ข้ามไปเนื้อหา

ลาสต์คริสต์มาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ลาสต์คริสต์มาส"
ปกไวนิลต้นฉบับใน ค.ศ. 1984[1][2] ซึ่งนำมาใช้อีกครั้งในรูปแบบจำหน่ายใหม่ใน ค.ศ. 2019
ซิงเกิลโดยแวม!
จากอัลบั้มมิวสิกฟรอมดิเอดจ์ออฟเฮฟเวน
ด้านเอ"เอเวอรีติงชีวอนส์" (ทั่วโลก)
ด้านบี
วางจำหน่าย3 ธันวาคม ค.ศ. 1984
บันทึกเสียงแอดวิชัน ลอนดอน
สิงหาคม ค.ศ. 1984
แนวเพลง
ความยาว
  • 4:27
  • 6:45 (พุดดิงมิกซ์)
ค่ายเพลง
ผู้ประพันธ์เพลงจอร์จ ไมเคิล
โปรดิวเซอร์จอร์จ ไมเคิล
มิวสิกวิดีโอ
"Last Christmas" ที่ยูทูบ

"ลาสต์คริสต์มาส" (อังกฤษ: Last Christmas) เป็นเพลงของแวม! ศิลปินคู่ดูโอจากอังกฤษ จัดจำหน่ายโดยอีพิกเรเคิดส์ และจำหน่ายทั่วโลกโดยเอ็มซีเอเรเคิดส์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1984 เพลงประพันธ์โดยจอร์จ ไมเคิล และมีการนำมาร้องใหม่โดยศิลปินมากมายนับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก

เพลงนี้ขึ้นอันดับ 1 ใน เดนมาร์ก สโลวีเนีย และสวีเดน และอันดับ 2 ใน 9 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักร แวม! บริจาคค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมดเพื่อบรรเทาทุกข์จากความอดอยากในเอธิโอเปีย[3] ในการสำรวจความคิดเห็นทั่วสหราชอาณาจักรในเดือนธันวาคม 2012 เพลงนี้ได้รับการโหวตให้เป็นที่แปดในรายการเดอะเนชันส์เฟฟเวอริตคริสต์มาสซอง ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์พิเศษของไอทีวี และเป็นเพลงคริสต์มาสที่มีผู้ฟังมากที่สุดในศตวรรษที่ 21 ในสหราชอาณาจักร จนกระทั่งถูกแซงโดยเพลง "แฟรีเทลออฟนิวยอร์ก" ใน ค.ศ. 2015[4]

ต้นกำเนิด

[แก้]

เพลง "ลาสต์คริสต์มาส" มีจุดเริ่มต้นใน ค.ศ. 1984 ขณะที่ จอร์จ ไมเคิล และ แอนดรูว์ ริดจ์ลีย์ กำลังไปเยี่ยมพ่อแม่ของไมเคิล ไมเคิลแต่งเพลงในห้องนอนในวัยเด็กของเขา ไมเคิลเริ่มเล่นและขับร้องเป็นทำนองของเพลง "ลาสต์คริสต์มาส" ซึ่งต่อมา ริดจ์ลีย์เรียกช่วงเวลานี้ว่า "ช่วงเวลาแห่งความอัศจรรย์"[5]

บันทึกเสียง

[แก้]

เพลงนี้บันทึกเสียงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1984 ที่ แอดวิชันสตูดิโอส์ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จอร์จ ไมเคิลเป็นผู้เขียนเขียน ผลิตและเล่นเครื่องดนตรีทุกชิ้นบนเพลงเอง ด้วยดรัมแมชชีน ดรัมส์ลินน์ 900, ซินท์ โรแลนด์ จูโน-60 และระฆังจากรถล้อเลื่อน พวกเขาเริ่มบันทึกเพลงในช่วงฤดูร้อน โดยมีวิศวกรเสียงคนเดียวคือ คริส พอร์เตอร์ และผู้ช่วยสองคน ตามคำบอกเล่าของพอร์เตอร์ เขากล่าวว่า "คุณมีความสุขจากจังหวะของเพลง แต่คุณมีความเศร้าจากความรักที่ไม่สมหวัง"

ผลงานชาร์ต

[แก้]

สหราชอาณาจักร

[แก้]

แวม! มีเพลงที่ติดอันดับที่หนึ่งในยูเคซิงเกิล์ชาร์ตใน ค.ศ. 1984 ไปแล้วทั้งสิ้น 2 เพลง และมีข่าวว่าพวกเขาวางแผนจะทำซิงเกิลคริสต์มาส นั่นหมายความว่า จะมีศึกชิงเพลงคริสต์มาสอันดับที่หนึ่ง ระหว่างเพลงของแวม! กับเพลงของแฟรงกีโกทูฮอลลีวูดซึ่งเคยทำเพลง "เดอะเพาเวอร์ออฟเลิฟ" จนติดอันดับที่สามของชาร์ตในช่วงต้นเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม ซิงเกิลของแบนด์เอดที่แต่งโดยบ็อบ เกลดอฟ และมิดจ์ ยูเร ชื่อว่า "ดูเดย์โนว์อิสต์คริสต์มาส?" ติดอันดับที่ 2 ส่วนซิงเกิลของแวม! ติดอันดับที่สอง แวม! บริจาคค่าลิขสิทธิ์ของซิงเกิล "ลาสต์คริสต์มาส/เอฟรีติงชีวอนต์" ทั้งหมด เพื่อบรรเทาภาวะอดอยากในประเทศเอธิโอเปีย[3]

ในหลายปีที่ผ่านมา เพลงนี้ติดอันดับระดับกลางของยูเคซิงเกิลส์ชาร์ต ยกเว้นในปี 1985, 1986, 2016, 2017, 2018, 2019 และ 2020 ที่เพลงจะขึ้นไปติดในระดับบนของชาร์ต

อ้างอิง

[แก้]
  1. Last Christmas. Wham!. CBS Records. EPC A 4949. Editado e Distribuido em Portugal por CBS (Portugal) Música e Discos, Lda{{cite AV media notes}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  2. Last Christmas. Wham!. CBS Records. EPCA 4949. Made in Holland{{cite AV media notes}}: CS1 maint: others (ลิงก์) The Dutch-manufactured pressing contains the names of the band and of the song.
  3. 3.0 3.1 "The philanthropic acts of George Michael: from £5k tips to nurses' gigs". The Guardian. 7 January 2018.
  4. "Fairytale Of New York is true sound of Christmas" เก็บถาวร 2019-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Telegraph. Retrieved 21 September 2019
  5. Pink News