วิกิพีเดีย:เกี่ยวกับ
นี่เป็นบทนำทั่วไปสำหรับผู้เข้าชมวิกิพีเดีย วิกิพีเดียยังมีบทความสารานุกรมเกี่ยวกับตัวเอง (วิกิพีเดีย) และบทนำสำหรับผู้สนใจอยากเป็นผู้เขียน และ วิกิพีเดีย:เริ่มต้น สำหรับสารสนเทศวิธีการบริจาคให้องค์การซึ่งดำเนินการวิกิพีเดีย ดู วิธีบริจาค |
วิกิพีเดีย เป็นโครงการสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บ โดยมีรูปแบบแก้ไขได้อย่างเปิดเผย คำว่า "วิกิพีเดีย" เป็นคำผสมระหว่าง วิกิ (เทคโนโลยีสร้างเว็บไซต์ที่อาศัยความร่วมมือ wiki เป็นคำภาษาฮาวาย หมายถึง "เร็ว") กับ เอนไซโคลพีเดีย (สารานุกรม) บทความวิกิพีเดียมีลิงก์นำผู้ใช้ไปยังหน้าที่เกี่ยวข้องกันที่มีข้อมูลเพิ่มเติม
วิกิพีเดียเขียนขึ้นด้วยความร่วมมือของกลุ่มอาสาสมัครนิรนามบนอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ จากการเขียน ผู้ใดที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ สามารถเขียนและแก้ไขบทความวิกิพีเดียได้ทั้งสิ้น ยกเว้นบางกรณีที่จำกัดการแก้ไขเพื่อป้องกันการรบกวนหรือก่อกวน ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องเผยชื่อจริงในวิกิพีเดีย อาจใช้นามแฝง หรือเลือกเปิดเผยตัวตนแท้จริงก็ได้
หลักพื้นฐานที่วิกิพีเดียดำเนินการอยู่ เรียกว่า ห้าเสาหลัก ประชาคมวิกิพีเดียได้พัฒนานโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อปรับปรุงสารานุกรมต่อไป ทว่าไม่มีข้อกำหนดอย่างเป็นทางการว่า คุณจะต้องทำความคุ้นชินกับหลักดังกล่าวก่อนเขียนแต่อย่างใด
นับแต่การก่อตั้งในปี พ.ศ. 2544 วิกิพีเดียได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทั่งกลายเป็นเว็บไซต์อ้างอิงใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีผู้เข้าชม 374 ล้านคนต่อเดือน จากสถิติเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558[1] และมีผู้ที่ยังร่วมเขียนอย่างต่อเนื่องอยู่กว่า 77,000 คน กำลังเขียนบทความกว่า 48,000,000 บทความ ในวิกิพีเดีย 324 ภาษา ปัจจุบัน วิกิพีเดียภาษาไทยมี 168,766 บทความ ทุกวัน ผู้เข้าชมจำนวนมากได้มีส่วนแก้ไขและสร้างบทความใหม่เพื่อขยายคลังความรู้บนสารานุกรมวิกิพีเดีย (ดูที่ วิกิพีเดีย:สถิติ)
บุคคลทุกวัย วัฒนธรรมและภูมิหลังสามารถเพิ่มหรือแก้ไขข้อความในบทความ แหล่งอ้างอิง ภาพและสื่ออื่นบนวิกิพีเดียได้ สิ่งที่ร่วมแก้ไขนั้นสำคัญกว่าความรู้ความชำนาญหรือคุณวุฒิของผู้ร่วมแก้ไข แต่ไม่ใช่ว่าที่แก้ไขมานั้นจะถูกเก็บไว้ทั้งหมด เพราะจะมีการคัดกรองให้เหลือเฉพาะส่วนที่เป็นไปตามนโยบายวิกิพีเดีย รวมไปถึงการพิสูจน์ยืนยันได้จากแหล่งตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือ และไม่รวมความคิดเห็น ความเชื่อ ตลอดจนงานวิจัยที่ไม่ได้รับการทบทวน ปราศจากข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์และเนื้อหาที่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร่วมแก้ไขไม่สามารถทำลายวิกิพีเดียได้เพราะซอฟต์แวร์ช่วยให้การย้อนการแก้ไขที่ผิดพลาดทำได้อย่างง่ายดาย และผู้ใช้มากประสบการณ์หลายคนกำลังเฝ้าดูเพื่อช่วยประกันว่าการแก้ไขนั้นมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น เริ่มต้นง่าย ๆ เพียงคลิกลิงก์ แก้ไข ที่อยู่ด้านบนของทุกหน้าที่แก้ไขได้!
วิกิพีเดียเป็นความร่วมมือสดใหม่ ต่างจากแหล่งอ้างอิงที่เป็นเอกสารอยู่หลายประการสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิกิพีเดียมีการสร้างและอัปเดตอย่างต่อเนื่อง โดยบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ปรากฏขึ้นภายในไม่กี่นาที ไม่ใช่หลายเดือนหรือหลายปี บทความเก่ามีแนวโน้มเติบโตให้ครอบคลุมและสมดุลยิ่งขึ้น บทความใหม่กว่าอาจมีข้อมูลที่ผิด เนื้อหาที่ไม่เป็นสารานุกรมหรือการก่อกวน ความตระหนักถึงข้อนี้ช่วยให้กรองเอาข้อมูลที่ถูกต้องและหลีกเลี่ยงข้อมูลผิด ๆ ที่อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีสอดแทรกเข้าไปได้ (ดูที่ การใช้วิกิพีเดียประกอบการวิจัย)
หากคุณยังไม่เคยเขียนวิกิพีเดีย ขอเวลาคุณเพียงไม่กี่นาทีที่จะอ่านตามลิงก์ข้างล่างนี้ แล้วคุณก็จะสามารถร่วมพัฒนาวิกิพีเดียได้:
- อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย — เพื่อที่คุณจะเข้าใจถึงวิธีการพิจารณาหรือความร่วมมือที่มีต่อวิกิพีเดีย
- คำถามพบบ่อย — เพื่อที่คุณจะเข้าใจในปัญหาที่ผู้ใช้วิกิพีเดียมักประสบ
- คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง — เพื่อที่จะทราบข้อแนะนำที่มีประโยชน์สำหรับครอบครัวของคุณ
- ถามคำถาม — เพื่อที่คุณจะทราบว่าที่ใดที่คุณควรจะถามคำถามในเรื่องที่คุณสงสัย
- วิธีใช้:สารบัญ — เพื่อที่คุณจะได้ทราบวิธีการแก้ไขและประเด็นอื่น ๆ ในวิกิพีเดียให้ดียิ่งขึ้น
ข้อมูลเบื้องต้น
ประวัติวิกิพีเดีย
วิกิพีเดียถูกสร้างแยกออกมาจากนูพีเดีย โครงการสร้างสารานุกรมเสรีที่ปัจจุบันไม่มีผู้ใช้งานแล้ว นูพีเดียมีระบบการตรวจทานข้อมูลอย่างประณีต และต้องอาศัยผู้ร่วมแก้ไขที่มีคุณวุฒิสูง แต่มีอัตราการเขียนบทความต่ำ ระหว่าง พ.ศ. 2543 จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งนูพีเดีย และแลร์รี แซงเจอร์ ที่เวลส์ว่าจ้างให้ทำงานร่วมกันในโครงการดังกล่าว ได้ปรึกษาถึงหนทางเปลี่ยนให้นูพีเดียเปิดกว้างและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น หลายแหล่งเสนอแนะว่า วิกิอาจทำให้สาธารณชนมีส่วนร่วมด้านเนื้อหาได้ โดยวิกิแรกของนูพีเดียออนไลน์เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2544
