ศาสนาคริสต์
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาคริสต์ |
---|
สถานีย่อย |
ศาสนาคริสต์ (อังกฤษ: Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา[1] เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมแบบอับราฮัม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ [2] ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน
ศาสนิกชนรวม | |
---|---|
2.4 พันล้านคน | |
ศาสดา | |
พระเยซูคริสต์ | |
ภูมิภาคที่มีศาสนิกชนจำนวนมาก | |
ทั่วโลก | |
ศาสนา | |
แยกมาจากยูดาห์ | |
คัมภีร์ | |
ไบเบิล | |
ภาษา | |
ฮีบรู, กรีก, อาราเมค |
พระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ไถ่ เพื่อมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาป คริสตชนจึงเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์"[3] ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก[4]
ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถือเป็นนิกายหนึ่งของศาสนายูดาห์เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1[5][6] โดยถือกำเนิดขึ้นในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของตะวันออกกลาง (ปัจจุบัน คือ อิสราเอลและปาเลสไตน์) ไม่นานก็เผยแพร่ไปยังซีเรีย เมโสโปเตเมีย เอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ ศาสนาคริสต์มีขนาดและอิทธิพลเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษ และจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ได้กลายมาเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน[7] ระหว่างสมัยกลาง ในดินแดนยุโรปที่เหลือส่วนมากรับศาสนาคริสต์แล้ว แต่บางภูมิภาค เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ เอธิโอเปีย และบางส่วนของประเทศอินเดีย คริสตชนยังถือเป็นศาสนิกชนกลุ่มน้อย[8][9] หลังยุคสำรวจ ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปยังทวีปอเมริกา ออสตราเลเซีย แอฟริกาใต้สะฮารา และส่วนที่เหลือของโลกผ่านงานมิชชันนารีและลัทธิอาณานิคม
พระเยซูคือพระเมสสิยาห์ที่พยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งในศาสนาคริสต์เรียกว่า "พันธสัญญาเดิม" พื้นฐานเทววิทยาศาสนาคริสต์นั้นแสดงออกมาในหลักข้อเชื่อสากล (ecumenical creed) ที่มีมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในบรรดาคริสต์ศาสนิกชน การประกาศข่าวประเสริฐนี้มีอยู่ว่า พระเยซูทรงรับพระทรมาน สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนและถูกฝังพระศพไว้ ก่อนจะคืนพระชนม์เพื่อให้ชีวิตนิรันดร์แก่ผู้ที่เชื่อในพระองค์และวางใจว่าพระองค์เป็นผู้ไถ่บาป[10] พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ที่ซึ่งพระองค์ทรงควบคุมและปกครองรวมกับพระเจ้าพระบิดา พระเยซูจะทรงเสด็จกลับมาพิพากษามนุษย์ทุกคน ทั้งคนเป็นและคนตาย และให้ชีวิตนิรันดร์แก่ผู้ที่เชื่อและวางใจในพระองค์[11] พระองค์ทรงถูกมองว่าเป็นแบบอย่างของชีวิตอันดีงาม และทรงเป็นทั้งผู้เผยพระวจนะเหนือผู้เผยพระวจนะและเป็นพระเจ้าลงมารับสภาพมนุษย์[12]
ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ศาสนาคริสต์มีศาสนิกชนประมาณ 2.4 พันล้านคนทั่วโลก[13][14] คิดเป็นประมาณ 33% หรือหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของประชากรโลก และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก[15][16] ทั้งยังเป็นศาสนาประจำชาติในหลายประเทศ
นิกาย
[แก้]- (ไม่ได้แสดงนิกายที่มิใช่ไนซีน, ไม่ถือตรีเอกานุภาพ, และนิกายฟื้นฟูบางนิกาย)
มนุษย์ได้แบ่งศาสนาคริสต์ให้เป็นนิกายต่าง ๆ ซึ่งแปรไปตามพื้นที่, วัฒนธรรม และความคิดของตน นิกายที่สำคัญมี 3 นิกายคือ
