ข้ามไปเนื้อหา

อักษรเปโกน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรเปโกน
اَكسارا ڤَيڮَون
บาบัดดีโปเนโกโรเขียนในอักษรเปโกน (เอกสารตัวเขียนที่หอสมุดแห่งชาติอินโดนีเซีย)
ชนิด
ช่วงยุค
ประมาณ ค.ศ. 1300 ถึงปัจจุบัน
ทิศทางขวาไปซ้าย
ภาษาพูด
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบพี่น้อง
อักษรยาวี
อักษรบูรีโวลิโอ
อักษรซูราเบ
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

อักษรเปโกน (ซุนดากับชวา:اَكسارا ڤَيڮَون, Aksara Pégon หรือ اَبجَد ڤَيڮَون, Abjad Pégon, มาดูรา: أبجاْد ڤَيگو, Abjâd Pèghu)[3] เป็นอักษรอาหรับดัดแปลงที่ใช้เขียนภาษาชวา, มาดูรา และซุนดา นอกเหนือจากการเขียนด้วยอักษรชวาหรืออักษรละติน[4] และอักษรซุนดาเก่า[5] อักษรนี้เคยมีการใช้ในงานต่าง ๆ ตั้งแต่ศาสนา การทูต ไปจนถึงบทกวี[6][7][8] แต่ปัจจุบันนิยมใช้เขียนงานทางศาสนา (อิสลาม) และกวีนิพนธ์ โดยเฉพาะการเขียนอัลกุรอาน อักษรเปโกนมีสัญลักษณ์สำหรับเสียงที่ไม่มีในภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ อักษรเปโกนมีผู้ศึกษาน้อยกว่าอักษรยาวีที่มีการใช้งานในภาษามลายู, อาเจะฮ์ และมีนังกาเบา[9]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า เปโกน มาจากศัพท์ภาษาชวา pégo ที่หมายถึง "เบี่ยงเบน" เพราะเป็นการเขียนภาษาชวาด้วยอักษรอาหรับ ซึ่งไม่ได้เป็นอักษรพื้นเมืองของชาวชวา[3]

ประวัติ

[แก้]

อักษร

[แก้]

อักษรเปโกนใช้ตัวอักษรเดิมจากอักษรอาหรับ กับอักษรเพิ่มเติม 7 อักษรที่ใช้แทนเสียงภาษาชวาที่ไม่พบในภาษาอาหรับ: ca (چ‎⟩ /t͡ʃ/), dha (ڎ‎⟩ /ɖ/), tha (ڟ‎⟩ /ʈ/), nga (ڠ‎⟩ /ŋ/), pa (ڤ‎⟩ /p/), ga (ڮ‎⟩ /g/) และ nya (ۑ‎⟩ /ɲ/) กับอีกอักษรหนึ่งที่ใช้ในคำยืม คือ va (ۏ‎⟩ /v/) อักษรใหม่เหล่านี้สร้างขึ้นด้วยการเพิ่มจุดในอักษรเดิม อักษรเปโกนยังไม่มีแบบอักษรมาตรฐาน และมีรูปแบบการเขียนหลายแบบจากวิธีการแสดงตัวอักษรเพิ่มเติมเหล่านี้ โดยทั่วไปจะอยู่ในตำแหน่งของจุด (ด้านบนหรือด้านล่าง) และจำนวนจุด (หนึ่งหรือสามจุด)[10][11] ในสื่อการสอนล่าสุด มีการเพิ่มตัวอักษรเพิ่มเติมเพื่อใช้เขียนภาษาอินโดนีเซีย[1]

