวลส์ มี 3 คะแนนเท่ากับฮังการี ต้องตัดสินด้วยการเพลย์ออฟ เพื่อหาทีมที่จะเข้าไปเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้ายต่อไป
การแข่งขันเพลย์ออฟ ระหว่างเวลส์และฮังการี่ ทีมชาติเวลส์เสียประตูก่อนในครึ่งแรก แต่มายิงคืนได้ 2 ประตูรวดจากอิวอร์ ออลเชิร์ช ที่ยิงตีเสมอ และได้ประตูชัยจากเทอร์รี่ เมดวิน ปีกจากสโมสรท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ ในช่วงท้ายเกมส์ ทำให้ผ่านเข้าไปสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายต่อไป
ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายเวลส์ต้องพบกับทีมชาติบราซิล และจอห์น ชาร์ลส์ กองหน้าตัวสำคัญของทีมก็ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งในที่สุดเวลส์ก็แพ้บราซิลไป 1–0 โดยผู้ที่ยิงประตูให้ทีมชาติบราซิลได้ในแมตช์ดังกล่าวเป็นนักเตะหนุ่มที่อายุเพียง 17 ปี ของสโมสรซานโต๊ส และประตูนี้เป็นประตูแรกของเขาในนามทีมชาติบราซิล อีกทั้งยังส่งผลให้เขาเป็นเจ้าของสถิติผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ยิงประตูได้ในฟุตบอลโลกจนถึงปัจจุบัน หลังจบทัวนาเมนต์บราซิลคว้าตำแหน่งแชมป์โลกไปครองได้สำเร็จ และนักฟุตบอลหนุ่มที่ยิงประตูได้ในแมตช์นี้กลายเป็นกองหน้าระดับตำนานของวงการฟุตบอลในเวลาต่อมา นักฟุตบอลหนุ่มคนนี้มีชื่อเล่นว่า "เปเล่"
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022
จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2022 หลังแข่งขันกับ อิหร่าน
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | เวย์น เฮนเนสซีย์ | 24 มกราคม ค.ศ. 1987 | 108 | 0 | นอตทิงแฮมฟอเรสต์ |
12 | GK | แดนนี วอร์ด | 22 มิถุนายน ค.ศ. 1993 | 27 | 0 | เลสเตอร์ซิตี |
21 | GK | แอดัม เดวิส | 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 | 4 | 0 | เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด |
2 | DF | คริส กันเทอร์ | 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 | 109 | 0 | วิมเบิลดัน |
3 | DF | นีโก วิลเลียมส์ | 13 เมษายน ค.ศ. 2001 | 25 | 2 | นอตทิงแฮมฟอเรสต์ |
4 | DF | เบน เดวิส | 24 เมษายน ค.ศ. 1993 | 76 | 1 | ทอตนัมฮอตสเปอร์ |
5 | DF | คริส เม็ฟฟัม | 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 | 35 | 0 | บอร์นมัท |
6 | DF | โจ โรดัน | 22 ตุลาคม ค.ศ. 1997 | 32 | 0 | สตาดแรแน |
14 | DF | คอนเนอร์ รอเบิตส์ | 23 กันยายน ค.ศ. 1995 | 43 | 3 | เบิร์นลีย์ |
15 | DF | อีทัน แอมพาดู | 14 กันยายน ค.ศ. 2000 | 39 | 0 | สเปเซีย |
17 | DF | ทอม ล็อกเยอร์ | 3 ธันวาคม ค.ศ. 1994 | 14 | 0 | ลูตันทาวน์ |
24 | DF | เบน คาแบงโก | 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 | 5 | 0 | สวอนซีซิตี |
7 | MF | โจ แอลเลน | 14 มีนาคม ค.ศ. 1990 | 73 | 2 | สวอนซีซิตี |
8 | MF | แฮร์รี วิลสัน | 22 มีนาคม ค.ศ. 1997 | 41 | 5 | ฟูลัม |
10 | MF | แอรอน แรมซีย์ (กัปตัน) | 26 ธันวาคม ค.ศ. 1990 | 77 | 20 | นิส |
16 | MF | โจ มอร์เรลล์ | 3 มกราคม ค.ศ. 1997 | 31 | 0 | พอร์ตสมัท |
18 | MF | จอนนี วิลเลียมส์ | 9 ตุลาคม ค.ศ. 1993 | 33 | 2 | สวินดัน ทาวน์ |
22 | MF | ซอร์บา ทอมัส | 25 มกราคม ค.ศ. 1999 | 7 | 0 | ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ |
23 | MF | ดิลัน เลวิตต์ | 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 | 13 | 0 | ดันดี ยูไนเต็ด |
25 | MF | รูบิน คอลวิลล์ | 27 เมษายน ค.ศ. 2002 | 7 | 1 | คาร์ดิฟฟ์ซิตี |