แต่ผู้เขียนและผู้อ่านนูพีเดียกลับพบอุปสรรคหลายประการต่อแนวคิดเชื่อมโยงนูพีเดียกับเว็บไซต์รูปแบบวิกิ ดังนั้น โครงการใหม่จึงได้ชื่อว่า "วิกิพีเดีย" และดำเนินการบนโดเมนของตนเอง คือ wikipedia.com เมื่อวันที่ 15 มกราคม เวลส์ได้บริจาคทั้งย่านความถี่และเซิร์ฟเวอร์ในซานดิเอโก ส่วนลูกจ้างของโบมิสทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่ได้ทำงานโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึง ทิม เชลล์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งโบมิสและประธานกรรมการบริหารคนปัจจุบัน และโปรแกรมเมอร์ เจสัน ริเชย์ ท้ายที่สุด โดเมนของวิกิพีเดียได้เปลี่ยนเป็น wikipedia.org เมื่อมีการก่อตั้งมูลนิธิวิกิมีเดียที่ไม่แสวงผลกำไร เป็นองค์การดูแลใหม่ โดยมีโดเมนระดับบนสุด ".org" ที่แสดงถึงธรรมชาติที่มิใช่เชิงพาณิชย์
เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 ได้เกิดกระแสการเปิดวิกิพีเดียที่มิใช่ภาษาอังกฤษ ทั้งในภาษาคาตาลัน ภาษาจีน ภาษาดัตช์ ภาษาเอสเปอรันโต ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรู ภาษาอิตาลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย ภาษาสเปน และภาษาสวีเดน ต่อมาไม่นาน ภาษาอารบิกและภาษาฮังการีก็ได้เพิ่มเข้ามาด้วย[2] ในเดือนกันยายน มีการเพิ่มภาษาโปแลนด์ และมีการพิจารณาเรื่องข้อกำหนดในวิกิพีเดียภาษาต่าง ๆ ขึ้น[3] เมื่อถึงปลายปีนั้น ก็ได้มีการเปิดตัวภาษาแอฟริคานส์ ภาษานอร์เวย์ และภาษาเซิร์บ-โครแอต
เครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์
วิกิพีเดียเป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไรซึ่งได้สร้างเครือข่ายโครงการเนื้อหาเสรีที่สร้างขึ้นจากความร่วมมือของผู้ร่วมแก้ไขเช่นเดียวกับวิกิพีเดีย
ข้อความส่วนใหญ่และภาพจำนวนมากของวิกิพีเดียอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตคู่ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 (CC-BY-SA) และสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (GFDL) เนื้อหาบางส่วนถูกนำเข้ามาอยู่เฉพาะภายใต้สัญญาอนุญาตแบบ CC-BY-SA หรือที่เข้ากันได้เท่านั้น และไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบ GFDL เนื้อหาที่เข้าข่ายดังกล่าวมีการระบุในตอนท้ายของหน้า ประวัติ หรือหน้าอภิปรายของบทความที่ใช้ประโยชน์จากข้อความนั้น ทุกภาพมีส่วนกล่าวถึงรายละเอียดซึ่งระบุสัญญาอนุญาตที่อยู่ภายใต้ หรืออาจรวมคำชี้แจงเหตุผลด้วยในกรณีการใช้ภาพไม่เสรี
การแก้ไขของผู้เขียนในวิกิพีเดียยังถือเป็นทรัพย์ของผู้สร้าง ขณะที่ทั้งสัญญาอนุญาตแบบ CC-BY-SA และ GFDL ต่างชี้ว่าเนื้อหาสามารถนำไปเผยแพร่หรือสร้างใหม่ได้อย่างเสรี
ผู้ร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย
ผู้ใดที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สามารถแก้ไขวิกิพีเดียได้ทั้งสิ้น และลักษณะการเปิดกว้างนี้กระตุ้นการรวบรวมเนื้อหาปริมาณมหาศาล ผู้ร่วมแก้ไขจำนวนกว่า 77,000 คน ตั้งแต่นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญไปจนถึงผู้อ่านชั่วคราว แก้ไขวิกิพีเดียอยู่เป็นประจำ และผู้ร่วมแก้ไขมากประสบการณ์เหล่านี้มักช่วยสร้างรูปแบบที่สอดคล้องกันทั่ววิกิพีเดีย ตามคู่มือการเขียนของเรา
มีการตั้งกลไกหลายอย่างเพื่อช่วยให้สมาชิกวิกิพีเดียดำเนินงานสำคัญในการสร้างทรัพยากรคุณภาพสูงไปพร้อมกับการรักษาความประพฤติอย่างอารยชน ผู้ร่วมแก้ไขสามารถดูบทความและผู้มีความสามารถทางเทคนิคสามารถแก้ไขโปรแกรมเพื่อติดตามหรือปรับการแก้ไขที่ไม่ดี ที่ใดมีความไม่ลงรอยกันในเรื่องการนำเสนอข้อเท็จจริง ผู้ร่วมแก้ไขจะทำงานร่วมกันเพื่อให้บทความนั้นนำเสนอความเห็นของผู้เชี่ยวชาญปัจจุบันว่าด้วยเรื่องนั้น
แม้มูลนิธิวิกิมีเดียเป็นเจ้าของวิกิพีเดีย แต่ส่วนใหญ่แล้ว วิกิมีเดียไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเขียนและการดำเนินงานประจำวันในวิกิพีเดียเท่าใดนัก
การให้เกียรติเจ้าของงาน
ข้อความบนวิกิพีเดียเป็นงานที่เกิดจากความร่วมมือ และความร่วมมือของผู้แก้ไขแต่ละคนในหน้านั้น ๆ จะได้รับการบันทึกไว้ในประวัติ ซึ่งทุกคนดูได้ สารสนเทศเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของภาพหรือสื่ออื่น เช่น ไฟล์เสียง สามารถตรวจสอบได้โดยการคลิกบนภาพหรือไอคอนข้อมูลใกล้ ๆ เพื่อแสดงหน้าไฟล์ ซึ่งจะมีข้อมูลผู้ประพันธ์ไฟล์นั้นและแหล่งที่มา ตลอดจนข้อมูลอื่น ตามสมควร
ข้อแนะนำการใช้วิกิพีเดีย
การสำรวจวิกิพีเดีย
ผู้เยี่ยมชมจำนวนมากเข้ามายังวิกิพีเดียเพื่อแสวงความรู้ ส่วนคนอื่นเข้ามาเพื่อแบ่งปันความรู้ กระทั่งขณะนี้ บทความหลายสิบบทความกำลังอยู่ระหว่างพัฒนา และบทความใหม่อีกมากกำลังถูกสร้าง คุณสามารถดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวิกิพีเดียได้ในหน้าปรับปรุงล่าสุด คุณยังสุ่มบทความขึ้นมาได้ด้วยคำสั่งสุ่มบทความ มี 209 บทความ ที่ชุมชนวิกิพีเดียคัดเลือกให้เป็นบทความคัดสรร นับเป็นตัวอย่างของบทความคุณภาพดีที่สุดในเว็บ และอีก 175 บทความ ถูกคัดเลือกให้เป็นบทความคุณภาพ ข้อมูลบางส่วนของวิกิพีเดียอยู่ในรูปแบบของบัญชีรายชื่อ วิกิพีเดียยังมีสถานีย่อย ซึ่งรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องของสถานีย่อยนั้น ๆ คุณยังสามารถสืบค้นบทความได้จากแถบขวาบนของจอภาพในขณะนี้
