ข้ามไปเนื้อหา

หน่วยยามฝั่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือเร็วรักษาความมั่นคงแห่งชาติหน่วยยามฝั่งสหรัฐ ยูเอสซีจีซี เบอร์ฮอล์ฟ (WMSL-750) และอีเอดีเอส เอชซี-144 โอเชียนเซนทรี
เรือหน่วยยามฝั่งรัสเซีย นัมเบอร์ 183 วอลกา
การฝึกซีเอช-149 คอร์มอแรนต์ กับเรือเร็วหน่วยยามฝั่งแคนาดา
เรือหน่วยยามฝั่งจีนเข้าร่วมการฝึกซ้อมระหว่างประเทศ
เรือเอนกประสงค์อาร์โคนา ของหน่วยยามฝั่งสหพันธรัฐเยอรมัน
เรือตรวจการณ์หน่วยควบคุมชายฝั่งแห่งชาติสาธารณรัฐโปรตุเกสประเภทแอลลิเวอิ

หน่วยยามฝั่ง (อังกฤษ: coast guard หรือ coastguard) เป็นองค์กรรักษาความปลอดภัยทางทะเลของประเทศใดประเทศหนึ่ง คำนี้ครอบคลุมความรับผิดชอบที่หลากหลายในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่การเป็นกองกำลังการทหารติดอาวุธหนักที่มีหน้าที่ด้านศุลกากรและความมั่นคง ไปจนถึงการเป็นองค์กรอาสาสมัครที่ได้รับมอบหมายให้ค้นหาและกู้ภัยโดยไม่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย หน้าที่โดยทั่วไปของหน่วยยามฝั่งแตกต่างจากของกองทัพเรือ (การรับราชการทหาร) และตำรวจตรวจจับการขนส่ง (การเป็นตัวแทนการบังคับใช้กฎหมาย) ในขณะที่บางประเทศมีความคล้ายคลึงกันทั้งสองอย่าง

ประวัติ

[แก้]
สถานีหน่วยยามฝั่งสหราชอาณาจักรที่เกอร์แวน ไอร์ไชร์ ประเทศสกอตแลนด์

หน่วยที่เกิดก่อนหน่วยยามฝั่งสหราชอาณาจักรของสหราชอาณาจักรในปัจจุบันได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1809 ในฐานะวอเตอร์การ์ด ซึ่งเดิมอุทิศให้กับการป้องกันการลักลอบโดยเป็นหน่วยงานของสำนักงานศุลกากรและสรรพสามิต เนื่องจากสหราชอาณาจักรมีการเก็บภาษีสุราในเวลานั้น เช่น บรั่นดี และยาสูบ เป็นต้น การลักลอบขนสินค้าจากสถานที่ต่าง ๆ เช่น ฝรั่งเศส, เบลเยียม และฮอลแลนด์เป็นปัญหาที่น่าสนใจสำหรับหลาย ๆ คน ถังบรั่นดีและของเถื่อนอื่น ๆ ถูกนำเข้าจากเรือบนชายหาดของอังกฤษในเวลากลางคืนจากเรือลำเล็ก และหลังจากนั้นได้ขายเพื่อทำกำไร ตามที่ปรากฏในหนังสือชุดดอกเตอร์ซีนโดยรัสเซล ธอร์นไดค์ หน่วยยามฝั่งยังรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือแก่เรืออับปาง

สถานีวอเตอร์การ์ดแต่ละแห่งจะมีปืนครกแมนบี ซึ่งได้รับการประดิษฐ์โดยกัปตัน จอร์จ วิลเลียม แมนบี ใน ค.ศ. 1808 ปืนครกดังกล่าวใช้ยิงโดยมีสายติดจากฝั่งไปยังเรือที่อับปาง และถูกนำมาใช้เป็นเวลาหลายปี สิ่งนี้เริ่มต้นกระบวนการที่หน่วยยามฝั่งถือว่ามีบทบาทช่วยชีวิต ใน ค.ศ. 1821 คณะกรรมการสอบสวนได้แนะนำให้โอนความรับผิดชอบในการป้องกันทางน้ำไปยังคณะกรรมการศุลกากร โดยกระทรวงการคลังได้เห็นด้วยและ (ในบันทึกลงวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1822) กำหนดให้ประจำการป้องกัน ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ป้องกันทางน้ำ, เรือลาดตระเวน และเจ้าหน้าที่ขี่ม้ายามฝั่ง ที่ควรอยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการศุลกากร และในอนาคตควรตั้งชื่อเป็น "หน่วยยามฝั่ง" ซึ่งใน ค.ศ. 1842 หน่วยยามฝั่งได้อยู่ในสังกัดของกระทรวงกองทัพเรืออังกฤษ[1]