ʾalif
ا
IPA: /ə/
/a, ɔ/
ب
IPA: /b/
tāʾ
ت
IPA: /t/
ṡaʾ
ث
IPA: /s/
jīm
ج
IPA: /d͡ʒ/
ca
چ
IPA: /t͡ʃ/
ḥāʾ
ح
IPA: /h/
khāʾ
خ
IPA: /x/
dāl
د
IPA: /d/
żāl
ذ
IPA: /z/
dha
ڎ
IPA: /ɖ/
rāʾ
ر
IPA: /r/
zāi
ز
IPA: /z/
sīn
س
IPA: /s/
syīn
ش
IPA: /ʃ/
ṣād
ص
IPA: /s/
ḍād
ض
IPA: /d/
ṭāʾ
ط
IPA: /t/
tha
ڟ
IPA: /ʈ/
ẓāʾ
ظ
IPA: /z/
ʿain
ع
IPA: /ʔ/
ġain
غ
IPA: /ɣ/
nga
ڠ
IPA: /ŋ/
fāʾ
ف
IPA: /f/
pa
ڤ ف
IPA: p
qāf
ق
IPA: /q/
kaf
ك
IPA: /k/
/ʔ/
gaf
ڬ ڮ
IPA: /g/
lām
ل
IPA: /l/
mīm
م
IPA: /m/
nūn
ن
IPA: /n/
nya
ۑ ڽ
IPA: /ɲ/
wāu
و
IPA: /w/
/u, o, ɔ/
hāʾ
ه
IPA: /h/
yāʾ
ي
IPA: /j/
/i, e, ɛ/
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 ส่วนใหญ่ใช้ในคำยืมภาษาอาหรับหรือภาษาต่างชาติ

สระ

[แก้]

เครื่องหมายเสริมสัทอักษรสระ

[แก้]

อักษรอาหรับเป็นอักษรไร้สระ ทำให้ส่วนใหญ่เขียนเฉพาะรูปพยัญชนะ อักษรอาหรับมีสระสามตัวที่อาจออกเสียงสั้นหรือยาว โดยมีอักษรอาหรับสามตัว (ا ,و ,ي‎) ที่สามารถแทนเสียงสระยาว แต่โดยทั่วไปเครื่องหมายเสริมสัทอักษรสระสั้นใช้เฉพาะในตำราทางศาสนาและหนังสือสำหรับผู้เรียนระดับเริ่มต้นเท่านั้น สัทวิทยาสำหรับภาษาชวา, ซุนดา และมาดูราค่อนข้างแตกต่าง เนื่องจากมีสระ 6 ตัวและไม่มีสัญลักษณ์ระบุความยาวสระ ทำให้มีการดัดแปลงอักษรนี้ด้วยการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรสระเชื่อมกับอักษร و ,ي‎ และ ا‎ เพื่อแทนสระในภาษาชวาทั้งหมด[12]

ความแพร่หลายของเครื่องหมายเสริมสัทอักษรในอักษรเปโกนแตกต่างกันไป ตั้งแต่การทำเครื่องหมายตัวอักษรทุกตัวไปจนถึงการเขียนเพื่อแยกเสียงสระโดยเฉพาะ อักษรที่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรน้อยมีชื่อเรียกว่า กุนดุล หรือ เปลือย (ชวา: ڮونڎول‎; ꦒꦸꦤ꧀ꦝꦸꦭ꧀, อักษรโรมัน: gundhul) สำหรับผู้ที่อ่านได้คล่อง ตัวอักษรฐานมักมีเพียงพอที่จะจดจำคำได้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกำกับเสียง เช่น คำว่า Indonesia อาจเขียนแบบพร้อมเครื่องหมายทั้งหมด (اِنْڎَوْنَيْسِيْيَا, Indhonésia) หรือแบบเปล่า (إنڎَونَيسييا) เป็นเรื่องที่พบได้ปกติมากขึ้นในหนังสือตีพิมพ์ที่ใช้เฉพาะแบบ e-pepêt อย่างสม่ำเสมอ โดยที่ตัวกำกับเสียงอื่น ๆ จะใช้เมื่อจำเป็นต้องแยกความกำกวมเท่านั้น

