ข้ามไปเนื้อหา

ร็อคแมน (วิดีโอเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ร็อคแมน
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม
ออกแบบโทคุโระ ฟุจิวะระ (เกม)
เคอิจิ อินาฟุเนะ (ตัวละคร)
มานามิ มัตสุมาเอะ และ โยชิฮิโร ซาคากุชิ (ดนตรี)
แต่งเพลง
  • Manami Matsumae Edit this on Wikidata
ชุดร็อคแมน
เครื่องเล่นแฟมิคอม, เพลย์สเตชัน, เวอร์ชวลคอนโซล
วางจำหน่ายแฟมิคอม
เวอร์ชวลคอนโซล
แนวเกมแอ็กชันผจญภัย/เกมแพลตฟอร์ม
รูปแบบเล่นคนเดียว

ร็อคแมน (ญี่ปุ่น: ロックマン; อังกฤษ: Rockman) หรือ เมก้าแมน (อังกฤษ: Mega Man) เป็นภาคแรกของวิดีโอเกมของเกมชุดร็อคแมน เป็นวิดีโอเกม ที่ผลิตและวางจำหน่ายโดยแคปคอม ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2530 และเป็นเกมแรกในซีรีส์ชุด ร็อคแมน มีจุดเด่นในด้านการเป็นเกมแอ๊คชั่นที่เล่นได้ทุกวัย และมีเอกลักษณ์ของเกมคือ ผู้เล่นจะสามารถเลือกได้ว่าจะสู้กับหัวหน้าตัวใดก่อน และเมื่อเอาชนะหัวหน้าของด่านนั้นๆ ได้แล้ว จะได้อาวุธของหัวหน้าตัวนั้นมา เพื่อใช้ปราบหัวหน้าด่านอื่นๆ ต่อไป

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 แคปคอมได้สร้างร็อคแมนภาคแรกออกมาอีกครั้งบนเครื่องเพลย์สเตชันพอร์ทเทเบิล ในชื่อ ร็อคแมนร็อคแมน (ญี่ปุ่น: ロックマンロックマン) หรือ เมก้าแมน พาวเวิร์ดอัพ (อังกฤษ: Mega Man Powered Up) โดยเปลี่ยนกราฟิกใหม่เป็นสามมิติ แต่ระบบการเล่นยังคงเดิม และเพิ่มบอสใหม่สองตัว ไทม์แมนและออล์แมน

ทางผู้ผลิตได้ออกแบบร็อคแมนให้ตัวละครพิเศษกว่าเกมส์อื่นๆ ในยุคนั้นคือ ตัวละครสามารถกะพริบตาได้

ตัวละคร

[แก้]
  • ร็อคแมน หุ่นยนต์ที่สร้างโดย ดร.ไลท์ เพื่อสู้กับ ดร.ไวลี่
  • ดร. ไวลี่ ผู้ร้ายในเกมซึ่งมีเป้าหมายที่จะครองโลก ซึ่งเป็นหัวหน้าตัวสุดท้ายในเกม
  • ดร.ไลท์ ผู้สร้างร็อคแมน
  • โรล (Roll) น้องสาวของร็อคแมน ไม่มีบทบาทในเกมนี้

ขื่อตัวละครในเกมนี้ถูกตั้งให้เป็นแนวดนตรี เช่น ร็อคแอนด์โรล (Rock and Roll) และ บลูส์ (Blues) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในภาคภาษาอังกฤษได้มีการเปลี่ยนชื่อตัวละคร ทำให้ไม่เป็นไปตามแนวคิดนี้

วิธีการเล่น

[แก้]
ไฟล์:NES Mega Man.png
ภาพหน้าจอร็อคแมน ในด่าน คัทแมน

เมื่อเริ่มเกมร็อคแมน จะพบด่านให้เลือก 6 ด่าน แต่ละด่านจะมีหัวหน้า (Robot Master) ที่แตกต่างกัน หัวหน้าแต่ละตัวก็จะมีอาวุธพิเศษที่แตกต่างกันออกไป ผู้เล่นจะเลือกเล่นด่านใดก่อนก็ได้ เมื่อเอาชนะด่านทั้งหกได้แล้ว ด่านที่เจ็ดจะปรากฏขึ้นตรงกลาง แทนที่คำว่า "Stage Select, Press Start" ด่านนี้เป็นด่านสุดท้ายซึ่งประกอบด้วยด่านย่อยๆ ติดต่อกัน 4 ด่าน ถึงแม้ว่าบางด่านจะสั้นกว่าปกติ แต่หัวหน้าของแต่ละด่านก็ยากกว่าปกติด้วยเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว ในด่านย่อยสุดท้าย ผู้เล่นจะต้องสู้กับหัวหน้า 6 ตัวที่เคยสู้ไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง ตามลำดับที่กำหนด ก่อนที่จะเข้าไปกำจัด ดร.ไวลี่ ซึ่งเป็นหัวหน้าสุดท้ายของเกม