นอกจากในภาษาไทยแล้ว ปัจจุบันยังมีวิกิพีเดียในภาษาอื่นอีกกว่า 280 ภาษา รวมทั้งโครงการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พจนานุกรม คำคม ตำราและเอกสารต้นฉบับ (ดูที่ โครงการพี่น้อง) ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกบำรุงรักษา อัปเดต และบริหารจัดการโดยชุมชนที่แยกกัน และมักมีเนื้อหาและบทความซึ่งบางครั้งอาจสืบค้นได้ยากในแหล่งข้อมูลอื่นทั่วไป
การนำทางเบื้องต้นในวิกิพีเดีย
บทความทั้งหมดในวิกิพีเดียเชื่อมโยงหรืออ้างอิงระหว่างกัน เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นข้อความที่มีสีเช่นนี้ หมายความว่า มีลิงก์เชื่อมโยงไปยังหน้าบทความในวิกิพีเดียหรือหน้าวิกิพีเดียซึ่งมีข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม การเลื่อนเมาส์ค้างไว้เหนือลิงก์มักแสดงหน้าปลายทางที่ลิงก์จะนำไป ผู้ใช้เพียงคลิกครั้งเดียวก็จะได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากลิงก์ที่แนบมา และยังมีลิงก์อื่นในตอนท้ายของบทความ เช่น บทความที่คล้ายกัน เว็บไซต์และหน้าภายนอกที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาอ้างอิง และหมวดหมู่ความรู้ที่มีการจัดระเบียบแล้วซึ่งสามารถถูกสืบค้นและสำรวจในลำดับชั้นหลวม ๆ ให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม บางบทความยังอาจมีลิงก์ไปยังนิยามพจนานุกรม การอ่านหนังสือเสียง คำคม บทความเดียวกันในภาษาอื่น และข้อมูลเพิ่มเติมที่มีอยู่ในโครงการพี่น้องของเรา ลิงก์เพิ่มเติมสามารถสร้างขึ้นได้ง่าย ๆ หากลิงก์ที่เกี่ยวข้องยังขาดหายไป นี่เป็นหนึ่งในวิธีง่าย ๆ ที่จะมีส่วนช่วยเรา
การใช้วิกิพีเดียเป็นเครื่องมือวิจัย
|
ด้วยความเป็นเอกสารวิกิ บทความทั้งหลายจึงไม่เคยถูกจัดว่าเสร็จสมบูรณ์ เพราะอาจมีการแก้ไขปรับปรุงได้ตลอดเวลา โดยทั่วไปแล้วแนวคิดดังกล่าวส่งผลให้บทความมีแนวโน้มคุณภาพดีขึ้นและมีมติมหาชนที่เติบโตขึ้นในด้านการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นกลางตามเวลา
ผู้ใช้พึงทราบว่าบทความทั้งหมดไม่ได้มีคุณภาพสารานุกรมตั้งแต่ต้น บางบทความอาจมีข้อมูลที่ผิดหรือเป็นปัญหา ซึ่งที่จริงแล้ว บทความจำนวนมากเริ่มต้นจากการนำเสนอเพียงมุมมองเดียว และ หลังจากขบวนการอภิปราย ถกเถียงและโต้แย้งอันยาวนาน บทความเหล่านั้นค่อย ๆ มีมุมมองที่เป็นกลางซึ่งบรรลุผ่านมติมหาชน ขณะที่บางบทความอาจติดขัดกับมุมมองที่ไม่สมดุลอย่างหนักซึ่งต้องใช้เวลานาน บางทีอาจเป็นเดือน เพื่อบรรลุการรายงานหัวเรื่องที่เป็นกลางดีขึ้น บางส่วนเป็นเพราะผู้เขียนมักเขียนเนื้อหาที่ตนมีความสนใจเฉพาะและไม่พยายามให้ผู้อื่นเข้าใจแต่ละบทความที่ตนเขียน อย่างไรก็ดี ในที่สุดจะมีผู้เขียนเพิ่มเติมมาขยายและเขียนบทความและพยายามบรรลุการรายงานที่สมดุลและเข้าใจได้ นอกเหนือจากนี้ วิกิพีเดียดำเนินขบวนการมติภายในจำนวนหนึ่งซึ่งสามารถช่วยได้เมื่อผู้ใช้ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาและวิธีการนำเสนอ โดยปกติผู้เขียนจะบรรลุมติในวิถีการพัฒนาบทความได้ในที่สุด
ขณะที่แนวโน้มโดยรวมจะมุ่งสู่พัฒนาการ แต่ยังสำคัญที่จะใช้วิกิพีเดียอย่างระมัดระวังหากตั้งใจจะใช้เป็นแหล่งวิจัย เพราะโดยธรรมชาติ บทความแต่ละบทย่อมมีคุณภาพและความสมบูรณ์แตกต่างกัน มีหน้าแนวปฏิบัติและข้อมูลเพื่อช่วยให้ผู้ใช้และผู้วิจัยใช้วิกิพีเดียเป็นเครื่องมือวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิกิพีเดียเทียบกับสารานุกรมตีพิมพ์
บทความหลัก: วิกิไม่ใช่เอกสาร บนเมทาวิกิ (อังกฤษ)
วิกิพีเดียมีข้อดีเหนือสารานุกรมตีพิมพ์แบบดั้งเดิมหลายประการ กล่าวคือ วิกิพีเดียเสียค่าใช้จ่ายใน "การตีพิมพ์" ต่ำมากสำหรับการเพิ่มหรือขยายความเนื้อหาที่มีอยู่เดิม และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยเช่นเดียวกัน นอกจากนั้น วิกิพีเดียยังใช้วิกิลิงก์แทนการอธิบายในบรรทัดและยังรวบรวมเนื้อหาโดยสรุปที่ครอบคลุมเนื้อหารายละเอียดอย่างกว้างขวางทั้งหมดเอาไว้ในย่อหน้าแรกของแต่ละบทความ (เรียกว่า "บทนำของบทความ") นอกจากนี้ วัฏจักรการแก้ไขยังสั้นด้วย สารานุกรมตีพิมพ์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะถึงการตีพิมพ์ครั้งถัดไป แต่ผู้ใช้สามารถอัปเดตข้อมูลบนวิกิพีเดียได้ทุกเมื่อ เพื่อให้มั่นใจว่าบทความจะทันสมัยต่อเหตุการณ์ปัจจุบันและวิทยาการล่าสุด
จุดแข็ง จุดอ่อน และคุณภาพบทความวิกิพีเดีย
|
จุดแข็งที่สุด จุดอ่อนที่สุด และเอกลักษณ์ยิ่งใหญ่ที่สุดของวิกิพีเดียเป็นผลจากการที่วิกิพีเดียเปิดกว้างแก่ทุกคน ทำให้มีฐานผู้ร่วมแก้ไขพัฒนาขนาดใหญ่ และบทความเขียนขึ้นจากมติ ตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการแก้ไข
