ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอธากา

พิกัด: 23°47′N 90°18′E / 23.79°N 90.30°E / 23.79; 90.30
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอธากา

ঢাকা জেলা

อำเภอดักกา
อาคารรัฐสภาแห่งชาติ, มัสยิดประจำชาติ Baitul Mukarram, ป้อม Lalbagh, เส้นขอบฟ้าของธากาเก่า, อนุสรณ์สถานผู้สละชีพเพื่อชาติ
ที่ตั้งอำเภอธากา ในประเทศบังกลาเทศ
ที่ตั้งอำเภอธากา ในประเทศบังกลาเทศ
พิกัด: 23°47′N 90°18′E / 23.79°N 90.30°E / 23.79; 90.30
ประเทศ บังกลาเทศ
ภาคธากา
การปกครอง
 • ข้าหลวงเอ็ม.ดี.ชาฮีดุล อิสลาม[1]
 • ประธานสภาอำเภอเอ็ม.ดี.มาห์บูบูรเราะห์มาน[2]
 • ประธานคณะกรรมการบริหารเอ็ม.ดี.มามูนูร์ ราชิด
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,463.6 ตร.กม. (565.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ศ. 2565)[3]
 • ทั้งหมด14,734,025 คน
 • อันดับอันดับที่ 1
 • ความหนาแน่น8,200 คน/ตร.กม. (21,300 คน/ตร.ไมล์)
ISO 3166-2BD-13
เอชดีไอ (พ.ศ. 2564)0.745[4]
สูง
เว็บไซต์http://www.dhaka.gov.bd/

ธากา (เบงกอล: ঢাকা) เป็นอำเภอหนึ่งในภาคธากาของประเทศบังกลาเทศ[5] และเป็นอำเภอที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในประเทศ เมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ ตั้งอยู่ในอำเภอนี้ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำบูริกัณกา ซึ่งไหลจากแม่น้ำทูรัก ไปทางตอนใต้ของอำเภอ ในขณะที่ธากา (เทศบาลนคร) ครอบครองพื้นที่เพียง 1 ใน 5 ของพื้นที่อำเภอธากา แต่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของอำเภอ และทั้งประเทศ

ประวัติศาสตร์

[แก้]
ป้อมลาลบาฆ ถูกสร้างขึ้นโดย ชาอีซตา ข่าน

เขตการปกครองธากาก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2315 แต่การตั้งถิ่นฐานที่มีลักษณะเป็นเมืองในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันคือเมืองธากานั้นมีอายุตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 พื้นที่ของ ซาวาร์ ในปัจจุบัน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซันบัคห์ ในช่วงศตวรรษที่ 7 และ 8 ต่อมาพื้นที่ของธากาก็ถูกปกครองโดยอาณาจักรของชาวพุทธ และ อาณาจักรปาละ ก่อนจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ ราชวงศ์เสนา ใน ศตวรรษที่ 9 หลายคนเชื่อว่าชื่อของเมืองนี้ได้มาจากชื่อของวิหารพระแม่ทุรคา ชื่อว่าวัดฒาเกศวรี ที่ถูกสร้างขึ้นโดย บัลลาล์ เสนา ในศตวรรษที่ 12 ซึ่งธากาและบริเวณโดยรอบถูกเรียกว่า "เบงกอล" ในช่วงเวลานั้น อีกทั้งเมืองนี้ยังมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจมากมาย เช่น ลักษมีบาซาร์, ชานคารีบาซาร์, ตันติบาซาร์, ปาตูอาตูลี, คูมาร์ตูลี, บาเนียนาการ์ และโกลนาการ์ หลังจากราชวงศ์เสนาเสื่อมอำนาจลง ธากาก็ถูกปกครองต่อมาอย่างต่อเนื่องโดยผู้ปกครองชาวเตอร์ก และชาวปัชตุน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเดลีสุลต่าน ก่อนการมาถึงของจักรวรรดิโมกุล ในปี พ.ศ. 2151