อักษรที่มีเครื่องหมายทั้งหมดพบได้ทั่วไปในหนังสือทางการส่วนใหญ่ รวมทั้งตำราทางศาสนา และต้นฉบับการฑูตในอดีต

เครื่องหมายเสริมสัทอักษรสระ
◌َ
◌ِ
◌ُ
pepet
ۤ◌
◌ْ
  1. 1.0 1.1 1.2 บางครั้ง เครื่องหมายเสริมสัทอักษรสระ ◌َ‎⟩, ◌ِ‎⟩ และ ◌ُ‎⟩ ใช้แทนสระเดี่ยว a, i และ u ของตนเอง โดยเฉพาะในตำราทางศาสนา
  2. ฟัตหะฮ์แยก ⟨é⟩ จาก ⟨i⟩ หรือ ⟨o⟩ จาก ⟨u⟩
  3. สัญลักษณ์นี้ต่างจาก มัดดะฮ์ ◌ٓ‎ ที่ตำราในอดีตบางครั้งแยกจาก ۤ◌[10][11]
  4. ซุกูนระบุว่าพยัญชนะเป็นส่วนหนึ่งของพยางค์ก่อนหน้า และไม่ใช่พยางค์เริ่มต้นอันใหม่

พยางค์

[แก้]

สระที่ต้นคำระบุด้วยอักษร alif ا‎⟩ กับเครื่องหมายเสริมสัทอักษร และตามมาด้วยอักษร و‎⟩ หรือ ي‎⟩ ถ้าจำเป็นต้องใช้ ถ้ามีสระนั้น อักษรถัดไปจะเขียนพร้อมซุกูนเพื่อระบุว่าอักษรนี้เป็นส่วนหนึ่งของพยางค์แรก ไม่ใช่จุดเริ่มต้นคำใหม่[12] สระตามหลังพยัญชนะ (ดังตัวอย่างอักษร ك‎⟩ ในตัวอย่างข้างล่าง) สระที่ตามหลังระบุด้วยเครื่องหมายเสริมสัทอักษร แต่ไม่มีอักษร alif

พยางค์สระ
สระ
◌َ
a
IPA: /a/, /ɔ/
◌ِ
i
IPA: /i/
◌ُو
u
IPA: /u/
◌َي
e, ai
IPA: /e/, /ɛ/
◌َو
o, au
IPA: /o/, /ɔ/
ۤ◌
ê
IPA: /ə/
หน้า
คำ
แบบเปลือย
أ
ا + ء
إ
ء + ا
او
اَيـ
اَ
اۤ
พร้อมเครื่องหมาย
اَ
◌َ + ا
اِ
◌ِ + ا
اُوْ
◌ُ + او ◌ْ +
اَيْـ
اَيـ ◌ْ +
اَوْ‌
+ اَ ◌ْ + و +
اۤ
ك
+ สระ
แบบเปลือย
كا
كي
كو
كَي
كَو
كۤ
พร้อมเครื่องหมาย
كَا
كِيْ
كُوْ
كَيْ
كَوْ
كۤ
  1. 1.0 1.1 สระนี้ในแบบเปลือยอาจปรากฏในตำราที่กำกับสระ

พยัญชนะควบกล้ำ

[แก้]

ลำดับสระ

[แก้]

ด้านล่างคือลำดับสระตามแบบแผนทั่วไป ส่วนรูปแบบนอกจากนี้พบเห็นได้ทั่วไปในหนังสือและเอกสารตัวเขียนหลายเล่ม

