อิหร่านปาห์ลาวี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
รัฐจักรวรรดิแห่งอิหร่าน کشور شاهنشاهی ایران | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1925–ค.ศ. 1979 | |||||||||
เพลงชาติ: (ค.ศ. 1925–1933) Salāmati-ye Dowlat-e Elliye-ye Irān (เพลงคารวะรัฐอันประเสริฐยิ่งแห่งเปอร์เซีย) (ค.ศ. 1933–1979) Sorude Šâhanšâhiye Irân (สดุดีจักรพรรดิอิหร่าน) | |||||||||
แผนที่อิหร่านในสมัยราชวงศ์ปาห์ลาวี | |||||||||
สถานะ | ราชอาณาจักร | ||||||||
เมืองหลวง | เตหะราน | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาเปอร์เซีย | ||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ทางนิตินัย) ภายใต้ลัทธิอำนาจนิยม รัฐพรรคการเมืองเดียว (1975–78) | ||||||||
พระเจ้าชาห์ | |||||||||
• ค.ศ. 1925–1941 | พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี | ||||||||
• ค.ศ. 1941–1979 | พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• ค.ศ. 1925 - 1926 | โมฮัมหมัด-อาลี ฟารุฆี (คนแรก) | ||||||||
• ค.ศ. 1979 | ชาปูร์ บัคเตียร์ (คนสุดท้าย) | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• ก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวี | 15 ธันวาคม ค.ศ. 1925 | ||||||||
• สนธิสัญญาไตรมิตรอิหร่าน-อังกฤษ-โซเวียต | 17 กันยายน ค.ศ. 1941 | ||||||||
• รัฐประหารอิหร่าน | 19 สิงหาคม ค.ศ. 1953 | ||||||||
• การปฏิวัติขาว | 26 มกราคม ค.ศ. 1963 | ||||||||
• การปฏิวัติอิหร่าน (การปฏิวัติอิสลาม) | 11 มกราคม ค.ศ. 1979 | ||||||||
• การปฏิวัติอิสลาม | 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 | ||||||||
สกุลเงิน | เรียล | ||||||||
|
อิหร่านปาห์ลาวี มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ รัฐจักรวรรดิแห่งเปอร์เซีย จนถึง ค.ศ. 1935 และ รัฐจักรวรรดิอิหร่าน ตั้งแต่ ค.ศ. 1935 จนถึง ค.ศ. 1979,[2] เป็นรัฐอิหร่านภายใต้การปกครองของราชวงศ์ปาห์ลาวี ราชวงศ์นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1925 และดำรงอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1979 เมื่อราชวงศ์ปาห์ลาวีถูกโค่นล้มอันเป็นผลมาจากการปฏิวัติอิสลาม ซึ่งยกเลิกระบอบกษัตริย์ของอิหร่านและสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในปัจจุบัน
ราชวงศ์ปาห์ลาวีได้ขึ้นสู่อำนาจในปี ค.ศ. 1925 โดยเรซา ชาห์ อดีตนายพลจัตวาแห่งกองพลคอซแซคเปอร์เซีย ซึ่งสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าชาห์ อะห์หมัด ชาห์ กอญัร จักรพรรดิอิหร่านพระองค์สุดท้ายภายใต้ราชวงศ์กอญัร ซึ่งต่อมาอิหร่านได้ถูกสหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียตรุกรานประเทศ ซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง และพระองค์ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติโดยสหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียตภายหลังทั้งสองกองทัพได้รุกรานอิหร่าน เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1941 และใน ค.ศ. 1935 ชาห์ เรซาได้ทรงขอให้ผู้แทนจากต่างประเทศใช้นามแฝงอิหร่านแทนคำว่าเปอร์เซียเมื่อกล่าวถึงประเทศในการติดต่ออย่างเป็นทางการ
หลังจากการสละราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาห์ เรซา โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระราชโอรสของพระองค์ได้สืบทอดพระราชบัลลังก์ซึ่งกลายเป็นชาห์พระองค์สุดท้ายของอิหร่าน ภายใน ค.ศ. 1953 การปกครองของพระองค์ได้มีความเป็นเผด็จการมากขึ้นและให้สอดคล้องกับกลุ่มตะวันตกในช่วงสงครามเย็นหลังเหตุการณ์รัฐประหารในอิหร่านเมื่อปี ค.ศ. 1953 ซึ่งได้รับการออกแบบแนวคิดโดยสหราชอาณาจักรและสหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับทิศทางนโยบายต่างประเทศของอิหร่าน ทำให้อิหร่านจึงกลายเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียต และสิ่งนี้ทำให้พระองค์มีทุนทางการเมืองในการออกกฎหมายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของชาวอิหร่านผ่านการปฏิวัติขาว ผลที่ตามมาคืออิหร่านประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ด้าน รวมถึงการรู้หนังสือ สุขภาพ และมาตรฐานกค่าครองชีพ อย่างไรก็ตาม ภายใน ค.