อัตวิสัย
ในมุมมองทางปรัชญา อัตวิสัย, จิตวิสัย หรือบางครั้งทับศัพท์ ความเป็นซับเจ็กต์ (อังกฤษ: Subjectivity) หมายถึงลักษณะที่ปราศจากความจริงแบบปรวิสัย (objective reality) อัตวิสัยมีการให้คำนิยามที่กำกวมและหลากหลายจากแห่งต่าง ๆ อันเป็นผลจากอัตวิสัยเองมักไม่ค่อยถูกมองเป็นประเด็นหลักในวาทกรรมเชิงปรัชญา[1] อย่างไรก็ตาม แนวคิดของอัตวิสัยมีความสัมพันธ์กับการรับรู้, ความเป็นผู้กระทำการ, ความเป็นบุคคล, ความเป็นจริง และ ความจริง คำนิยามสามรูปแบบของอัตวิสัยที่ปรากฏทั่วไปคือ:
- บางสิ่งที่กลายเป็น ซับเจ็กต์ (subject) หรือในมุมแคบหมายถึงปัจเจกที่มีประสบการณ์โดยรับรู้ (conscious experiences) เช่น มุมมอง, ความรู้สึก, ความเชื่อ และความปรารถนา[2]
- บางสิ่งในฐานะ ซับเจ็กต์ หมายความในมุมกว้างถึงสิ่ง (entity) ที่มีภาวะความเป็นผู้กระทำ (agency) ซึ่งหมายถึงว่าสิ่งนั้นกระทำต่อหรือใช้อำนาจเหนืออีกสิ่ง (ซึ่งเป็น อ็อบเจ็กต์)[3]
- ข้อมูล, แนวคิด, เหตุการณ์ หรือวัตถุทางกายภาพบางประการที่ถือว่าเป็นจริงเฉพาะจากมุมมองของซับเจ็กต์[4]
คำนิยามของอัตวิสัยที่มีอยู่มากมายนั้นมักถูกใช้ร่วมกันหรือแทนกันได้[1] คำว่า อัตวิสัย ปรากฏใช้บ่อยในฐานะคำอธิบายสำหรับสิ่งที่มีอิทธิพลต่อ, ให้ข้อมูลแก่ และสร้างความโน้มเอียงแก่การตัดสินของผู้คนต่อความจริงหรือความเป็นจริง; เป็นกลุ่มของการรับรู้, ประสบการณ์ และความเข้าใจส่วนบุคคลหรือโดยเฉพาะต่อวัฒนธรรมรวมถึงความเชื่อต่อปรากฏการณ์ภายนอก ซึ่งเฉพาะเจาะจงต่อซับเจ็กต์[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Bykova, Marina F. (February 2018). "On the Problem of Subjectivity: Editor's Introduction". Russian Studies in Philosophy. 56: 1-5 - via EBSCOhost.
- ↑ Solomon, Robert C. "Subjectivity," in Honderich, Ted. Oxford Companion to Philosophy (Oxford University Press, 2005), p.900.
- ↑ Allen, Amy (2002). "Power, Subjectivity, and Agency: Between Arendt and Foucault". International Journal of Philosophical Studies. 10 (2): 131–49. doi:10.1080/09672550210121432.
- ↑ 4.0 4.1 Gonzalez Rey, Fernando (June 2019). "Subjectivity in Debate: Some Psychology". Journal for the Theory of Social Behavior. 49: 212–234 – โดยทาง EBCOhost.