สถานีช่วยชีวิตเคปแฮตเทอแรส รัฐนอร์ทแคโรไลนา ในการใช้งานตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19

ใน ค.ศ. 1829 มีการเผยแพร่คำแนะนำของหน่วยยามฝั่งแห่งแรกของสหราชอาณาจักร และจัดการกับวินัย รวมถึงทิศทางในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกัน พวกเขายังระบุด้วยว่า เมื่อเกิดการอับปาง หน่วยยามฝั่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการทั้งหมดที่เป็นไปได้เพื่อช่วยชีวิต, ดูแลเรือ และปกป้องทรัพย์สิน[2]

ในสหรัฐ หน่วยยามฝั่งสหรัฐได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1915 โดยการรวมตัวของหน่วยงานของรัฐบาลกลางอีกสองแห่ง หน่วยงานแรกคือหน่วยเรือตรวจของหนีภาษีสหรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับใช้ศุลกากรทางทะเลที่มีบทบาทสนับสนุนกองทัพเรือสหรัฐในช่วงสงคราม ส่วนหน่วยงานที่สองคือหน่วยช่วยชีวิตทางน้ำสหรัฐ ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1848 และประกอบด้วยทีมงานช่วยชีวิตประจำการตามจุดต่าง ๆ ตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งต่อมา หน่วยยามฝั่งได้ดูดกลืนหน่วยประภาคารสหรัฐ รวมถึงสำนักตรวจการเดินเรือและเรือจักรไอน้ำ

บทบาท

[แก้]
เจ้าหน้าที่หน่วยยามฝั่งสหรัฐและแคนาดากำลังทำงานร่วมกัน
สถานีหน่วยยามฝั่งในมารีเอฮัมน์ โอลันด์

ในบรรดาความรับผิดชอบที่อาจได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยยามฝั่ง ได้แก่:

ในช่วงสงคราม องค์การหน่วยยามฝั่งแห่งชาติบางแห่งอาจมีบทบาทเป็นกำลังสำรองของกองทัพเรือที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันท่าเรือ, การรักษาความปลอดภัยท่าเรือ, การต่อต้านการข่าวกรองของกองทัพเรือ และการลาดตระเวนชายฝั่ง

หน่วยยามฝั่งอาจเป็นเหล่าการทหารของประเทศ, หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย หรือหน่วยค้นหาและกู้ภัย ซึ่งแตกต่างกันไปตามเขตอำนาจศาล ตัวอย่างเช่น หน่วยยามฝั่งสหรัฐเป็นเหล่าทหารเฉพาะทางที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย ในขณะที่หน่วยยามฝั่งสหราชอาณาจักร (HMCG) ของสหราชอาณาจักรเป็นองค์การพลเรือนที่มีบทบาทหลักในการค้นหาและกู้ภัย[3] หน่วยยามฝั่งส่วนใหญ่ใช้งานเรือกำปั่นและอากาศยาน รวมถึงเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินทะเลที่หน่วยงานเป็นเจ้าของหรือเช่า เพื่อที่จะทำหน้าที่ของตนให้สำเร็จ

หน่วยยามฝั่งบางแห่ง เช่น หน่วยยามฝั่งไอริช มีบทบาทในการบังคับใช้กฎหมายที่จำกัด ซึ่งโดยปกติในการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยทางทะเล เช่น โดยการตรวจสอบเรือที่จอดอยู่ในเขตอำนาจของตน[4] ในกรณีที่หน่วยยามฝั่งเกี่ยวข้องกับการประสานงานเป็นหลักมากกว่าการดำเนินการกู้ภัย เรือช่วยชีวิตมักจะได้รับการจัดหาโดยองค์การอาสาสมัครพลเรือน เช่น สถาบันเรือช่วยชีวิตแห่งชาติในสหราชอาณาจักร ในขณะที่กองกำลังติดอาวุธของประเทศต่าง ๆ อาจจัดหาอากาศยาน เช่น การค้นหาและกู้ภัยของซีคิง ที่ปฏิบัติการโดยกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรและราชนาวี นอกเหนือจากเฮลิคอปเตอร์ของหน่วยยามฝั่งสหราชอาณาจักรเอง

