ข้ามไปเนื้อหา

หมู่โบราณสถานกุตุบ

พิกัด: 28°31′28″N 77°11′08″E / 28.524382°N 77.185430°E / 28.524382; 77.185430
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุตุบมีนาร์และโบราณสถาน เดลี
Qutb Minar and its Monuments, Delhi
ที่ตั้งมหาราวลี, ประเทศอินเดีย
พิกัด28°31′28″N 77°11′08″E / 28.524382°N 77.185430°E / 28.524382; 77.185430
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์4
ขึ้นเมื่อ1993 (คณะกรรมการมรดกโลกชุดที่ 17)
เลขอ้างอิง233
ประเทศอินเดีย อินเดีย
ทวีปเอเชีย
หมู่โบราณสถานกุตุบตั้งอยู่ในเดลี
หมู่โบราณสถานกุตุบ
ตำแหน่งที่ตั้งกุตุบมีนาร์และโบราณสถาน เดลี
Qutb Minar and its Monuments, Delhiในเดลี

หมู่โบราณสถานกุตุบ (อังกฤษ: Qutb complex) เป็นหมู่อนุสรณ์สถานและอาคารจากสมัยรัฐสุลต่านเดลี ในย่าน Mehrauli เดลี ประเทศอินเดีย[1] การก่อสร้างของกุตุบมีนาร์ (หอคอยแห่งชัยชนะ) นั้นตั้งชื่อหอคอยตามสันตะในนิกายซูฟี Khwaja Qutbuddin Bakhtiar Kaki เริ่มต้นการก่อสร้างโดย Qutb-ud-din Aibak ผู้ซึ่งต่อมาราชาภิเษกขึ้นเป็นสุลต่านแห่งเดลีของจักรวรรดิมัมลุก (Mamluk Sultanate) การก่อสร้างได้รับการสืบทอดโดยสุลต่านองค์ถัดมา Iltutmish (หรือ Altamash) และเสร็จสมบูรณ์ในอีกหลายปีถัดมาโดยสุลต่านแห่งเดลี Firoz Shah Tughlaq ของ จักรวรรดิตุฆลัก (Tughlaq dynasty) ในปี 1368 อาคารส่วนที่เป็นมัสยิด มีชื่อว่ามัสยิดกุบบัต-อุล-อิสลาม (Qubbat-ul-Islam Mosque) แปลว่าโดมของอิสลาม หรือต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป็นว่ากุววัต-อุล-อิสลาม (Quwwat-ul Islam)[2] ตั้งอยู่ข้างกับกุตุบมีนาร์[3][4][5][6]

ผู้ปกครองพื้นที่นี้ในเวลาถัดมา ทั้ง ตุฆลัก (Tughlaqs), Alauddin Khalji และ บริติชราช ล้วนได้เพิ่มเติมโครงสร้างเข้ามาในหมู่อาคารเหล่านี้[7] นอกเหนือจากตัวหอคอยกุตุบมีนาร์ และมัสยิดกุววัต อุล อิสลาม (Quwwat ul-Islam Mosque) เองแล้ว ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เช่นอาไลดาร์วาซา (Alai Darawaza), อาไลมีนาร์ (Alai Minar) และโลหะสตมภ์ ที่ตั้งของมัสยิดกุววัต อุล อิสลามนั้นได้มาจากการทุบทำลายโบสถ์พราหมณ์และไชนมนเทียรกว่า 27 แห่งที่เคยตั้งอยู่ในพื้นที่ เสาต่าง ๆ ได้ถูกนำมาใช้ก่อสร้างมัสยิด เช่นเดียวกับผนังซึ่งถูกฉาบปิดลักษณะของศาสนสถานเดิม[8] ภายในหมู่โบราณสถานยังมีหลุมศพของ Iltutmish, Alauddin Khalji และ Imam Zamin[4]

ในปัจจุบันพื้นที่โดยรอบที่มีโบราณสถานนั้นได้รับการบูรณะและดูแลโดยกรมสำรวจโบราณคดี (ASI) เช่น Mehrauli Archaeological Park และ INTACH ได้บูรณะโบราณสถานกว่า 40 แห่งในสวน[9] นอกจากนี้พื้นที่ของกุตุบยังเป็นที่จัด 'เทศกาลกุตุบ' (Qutub Festival) ประจำปี ซึ่งจะจัดในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม โดยมีศิลปิน นักดนตรี นักเต้น มาแสดงเป็นเวลาสามวัน ในปี 2006 กุตุบมีนาร์และหมู่โบราณสถานมีผู้เข้าเยี่ยมชมกว่า 3.9 ล้านคน ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้คนเดินทางไปมากที่สุดในประเทศอินเดียในปีนั้น และชนะทัชมาฮาลไปขาดลอย[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chandra, Satish (2003). History of architecture and ancient building materials in India. Tech Books International. p. 107. ISBN 8188305030..
  2. Patel, A (2004). "Toward Alternative Receptions of Ghurid Architecture in North India (Late Twelfth-Early Thirteenth Century CE)". Archives of Asian Art. 54: 59. doi:10.1484/aaa.2004.0004.
  3. Javeed, Tabassum (2008). World Heritage Monuments and Related Edifices in India. Algora Publishing. ISBN 978-0-87586-482-2. สืบค้นเมื่อ 26 May 2009.
  4. 4.0 4.1 Qutub Minar; Qutub Minar Government of India website.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ World Heritage Monuments
  6. Epigraphia Indo Moslemica, 1911–12, p. 13.
  7. Page, J. A. (1926) "An Historical Memoir on the Qutb, Delhi" Memoirs of the Archaeological Society of India 22: OCLC 5433409; republished (1970) Lakshmi Book Store, New Delhi, OCLC 202340
  8. Wright, Colin. "Ruin of Hindu pillars, Kootub temples, Delhi". www.bl.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-01-10.
  9. "Discover new treasures around Qutab". The Hindu. 28 March 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-10. สืบค้นเมื่อ 14 August 2009..
  10. "Another wonder revealed: Qutub Minar draws most tourists, Taj a distant second". Indian Express. 25 July 2007. สืบค้นเมื่อ 13 August 2009.