ร็อคแมนเป็นเกมแพลตฟอร์ม นั่นคือ ในแต่ละด่าน ผู้เล่นจะต้องควบคุมร็อคแมนไปตามเส้นทาง ผ่านศัตรูและอุปสรรคในรูปแบบต่างๆ และเมื่อไปถึงห้องสุดท้าย ร็อคแมนจะต้องสู้กับหัวหน้าของด่านนั้น หากเอาชนะได้ ร็อคแมนจะได้อาวุธของหัวหน้าตัวนั้น และสามารถนำอาวุธดังกล่าวไปใช้ได้ตลอดจนจบเกม

เมื่อเริ่มเกม ร็อคแมนจะมีอาวุธเพียงชนิดเดียวคือ ร็อคบัสเตอร์ (Rock Buster) ซึ่งสามารถยิงได้ไม่จำกัด แต่หากเคยเอาชนะหัวหน้าตัวใดไปแล้ว ก็สามารถนำอาวุธของหัวหน้าตัวนั้นมาใช้ได้ แต่อาวุธของหัวหน้าเหล่านี้จะมีจำนวนกระสุนจำกัด ซึ่งสามารถเติมกระสุนได้โดยเก็บไอเท็มอาวุธ อาวุธเหล่านี้อาจมีอยู่แล้วในด่าน หรืออาจได้จากการกำจัดศัตรู

ถึงแม้ว่าผู้เล่นจะสามารถเลือกเล่นด่านต่างๆ เรียงลำดับอย่างไรก็ได้ หัวหน้าตัวหนึ่งจะแพ้ทางกับอาวุธของหัวหน้าอีกตัวหนึ่ง เป็นทอดๆ ไป จึงทำให้ผู้เล่นนิยมเล่นเรียงตามลำดับหัวหน้าที่มีอาวุธข่มกัน ผู้เล่นจะต้องทดลองเองว่าหัวหน้าแต่ละตัวแพ้ทางกับอาวุธชนิดใด แต่หัวหน้าบางตัวก็สามารถใช้การสังเกตและการคาดเดาได้ เช่น ไฟร์แมน (ไฟ) แพ้อาวุธ ไอซ์ สแลชเชอร์ (น้ำแข็ง) นอกจากอาวุธที่ได้จากหัวหน้าทั้งหกแล้ว ยังมีอาวุธอีกอย่างหนึ่งคือ แม็กเน็ต บีม ที่ผู้เล่นจำเป็นจะต้องใช้ในด่านย่อยแรกของด่านสุดท้าย

อาวุธ

[แก้]

ร็อคแมนมีความสามารถในการนำอาวุธของหัวหน้าที่ปราบไปแล้วมาใช้ได้ นอกจากอาวุธที่ได้จากหัวหน้าต่างๆ แล้ว ยังมีอาวุธเพิ่มเติมอีกดังนี้

  • Rock Buster (อักษรย่อ P) เป็นอาวุธที่ติดตัวมาตั้งแต่แรก ยิงได้ไม่จำกัด ลักษณะเป็นกระสุนปืนเม็ดเล็กๆ ยิงติดต่อกันได้ทีละ 3 นัด
  • Magnet Beam (อักษรย่อ M) เก็บได้ในด่านของ Elecman โดยใช้อาวุธ Super Arm ยกหินที่ขวางทางอยู่ออกไป เป็นการยิงพื้นวิเศษเพื่อเหยียบได้ชั่วขณะก่อนที่จะหายไป

ในเวอร์ชัน NES การใช้ "Pause Trick" (การกดปุ่ม Select ย้ำๆ) เป็นข้อผิดพลาดของเกมที่ทำให้อาวุธต่างๆ (ยกเว้น Super Arm ของ Guts Man) ออกฤทธิ์ซ้ำๆ ทำให้สามารถจัดการกับหัวหน้าหลายตัวได้ง่ายขึ้น