ลำดับสระ (ทั้งแบบเปลือยและพร้อมเครื่องหมาย)
แบบเปลือย พร้อมเครื่องหมาย
اأ
aa
ائَي
ae
اأۤ
ائي
ai
أَوْ
ao
أو
au
◌َاأ
aa
◌َائَيْ
ae
◌َااۤ
◌َائِيْ
ai
◌َاَوْ
ao
◌َاُوْ
au
◌َيئا
ea
◌َييا
ea
يئَو
eo
يئو
eu
ۤۤ◌ئي
êi
◌َيْئَا
ea
◌َيْيَا
ea
◌َيْئَوْ
eo
◌ِيْئُوْ
eu
ۤ◌ئِيْو
êi
ييا
ia
يئي
ii
يئَو
io
◌َووا
oa
ووا
ua
ؤو
uu
◌ِيْيَا
ia
◌ِيْئِيْ
ii
◌ِيْئَوْ
io
◌َوْوَا
oa
◌ُوْوَا
ua
◌ُؤُوْ
uu

คำซ้ำ

[แก้]

คำซ้ำในอักษรเปโกนทำหน้าที่คล้ายกับอักษรยาวีตรงที่การใช้ตัวเลข "٢" หลังฐานศัพท์ ถ้าคำศัพท์เป็นคำต่อท้าย เลข "٢" จะปรากฏระหว่างฐานศัพท์กับคำต่อท้าย ทำให้ตัวซ้ำตัวอยู่ตรงกลางคำศัพท์ ส่วนคำซ้ำในรูปแบบคำศัพท์เป็นหน่วยคำเติมหน้าจะใช้ยัติภังค์[6]

ตัวอย่างศัพท์ภาษาชวา แสดงคำซ้ำ[12]
พร้อมเครื่องหมาย แบบเปล่า ทับศัพท์ ความหมาย
تَيْمْبُوْڠ۲ تَيمبوڠ۲ tembung-tembung คำศัพท์
اَڠْڮَوْتَا۲نَيْ اڠڮَوتا۲نَي anggota-anggota สมาชิกที่
كَاسُوْرُوْڠ-سُوْرُوْڠ كاسوروڠ-سوروڠ kasurung-surung การส่งเสริม

การเปรียบเทียบระหว่างอักษรเปโกนกับยาวี

[แก้]

กฎการสะกดคำระหว่างสองอักษรก็มีความแตกต่างกัน โดยรูปสะกดอักษรยาวีมีความเป็นมาตรฐานมากกว่าอักษรเปโกน ส่วนอักษรเปโกนมีแนวโน้มที่จะเขียนเสียงสระทั้งหมดของคำศัพท์ในภาษาพื้นเมืองอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะด้วยตัวอักษรอย่างเดียวหรือพร้อมตัวกำกับเสียงก็ตาม ในขณะที่อักขรวิธียาวีบางครั้งละเว้น alif ในตำแหน่งที่มีการออกเสียง /a/ ในทำนองเดียวกัน เสียงสระอื่น ๆ อาจเขียนไม่ชัดเจน

ส่วนอักษรเพิ่มเติมสำหรับเสียงที่ไม่พบในภาษาอาหรับ บางตัวอักษรมีรูปร่างเหมือนกัน ในขณะที่บางส่วนกลับตรงกันข้าม อักษรเปโกนมีอักษรเพิ่มเติมิอีกสองตัวสำหรับเสียงภาษาชวาที่ไม่พบในภาษามลายู และรูป kaf มีความแตกต่าง โดยอักษรเปโกนในแบบอาหรับ ส่วนอักษรยาวีใช้แบบเปอร์เซีย

อักษรที่แตกต่างกันระหว่างเปโกนกับยาวี
เปโกน
dha
ڎ
dh
IPA: /ɖ/
tha
ڎ
th
IPA: /ʈ/
kaf
ك
k
IPA: /k/
ga
ڮ
g
IPA: /g/
nya
ۑ‎
ny
IPA: /ɲ/
va
ۏ
v
IPA: /v/
ยาวี - -
ک‎
ݢ‎
ڽ
ـۏ‎

การทับศัพท์

[แก้]

ใน ค.ศ. 2012 หอสมุดรัฐสภาสหรัฐได้ตีพิมพ์มาตรฐานการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับอักษรยาวีกับเปโกน[13]

ตัวอย่าง

[แก้]