26 | MF | แมตทิว สมิท | 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 | 19 | 0 | มิลตันคีนส์ดอนส์ |
9 | FW | เบรนนัน จอห์นสัน | 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 | 17 | 2 | นอตทิงแฮมฟอเรสต์ |
11 | FW | แกเร็ท เบล (กัปตัน) | 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 | 110 | 41 | ลอสแอนเจลิส |
13 | FW | คีฟเฟอร์ มัวร์ | 8 สิงหาคม ค.ศ. 1992 | 30 | 9 | บอร์นมัท |
19 | FW | มาร์ก แฮร์ริส | 29 ธันวาคม ค.ศ. 1998 | 5 | 0 | คาร์ดิฟฟ์ซิตี |
20 | FW | แดเนียล เจมส์ | 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 | 40 | 5 | ฟูลัม |
ผู้เล่นที่ลงเล่นให้ทีมชาติมากที่สุด
[แก้]- ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2024[2] (แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน):
รางวัลโกลเดน แคป
[แก้]สมาคมฟุตบอลเวลส์ ได้จัดให้มีการมอบรางวัล โกลเดน แคป หรือ หมวกทีมชาติทองคำ ให้แก่นักฟุตบอลที่ลงเล่นให้กับทีมชาติมากกว่า 50 นัด ดังรายชื่อต่อไปนี้[3] สังเกต: ผู้ที่ยังคงเล่นให้กับทีมชาติจะแสดงเป็น ตัวหนา:
|
ผู้ทำประตูสูงสุด
[แก้]แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน
สถิติด้านอายุ
[แก้]- ผู้เล่นทีมชาติที่มีอายุน้อยที่สุด :แฮร์รี วิลสัน (16 ปี 207 วัน)
- ผู้เล่นทีมชาติที่มีอายุมากที่สุด :บิลลี่ เมเรดิธ (45 ปี 229 วัน)
- ผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในการแข่งฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย :รอย เวอร์นอน (21 ปี 42 วัน)
- ผู้เล่นอายุมากที่สุดในการแข่งฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย :เดฟ โบเวน (30 ปี 1 วัน)
นักฟุตบอลเวลส์ยอดเยี่ยมแห่งปี
[แก้]- รางวัลนักฟุตบอลเวลส์ยอดเยี่ยมแห่งปี โดยสมาคมฟุตบอลเวลส์ (FAW) เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ.1993
ปี | ผู้เล่น | สโมสร | อ้างอิง |
---|---|---|---|
1993 | มาร์ค ฮิวจ์ส | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | [4] |
1994 | มาร์ค ฮิวจ์ส | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | [4] |
1996 | ไรอัน กิกส์ | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | |
1998 | จอห์น ฮาร์ทสัน | เวสต์แฮม ยูไนเต็ด | [5] |
1999 | พอล โจนส์ | เซาท์แฮมป์ตัน | [6] |
2000 | จอห์น โรบินสัน | ชาร์ลตัน แอธเลติก | [7] |
2001 | จอห์น ฮาร์ทสัน | วิมเบิลดัน โคเวนทรี ซิตี เซลติก |
[5] |
2002 | ไซมอน เดวิส | สเปอร์ | [8] |
2003 | จอห์น ฮาร์ทสัน | เซลติก | [5] |
2004 | โรเบิร์ต เอิร์นชอว์ | คาร์ดิฟฟ์ ซิตี เวสต์ บรอมมิช |
[9] |
2005 | แดนนี แกบบิดอน | คาร์ดิฟฟ์ ซิตี เวสต์แฮม ยูไนเต็ด |
[10] |
2006 | ไรอัน กิกส์ | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | [11] |
2007 | เคร็ก เบลลามี | ลิเวอร์พูล เวสต์แฮม ยูไนเต็ด |
[12] |
2008 | ไซมอน เดวิส | ฟูแลม | [13] |
2009 | แอชลีย์ วิลเลียมส์ | สวอนซี ซิตี | [14] |
2010 | แกเร็ธ เบล | สเปอร์ | [15] |
2011 | แกเร็ธ เบล | สเปอร์ | [16] |
2012 | โจ แอลเลน | สวอนซี ซิตี ลิเวอร์พูล |
[9] |
2013 | แกเร็ธ เบล | สเปอร์ เรอัลมาดริด |
[17] |
2014 | แกเร็ธ เบล | เรอัลมาดริด | [18] |
2015 | แกเร็ธ เบล | เรอัลมาดริด | [19] |
2016 | แกเร็ธ เบล | เรอัลมาดริด | [20] |
2017 | คริส กันเทอร์ | เรดิง | [21] |
2018 | เดวิด บรูคส์ | บอร์นมัท | [22] |