- วิกิพีเดียเปิดกว้างแก่ฐานผู้ร่วมพัฒนาขนาดใหญ่ ซึ่งดึงดูดผู้เขียนจำนวนมากจากภูมิหลังที่หลากหลาย การเปิดกว้างทำให้วิกิพีเดียลดอคติทางภูมิภาคและวัฒนธรรมที่พบในสิ่งพิมพ์เผยแพร่อื่นจำนวนมาก และทำให้เป็นการยากยิ่งที่จะมีกลุ่มบุคคลเซ็นเซอร์หรือสอดแทรกอคติลงไป ฐานผู้ร่วมแก้ไขขนาดใหญ่และมีความหลากหลายยังทำให้สามารถเข้าถึงและขยายใจความสำคัญในเรื่องที่หาไม่แล้วไม่สามารถเข้าถึงได้หรือมีเอกสารประกอบเพียงเล็กน้อย ผู้เขียนจำนวนมากแก้ไขทุกขณะหมายความว่า วิกิพีเดียสามารถสร้างบทความและทรัพยากรครอบคลุมเหตุการณ์ที่เป็นข่าวได้ไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันหลังเกิดเหตุ และยังหมายความว่า วิกิพีเดียอาจสะท้อนอคติทางวัฒนธรรม อายุ สังคมเศรษฐกิจและอื่น ๆ ของผู้เขียน เช่นเดียวกับสิ่งพิมพ์เผยแพร่ทุกสำนัก ไม่มีขบวนการเป็นระบบที่จะประกันว่าหัวข้อที่ "สำคัญอย่างชัดเจน" จะถูกเขียนขึ้น ดังนั้น วิกิพีเดียอาจมีการควบคุมดูแลและการละเลยอย่างไม่คาดคิดได้ ขณะที่ผู้ใดสามารถเปลี่ยนแปลงบทความส่วนใหญ่ได้ ในทางปฏิบัติ การแก้ไขจะถูกดำเนินโดยกลุ่มประชากรกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ (คนหนุ่มเขียนมากกว่าคนแก่ ชายเขียนมากกว่าหญิง คนรวยที่มีเงินซื้อคอมพิวเตอร์มากกว่าคนจน ฯลฯ) ดังนั้น จึงอาจแสดงอคติบ้าง บางเรื่องยังอาจไม่ครอบคลุมดี ขณะที่บางเรื่องครอบคลุมในเชิงลึก
- การเปิดให้ทุกคนแก้ไขวิกิพีเดีย หมายความว่า เป็นการง่ายที่วิกิพีเดียจะถูกก่อกวนหรือไวต่อข้อมูลที่ไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งต้องนำออก (ดูเพิ่มที่ รายชื่อการก่อกวน) ขณะที่โดยปกติแล้วการก่อกวนที่โจ่งแจ้งถูกตรวจพบได้ง่าย และได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องอย่างรวดเร็ว แต่วิกิพีเดียก็มีปัญหาในการสนับสนุนมุมมองที่แตกต่างกันมากกว่างานอ้างอิงตีพิมพ์ อย่างไรก็ดี อคติที่ไม่ถูกคัดค้านในงานอ้างอิงดั้งเดิมที่สุดแล้วมีแนวโน้มจะถูกคัดค้านหรือถูกพิจารณาในวิกิพีเดีย ขณะที่บทความวิกิพีเดียโดยทั่วไปถึงมาตรฐานที่ดีหลังจากแก้ไขแล้ว แต่สำคัญที่ต้องหมายเหตุว่า บทความที่ยังมีอายุไม่มากและที่มีการเฝ้าสังเกตน้อยอาจไวต่อการก่อกวนและการสอดแทรกข้อมูลเท็จ การเปิดเต็มที่ของวิกิพีเดียยังหมายความว่า ทุก ๆ บทความในทุกขณะอาจอยู่ในสภาพเลวได้ เช่น อยู่ในระหว่างการแก้ไขขนาดใหญ่ หรือการเขียนใหม่ซึ่งเป็นที่พิพาท ผู้เขียนจำนวนมากยังไม่ปฏิบัติตามนโยบายอย่างสมบูรณ์ หรืออาจเพิ่มข้อมูลโดยปราศจากแหล่งข้อมูลที่อ้างอิงได้ การนำเสนอแบบเปิดเผยของวิกิพีเดียเพิ่มโอกาสที่ความผิดพลาดในข้อเท็จจริงหรือข้อความที่ชี้นำให้เข้าใจผิดจะถูกแก้ไขให้ถูกต้องได้ค่อนข้างเร็วอย่างมาก ผู้เขียนหลายคนกำลังเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงล่าสุดและการแก้ไขบทความบนหน้ารายการเฝ้าดูของพวกเขา
- วิกิพีเดียถูกเขียนขึ้นโดยมติที่เปิดเผยและโปร่งใส การบรรลุซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ยากมากที่การเซ็นเซอร์หรือการเพิ่มมุมมอง "อย่างเป็นทางการ" จะสำเร็จ และมักล้มเหลวหลังเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง ท้ายที่สุดสำหรับบทความส่วนใหญ่ มุมมองที่โดดเด่นทั้งหมดจะได้รับการอธิบายอย่างยุติธรรมและมีการบรรลุมุมมองที่เป็นกลาง ในความเป็นจริง ขบวนการบรรลุมติอาจยืดเยื้อยาวนาน โดยมีการแก้ไขบทความอยู่เรื่อย ๆ เป็นเวลานานขณะที่พวกเขาตกลง "การนำเสนอที่เป็นกลาง" ที่ทุกฝ่ายสามารถตกลงกัน การบรรลุความเป็นกลางบางโอกาสถูกรบกวนโดยผู้เขียนที่มีมุมมองสุดโต่ง วิกิพีเดียดำเนินขบวนการระงับข้อพิพาทผู้เขียนเต็มรูปแบบ ด้านหนึ่งเป็นการให้เวลาแก่การอภิปรายและการระงับในเชิงลึก แต่อีกด้านหนึ่งก็ให้ความไม่เห็นพ้องกินเวลานานหลายเดือนกว่าการแก้ไขคุณภาพเลวหรือมีอคติจะถูกนำออก ข้อสรุปโดยทั่วไปคือ วิกิพีเดียเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและให้จุดอ้างอิงที่ดีในเรื่องนั้น
- กล่าวคือ บทความและขอบเขตเรื่องบางครั้งอาจเผชิญกับการละเลยอย่างสำคัญ และขณะที่ข้อมูลที่ผิดและการก่อกวนโดยปกติจะถูกแก้ไขให้ถูกต้องอย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป มีตัวอย่างว่า มีผู้สอดแทรกข้อมูลชีวประวัติเท็จเชื่อมโยงผู้สื่อข่าวชื่อดังคนหนึ่งกับการลอบสังหารเคนเนดีและโซเวียตรัสเซีย เป็นเรื่องตลกแก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งไม่ถูกตรวจพบนานถึงสี่เดือน โดยเขากล่าวหลังจากนั้นว่า ตน "ไม่ทราบว่าวิกิพีเดียจะถูกใช้เป็นเครื่องมืออ้างอิงจริงจัง"
- วิกิพีเดียเขียนขึ้นโดยมือสมัครเล่นเป็นส่วนใหญ่ ผู้ที่มีหนังสือรับรองความเชี่ยวชาญไม่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในวิกิพีเดีย วิกิพีเดียยังไม่มีการกลั่นกรอง (peer review) บทความทางวิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ ข้อดีข้อหนึ่งในการมีมือสมัครเล่นเขียนวิกิพีเดีย คือ พวกเขามีเวลาว่าง ฉะนั้น พวกเขาจึงสามารถเปลี่ยนแปลงรวดเร็วทันเหตุการณ์ปัจจุบัน ยิ่งสาธารณชนสนใจในหัวเรื่องมากเท่าใด ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะดึงดูดการแก้ไขจากผู้ที่มิใช่ผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นเท่านั้น
ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิซึ่งดำเนินงานวิกิพีเดียได้เก็บประวัติการแก้ไขและการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ฉะนั้น ข้อมูลที่เพิ่มเข้ามายังวิกิพีเดียไม่สูญหายไป หน้าอภิปรายเป็นทรัพยากรสำคัญในหัวเรื่องที่มีข้อพิพาท ดังนั้น ผู้วิจัยจริงจังมักจะพบความขะมักเขม้นหรือมุมมองสนับสนุนอย่างรอบคอบอย่างกว้างขวาง ที่ไม่ถูกนำเสนอในหน้าบทความตามมติ ข้อมูลในวิกิพีเดียควรถูกตรวจสอบ เช่นเดียวกับแหล่งข้อมูลอื่น ๆ บทบรรณาธิการเมื่อ พ.ศ. 2548 โดยนักเขียนเทคโนโลยีของบีบีซีเคยตั้งข้อสังเกตว่า การอภิปรายในลักษณะนี้อาจมาเป็นเครื่องหมายของวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วแหล่งข้อมูลทุกแห่ง (ทั้งในเซิร์จเอนจินและสื่อต่าง ๆ) และอาจนำไปสู่ "สำนึกที่ดีกว่าในการประเมินค่าของแหล่งข้อมูลสารสนเทศ"[6]
ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
|
ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบวิกิพีเดียมีผลใช้กับทุกหน้าบนวิกิพีเดีย ซึ่งดูได้จากลิงก์ล่างสุดของทุกหน้า วิกิพีเดียมีข้อปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ต่างจากอีกหลายเว็บไซต์ ที่ผู้วิจารณ์มักหยิบยกไปสนับสนุนมุมมองที่ว่าวิกิพีเดียไม่น่าเชื่อถือ แต่ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบคล้ายกันยังมีในแหล่งข้อมูลที่มักถูกมองว่าน่าเชื่อถือ (รวมถึงแหล่งข้อมูลอย่างสารานุกรมบริตานิกา และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด)
การมีส่วนร่วมต่อวิกิพีเดีย
- แนวทางในการแก้ไขการก่อกวน ดูที่: วิธีใช้:การย้อน
ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมต่อวิกิพีเดียโดยการคลิกที่แท็บ แก้ไข ในบทความ อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะเริ่มในการมีส่วนร่วม โปรดอ่านหน้าวิธีใช้บางหน้าที่เป็นประโยชน์ อาทิ หน้าสอนการใช้งานและรวมนโยบายและแนวปฏิบัติ สำคัญที่คุณจะตระหนักว่า ผู้ใช้ทุกคนถูกคาดหวังว่าจะมีความประพฤติเยี่ยงอารยชนและมีมุมมองเป็นกลาง เคารพทุกความเห็นที่แตกต่าง และเพิ่มข้อมูลเฉพาะเท่าที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้และเป็นข้อเท็จจริงมากกว่าเพียงมุมมองและความคิดเห็นส่วนบุคคล "ห้าเสาหลักของวิกิพีเดีย" ครอบคลุมแนวทางดังกล่าวทั้งหมด และควรที่คุณจะอ่านก่อนแก้ไข การก่อกวนส่งผลให้บัญชีผู้ใช้ถูกบล็อกชั่วคราวหรือถาวรจากวิกิพีเดีย
บทความส่วนใหญ่เริ่มต้นเป็นโครง แต่หลังจากได้รับความร่วมมือมากมาย บทความเหล่านั้นสามารถพัฒนาเป็นบทความคัดสรรได้ เมื่อผู้เขียนตัดสินใจเลือกหัวข้อที่ตนสนใจ พวกเขาอาจขอให้เขียนบทความนั้นขึ้น หรือพวกเขาอาจวิจัยและมือเขียนด้วยตนเอง วิกิพีเดียมีโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่โดยมุ่งเน้นขอบเขตหัวเรื่องที่เจาะจงหรือภาระงาน ซึ่งช่วยประสานการแก้ไข
ความง่ายในการแก้ไขวิกิพีเดียส่งผลให้หลายคนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งทำให้การอัปเดตข้อมูลบนสารานุกรมเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก
การแก้ไขหน้า
วิกิพีเดียใช้ผังหน้าที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังเพื่อให้ผู้เขียนให้ความสนใจในการเพิ่มเติมเนื้อหามากกว่าการออกแบบหน้า ผังหน้านี้รวมถึงการแบ่งหัวข้อและหัวข้อย่อยโดยอัตโนมัติ ระบบการอ้างอิงอัตโนมัติ การเพิ่มภาพและตาราง ข้อความที่เป็นย่อหน้าและรายการ ลิงก์ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ และคณิต (math) ตลอดจนองค์ประกอบการจัดรูปแบบตามปกติและอักขระเกือบทุกทั้งหมดทั่วโลก และสัญลักษณ์สามัญ ส่วนใหญ่แล้วมีรูปแบบเรียบง่ายซึ่งจะสามารถนำไปใช้ได้โดยง่ายและไม่ต้องอาศัยความชำนาญ
ผังหน้าประกอบด้วยแถบบนสุดของหน้าต่าง อันประกอบด้วย
- บทความ แสดงบทความวิกิพีเดียหลัก
- อภิปราย แสดงการอภิปรายของผู้ใช้เกี่ยวกับหัวเรื่องของบทความและรุ่นที่เป็นไปได้ การโต้แย้งกัน เป็นต้น
- แก้ไข เปิดโอกาสให้ผู้ใช้แก้ไขบทความ ซึ่งขึ้นอยู่กับความไวของหน้านั้นต่อการก่อกวนด้วย ตามระดับการเข้าถึงหรือระดับการโต้แย้งในหัวเรื่องนั้น แท็บดังกล่าวอาจไม่ปรากฏให้เห็นต่อผู้ใช้ทุกคน (แต่จะแสดงผลเป็น ดูโค้ด แทน แสดงว่าคุณไม่สามารถแก้ไขหน้านั้นได้ ตัวอย่างเช่น หน้าหลัก)
- ประวัติ แท็บดังกล่าวให้ผู้อ่านดูผู้ร่วมแก้ไขของบทความและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
- เครื่องหมายรูปดาว ("เฝ้าดู") หากคุณล็อกอินเข้าสู่บัญชีผู้ใช้ของคุณ การคลิกไอคอนรูปดาวจะส่งผลให้การแก้ไขใด ๆ ที่มีต่อบทความนั้นจะถูกแสดงในหน้ารายการเฝ้าดู (หมายเหตุ: เมื่อคลิกแล้วดาวจะกลายเป็นสีทึบแทน)
วิกิพีเดียมีรุ่นเสถียรและการควบคุมการย้อนกลับ หมายความว่า การแก้ไขคุณภาพเลวหรือการก่อกวนสามารถถูกย้อนกลับได้โดยง่ายและรวดเร็ว หรือนำกลับเข้าสู่มาตรฐานที่เหมาะสมโดยผู้ใช้อื่นใดได้ ฉะนั้น ผู้ใช้อ่อนประสบการณ์จึงไม่อาจสร้างความเสียหายถาวรโดยอุบัติเหตุได้หากพวกเขามีข้อผิดพลาดในการแก้ไข และเนื่องจากมีผู้เขียนที่มีเจตนาปรับปรุงบทความมากกว่าผู้เขียนที่มีเจตนาตรงข้าม บทความที่เกิดข้อผิดพลาดโดยปกติจึงถูกแก้ไขให้ถูกต้องอย่างรวดเร็ว
เงื่อนไขของเนื้อหาในวิกิพีเดีย
เนื้อหาที่ปรากฏในวิกิพีเดียมีเจตนาที่จะทำให้เป็นข้อเท็จจริง มีความโดดเด่น สามารถพิสูจน์ยืนยันได้จากแหล่งอ้างอิงภายนอก และมีการนำเสนออย่างเป็นกลาง
คุณสามารถศึกษานโยบายและแนวปฏิบัติเหล่านี้ได้จากหน้าด้านล่างนี้
- วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย ซึ่งสรุปว่าสิ่งใดถือว่าเข้าข่าย และสิ่งใดที่ไม่เข้าข่ายที่จะเขียนในวิกิพีเดีย
- วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง อธิบายถึงแก่นของวิกิพีเดียที่ต้องการบรรลุการเขียนบทความอย่างเป็นกลางและปราศจากอคติ
- วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ ห้ามการใช้วิกิพีเดียตีพิมพ์มุมมองส่วนบุคคลและงานค้นคว้าต้นฉบับ ทั้งนิยามบทบาทของวิกิพีเดียที่ต้องการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ก่อนและ ได้รับการรับรอง แล้ว
- วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ อธิบายว่าผู้อ่านจะต้องสามารถพิสูจน์เนื้อหาในวิกิพีเดียจากแหล่งข้อมูลอื่นที่น่าเชื่อถือได้
- วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา อธิบายรูปแบบการเขียนอ้างอิง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถพิสูจน์ยืนยันเนื้อหาได้ด้วยตนเอง
- วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน นำเสนอแนวการเขียน ซึ่งผู้ใช้โดยทั่วไปจะได้รับความรู้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม และการจัดรูปแบบที่มีรายละเอียดมากขึ้นเป็นลำดับ
การบริหารการแก้ไข การตรวจตราและการจัดการ
ชุมชนวิกิพีเดียบริหารจัดการกันเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ทุกคนจึงอาจสร้างชื่อเสียงได้ทั้งในฐานะเป็นผู้เขียนที่มีความสามารถ และค่อยขยับมามีส่วนร่วมในบทบาทที่ตนเลือก บ่อยครั้งที่ปัจเจกบุคคลจะเลือกมีส่วนในภาระงานเฉพาะอย่าง อาทิ ทบทวนบทความตามที่ผู้อื่นขอ การเฝ้าดูการปรับปรุงล่าสุดเพื่อหาการก่อกวน การเฝ้าดูบทความสร้างใหม่เพื่อความมุ่งหมายในการควบคุมคุณภาพ หรือบทบาทที่คล้ายกัน ผู้เขียนที่เชื่อว่าตนสามารถบริการชุมชนได้ดีขึ้นอาจเสนอชื่อตนเองให้ชุมชนตกลงมอบเครื่องมือและความรับผิดชอบเพิ่มเติม มาตรฐานนี้มีแนวโน้มจะประกันระดับประสบการณ์ ความเชื่อมั่นและความคุ้นเคยสูงทั่วทุกด้านภายในวิกิพีเดีย
ระบบซอฟต์แวร์สนับสนุนและโปรแกรมอัตโนมัติอันหลากหลายมีส่วนช่วยผู้เขียนและผู้ดูแลระบบในการเฝ้าดูการแก้ไขและผู้เขียนที่เป็นปัญหา ตามทฤษฎีแล้ว ผู้เขียนและผู้ใช้ทั้งหมดต่างก็ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมโดยปราศจาก "โครงสร้างอำนาจ" อย่างไรก็ดี วิกิพีเดียมีลำดับชั้นของการอนุญาตและตำแหน่งอยู่ ซึ่งปรากฏในรายการด้านล่าง
- ผู้ใช้ทุกคนสามารถแก้ไขบทความส่วนใหญ่บนวิกิพีเดียได้ เว้นบางบทความซึ่งถูกป้องกันเนื่องจากการก่อกวนหรือสงครามแก้ไข ซึ่งสามารถถูกแก้ไขได้จากผู้ใช้ที่ผ่านเกณฑ์แล้วเท่านั้น
- ผู้ใช้ลงทะเบียนทุกคน ซึ่งได้ลงทะเบียนมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 4 วัน และมีการแก้ไขมากกว่า 10 ครั้งจะกลายมาเป็น "ผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติ" (Autoconfirmed) และได้ความสามารถทางเทคนิคเพิ่มขึ้นจากผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนหรือผู้ใช้ใหม่ได้ 3 อย่าง คือ
- เปลี่ยนชื่อบทความได้
- แก้ไขบทความที่กึ่งล็อกได้
- มีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียงในบางเรื่องได้ (แต่บางเรื่องยังมีกำหนดจำนวนการแก้ไขขั้นต่ำอยู่)
- ผู้ใช้ลงทะเบียนจำนวนมากสามารถเข้าถึงเครื่องมือซึ่งทำให้การแก้ไขง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งมีผู้ใช้จำนวนน้อยได้ศึกษาการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ แต่สิทธิพิเศษเพียงอย่างเดียวที่มอบให้แก่ผู้ร่วมแก้ไขอย่างดี ได้แก่ "การย้อนกลับ" ซึ่งเป็นการย้อนการแก้ไขที่ขึ้นง่ายกว่าเดิม
- ผู้ดูแลระบบ (Administrator, Sysop) ผู้ที่ได้รับเลือกจากชุมชน และสามารถเข้าถึงเครื่องมือบริหารจัดการที่สำคัญบางอย่างได้ มีอำนาจในการลบบทความ บล็อกผู้ใช้หรือหมายเลขไอพี และสามารถแก้ไขบทความที่ถูกล็อกได้
- ผู้ดูแลระบบสิทธิ์แต่งตั้ง (Bureaucrat) ผู้ที่ได้รับเลือกผ่านทางกระบวนการเช่นเดียวกับการเลือกผู้ดูแลระบบ ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก มีอำนาจในการเพิ่มเติมหรือเพิกถอนสิทธิผู้ดูแลระบบ อนุมัติหรือลบล้างสิทธิของ "บอต" และเปลี่ยนชื่อผู้ใช้
- คณะอนุญาโตตุลาการ (Arbitration Committee) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับศาลสูงของวิกิพีเดีย มีหน้าที่รับผิดชอบต่อข้อพิพาทที่ยังไม่ยุติหลังความพยายามยุติข้อพิพาทด้วยวิธีอื่น ๆ ประสบความล้มเหลว สมาชิกถูกเลือกตั้งโดยชุมชนและมีแนวโน้มเลือกจากผู้ดูแลระบบที่มีประสบการณ์ (ขณะนี้ไม่มีสมาชิก)
- ผู้จัดการโครงการ (Stewards) ถือเป็นระดับการเข้าถึงทางเทคนิคสูงสุด รองเพียงกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดีย เป็นผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเทคนิคเล็กน้อยและมักจะไม่ค่อยได้ยินข่าวหรือการกระทำของพวกเขามากนัก เพราะมักทำหน้าที่แทนผู้ดูแลระบบหรือผู้ดูแลระบบสิทธิ์แต่งตั้งในวิกิพีเดียภาษาท้องถิ่นในกรณีที่ไม่สามารถหาบุคคลมีทำหน้าที่ดังกล่าวได้เท่านั้น
- จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย มีบทบาทและสิทธิพิเศษหลายประการ อย่างไรก็ดี โอกาสส่วนใหญ่ เขามิได้คาดหวังว่าจะได้รับการปฏิบัติแตกต่างไปจากผู้ร่วมแก้ไขหรือผู้ดูแลระบบคนอื่น ในทางเทคนิคแล้ว เขาทำหน้าที่เสมือนผู้จัดการโครงการ และได้รับสิทธิการเข้าถึงใหม่ "ผู้ก่อตั้ง" (Founder) ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2552