ข้อความด้านล่างคือข้อความเชิงศาสนาอิสลามในหลายภาษา เขียนด้วยอักษรละตินและอักษรเปโกน

ท่านศาสดามุฮัมมัดคือศาสนทูตของพระเจ้าต่อสรรพสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด สิ่งใดที่ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวไว้เป็นความจริงที่แท้จริง ดังนั้น สรรพสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมดจึงต้องยอมรับและปฏิบัติตามท่านศาสดามุฮัมมัด

อินโดนีเซีย (bahasa Indonesia)
อักษรละติน Baginda Nabi Muhammad adalah utusan Allah kepada semua makhluk, Apa saja yang diceritakan oleh Baginda Nabi Muhammad adalah kebenaran yang nyata. Maka semua makhluk wajib membenarkan dan mengikuti Baginda Nabi Muhammad.
อักษรเปโกน
(Gundhul)
باڮيندا نبي محمّد أدالاه اوتوسان الله كَيڤادا سَيمووا مخلوق، أڤا ساجا یاڠ ديچۤريتاكان أوليه باڮيندا نبي محمّد أدالاه كۤبۤنارَين یاڠ ۑاتا. ماكا سَيمووا مخلوق واجب مَيمبَيرناركان دان مَيڠيكوتي باڮيندا نبي محمّد.
อักษรเปโกน
(พร้อมเครื่องหมายระบุการออกเสียง)
بَاڮِيْنْدَا نَبِيْ مُحَمَّدْ اّدَالَاه اُوْتُوْسَانْ الله كَيْڤَادَا سَيْمُوْوَا مَخْلُوقْ، اَڤَا سَاجَا یَاڠْ دِيْچۤرِيْتَاكَانْ اَوْلِيْهْ بَاڮِيْنْدَا نَبِيْ مُحَمَّدْ اّدَالَاه كۤبۤناَرَيْن یَاڠْ ۑَاتَا. مَاكَا سَيْمُوْوَا مَخْلُوقْ وَاجِبْ مَيْمْبَيْرْنَارْكَان دَانْ مَيْڠِيْكُوْتِيْ بَاڮِيْنْدَا نَبِيْ مُحَمَّدْ.
อักษรยาวี بڬيندا نبي محمّد اداله اوتوسن الله كڤد سموا مخلوق، اڤ ساج يڠ دچريتاكن اوليه بڬيندا نبي محمّد اداله كبنرن يڠ ڽات. مك سموا مخلوق واجب ممبنركن دان مڠيكوتي بڬيندا نبي محمّد.
ชวา (basa Jawa)
อักษรละติน Kanjêng Nabi Muhammad iku utusanipun Gusti Allah datêng sêdåyå makhluk, déné åpå waé kang dipun cerita'akên déning Kanjêng Nabi Muhammad iku nyåtå nyåtå bênêr. Mångkå sêkabèhané makhluk wajib mbênêrakên lan ndèrèk maring Kanjêng Nabi Muhammad.
อักษรเปโกน
(Gundhul)
كانجۤڠ نبي محّمد إكو اوتونسانيڤون ڮوستي الله داتۤڠ سۤدايا مخلوق، دَينَي أڤا وائَي كاڠ ديڤون چَيريتاأكۤن دَينيڠ كَانجۤڠ نبي محّمد إكو ۑاتا۲ بۤنۤر. ماڠکا سۤکابَيهانَي مخلوق واجب أمبۤنۤراكۤن لان أندَيرَيك ماريڠ كَانجۤڠ نبي محّمد.
อักษรเปโกน
(พร้อมเครื่องหมายระบุการออกเสียง)