- โรมันคาทอลิก แปลว่าสากล เป็นนิกายดั้งเดิมที่ยึดมั่นในหลักคำสอนของพระเยซูคริสต์เคารพพระนางมารีย์และนักบุญต่าง ๆ ภายในโบสถ์ของนิกายนี้จะมีรูปเคารพพระเยซูคริสต์ พระแม่มารีย์ และนักบุญต่าง ๆ มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่สันตะสำนัก มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข โดยสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอัครทูตกลุ่มแรก โดยถือว่านักบุญซีโมนเปโตรคือพระสันตะปาปาพระองค์แรก ซึ่งได้รับการยินยอมจากพระเจ้าให้ปกครองศาสนจักรทั้งมวลและสืบทอดมาถึงสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน คาทอลิกมีนักบวชเรียกว่าบาทหลวง และสมาชิกคณะนักบวชคาทอลิก ถ้าเป็นชายเรียกว่าภราดา (brother) หญิงเรียกว่าภคินี (sister) ชาวไทยจะเรียกผู้นับถือนิกายนี้ว่า "คริสตัง" ตามเสียงอ่านภาษาโปรตุเกส มีผู้นับถือนิกายนี้ประมาณ 1200 ล้านคน[17] นิกายนี้ถือว่าบาทหลวงเป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ (ตัวแทนพระเจ้าในโลกนี้)
- ออร์ทอดอกซ์ แปลว่าถูกต้องและดั้งเดิม นิกายออทอดอกซ์ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าศาสนาคริสต์ตะวันออก เป็นนิกายดั้งเดิม ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระเยซูคริสตเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ โดยนับถือมากในประเทศทางฝั่งยุโรปตะวันออก เช่น กรีซ รัสเซีย โรมาเนีย ยูเครน บัลแกเรีย ฟินแลนด์ สโลวาเกีย มาซิโดเนีย ฯลฯ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งการปกครองเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช)เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ และออร์ทอดอกซ์มีนักบวชเรียกว่าบาทหลวง ส่วนนักบวชหญิงเรียกว่าภคินี หรือซิสเตอร์ มีผู้นับถือนิกายนี้ประมาณ 225–300 ล้านคน[18]
- โปรเตสแตนต์ แปลว่าคัดค้าน แยกตัวมาจากนิกายโรมันคาทอลิกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นนิกายที่ถือว่าศรัทธาของแต่ละคนที่มีต่อพระเจ้าสำคัญกว่าพิธีกรรม ซึ่งยังแตกย่อยออกเป็นหลายร้อยคณะ เนื่องจากมีความเห็นแตกต่างในประเด็นปลีกย่อยที่กล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิล และการปฏิบัติในพิธีกรรม นิกายนี้ไม่มีนักบวชเพราะเชื่อว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพระเจ้าได้โดยมิต้องอาศัยบาทหลวง มีเพียงศิษยาภิบาล ที่คอยให้คำปรึกษากับผู้เชื่อ และถือว่าพระเยซูได้ทรงไถ่บาปแก่ศาสนิกทุกคนไปเมื่อถูกตรึงกางเขนแล้ว นิกายนี้มีเพียงไม้กางเขนเป็นเครื่องหมายแห่งศาสนาเท่านั้น ชาวไทยจะเรียกผู้นับถือนิกายนี้ว่า "คริสเตียน" ตามเสียงอ่านภาษาอังกฤษ มีผู้นับถือรวมกันทุกนิกายย่อยประมาณ 850 ล้านคน[19] นิกายนี้ถือว่าพระคัมภีร์เป็นถ้อยคำที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า ซึ่งพระเจ้าได้เปิดเผยแก่มนุษย์ให้รู้จักพระองค์และรู้จักแผนการของพระเจ้าที่มีต่อมวลมนุษยชาติ
พิธีกรรมสำคัญในศาสนาคริสต์
[แก้]พิธีกรรมสำคัญในศาสนานี้เรียกว่า "พิธีศักดิ์สิทธิ์" มีดังนี้
- พิธีบัพติศมา หรือศีลล้างบาป เป็นพิธีกรรมแรกที่รับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน เป็นการแสดงตัวว่ามอบชีวิตให้กับพระเจ้า เสมือนชีวิตเก่านั้นได้ตายแล้วและจากนี้ไปจะมีชีวิตใหม่ในพระเยซูคริสต์ ซึ่งยอห์นผู้ให้บัพติศมาเป็นผู้ริเริ่มทำพิธีเป็นครั้งแรกในสมัยที่พระเยซูคริสต์ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ในนิกายโรมันคาทอลิกบาทหลวงจะใช้น้ำเสกเทลงบนศีรษะพร้อมเจิมน้ำมันคริสมาที่หน้าผาก ในนิกายออร์ทอดอกซ์ ก่อนทำพิธีล้างจะมีการแต่งตั้งนักบุญและสวดมนต์เพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากตัวของผู้ที่เข้ารับศีลล้างบาปโดยบาทหลวงจะเป็นผู้ทำพิธี และสุดท้ายจะจุ่มตัวของผู้ล้างลงในน้ำสามครั้ง ในนิกายโปรเตสแตนต์ใข้น้ำเป็นสัญลักษณ์ว่าได้ตายจากชีวิตเก่าและถือกำเนิดใหม่ในพระคริสต์แล้วโดยอาจจุ่มทั้งตัวผู้รับบัพติศมาแล้วจึงขึ้นจากน้ำ หรืออาจประพรมด้วยน้ำลงบนศีรษะก็ได้
- พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ หรือศีลมหาสนิท เป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงการร่วมสนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระเยซู มีการปฏิบัติครั้งแรกโดยพระเยซูคริสต์ในคืนวันที่จะถูกจับไปเป็นนักโทษเพื่อเข้าสู่ การตรึงกางเขน ซึ่งมีบันทึกไว้โดยเปาโลอัครทูตในจดหมายที่เขียนฝากไปยังคริสตชนที่เมืองโครินธ์ ซึ่งอยู่ใน พันธสัญญาใหม่ ของพระคัมภีร์ไบเบิล ความว่า
คือในคืนที่เขาอายัดพระเยซูเจ้านั้น พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ครั้นขอบพระคุณแล้วจึงทรงหัก แล้วตรัสว่า “นี่เป็นกายของเรา ซึ่งให้แก่ท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา"
เมื่อรับประทานแล้ว พระองค์จึงทรงหยิบถ้วยด้วยอาการอย่างเดียวกัน ตรัสว่า “ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา เมื่อท่านดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา”
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายกินขนมปังนี้และดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา
และทางนิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์จะถือว่าเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์มาก โดยจะรับประทานขนมปังและไวน์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความเชื่อแทนพระกายและพระโลหิตของพระเยซู (ทางศาสนจักรโรมันคาทอลิก และออร์ทอดอกซ์จะถือว่าขนมปังและไวน์ในทางอัศจรรย์จะกลายเป็นพระมังสาและพระโลหิตของพระเยซูคริสต์) และเป็นพิธีกรรมที่สืบเนื่องมาจากพิธีปัสคาของศาสนายูดาห์
- ศีลอภัยบาป เป็นการสารภาพบาปกับพระเจ้าโดยผ่านบาทหลวง บาทหลวงจะเป็นผู้ตักเตือนสั่งสอนไม่ให้ทำบาปนั้นอีก และทำการอภัยบาปให้ในนามพระเจ้า
- ศีลกำลัง เป็นพิธีรับศีลโดยการเจิมหน้าผาก เพื่อยืนยันความเชื่อว่าจะนับถือศาสนาคริสต์ตลอดไปและได้รับพระพรของพระจิต ทำให้เข้มแข็งในความเชื่อมากขึ้นโดยทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์จะเรียกพิธีนี้ว่า "พิธีกรรมแห่งศีลการเจิมน้ำมันอันศักดิ์สิทธิ์"
- ศีลสมรส เป็นพิธีประกอบการแต่งงาน โดยบาทหลวงเป็นพยาน เป็นการแสดงความสัมพันธ์ว่าจะรักกันจนกว่าชีวิตจะหาไม่
- ศีลอนุกรม เป็นพิธีสำหรับการบวชเป็นนักบวช ได้แก่ มุขนายก (พระสังฆราช) บาทหลวง และพันธบริกร (สังฆานุกร)
- ศีลเจิมคนไข้ เป็นพิธีเจิมคนไข้โดยบาทหลวงจะเจิมน้ำมันลงบนหน้าผากและมือทั้งสองข้างของผู้ป่วย ให้ระลึกว่าพระเจ้าจะอยู่กับตนและให้พลังบรรเทาอาการเจ็บป่วย โดยทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์จะเรียกว่า "พิธีกรรมศีลเสกเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์" [20] [21]
สำหรับนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์ จะมีพิธีกรรมทั้ง 7 พิธี แต่สำหรับนิกายโปรเตสแตนต์ จะมีเพียง 2 พิธี คือ พิธีบัพติศมาและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156
- ↑ BBC, BBC—Religion & Ethics—566, Christianity
- ↑ Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913. Books.Google.com
- ↑ S. T. Kimbrough, บ.ก. (2005). Orthodox and Wesleyan Scriptural understanding and practice. St Vladimir's Seminary Press. ISBN 9780881413014.