การรับมือข้อพิพาทและการกระทำที่ผิด
วิกิพีเดียมีระเบียบปฏิบัติหลายประการเพื่อรับมือกับการละเมิดส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งระเบียบเหล่านี้ถูกทดสอบเป็นอย่างดีและควรยึดเป็นหลัก
- ผู้ใช้ทุกคนสามารถรายงานการก่อกวน และแก้ไขให้ถูกต้องได้
- การโต้แย้งที่ไม่มีข้อยุติระหว่างผู้เขียน ไม่ว่าจะว่าด้วยเรื่องพฤติกรรม การเข้าถึงการแก้ไข หรือความสมบูรณ์ของเนื้อหา สามารถนำไปอภิปรายในหน้าอภิปรายของแต่ละบทความ ผ่านการร้องขอจากผู้เขียนอื่นหรือกระบวนการระงับข้อพิพาทอันครอบคลุมของวิกิพีเดีย
- การใช้บัญชีผู้ใช้ในทางที่ผิด เช่น การสร้าง "หุ่นเชิดอินเทอร์เน็ต" หรือการรวมกลุ่มเพื่อนและพวกอื่นเพื่อนำเสนอมุมมองที่ไม่เป็นกลางหรือมีมติไม่เหมาะสมในการอภิปราย หรือเพื่อรบกวนกระบวนการอื่นในวิกิพีเดียด้วยการกระทำอันเป็นที่ไม่พึงประสงค์ จะถูกพิจารณาผ่านนโยบายหุ่นเชิด
นอกจากนี้ ช่วงแรกผู้ใช้ใหม่อาจพบว่า ผู้เขียนมองคะแนนเสียงของตนมีน้ำหนักน้อยกว่าในการหยั่งเสียงอย่างไม่เป็นทางการบางอย่าง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการใช้บัญชีผู้ใช้เพื่อจุดประสงค์เดียว
การทบทวนคุณภาพการแก้ไข
เช่นเดียวกับระบบตามจับและควบคุมการแก้ไขที่ไม่ได้มาตรฐานและการก่อกวน วิกิพีเดียยังมีคู่มือรูปแบบและเนื้อหาที่สมบูรณ์ และระบบอันหลากหลายในการทบทวนและพัฒนาบทความอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างกระบวนการดังกล่าวได้แก่ การกลั่นกรอง การเสนอบทความคุณภาพ และการเสนอบทความคัดสรร การตรวจสอบบทความอย่างเข้มงวดมีเจตนาเพื่อให้บรรลุมาตรฐานสูงสุดและเป็นที่แสดงขีดความสามารถของวิกิพีเดียในการผลิตงานคุณภาพสูง
นอกเหนือจากนั้น บทความบางประเภทหรือสาขามักมีโครงการ กระบวนการประเมินคุณภาพ และผู้ตรวจทานที่ชำนาญการพิเศษและครอบคลุม ในหัวเรื่องนั้น ๆ บทความที่ถูกเสนอชื่อเป็นที่ให้ความสนใจโดยเฉพาะภายใต้โครงการบ่อยครั้ง ดูที่ โครงการวิกิ หรือถูกครอบคลุมโดยกลุ่มที่มีความมุ่งหมายเพื่อการแก้ไขอย่างหน่วยเก็บกวาดเฉพาะกิจ
คุณสมบัติทางเทคนิค
วิกิพีเดียใช้ซอฟต์แวร์ของมีเดียวิกิ ซึ่งเป็นโปรแกรมโอเพนซอร์ซ ที่ไม่เพียงแต่ใช้กันในโครงการของวิกิมีเดีย แต่ยังรวมไปถึงเว็บไซต์อื่นอีกเป็นจำนวนมาก ฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนโครงการวิกิมีเดียตั้งอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์หลายร้อยแห่งในศูนย์ให้บริการตามแห่งต่าง ๆ รอบโลก คำอธิบายทั้งหมดของเซิร์ฟเวอร์และบทบาทของเซิร์ฟเวอร์สามารถดูได้ที่หน้านี้
การตอบรับและคำถาม
วิกิพีเดียดำเนินงานการเป็นความพยายามของชุมชน เพื่อให้ได้ผลออกมาเป็นสารานุกรม การตอบรับเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ ควรเสนอในหน้าอภิปรายของบทความเหล่านั้นก่อน ทั้งนี้ จงกล้าที่จะแก้ไขวิกิพีเดีย เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือเพิ่มเติมข้อมูล
คำถามพบบ่อย
การตอบรับ
วิกิพีเดียมีกระบวนการยุติข้อพิพาท รวมไปถึงมีหน้าที่ออกแบบมาสำหรับตอบคำถาม ผลป้อนกลับ แสดงความคิดเห็น หรือเสนอแนะ:
- วิธีใช้:หน้าคุย — เป็นหน้าสำหรับอภิปรายร่วมกันของผู้เขียนบทความหรือนโยบาย
- วิกิพีเดีย:การก่อกวน — เป็นหน้าสำหรับอำนวยความสะดวกในการแจ้งการก่อกวนในวิกิพีเดีย
- วิกิพีเดีย:การระงับข้อพิพาท — ระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับมือข้อพิพาทที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในหน้าพูดคุย
- วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน — พื้นที่สำหรับอภิปรายเกี่ยวกับวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิกิพีเดีย:ศาลาประชาคม
ดูเพิ่มที่:
- บั๊กซิลลา — แหล่งอำนวยความสะดวกสำหรับรายงานปัญหาของเว็บไซต์วิกิพีเดียหรือซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ
- วิธีใช้:สารบัญ — หน้าวิธีใช้วิกิพีเดียทั่วไป
วิธีใช้ด้านการวิจัยและคำถามคล้ายกัน
สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเฉพาะเรื่อง วิกิพีเดียมีตัวช่วยผู้ใช้ดังกล่าว ดังนี้
- วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ — สำหรับแนะนำหรือแจ้งให้มีการเขียนบทความใหม่ในอนาคต
- วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา — สำหรับถามคำถาม ขอความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ โดยทั่วไปหรือเจาะจง
- วิกิพีเดีย:การใช้วิกิพีเดียประกอบการวิจัย — ข้อมูลสำหรับการใช้วิกิพีเดียเป็นเครื่องมือการวิจัย
ตามธรรมชาติของวิกิพีเดียแล้ว วิกิพีเดียส่งเสริมให้ทุกคนค้นคว้าข้อมูลด้วยตัวเองก่อน และหากในวิกิพีเดียไม่มีข้อมูลตามที่คุณค้นคว้า ก็จงกล้าที่จะเพิ่มลงไปเพื่อให้ผู้อื่นได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวด้วยเช่นกัน
การอภิปรายชุมชน
วิกิพีเดียมีศาลาชุมชน สำหรับสนทนาเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของบทความหรือพฤติกรรมของผู้แก้ไขบทความ ศาลาชุมชนนั้นครอบคลุมเรื่องทั่วไป เช่น ประกาศ การอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับเทคนิค นโยบาย และการใช้ภาษา รวมถึงยังมีศาลาประชาคม เป็นศูนย์กลางสำหรับสิ่งที่ต้องทำ การร่วมมือกับผู้ใช้อื่น ข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขโดยเบื้องต้น ศาลาประชาคมยังมีไว้สำหรับติดตามว่าเกิดอะไรขึ้นในวิกิพีเดียอีกด้วย
