ข้ามไปเนื้อหา

วัสดุฉลาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัสดุฉลาด (อังกฤษ: intelligent materials) หรือบางครั้งเรียก วัสดุสมาร์ท (smart materials) คือ วัสดุที่สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่มันทำงานอยู่ และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นตามรูปแบบที่มีการกำหนดไว้ก่อนล่วงหน้าเหมือนพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต

วัสดุฉลาดประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนดังนี้

  1. เซนเซอร์ (sensors) คือตัวที่ทำหน้าที่รับแรงกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
    1. เส้นใยนำแสง
    2. วัสดุเพียโซอิเล็กทริก
    3. อุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องกลระดับไมโคร
  2. แอคทูเอเตอร์ (actuator) คือส่วนที่มีหน้าที่ตอบสนองและปรับเปลี่ยนรูปร่าง ตำแหน่ง ความถี่ธรรมชาติ หรือลักษณะเฉพาะทางกลอื่นๆ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ สนามไฟฟ้า และหรือสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีวัสดุอยู่ 4 ประเภทที่ใช้ทำแอคซูเอเตอร์ ได้แก่
    1. โลหะผสมจำรูป (shape memory alloys)
    2. เซรามิกที่เป็นเพียโซอิเล็กทริก (Piezoelectric ceramics)
    3. วัสดุแมกนีโตสตริกทีฟ (magnetostrictive materials)
    4. ของไหลอิเล็กโตรรีโอลอจิคอล หรือ แมกนีโตรีโอลอจิคอล (electrorheological/magnetorheological fluids)

อ้างอิง

[แก้]
  1. นาโนเทคโนโลยี-คลื่นลูกใหม่แห่งศตวรรษที่ 21, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
  2. นาโนเทคโนโลยี-เทคโนโลยีซูเปอร์จิ๋ว, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  3. Materials Science and Engineering An Introduction By William D. Callister, Jr

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]