ชุดที่ใช้สำหรับการแข่งขัน
[แก้]ผู้สนับสนุน | ช่วงปี |
---|---|
แอดมิรัล สปอร์ตแวร์ | 1976-1980 |
อาดิดาส | 1980-1986 |
ฮัมเมล | 1987-1989 |
อัมโบร | 1990-1994 |
ล็อตโต้ | 1996-2000 |
แคปปา | 2000-2008 |
แชมเปียน | 2008-2010 |
อัมโบร | 2010-2013 |
อาดิดาส | 2013-ปัจจุบัน |
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ Alpuin, Luis Fernando Passo (20 February 2009). "Wales – Record International Players". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 10 March 2009.
- ↑ http://news.bbc.co.uk/sport2/hi/football/internationals/wales/3136474.stm
- ↑ 4.0 4.1 "GARETH RETAINS FAW AWARD". Tottenham Hotspur F.C. 5 October 2011. สืบค้นเมื่อ 14 May 2017.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "John Hartson: Hartson determined to pass his biggest test". The Independent. 15 November 2003. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "PAUL JONES SCOOPS TOP WELSH AWARD". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Robinson named Player of the Year". BBC Sport. 4 October 2000. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "SIMON SCOOPS TOP AWARD". Tottenham Hotspur F.C. 11 October 2002. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ 9.0 9.1 "Allen named Wales' player of the year". UEFA.com. 9 October 2012. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Gabbidon voted top Welsh player". BBC Sport. 4 October 2005. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Giggs claims Welsh award honour". BBC Sport. 3 October 2006. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Bellamy nets Welsh player award". BBC Sport. 13 November 2007. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Davies wins Welsh football gong". BBC Sport. 7 October 2008. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Williams takes top Welsh awards". BBC Sport. 11 November 2009. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Gareth Bale named Wales' player of the year". BBC Sport. 4 October 2010. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Gareth Bale retains FA of Wales player of the year award". BBC Sport. 4 October 2011. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Bale wins Welsh player award". The Daily Express. 7 October 2013. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Gareth Bale wins Welsh player award for record fourth time". BBC Sport. 6 October 2014. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Gareth Bale: Real Madrid forward named Welsh player of the year". BBC Sport. 5 October 2015. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "Gareth Bale and Joe Allen lead Wales award winners". BBC Sport. 8 November 2015. สืบค้นเมื่อ 12 November 2016.
- ↑ Chris Gunter: Reading defender beats Gareth Bale to Wales player of year award, BBC Sport, 2 October 2017, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-03, สืบค้นเมื่อ 3 October 2017
- ↑ https://www.skysports.com/football/news/12018/11672270/david-brooks-named-welsh-footballer-of-the-year