ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลมาริบอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาริบอร์
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลมาริบอร์
ฉายาVijoličasti (สีม่วง)
Vijolice (วิโอลา)
Štajerski ponos (ความภาคภูมิใจของสตีเรีย)
ก่อตั้ง12 ธันวาคม 1960; 63 ปีก่อน (1960-12-12)
สนามลิยูตสกีเวิร์ต มาริบอร์
ความจุ12,702
ประธานสโมสรดราโก โกตาร์
หัวหน้าผู้ฝึกสอนดาร์โก มิลานิค
ลีกเปอร์วาลีกาสโลวีเนีย
2022-23อันดับที่ 3 ในเปอร์วาลีกา
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลมาริบอร์ (สโลวีเนีย: Nogometni klub Maribor) หรือ มาริบอร์ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพ ตั้งอยู่ที่มาริบอร์ ประเทศสโลวีเนีย ก่อตั้งวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1960 เป็นหนึ่งในสามสโมสรของประเทศ ที่ไม่เคยตกชั้นจากลีกสูงสุด นับตั้งแต่ที่ลีกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1991[1][2] สโมสรเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของวงการฟุตบอลสโลวีเนีย และสโมสรตั้งอยู่ที่ภูมิภาคสตีเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

มาริบอร์ เป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศ พวกเขาชนะเลิศเปอร์วาลีกาสโลวีเนีย 14 สมัย, สโลวีเนียนคัพ 9 สมัย และสโลวีเนียนซูเปอร์คัพอีก 4 สมัย ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือช่วงคริสตทศวรรษ 1990-2000 เมื่อพวกเขาคว้าแชมป์ลีก 7 สมัยติดต่อกัน และคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยอีก 3 สมัย ต่อมาในฤดูกาล 2008–09 มาริบอร์ยังคงยิ่งใหญ่ เมื่อคว้าแชมป์ลีกได้ 7 จาก 9 สมัยหลังสุด ก่อนที่สโลวีเนียจะได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1991 มาริบอร์เล่นในระบบฟุตบอลของยูโกสลาเวีย โดยพวกเขาคว้าแชมป์ยูโกสลาฟเซคเกินด์ลีกในปี ค.ศ. 1967 พวกเขาเป็นหนึ่งในสามสโมสรของสโลวีเนีย ที่เคยได้เล่นในยูโกสลาฟเฟิร์สลีก ซึ่งจัดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1945-1991 ในปัจจุบัน พวกเขาเป็นเพียงสโมสรเดียวของประเทศ ที่เคยได้ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่ม

มาริบอร์ มีคู่ปรับที่สำคัญคือ โอลิมปียา จากเมืองหลวงลูบลิยานา การแข่งขันนี้เรียกว่า อิเทอร์นัลดาร์บี (Večni derbi) แต่มาริบอร์เป็นสโมสรที่มีฐานแฟนบอลและผู้สนับสนุนมากที่สุดของประเทศ

สนามเหย้าของพวกเขาคือ ลิยูตสกีเวิร์ต ซึ่งมีความจุ 12,702 ที่นั่ง สร้างในปี ค.ศ. 1952 และสร้างใหม่ช่วงปี ค.ศ. 1990-2000 สีหลักของสโมสรคือสีม่วง

ชุดแข่งขัน

[แก้]

สีหลักของมาริบอร์คือสีม่วง[3] โดยสโมสรมีฉายาว่า สีม่วง (Vijoličasti)[4][5] และ วิโอลา (Vijolice),[6][7] นอกจากนี้ยังสื่อถึง เดอะไวโอล ซึ่งเกี่ยวข้องกับภูมิภาคของอดีตยูโกสลาเวีย[8][9]

สนาม

[แก้]
สนามลิยูตสกีเวิร์ต

สนามลิยูตสกีเวิร์ต (อังกฤษ: People's Garden, เยอรมัน: Volksgarten) เป็นสนามเพียงแห่งเดียวในมาริบอร์ที่ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำดราวา เป็นสถานที่สำคัญทางธรรมชาติ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และกีฬาของเมืองนี้[10][11] สนามตั้งชื่อตามสวนสาธารณะที่เคยตั้งอยู่ที่นี่[10] และเคยมีหลุมฝังศพตั้งอยู่ก่อนที่สนามจะสร้างขึ้น[12][13] สนามเปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1952 และสร้างใหม่ช่วงต้นทศวรรษ 1960[10] สโมสรลงเล่นที่สนามแห่งนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 เมื่ออัฒจันทร์หลักอยู่ระหว่างการก่อสร้าง[10] อัฒจันทร์คอนกรีตโค้ง ยาว 129.8 เมตร สูง 18.4 เมตร[10] ต่อมาในปี ค.ศ. 1994 ได้ติดตั้งระบบแสงไฟ เพื่อให้แข่งขันในช่วงเวลาเย็นได้[10] หลังจากนั้นสนามก็มีการปรับปรุงเป็นระยะ ๆ[14] ครั้งที่สำคัญที่สุด คือในปี ค.ศ. 2008 ปัจจุบัน สนามนี้มีความจุ 12,702 ที่นั่ง[15][16]