ประเภทและบทบาทแบ่งตามประเทศ

[แก้]

รายการต่อไปนี้แสดงจำนวนหน่วยยามฝั่งที่ได้รับการคัดเลือกทั่วโลก โดยแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่หลากหลายที่พวกเขาแสดงในรัฐบาลที่เกี่ยวข้องและประเทศที่พวกเขาปฏิบัติงาน:

ประเทศอาร์เจนตินา

[แก้]

หน่วยยามฝั่งอาร์เจนตินา ในภาษาสเปนคือเปรเฟกตูรานาบัลอาร์เฆตินา Prefectura Naval Argentina หรือเปเอเนอา (PNA) เป็นราชการของกระทรวงความมั่นคงของสาธารณรัฐอาร์เจนตินาที่มีหน้าที่ปกป้องแม่น้ำ, ​ทะเลสาบ และอาณาเขตทางทะเลของประเทศ มันจึงเติมเต็มหน้าที่จากหน่วยยามฝั่งของประเทศอื่น ๆ และยังทำหน้าที่เป็นกองกำลังกองทัพสารวัตรทหารรักษาการณ์แม่น้ำและทะเลสาบที่เดินเรือได้ พวกเขาเป็นสมาชิกของกระทรวงกลาโหมจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 และข้าราชการสูงสุดของเหล่าคือพลเรือตรี พวกเขาได้ย้ายไปอยู่กระทรวงมหาดไทย และล่าสุดไปยังกระทรวงความมั่นคงที่ก่อให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการขัดกันทางอาวุธ พวกเขาสามารถอยู่ภายใต้คำสั่งของกองทัพเรือ

ประเทศออสเตรเลีย

[แก้]

ความรับผิดชอบสำหรับหน้าที่ของหน่วยยามชายฝั่งแบบดั้งเดิมในออสเตรเลียนั้นกระจายไปตามหน่วยงานอาสาสมัครของรัฐบาลกลาง, รัฐ และชุมชนต่าง ๆ

รัฐบาลกลาง

[แก้]

รัฐ

[แก้]

รัฐบาลแต่ละรัฐยังมีหน่วยงานหน่วยยามฝั่ง ตัวอย่างเช่น ในรัฐควีนส์แลนด์ หน่วยงานความปลอดภัยทางทะเลควีนส์แลนด์มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยทางทะเล และตำรวจประจำการควีนส์แลนด์มีหน่วยตำรวจน้ำสำหรับการบังคับใช้กฎหมายตามแนวชายฝั่ง, ทางน้ำ และสำหรับหมู่เกาะรัฐควีนส์แลนด์

ชุมชน

[แก้]

นอกจากนี้ ยังมีองค์การอาสาสมัครหน่วยยามฝั่งเอกชนหลายแห่ง ซึ่งองค์การที่ใหญ่ที่สุดสองแห่งคือหน่วยลาดตระเวนชายฝั่งอาสาสมัครออสเตรเลีย (ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1937) และหน่วยยามฝั่งอาสามัครออสเตรเลีย (ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1961) องค์การอาสาสมัครเหล่านี้ไม่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย และเป็นบริการค้นหาและกู้ภัยโดยพื้นฐาน ส่วนในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ทั้งสององค์การได้เข้าร่วมเป็นหน่วยกู้ภัยทางทะเลเมื่อ ค.ศ. 2009

ประเทศบังกลาเทศ

[แก้]

หน่วยยามฝั่งบังกลาเทศ (การถอดอักษรเบงกอล: বাংলাদেশ কোস্ট গার্ড; แปลจากภาษาอังกฤษ বাংলাদেশ উপকূল রক্ষক; หรือ บีซีจี (อังกฤษ: BCG) เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทางทะเลของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหารซึ่งอยู่ภายใต้เขตอำนาจของกระทรวงมหาดไทย โดยผู้ปฏิบัติงานได้รับการโยกย้ายจากกองทัพเรือบังกลาเทศ ทั้งนี้ หน่วยยามฝั่งบังกลาเทศยังปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยชายแดนทางทะเลของประเทศบังกลาเทศ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในธากา ประเทศบังกลาเทศ ปัจจุบันหน่วยยามฝั่งดังกล่าวมีกำลังพล 3,339 นาย[5]