كَانْجۤڠْ نَبِيْ مُحَّمَد اِكُوْ اُوْتُوْنسَانِيْڤُوْن ڮُوْسْتِيْ الله دَاتۤڠْ سۤدَايَا مَخْلُوق، دَيْنَيْ اَڤَا وَائَيْ كَاڠْ دِيْڤُوْنْ چَيْرِيْتَااَكۤن دَيْنِيْڠْ كَانْجۤڠْ نَبِيْ مُحَّمَد اِكُوْ ۑَاتَا۲ بۤنۤرْ. مَاڠْکَا سۤکَابَيْهَانَيْ مَخْلُوقْ وَاجِبْ اَمْبۤنۤرَاكۤن لَانْ اَنْدَيْرَيْكْ مَارِيْڠ كَانْجۤڠْ نَبِيْ مُحَّمَد.
ซุนดา (basa Sunda)
อักษรละติน Kanjeng Nabi Muhammad mangrupikeun utusan Gusti Allah ka sadaya makhluk, naon waé anu dicarioskeun ku Kanjeng Nabi Muhammad nyaéta kanyataan anu leres. Janten sadaya makhluk wajib menerkeun sareng nuturkeun Kanjeng Nabi Muhammad.
อักษรเปโกน
(Gundhul)
كانجۤڠ نبي محّمد ماڠرو ڤيكۤن اوتوسان ڮوستي الله كا سادايا مخلوق، نااأَون وائَي أنو ديچاريئَوسكۤن کو كانجۤڠ نبي محّمد ڤائَيتا كانياتاأن أنو لَيرَيس. جانتَين سادايا مخلوق واجب مَينَيركۤن سارَيڠ نوتوركۤن كانجۤڠ نبي محّمد.
อักษรเปโกน
(พร้อมเครื่องหมายระบุการออกเสียง)
كَانْجۤڠْ نَبِيْ مُحَّمَدْ مَاڠْرُوْ ڤِيْكۤن اُوْتُوْسَانْ ڮُوْسْتِيْ الله كَا سَادَايَا مَخْلُوقْ، نَااَوْنْ وَائَيْ اَنُوْ دِيْچَارِيْئَوْسْكۤن کُوْ كَانْجۤڠْ نَبِيْ مُحَّمَدْ ڤَائَيْتَا كَانيَاتَااَنْ اّنُوْ لَيْرَيْس. جَانْتَيْنْ سَادَايَا مَخْلُوقْ وَاجِبْ مَيْنَيْركۤن سَارَيْڠْ نُوْتُوْرْكۤن كَانْجۤڠْ نَبِيْ مُحَّمَدْ.
มาดูรา (bhâsa Madhurâ)
อักษรละติน Kanjeng Nabi Muhammad panéka otosanépon Ghusté Allah dâ' ka sadhâjâ makhlok, pan-ponapan sé écarétaaghi sareng Kanjeng Nabi Muhammad panéka nyata bhendârâ. Mangka sadhâjâ makhlok wâjib mabhendâr tor nuro' maréng Kanjeng Nabi Muhammad.
อักษรเปโกน
(Gundhul)
كانجۤڠ نبي محّمد ڤانَيکا اَوتوسانَيڤَون ࢴَوستي الله دۤاء کا ساڊۤاجۤا مخلوق، ڤان-ڤَوناپان سَي عَيچاريتااࢴي سارۤڠ كانجۤڠ نبي محّمد ڤانَيکا ۑَیتا بَيندۤارۤا. ماڠࢴا ساڊۤاجۤا مخلوق واجب مابَيندۤار تَور نورَوء مارَيڠ كانجۤڠ نبي محّمد.
อักษรเปโกน
(พร้อมเครื่องหมายระบุการออกเสียง)
كَانْجۤڠْ نَبِيْ مُحَّمَدْ ڤَانَيْکَا اَوْتُوْسَانَيْڤَوْن ࢴَوْستَي الله دۤاءْ کَا سَاڊۤاجۤا مَخْلُوقْ، ڤَانْ-ڤَوْنَاپَان سَيْ عَيْچَارَيْتَااࢴِي سَارۤڠ كَانْجۤڠْ نَبِيْ مُحَّمَدْ ڤَانَيْکَا ۑَیتَا بَيْنْدۤارۤا. مَاڠْࢴَا سَاڊۤاجۤا مَخْلُوقْ وَاجِب مَابَيْندۤار تَوْر نُوْرَوْءْ مَارَيْڠ كَانْجۤڠْ نَبِيْ مُحَّمَدْ.