นอกจากเป็นสนามเหย้าของมาริบอร์แล้ว ยังเป็นสนามของฟุตบอลทีมชาติสโลวีเนีย เคยใช้แข่งขันในรายการฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก และเป็น 1 ใน 2 สนามของประเทศ ที่เคยจัดแข่งขันยูโร 2012, ฟุตบอลโลก 2014 และยูโร 2016 รอบคัดเลือก[17][18][19] สถิติผู้ชมในสมัยของยูโกสลาฟ คือ 20,000 คน ส่วนในลีกของสโลวีเนีย ผู้ชมสูงสุดคือ 14,000 คน ในนัดสุดท้ายของฤดูกาล 1996–97[20][21]

เกียรติประวัติ

[แก้]

มาริบอร์ คว้าแชมป์ลีก 14 สมัย[22] และสโลวีเนียคัพอีก 9 สมัย[23] มากที่สุดของประเทศ พวกเขาเคยคว้าแชมป์ลีกติดต่อกัน 7 สมัย[24] และเป็นสโมสรเดียวของประเทศที่คว้าดับเบิลแชมป์ถึง 4 ครั้ง และยังเป็นสโมสรเดียวที่คว้าเทรเบิลแชมป์ได้ ด้วยการชนะเลิศลีก, ถ้วย และซูเปอร์คัพในฤดูกาล 2012–13 พวกเขายังเคยเป็นหนึ่งในแชมป์ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ค.ศ. 2006[25] อย่างไรก็ตาม ถ้วยรางวัลนั้น ถูกมอบให้แก่นิวคาสเซิลยูไนเต็ดที่พัฒนาอย่างรวดเร็วแทน[26] มาริบอร์เคยจบลีกด้วยอันดับต่ำกว่าที่ 4 เพียงครั้งเดียว[27] และเป็นสโมสรแรกที่สะสมครบ 1,000 คะแนน ในลีกสูงสุด[28]

ยูโกสลาเวีย

[แก้]

ลีก

ชนะเลิศ (1): 1966–67
รองชนะเลิศ (3): 1963–64, 1972–73, 1978–79
ชนะเลิศ (5): 1960–61, 1975–76, 1981–82, 1983–84, 1985–86
รองชนะเลิศ (1): 1987–88

ถ้วย

รอบรองชนะเลิศ (1): 1967–68
ชนะเลิศ (13): 1961, 1966, 1967, 1972–73, 1973–74, 1976–77, 1978–79, 1980–81, 1982–83, 1984–85, 1985–86, 1987–88, 1988–89
รองชนะเลิศ (8): 1963, 1968, 1969, 1970, 1971, 1972, 1983–84, 1986–87

สโลวีเนีย

[แก้]

ลีก

ชนะเลิศ (15): 1996–97, 1997–98, 1998–99, 1999–2000, 2000–01, 2001–02, 2002–03, 2008–09, 2010–11, 2011–12, 2012–13, 2013–14, 2014–15, 2016–17, 2018/19
รองชนะเลิศ (5): 1991–92, 1992–93, 1994–95, 2009–10, 2015–16

ถ้วย

ชนะเลิศ (9): 1991–92, 1993–94, 1996–97, 1998–99, 2003–04, 2009–10, 2011–12, 2012–13, 2015–16
รองชนะเลิศ (4): 2006–07, 2007–08, 2010–11, 2013–14
ชนะเลิศ (4): 2009, 2012, 2013, 2014
รองชนะเลิศ (3): 2010, 2011, 2015

ดับเบิล และเทรเบิล

[แก้]
  • ดับเบิล (ลีกและถ้วย)
ชนะเลิศ (4): 1996–97, 1998–99, 2011–12, 2012–13 (ส่วนหนึ่งของเทรเบิล)
  • เทรเบิล (ลีก, ถ้วย และซูเปอร์คัพ)
ชนะเลิศ (1): 2012–13