การพัฒนาของเมือง และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเกิดขึ้นจากการที่เมืองได้รับการสถานะให้เป็นเมืองหลวงของเบงกอล ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโมกุล ในปี พ.ศ. 2151 ในช่วงการปกครองภายใต้จักรวรรดิโมกุล พื้นที่ภายในอำเภอธากาปัจจุบัน เคยมีชื่อเสียงในด้านการผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยเฉพาะมัสลิน โมกุล ซูบาดาร์ อิสลาม ข่าน เป็นผู้ปกครองคนแรกของเมือง ข่านตั้งชื่อเมืองนี้ว่า "จาฮังกีร์นาการ์" (เมืองจาฮังกีร์) เพื่อเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิโมกุล จาฮังกีร์ แม้ว่าชื่อนี้จะถูกยกเลิกไปหลังจากการสวรรคตของจาฮังกีร์ไม่นาน การขยายตัวของเมืองเกิดขึ้นภายใต้ผู้ปกครองโมกุล ชาอีซตา ข่าน เมืองนี้มีขนาดพื้นที่ 19–13 กิโลเมตร (11.8–8.1 ไมล์) และมีประชากรเกือบ 1 ล้านคน เมืองนี้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษในปี พ.ศ. 2300 หลังจากยุทธการที่พลาสซีย์ และในที่สุดก็ตกเป็นของพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2308 ที่ยุทธการที่บูซาร์ จำนวนประชากรของเมืองลดลงอย่างมากในช่วงเวลานี้ แต่ในที่สุดการพัฒนาที่สำคัญและการปรับปรุงให้ทันสมัยก็ตามมา มีการนำระบบน้ำประปาของพลเมืองที่ทันสมัยมาใช้ในปี พ.ศ. 2417 และเปิดใช้งานไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2421 ฐานทัพธากาตั้งอยู่ใกล้กับเมือง ทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับทหารอังกฤษและอินเดีย

ระหว่างการแบ่งเขตการปกครองเบงกอลที่ยุติลงในปี พ.ศ. 2448 ธากาได้รับสถานะเป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันออก และรัฐอัสสัมที่ถูกตั้งขึ้นใหม่ แต่เบงกอลก็กลับมารวมกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2454

หลังจากการแบ่งเขตการปกครองเบงกอลในปี พ.ศ. 2490 รวมถึงการแบ่งเขตการปกครองของบริติชอินเดียในปี พ.ศ. 2490 ธากาก็กลายเป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันออกโดยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐมุสลิมใหม่ของปากีสถาน ในขณะที่พื้นที่ทางตะวันตกของเบงกอลซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดูได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียใหม่และเป็นอิสระ ถูกจัดให้เป็นรัฐเบงกอลตะวันตกโดยมีกัลกัตตาเป็นเมืองหลวง กัลกัตตาได้ประสบกับความรุนแรงในชุมชนที่ทำให้ผู้คนหลายพันคนเสียชีวิต ประชากรชาวฮินดูส่วนใหญ่ของเมืองนี้จึงเดินทางหลบหนีไปอินเดีย ในขณะที่เมืองธากาก็รับผู้อพยพชาวมุสลิมหลายแสนคนจากกัลกัตตา ประชากรของเมืองจึงเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งสร้างปัญหาการขาดแคลนอย่างรุนแรงและปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน[6] ในฐานะศูนย์กลางด้านการเมืองระดับภูมิภาค ธากาจุดศูนย์รวมในการประท้วงทางการเมือง โดยเหตุการณ์ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จากการการประกาศให้ภาษาอูรดูเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวของปากีสถานนำไปสู่การเดินขบวนประท้วงที่มีฝูงชนจำนวนมากขึ้น รู้จักกันในชื่อการเคลื่อนไหวทางภาษาของปี พ.ศ. 2495 โดยในการประท้วงเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการใช้อาวุธปืน จนทำให้นักศึกษาที่กำลังชุมนุมอย่างสงบเสียชีวิต[7] ตลอดช่วงทศวรรษ 1950 และ 60 ธากายังคงเป็นแหล่งกิจกรรมทางการเมือง และความต้องการในการปกครองตนเองของชาวบังคลาเทศก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น

พายุไซโคลนโบลา พ.ศ. 2513 ทำลายล้างพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 500,000 คน จนทำให้ธากาถูกน้ำท่วมมากกว่าครึ่ง และผู้คนนับล้านศูนย์หาย[ต้องการอ้างอิง] ด้วยความโกรธของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นต่อการเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์ และการบรรเทาทุกข์จากพายุไซโคลนที่ล้มเหลวของรัฐบาลกลาง ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน นักการเมืองชาวเบงกอลจึงจัดการชุมนุมของกลุ่มชาตินิยมเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2514 ที่สนามแข่งม้า โดยมีผู้เข้าร่วมการชุมนุมประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งนำไปสู่การประกาศเอกราชของบังกลาเทศในวันที่ 26 มีนาคมของ เซียร์ เราะห์มาน[7][8]ต่อมา กองทัพปากีสถานได้เปิดปฏิบัติการ Searchlight ซึ่งนำไปสู่การจับกุม ทรมาน และสังหารผู้คนหลายแสนคน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดูและปัญญาชนชาวเบงกอล[9]