ประเทศบาร์เบโดส

[แก้]

ประเทศเบลีซ

[แก้]

ภารกิจของหน่วยยามฝั่งเบลีซ (BCG) ประกอบด้วยความปลอดภัยทางทะเล, ความมั่นคงทางทะเล, การปกป้องทรัพยากรทางทะเล, การรักษาอธิปไตยเหนือพื้นที่ทางทะเลของเบลีซ และการป้องกันทางทะเลของเบลีซ[6]

หน่วยยามฝั่งชายและหญิงถูกส่งไปตรวจตราน่านน้ำภายในและทะเลอาณาเขตตลอดเวลา โดยที่ชายแดนทางเหนือ ฐานปฏิบัติการร่วมของพวกเขาที่หมู่บ้านคอนเซโจปกป้องเศรษฐกิจท้องถิ่นจากผลกระทบด้านลบของสินค้าเถื่อน และทำหน้าที่เป็นด่านสกัดการค้ายาเสพติดทางภาคเหนือ ส่วนที่เขตแดนทางใต้ พวกเขายืนคุ้มกันที่แม่น้ำซาร์สตูนเพื่อรับประกันอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของเบลีซ ซึ่งพวกเขาพร้อมสำหรับทุกสิ่ง (Utrinque Paratus)[7]

หน่วยยามฝั่งดังกล่าวประสานงานกิจกรรมกับกองทัพเบลีซ และกรมตำรวจเบลีซ[8]

ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

[แก้]
เรือตรวจการณ์กรานิชนาโปลิเซียของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (หน่วย พี4)

ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนามีแนวชายฝั่งเพียง 18 กิโลเมตร จึงไม่มีกองกำลังที่อุทิศตนเพื่อปกป้องชายฝั่ง หน้าที่ในการลาดตระเวนชายฝั่งตกเป็นของกรานิชนาโปลิเซีย (อังกฤษ: Border Police)

ประเทศบราซิล

[แก้]
เรือของบราซิลใช้เพื่อป้องกันพรมแดนของประเทศบราซิล

นอกเหนือจากบทบาทของกองทัพเรือแบบดั้งเดิมแล้ว กองทัพเรือบราซิลยังมีบทบาทในการจัดระเบียบกองทัพเรือพาณิชย์และภารกิจด้านความปลอดภัยในปฏิบัติการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยหน่วยยามฝั่ง ส่วนบทบาทอื่น ๆ ได้แก่: ดำเนินนโยบายการเดินเรือแห่งชาติ, ดำเนินการและบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนข้อบังคับเกี่ยวกับทะเลและน่านน้ำภายในประเทศ

ประเทศแคนาดา

[แก้]

หน่วยยามฝั่งแคนาดา (CCG) เป็นหน่วยงานพลเรือนภายใต้กรมประมงและมหาสมุทร ซึ่งรับผิดชอบในการลาดตระเวนแนวชายฝั่งที่ยาวที่สุดในโลกที่ 243,042 กม. (ราว 151,000 ไมล์)[9]

หน่วยยามฝั่งแคนาดามีหน้าที่รับผิดชอบในการค้นหาและช่วยเหลือทางทะเลทั้งหมดทั่วทั้งประเทศแคนาดา หน่วยยามฝั่งแคนาดาประสานงานการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยร่วมกับกองทัพแคนาดา, ตำรวจม้าแห่งชาติแคนาดา และองค์กรอื่น ๆ ซึ่งหน่วยยามฝั่งแคนาดาดูแลรักษาและปฏิบัติการบริเวณรอยต่อ, สถานีไฟชายฝั่ง, บริการจราจรทางเรือ, บริการขจัดมลพิษทางทะเล, ระบบการสื่อสารทางทะเล และให้บริการตัดน้ำแข็ง นอกจากนี้ หน่วยยามฝั่งแคนาดายังดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลกลางและเรือสำรวจอุทกศาสตร์ทั้งหมด เพื่อให้ภารกิจเหล่านี้สำเร็จ หน่วยยามฝั่งแคนาดามีกองเรือและเครื่องบินขนาดใหญ่ ซึ่งทั้งหมดให้บริการจากฐานต่าง ๆ และสถานีเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งสามแห่ง (ได้แก่ แอตแลนติก, อาร์กติก, แปซิฟิก) รวมถึงเกรตเลกส์ และแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์[10]