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Osebna izkaznica" (ภาษาสโลวีเนีย). NK Maribor. สืบค้นเมื่อ 19 December 2010.
  2. Slavko Jerič; Tjaša Corn (13 May 2013). "Bozgo in Tavares edina vijolična kralja strelcev" [Bozgo and Tavares the only purple kings of the goalscorers] (ภาษาสโลวีเนีย). RTV Slovenija. สืบค้นเมื่อ 29 May 2013.
  3. "Simboli" [Symbols] (ภาษาสโลวีเนีย). NK Maribor. สืบค้นเมื่อ 19 December 2010.
  4. Nogomania (16 July 2010). "Vijoličasti v elitni druščini" [The purples in the elite group] (ภาษาสโลวีเนีย). Nogomania. สืบค้นเมื่อ 6 April 2011.
  5. Andrej Prebil (17 มีนาคม 2011). "Vijoličasti še drugič poraženi" [The purples defeated for the second time] (ภาษาสโลวีเนีย). RTS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2011.
  6. Pertoci, Tina (7 August 2010). "Nacional uspešnejši od "vijolic"" [Nacional more successful than "The Violets"] (ภาษาสโลวีเนีย). Siol. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2017. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  7. T.O. (8 April 2010). "Vijolice bodo še bolj vzcvetele" [The Violets will blossom even more] (ภาษาสโลวีเนีย). RTV Slovenija. สืบค้นเมื่อ 6 April 2011.
  8. Z. A. (20 February 2014). "Raketa sjetjela u Maribor: Najskuplji igrač Seville asistencijama pokvario povijesno proljeće Viola u Europi!" [The Rocket has landed in Maribor: The most expensive player of Sevilla with his assists wrecked the historic European spring for Viole!] (ภาษาโครเอเชีย). Index.hr. สืบค้นเมื่อ 6 November 2014.
  9. Edin Isanović (15 July 2014). "Drugo pretkolo Lige prvaka: Zrinjski spremno dočekuje favorizovani Maribor" [Champions League Second Qualifying Round: Zrinjski in ready and awaits the favourites Maribor] (ภาษาบอสเนีย). Klix.ba. สืบค้นเมื่อ 6 November 2014.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 "Ljudski vrt: Zgodovina" [Ljudski vrt: History] (ภาษาสโลวีเนีย). NK Maribor.
  11. DC Scrap. "Stadiums at night: 25 beautiful cathedrals of sport". guyism.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2011. สืบค้นเมื่อ 28 April 2011.
  12. Pogrebno podjetje Maribor d.d. "Pobreško pokopališče" [Pobrežje cemetery] (ภาษาสโลวีเนีย). pp-mb.si. สืบค้นเมื่อ 23 January 2011.
  13. RKC. "Iz Slomškovega življenja" [From Slomsek's life] (ภาษาสโลวีเนีย). zupnijambkosaki.wordpress.com. สืบค้นเมื่อ 5 April 2011.
  14. Soccerway. "Ljudski vrt, Maribor". soccerway.com. สืบค้นเมื่อ 5 April 2011.
  15. "Osebna izkaznica" [Personal card] (ภาษาสโลวีเนีย). NK Maribor. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
  16. "O stadionu" [About stadium] (ภาษาสโลวีเนีย). sportni-objekti-maribor.si. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
  17. M.L. (8 May 2010). "EP 2012: Srbi in Severni Irci v Maribor, Italijani v Ljubljano" [Euro 2012: Serbs and Northern Ireland in Maribor, Italians in Ljubljana] (ภาษาสโลวีเนีย). RTV Slovenija. สืบค้นเมื่อ 5 April 2011.
  18. "Seznam Stojanovića, znova Ljubijankič in Pečnik" [Stojanovic selected players, again Ljubijankic and Pecnik] (ภาษาสโลวีเนีย). Football Association of Slovenia. 30 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2016. สืบค้นเมื่อ 22 March 2016.
  19. R.Š. (23 June 2014). "Euro 2016: Začetek kvalifikacij v Tallinu, konec v San Marinu" [Euro 2016: Start in Tallin, end in San Marino] (ภาษาสโลวีเนีย). SNPortal. สืบค้นเมื่อ 22 March 2016.
  20. "Prva finalna kvalifikacijska tekma za vstop v 1. Ligo" (ภาษาสโลวีเนีย). NK Maribor. สืบค้นเมื่อ 20 December 2010.
  21. "Zapisnik tekme Maribor:Beltinci" (ภาษาสโลวีเนีย). Slovenian PrvaLiga. 1 June 1997. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  22. "Dosedanji zmagovalci" (ภาษาสโลวีเนีย). Football Association of Slovenia official website. สืบค้นเมื่อ 15 February 2011.
  23. "Zgodovina tekmovanja" (ภาษาสโลวีเนีย). Football Association of Slovenia official website. สืบค้นเมื่อ 15 February 2011.
  24. Siol (27 September 2007). "Zgodovina 1. SNL" (ภาษาสโลวีเนีย). Siol. สืบค้นเมื่อ 15 February 2011.
  25. "NK Maribor profile". uefa.com. UEFA. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
  26. BBC SPORT (16 December 2006). "Newcastle to lift Intertoto Cup". BBC SPORT. สืบค้นเมื่อ 4 April 2011.
  27. PrvaLiga. "Maribor: Osnovne statistike" (ภาษาสโลวีเนีย). prvaliga.si. สืบค้นเมื่อ 4 April 2011.
  28. "Rudar Velenje 1:2 Maribor" (ภาษาสโลวีเนีย). Slovenian PrvaLiga official website. สืบค้นเมื่อ 25 July 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]