จากตัวอย่างข้างบน มีคำยืมภาษาอาหรับ 5 คำ ซึ่งต้องเขียนตามรูปเดิมในภาษาอาหรับ ได้แก่:

  • ศัพท์ Nabi ในอักษรละตินควรเขียนเป็น نبي ในอักษรเปโกน คำนี้อาจเขียนผิดเป็น نابي
  • ศัพท์ Muhammad ในอักษรละตินควรเขียนเป็น محمد ในอักษรเปโกน คำนี้อาจเขียนผิดเป็น موهمماد
  • ศัพท์ Allah ในอักษรละตินควรเขียนเป็น الله ในอักษรเปโกน คำนี้อาจเขียนผิดเป็น أللاه
  • ศัพท์ Makhluk ในอักษรละตินควรเขียนเป็น مخلوق ในอักษรเปโกน คำนี้อาจเขียนผิดเป็น ماخلوك
  • ศัพท์ Wajib ในอักษรละตินควรเขียนเป็น واجب ในอักษรเปโกน คำนี้อาจเขียนผิดเป็น واجيب

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Dahlan, H. Abdullah Zaini. Kitabati, Practical Methods for Learning to Read & Write Pegon (Kitabati, Metode Praktis Belajar Membaca & Menulis Pegon). Zaini Press. Accessed April 19, 2023. https://ia903106.us.archive.org/22/items/etaoin/Kitabati.pdf.
  2. The abstract of this journal article is written in Indonesian language (Bahasa Indonesia), in Latin and in Pegon: Estuningtiyas, R. (2021). Rijal Dakwah: KH. Abdullah Syafi’ie (1910-1985). The International Journal of Pegon : Islam Nusantara Civilization, 5(01), 81-96. https://doi.org/10.51925/inc.v5i01.45
  3. 3.0 3.1 Poerwadarminta 1939, pp. 481.
  4. Javanese script (Akṣara Carakan) on Omniglot. Retrieved 14 March 2019.
  5. Sundanese script (Akṣara Sunda) on Omniglot. Retrieved 14 March 2019.
  6. 6.0 6.1 Apriyanto, Agung; Nurjanah, Nunuy (21 November 2021). "Structure of the Sundanese Language in the Pegon Script". pp. 30–37. doi:10.2991/assehr.k.211119.006. สืบค้นเมื่อ 24 April 2024.
  7. Gallop, A. T. (2015). A Jawi sourcebook for the study of Malay palaeography and orthography. Indonesia and the Malay World, 43(125), 104-105. https://doi.org/10.1080/13639811.2015.1008253
  8. Katkova, Irina. “Reminiscent of 'the Age of Partnership'. VOC Diplomatic Letters from Batavia.” IIAS, 2016. https://www.iias.asia/the-newsletter/article/reminiscent-age-partnership-voc-diplomatic-letters-batavia.
  9. van der Meij, D. (2017). Indonesian Manuscripts from the Islands of Java, Madura, Bali and Lombok (p. 6). Leiden, Netherlands: Brill.
  10. 10.0 10.1 Jacquerye 2019.
  11. 11.0 11.1 Rikza 2022.
  12. 12.0 12.1 12.2 Jamalin, F., & Rahman, A. A. (2021). Arabic-Java Writing System: How Javanese Language Adopts Arabic Script. Izdihar : Journal of Arabic Language Teaching, Linguistics, and Literature, 4(1), 43–58. https://doi.org/10.22219/jiz.v4i1.11337 (PDF) (Archive)
  13. The Library of Congress. (2012). ALA-LC Romanization Tables: Jawi-Pegon. Retrieved 9 April 2019.

บรรณานุกรม

[แก้]