ส่วนวิทยาลัยหน่วยยามฝั่งแคนาดาตั้งอยู่ใกล้กับซิดนีย์ รัฐโนวาสโกเชีย

ประเทศจีน

[แก้]

หน่วยยามฝั่งจีน (CCG) (จีน: 中国海警) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานงานในการค้นหาและกู้ภัยทางทะเลในน่านน้ำอาณาเขตของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2013 โดยเป็นการรวมตัวกันของสี่หน่วยงาน ได้แก่: กองกำลังรักษาความมั่นคงสาธารณะชายแดนภายใต้กระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์, สำนักงานบริหารความปลอดภัยทางทะเลสาธารณรัฐประชาชนจีน, หน่วยเรือตรวจการณ์ทางทะเลสาธารณรัฐประชาชนจีน และหน่วยเรือตรวจประมงสาธารณรัฐประชาชนจีน[11][12] ครั้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 ได้อยู่ภายใต้การนำของกองกำลังตำรวจติดอาวุธประชาชนจีน ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง (CMC)[13]

ฮ่องกง

[แก้]

ในฮ่องกง หน้าที่บังคับใช้กฎหมายดำเนินการโดยตำรวจน้ำของกองกำลังตำรวจฮ่องกง รวมถึงกรมศุลกากรและสรรพสามิต (กองบัญชาการท่าเรือและการเดินเรือของสาขาแนวพรมแดนและท่าเรือ) ส่วนศูนย์ประสานงานกู้ภัยทางทะเลฮ่องกง (HKMRCC) ประสานงานเรือค้นหาและกู้ภัย, อากาศยาน ตลอดจนทรัพยากรอื่น ๆ ของหน่วยบริการดับเพลิง, บริการด้านการบินของรัฐบาล, กรมเจ้าท่า และตำรวจน้ำ

มาเก๊า

[แก้]

ในมาเก๊า ความรับผิดชอบของหน่วยยามฝั่งจะอยู่ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกรมศุลกากรมาเก๊า ซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการปฏิบัติหน้าที่ด้านหน่วยยามฝั่ง

ส่วนสำนักงานการเดินเรือและน่านน้ำ ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักงานเลขานุการกรมการขนส่งและโยธาธิการ (มาเก๊า) ช่วยในการประสานงานการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยในภูมิภาคนี้ โดยดำเนินการผ่านศูนย์ประสานงานค้นหาและกู้ภัย ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ศูนย์ควบคุมการจราจรทางเรือแห่งมาเก๊า (มาเก๊าวีทีเอส)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The History of H M Coastguard".
  2. [1] เก็บถาวร 2009-02-16 ที่ UK Government Web Archive National Archives - Coastguard History (1992 Memorandum)
  3. "MCA – About us". Mcga.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-01. สืบค้นเมื่อ 2012-11-09.
  4. Library, Department of Transport. Aviation. Aer Lingus Affairs (2001-10-25). "Department of Transport: General Coast Guard Information". Transport.ie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-19. สืบค้นเมื่อ 2012-11-09.
  5. "Continue effort to trafficking of drugs and humans". dhakatribune.com. 14 February 2016. สืบค้นเมื่อ 14 February 2016.
  6. "JANE's Overview Of The Belize Coast Guard". Belize Coast Guard.
  7. "State Of The Belize Coast Guard 2019". Belize Coast Guard.
  8. "Channel 5, Belize, newscast, Tuesday, July 24, 2007".[ลิงก์เสีย]
  9. "The Atlas of Canada – Coastline and Shoreline". Atlas.nrcan.gc.ca. 2011-10-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-10. สืบค้นเมื่อ 2012-11-09.
  10. "CCG Mission, Vision and Mandate". Canadian Coast Guard. 2012-02-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-15. สืบค้นเมื่อ 2012-11-09.
  11. Defense News
  12. "Nation merging maritime patrol forces |Latest News |chinadaily.com.cn". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
  13. "China's Coast Guard is Now a Military Police Unit". The Maritime Executive (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]