ด่านและหัวหน้า

[แก้]
ด่านแรก
รหัส หัวหน้า อาวุธ อาวุธที่เป็นจุดอ่อน
DRN-003 Cut Man (คัทแมน) Rolling Cutter (C) เป็นการยิงใบมีดออกไปเป็นแนวโค้ง แล้วย้อนกลับมาที่เดิม Super Arm
DRN-004 Guts Man (กัทส์แมน) Super Arm (G) ทำให้สามารถยกก้อนหินที่วางอยู่ตามที่ต่างๆ ขว้างออกไปเป็นอาวุธได้ Hyper Bomb
DRN-005 Ice Man (ไอซ์แมน) Ice Slasher (I) ลักษณะเป็นลูกศรน้ำแข็ง สามารถแช่แข็งเป้าหมายได้ชั่วขณะ และแช่เสาเพลิงเป็นแท่นเหยียบได้ Thunder Beam
DRN-006 Bomb Man (บอมบ์แมน) Hyper Bomb (B) เป็นการขว้างลูกระเบิดออกไป เมื่อรอสักพักก็จะระเบิดออก Fire Storm
DRN-007 Fire Man (ไฟร์แมน) Fire Storm (F) เป็นการยิงลูกไฟออกไปด้านหน้า และจะมีไฟมาวิ่งล้อมรอบตัวอยู่ชั่วขณะ Ice Slasher
DRN-008 Elec Man (อิเล็กแมน) Thunder Beam (E) เป็นการยิงไฟฟ้าออกไปสามทิศทาง Rolling Cutter
ด่านสุดท้าย (Fortress)
ด่านที่ หัวหน้า อาวุธที่เป็นจุดอ่อน
1 Yellow Devil Thunber Beam
2 Copy Robot (หุ่นเหมือนร็อคแมน) Fire Storm, Thunder Beam, Hyper Bomb
3 CWU-01P Super Arm
4 Wily Machine Number 1 (I) Fire Storm
Wily Machine Number 1 (II) Rolling Cutter

ข้อเปรียบเทียบกับเกมอื่นในชุด

[แก้]

เกมแรกในชุด ร็อคแมน มีข้อแตกต่างจากเกมอื่นในชุดหลายประการ เกมนี้เป็นเกมเดียวที่มีด่านเริ่มต้นเพียง 6 ด่าน ในขณะที่เกมอื่นๆ ในชุดมี 8 ด่าน และร็อคแมนยังไม่มีความสามารถบางอย่างที่จะเพิ่มขึ้นมาในเกมหลังๆ เช่น สไลด์ (เริ่มมีใน ร็อคแมน 3) และชาร์จ Rock Buster (เริ่มมีในร็อคแมน 4) นอกจากนี้แล้ว ตัวเพิ่มพลังยังมีรูปแบบที่แตกต่างออกไป

คะแนน

[แก้]

ร็อคแมน เป็นเพียงเกมเดียวในชุดที่มีตัวนับคะแนน เพราะในสมัยนั้น นิยมการเล่นเกมแข่งกันให้ได้คะแนนสูงๆ (ช่วงปี ค.ศ. 1980) อย่างไรก็ตาม การได้คะแนนไม่มีผลใดๆ ในเกมเลย ผู้เล่นจะไม่ได้อุปกรณ์พิเศษ ไม่ได้ชีวิตเพิ่ม นอกจากนี้แล้วยังไม่มีตารางคะแนนสูงสุด (High Score) ด้วย ดังนั้นในเกมถัดๆ มา จึงไม่มีตัวนับคะแนนอีก

หากผู้เล่นชีวิตหมดและเกมจบ คะแนนก็จะถูกลดเหลือศูนย์ นอกจากนี้ เกมนี้ยังเป็นเกมที่เล่นยาก เป็นไปได้น้อยที่จะเล่นจากต้นจนจบได้โดยไม่มี game over แม้แต่ครั้งเดียว ทำให้ผู้เล่นที่อยากได้คะแนนสูงต้องเริ่มตั้งแต่ต้นใหม่บ่อยครั้ง

หนาม

[แก้]

ตั้งแต่ ร็อคแมน 2 เป็นต้นมา ถ้าร็อคแมนถูกโจมตีโดยศัตรู เขาจะกะพริบ และจะไม่เป็นอันตรายไปช่วงระยะหนึ่ง ผู้เล่นสามารถใช้ช่วงเวลานี้ในการโดนหนามโดยไม่เป็นอันตราย (โดยปกติถ้าโดนหนามจะตายทันที) แต่ทว่าใน ร็อคแมน ภาคนี้ ผู้เล่นจะตาย ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงกะพริบหรือไม่ก็ตาม ทำให้เกมยากมากยิ่งขึ้น

ร็อคแมนคอมพลีทเวิร์ค

[แก้]
ภาพปกเกมร็อคแมนในเวอร์ชันของคอมซึ่งมีบอสทั้งหกในแคปซูลที่ฉากหลัง

อ้างอิง

[แก้]
  • นิตยสารเกมแม็คออนไลน์ (สนพ.อนิเมทกรุ๊ป)
  • นิตยสารเมก้า (สนพ.วิบูลกิจ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]