ติดต่อผู้แก้ไขวิกิพีเดียเป็นการส่วนตัว
หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ที่แรกที่คุณควรจะไป คือ วิธีใช้:สารบัญ ในการติดต่อกับผู้ร่วมแก้ไขเป็นรายบุคคล คุณอาจทิ้งข้อความไว้ในหน้าพูดคุยของเขาได้ สถานที่โดยทั่วไปที่ใช้ถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับนโยบายหรือโครงการวิกิจะอยู่ที่ศาลาชุมชน สำหรับการติดต่อออนไลน์ และจดหมายกลุ่ม สำหรับการติดต่อผ่านทางอีเมล หรือคุณอาจจะติดต่อชาววิกิพีเดียคนอื่นผ่านช่องทางไออาร์ซีและอีเมล
นอกจากนั้น เมทาวิกิของมูลนิธิวิกิมีเดีย อันเป็นแหล่งสำหรับการประสานงานในโครงการวิกิพีเดียและโครงการพี่น้องอื่น ๆ ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่คุณสามารถแจ้งบั๊กและร้องขอคุณลักษณะใหม่เพิ่ม
สำหรับช่องทางการติดต่อทั้งหมด ดูที่ วิกิพีเดีย:ติดต่อ
วิกิพีเดียในภาษาอื่น
นอกจากภาษาไทยแล้ว วิกิพีเดียยังมีรุ่นภาษาอื่นอีกทั้งหมด 324 ภาษา โดยวิกิพีเดียขนาดใหญ่แสดงรายการด้านล่างนี้
-
1,000,000+ บทความ
- English (อังกฤษ)
- Sinugboanong Binisaya (เซบู)
- Svenska (สวีเดน)
- Deutsch (เยอรมัน)
- Français (ฝรั่งเศส)
- Nederlands (ดัตช์)
- Русский (รัสเซีย)
- Italiano (อิตาลี)
- Español (สเปน)
- Polski (โปแลนด์)
- Winaray (วาไร-วาไร)
- Tiếng Việt (เวียดนาม)
- 日本語 (ญี่ปุ่น)
- 中文 (จีน)
- العربية (อาหรับ)
- Português (โปรตุเกส)
- Українська (ยูเครน)
-
250,000+ บทความ
- فارسی (เปอร์เซีย)
- Català (กาตาลา)
- Српски / Srpski (เซอร์เบีย)
- Norsk (bokmål) (นอร์เวย์)
- Bahasa Indonesia (อินโดนีเซีย)
- 한국어 (เกาหลี)
- Suomi (ฟินแลนด์)
- Magyar (ฮังการี)
- Čeština (เช็ก)
- Srpskohrvatski / српскохрватски (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย)
- Română (โรมาเนีย)
- Bân-lâm-gú (หมิ่นใต้)
- Euskara (บาสก์)
- Türkçe (ตุรกี)
- مصرى (Maṣri) (อาหรับอียิปต์)
- Bahasa Melayu (มลายู)
- Esperanto (เอสเปรันโต)
- Հայերեն (อาร์มีเนีย)
- עברית (ฮีบรู)
- Български (บัลแกเรีย)
- Dansk (เดนมาร์ก)
- Нохчийн (เชเชน)
-
100,000+ บทความ
- تۆرکجه (อาเซอร์ไบจานใต้)
- Slovenčina (สโลวัก)
- Қазақша (คาซัค)
- Minangkabau (มีนังกาเบา)
- Hrvatski (โครเอเชีย)
- Eesti (เอสโตเนีย)
- Lietuvių (ลิทัวเนีย)
- Беларуская (เบลารุส)
- Ελληνικά (กรีก)
- Slovenščina (สโลวีเนีย)
- Gallego (กาลิเซีย)
- Simple English (อังกฤษอย่างง่าย)
- Azərbaycanca (อาเซอร์ไบจาน)
- اردو (อูรดู)
- Norsk nynorsk (นีนอสก์)
- हिन्दी (ฮินดี)
- ქართული (จอร์เจีย)
- O‘zbek (อุซเบก)
- Latina (ละติน)
- Cymraeg (เวลส์)
- தமிழ் (ทมิฬ)
- Volapük (โวลาปุก)
- Asturianu (อัสตูเรียส)
- Македонски (มาซิโดเนีย)
- Latviešu (ลัตเวีย)
- Тоҷикӣ (ทาจิก)
โครงการพี่น้อง
วิกิพีเดียดำเนินการโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร นอกจากวิกิพีเดียแล้ว วิกิมีเดียยังดำเนินการโครงการหลายภาษาและเนื้อหาเสรีอีกหลายโครงการด้วยกัน ได้แก่
คอมมอนส์ คลังสื่อเสรี |
มีเดียวิกิ การพัฒนาซอฟต์แวร์วิกิ |
เมทาวิกิ ศูนย์ประสานงานโครงการวิกิมีเดีย | |||
วิกิตำรา ตำราและคู่มือเสรี |
วิกิสนเทศ ฐานความรู้เสรี |
วิกิคำคม แหล่งรวบรวมคำพูดเสรี | |||
วิกิซอร์ซ เอกสารต้นฉบับเสรี |
วิกิสปีชีส์ สารบบอนุกรมวิธานเสรี |
วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมและอรรถาภิธานเสรี | |||
วิกิท่องเที่ยว คู่มือท่องเที่ยวเสรี |
โปรดทราบด้วยว่า แม้เว็บไซต์อื่นอาจใช้ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์เหล่านั้นมีรูปลักษณ์คล้ายคลึงกับวิกิพีเดีย หรืออาจมีชื่อ "วิกิ-" หรือ "-พีเดีย" หรือชื่อโดเมนที่คล้ายกัน แต่โครงการที่สังกัดมูลนิธิวิกิมีเดียปรากฏในรายชื่อทางด้านบนเท่านั้น โครงการอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้ไม่อยู่ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิวิกิมีเดีย แม้โครงการอื่นอาจมีการกล่าวอ้างก็ตาม
อ้างอิง
- ↑ "Report card". Wikimedia. สืบค้นเมื่อ September 3, 2015.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Wikipedia announcements — May 2001".
- ↑ "Wikipedia announcements — September 2001".
- ↑ Andrew Orlowski. (2006). New Age judge blasts Apple. The Register. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2553.
- ↑ Andrew Orlowski. (2006). Avoid Wikipedia, warns Wikipedia chief. The Register. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2553.
- ↑ Bill Thompson, "What is it with Wikipedia?", BBC, December 16, 2005.
ดูเพิ่ม
อ่านเพิ่มเติม
- Broughton, John. Wikipedia: The Missing Manual, (2008) O'Reilly Media. ISBN 0-596-51516-2
แหล่งข้อมูลอื่น
- Darren W. Logan, et al. Ten Simple Rules for Editing Wikipedia. PLoS Computational Biology. สืบค้น 21-10-2555.