อนาถบิณฑิกเศรษฐี
อนาถบิณฑิกเศรษฐี | |
---|---|
ภาพวาดสุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี ภายในพุทธวิหารศรีลังกา เมืองสาวัตถี | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่อเดิม | สุทัตตะเศรษฐี |
ชื่ออื่น | อนาถปิณฑิกเศรษฐี, สุทัตตเศรษฐี |
สถานที่เกิด | สาวัตถี |
เอตทัคคะ | ผู้เป็นทายกผู้เลิศ |
ฐานะเดิม | |
ชาวเมือง | สาวัตถี |
บิดา | สุมนเศรษฐี |
วรรณะเดิม | แพศย์ |
ราชวงศ์ | สุมนะ |
สถานที่รำลึก | |
สถานที่ | อนาถบิณฑิกสถูป เมืองสาวัตถี |
หมายเหตุ | |
ผู้ถวายวัดเชตวันมหาวิหารในศาสนาพุทธ | |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือ สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี เป็นชาวสาวัตถี (แคว้นโกศล) ในสมัยพุทธกาล มีชีวิตร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้า เดิมท่านมีนามว่าสุทัตตะเศรษฐี เกิดในตระกูลของสุมนะเศรษฐีผู้เป็นบิดา ท่านเป็นเศรษฐีที่ใจบุญ ชอบช่วยเหลือคนตกยาก ทำให้ท่านถูกเรียกจากชาวเมืองสาวัตถีว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี แปลว่า เศรษฐีผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก (แปลตามศัพท์ว่า เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวให้กับคน ยากจน)
อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ไปค้าขาย และได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์จนบรรลุเป็นพระโสดาบัน ท่านจึงมีศรัทธาสร้างวัดเชตวันมหาวิหารถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเงินจำนวนมาก ท่านได้เป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อย่างดีมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่วัดพระเชตวันที่ท่านสร้างมากกว่าที่ประทับใด ๆ ถึง 19 พรรษา[1]
เรื่องราวของอนาถบิณฑิกเศรษฐี มีปรากฏมากมายในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องราวที่แสดงถึงความศรัทธา ความมีสติปัญญา และความเอาใจใส่ในการบำรุงพระพุทธศาสนา ทำให้ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็น อุบาสกผู้เลิศในการเป็นผู้ถวายทาน (เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก)[2]
-
อนาถบิณฑิกสถูป ซากบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีภายในเมืองสาวัตถี
ดูเพิ่ม
[แก้]- วัดเชตวันมหาวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ เอกบุคคลบาลี. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก. เว็บไซต์พระธรรมขันธ์ พระไตรปิฏกออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52