ในช่วงสงครามประกาศเอกราชบังกลาเทศ กองทัพปากีสถานได้จับกุมและสังหารมุคตีโจทธา 14 คนจากธามไร หลุมฝังศพจำนวนมากที่สร้างขึ้นในช่วงสงครามยังคงมีอยู่ในฝั่งตะวันตกของ กาลัมปุระ[10] อีกทั้งกองทัพปากีสถาน ยังเผาบ้านหลายหลังในหมู่บ้าน โคนาโคลา, บาสตาร์, พราหมณ์กีรธา, โกล์คาลี และ คาเกล โคลาโมรา ของ เกรานิคัญช์

การพ่ายแพ้ของกองทัพปากีสถานในเมืองธากาต่อกองกำลังพันธมิตรที่นำโดย จักจิต ซิงห์ ออโรรา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ถือเป็นการยอมจำนนของกองทัพปากีสถาน หลังจากได้รับเอกราชทำให้จำนวนประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมหาศาล ดึงดูดแรงงานข้ามชาติจากพื้นที่ชนบททั่วบังกลาเทศ[6] ความเจริญด้านอสังหาริมทรัพย์ตามมาด้วยการขยายตัวของเมืองและการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานใหม่เช่น กุลชาน, บานาณี และ โมติจฮีล[6]

การบริหาร

[แก้]
  • ข้าหลวงอำเภอ(ดีซี): เอ็ม.ดี.ชาฮีดุล อิสลาม[11]
  • ประธานสภาอำเภอ: เอ็ม.ดี.มาห์บูบูรเราะห์มาน[12]

เขตการปกครอง

[แก้]

อำเภอธากาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้

ตารางแสดงรายชื่อตำบลในอำเภอธากา
turmb
รายชื่อตำบลในอำเภอธากา
ลำดับ ตำบล พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (คน)
1 ธามไร 307.5 312,777
2 ดูฮาร์ 121.41 226,439
3 เกรานิคัญช์ 150 830,174
4 นาวาบีคัญช์ 244.81 335,757
5 ซาวาร์ 280.13 1,442,885

นอกจากนี้อำเภอธากายังมีเขตการปกครองที่มีสถานะเป็นเทศบาลนครอยู่ 1 แห่ง คือธากาซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ

ตารางแสดงรายชื่อเทศบาลนครในอำเภอธากา
turmb
รายชื่อเทศบาลนครในอำเภอธากา
ลำดับ เทศบาลนคร พื้นที่ (ตร.กม.)[13][14] ประชากร (คน)(พ.ศ. 2565)[15][3]
1 ธากา 305.47 10,278,882

อ้างอิง

[แก้]
  1. "List of Deputy Commissioners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-08. สืบค้นเมื่อ 2023-02-26.
  2. zpdhaka.org
  3. 3.0 3.1 "Population & Housing Census-2011" (PDF). Bangladesh Bureau of Statistics. p. 41. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "dhakapop1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  4. "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-02-08.
  5. Molla, Md Tuhin (2012). "Dhaka District". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
  6. 6.0 6.1 6.2 AM Chowdhury (2012). "Dhaka". ใน Sirajul Islam and Ahmed A. Jamal (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
  7. 7.0 7.1 Richards, John (2002). "Calcutta and Dhaka: A tale of two cities". Inroads. สืบค้นเมื่อ 27 September 2006.
  8. Harun-or-Rashid (2012). "Rahman, Bangabandhu Sheikh Mujibur". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
  9. Blood, Archer, "Transcript of Selective Genocide Telex" (PDF). (131 KiB), Department of State, United States
  10. Md Ilias Uddin (2012). "Dhamrai Upazila". ใน Sirajul Islam and Ahmed A. Jamal (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
  11. "List of Deputy Commissioners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-08. สืบค้นเมื่อ 2023-02-26.
  12. "AL men appointed administrators". thedailystar.net. 16 December 2011.
  13. Partha Pratim Bhattacharjee; Mahbubur Rahman Khan (7 May 2016). "Govt to double size of Dhaka city area". The Daily Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2017. สืบค้นเมื่อ 1 March 2017.
  14. "Dhaka City expands by more than double after inclusion of 16 union councils". bdnews24.com. 9 May 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2017. สืบค้นเมื่อ 1 March 2017.
  15. "Dhaka (Bangladesh): City Districts and Subdistricts - Population Statistics, Charts and Map". www.citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.