หลุมเพดาน
หลุมเพดาน (อังกฤษ: coffer, coffering) เป็นหลุมที่มีลักษณะเป็นแผงติดต่อกัน (อาจจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม หรือผสมกันหลายทรง) ลึกเข้าไปในเพดานหรือภายใต้โค้งหรือส่วนราบแบนภายในสิ่งก่อสร้าง[1] แผงสี่เหลี่ยมลึกใช้เป็นเครื่องตกแต่ง บางครั้งก็เรียกว่า “caissons” (กล่อง) หรือ “lacunaria” (ช่อง)[2] ทำให้บางครั้งก็เรียกว่า “lacunar ceiling” (เพดานช่อง) หลุมเพดานที่ทำด้วยหินของกรีกโบราณ[3] และโรมันโบราณ[4] เป็นตัวอย่างแรกของการสร้างเพดานลักษณะนี้ที่ยังเหลือให้เห็นอยู่ แต่เมื่อ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราชใช้ในการสร้างห้องเก็บศพอิทรัสกันที่เนินสุสาน (necropolis) ที่ซานจูลิอาโนที่ตัดจากหินทูฟา[5] หลุมเพดานที่ทำด้วยไม้สร้างกันเป็นครั้งแรกโดยการไขว้สลับคานบนเพดานเข้าด้วยกัน ที่ใช้ในการตกแต่งวังในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้น[6]
การทดสอบรูปทรงของการวางหลุมเพดานจะเห็นได้ในทั้งสถาปัตยกรรมของอิสลามและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา ปัญหาที่ซับซ้อนคือการค่อยลดขนาดของหลุมลงไปตามลำดับในการสร้างเพดานโค้งหรือโดม
ตัวอย่างของหลุมเพดานของโรมันที่ใช้การลดน้ำหนักของเพดานคือเพดานของโดมโรทันดา (Rotunda) ในตึกแพนธีออนในกรุงโรม
โดมไม้
[แก้]“เจ่าจิ่ง” (จีน: 藻井; พินอิน: zǎojǐng) หรือโดมไม้หรือหลุมเพดานใช้ในสถาปัตยกรรมของจีนเหนือพระราชบัลลังก์หรือรูปปั้น[7]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
หลุมเพดานปิดทองที่มหาวิหารโวลเทอร์ราในอิตาลี
-
หลุมเพดานปิดทองบนเพดานประทุนเหนือบริเวณพิธีที่นาซาเรในโปรตุเกส
-
หลุมเพดานที่ใช้กับโดมที่วัดซานคาร์โลที่ฟองทาเนในกรุงโรมในอิตาลี
-
หลุมเพดานบนเพดานราบโดยจูลิอาโน ดา ซานกาลโลที่มหาวิหารซานตามาเรียมายอเรในกรุงโรม
-
แผงหลุมสลับแปดเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมที่พระราชวังฟงแตนโบล
-
เพดานที่ประกอบด้วยหลุมทาสี 39 หลุมที่วังเว็คคิโอในฟลอเรนซ์
-
เพดานจากคริสต์ศตวรรษที่ 15 ภายในมหาวิหารปิซาในอิตาลี
-
เพดานภายในวังเชอนงโซในฝรั่งเศส
-
เพดานภายในศาลที่โตรอนโตในแคนาดา
-
เพดานสมัยใหม่ที่ใช้ที่สถานีรถใต้ดินเมโทรเซ็นเตอร์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ที่กล่าวกันว่าทำให้ระบบเสียงดีพอที่จะเล่นดนตรีออเคสตราได้
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ching, Francis D.K. (12 พฤศจิกายน 1995). A Visual Dictionary of Architecture. New York: Van Nostrand Reinhold. p. 30. ISBN 9780442009045.
- ↑ An alternative, in a description of Domitian's audience hall by Statius, noted by Ulrich 2007:156, is laquearia, not a copyist's error, as it appears in Manilius' Astronomica (1.533, quoted by Ulrich).
- ↑ J.J. Coulton, Ancient Greek Architects at Work: Problems of Structure and Design. Cornell University Press. (30 เมษายน 1982). p.147. ISBN 978-0801492341. "An example is the main hieron at Samothrace, where stone ceiling beams of the pronaos carried a coffered ceiling of marble slabs across a span of about 6.15 m."
- ↑ Roman wooden coffered ceilings are discussed in Roger Bradley Ulrich, Roman Woodworking, ch. "Roofing and ceilings", Yale University Press. (2007). ISBN 9780300103410.
- ↑ Illustrated in Ulrich, fig 8.27.
- ↑ "coffer". Encyclopedia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2007.
- ↑ Ching, Francis D.K.; และคณะ (2007). A Global History of Architecture. New York: John Wiley and Sons. p. 787. ISBN 0-471-26892-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หลุมเพดาน