- ↑ Robinson, Essential Judaism: A Complete Guide to Beliefs, Customs and Rituals, p. 229.
- ↑ Esler. The Early Christian World. p. 157f.
- ↑ Religion in the Roman Empire, Wiley-Blackwell, by James B. Rives, page 196
- ↑ Catholic encyclopedia New Advent
- ↑ McManners, Oxford Illustrated History of Christianity, pp. 301–03.
- ↑ Sheed, Frank. Theology and Sanity. (Ignatius Press: San Francisco, 1993), pp. 276.
- ↑ "Christianity". Knowledge Resources. Berkley Center for Religion, Peace, and World Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-11-22.
- ↑ McGrath, Christianity: An Introduction, pp. 4–6.
- ↑ "Christianity_by_country". wikipedia.org. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
- ↑ "Major Religions Ranked by Size". Adherents.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-15. สืบค้นเมื่อ 2009-05-05.
- ↑ Hinnells, The Routledge Companion to the Study of Religion, p. 441.
- ↑ Zoll, Rachel (December 19, 2011). "Study: Christian population shifts from Europe". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 19 December 2011.
- ↑ "Catholic_Church_by_country". wikipedia.org. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
- ↑ https://en.wikipedia.org/wiki/Eastern_Orthodoxy_by_country
- ↑ "Protestantism_by_country". wikipedia.org. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-12. สืบค้นเมื่อ 2016-06-19.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-04. สืบค้นเมื่อ 2016-06-19.
- Gill, Robin (2001). The Cambridge companion to Christian ethics. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0521779189.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Gunton, Colin E. (1997). The Cambridge companion to Christian doctrine. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-47695-X.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - MacMullen, Ramsay (2006). Voting About God in Early Church Councils. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 0300115962.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Padgett, Alan G.; Sally Bruyneel (2003). Introducing Christianity. Maryknoll, N.Y.: Orbis Books. ISBN 1570753954.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Price, Matthew Arlen; Collins, Michael (1999). The story of Christianity. New York: Dorling Kindersley. ISBN 0-7513-0467-0.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Ratzinger, Joseph (2004). Introduction To Christianity (Communio Books). San Francisco: Ignatius Press. ISBN 1586170295.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Tucker, Karen; Wainwright, Geoffrey (2006). The Oxford history of Christian worship. Oxford [Oxfordshire]: Oxford University Press. ISBN 0-19-513886-4.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Wagner, Richard (2004). Christianity for Dummies. For Dummies. ISBN 0764544829.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Webb, Jeffrey B. (2004). The Complete Idiot's Guide to Christianity. Indianapolis, Ind: Alpha Books. ISBN 159257176X.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - Woodhead, Linda (2004). Christianity: a very short introduction. Oxford [Oxfordshire]: Oxford University Press. ISBN 0192803220.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ศาสนาคริสต์ ประวัติความเป็นมา