ศ. 1978 พระองค์ต้องทรงเผชิญกับความไม่พอใจของประชาชนที่เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นขบวนการปฏิวัติที่นำโดย รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี และทำให้พระองค์ต้องทรงลี้ภัยพร้อมกับพระราชวงศ์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1979 ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมายที่นำไปสู่การสิ้นสุดระบอบกษัตริย์อย่างรวดเร็ว และการสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1979 หลังจากสวรรคตของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ใน ค.ศ. 1980 เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวีพระราชโอรสของพระองค์ ได้เป็นผู้นำราชวงศ์ปาห์ลาวีในเวลาต่อมา[3]
ประวัติศาสตร์
[แก้]การก่อตั้งราชวงศ์
[แก้]ใน ค.ศ. 1921 พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นนายทหารในกองทัพเปอร์เซีย ได้ใช้กองทหารของเขาในการสนับสนุนการรัฐประหารราชวงศ์กอญัร ภายในช่วงระยะเวลาสี่ปี เขาได้กลายเป็นผู้ที่มีอำนาจที่สุดในประเทศด้วยการปราบปรามการก่อจลาจลและจัดระเบียบเสียใหม่ ใน ค.ศ. 1925 ในที่ประชุมสามัญได้มีมติให้ถอดถอนพระเจ้าชาห์ อะหมัด กอญัร และตั้งเรซา ข่าน (พระนามเดิม) ขึ้นเป็นพระเจ้าชาห์องค์ใหม่ โดยใช้พระนามสำหรับราชวงศ์ว่า ปาห์ลาวี
พระเข้าชาห์ทรงมีความตั้งใจที่จะพัฒนาอิหร่านให้เป็นประเทศที่ทันสมัยแบบประเทศต่าง ๆ ในยุโรป โดยทรงวางแผนที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ สร้างระบบทางรถไฟ ริเริ่มระบบการศึกษา ปฏิรูประบบศาล และปรับปรุงระบบการแพทย์ ทรงเชื่อว่า ถ้าหากรวมอำนาจในการปกครองประเทศเข้าสู่ศูนย์กลาง และดำเนินการโดยบุคคลที่มีการศึกษา จะทำให้แผนการที่วางไว้สำเร็จได้
พระเจ้าชาห์ได้ส่งชาวปอร์เซียนหลายร้อยคนรวมถึงพระราชโอรสไปรับการศึกษาและการฝึกฝนในยุโรป ในช่วง ค.ศ. 1925 - 1941โครงการในพระราชดำริได้ทำให้อิหร่านพัฒนาขึ้นเป็นอันมาก ระบบการศึกษาดำเนินการอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นในสังคม คือชนชั้นกลางและชนชั้นกรรมาชีพ
ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 การปกครองแบบเผด็จการของพระเจ้าชาห์ได้ทำให้คนบางกลุ่มไม่พอใจ (โดยเฉพาะพวกอิมาม) ใน ค.ศ. 1935 ได้ทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกร้องให้ชาวต่างชาติเรียกประเทศของพระองค์ว่า "อิหร่าน" (ในขณะนั้น ชาวต่างชาตินิยมใช้คำว่า "เปอร์เซีย" มากกว่า) แต่ก็มีนักวิชาการออกมาต่อต้าน มกุฎราชกุมารโมฮัมหมัด เรซา (พระอิสริยยศในขณะนั้น) จึงได้ออกมาประกาศว่า ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกันและสามารถใช้แทนกันได้
พระเจ้าชาห์ เรซ่าทรงพยายามที่จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับทั้งอังกฤษและโซเวียต แม้ว่าโครงการพัฒนาประเทศหลายโครงการจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติก็ตาม ทรงหลีกเลี่ยงที่จะทำสัญญากับบริษัทจากทั้งสองประเทศ แม้ว่าบริษัทน้ำมันแองโกล-อิหร่านออยล์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ควบคุมแหล่งน้ำมันของประเทศทั้งหมด จะเป็นบริษัทของอังกฤษก็ตาม แต่ก็ทรงเลือกที่จะขอความช่วยเหลือทางเทคนิคจากเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปแทน การตัดสินใจของพระองค์เช่นนี้สร้างปัญหาในเวลาต่อมา เมื่อเยอรมนีและอังกฤษประกาศสงครามกันในสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าจะทรงประกาศว่าอิหร่านเป็นประเทศที่เป็นกลาง แต่อังกฤษก็อ้างว่าวิศวกรและช่างเทคนิคชาวเยอรมันเป็นสายลับ และพยายามจะบ่อนทำลายเครื่องไม้เครื่องมือของอังกฤษในบ่อน้ำมันทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน อังกฤษได้เรียกร้องให้อิหร่านเนรเทศพลเมืองชาวเยอรมันทั้งหมดออกนอกประเทศ แต่พระเจ้าชาห์ เรซาทรงปฏิเสธ โดยทรงอ้างว่าการเนรเทศชาวเยอรมันเหล่านั้นออกนอกประเทศจะทำให้โครงการน้ำมันของอิหร่านต้องหยุดชะงัก
สงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]หลังจากที่เยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แล้ว อังกฤษและสหภาพโซเวียตก็เป็นพันธมิตรกัน และทั้งสองประเทศก็เริ่มให้ความสนใจกับอิหร่าน โดยทั้งสองประเทศต่างก็เห็นว่าจะสามารถใช้ทางรถไฟของอิหร่านในการขนส่งจากอ่าวเปอร์เซียมายังสหภาพโซเวียตได้ แต่เนื่องจากพระเจ้าชาห์ เรซาปฏิเสธที่จะเนรเทศชาวเยอรมัน อังกฤษและสหภาพโซเวียตจึงรุกรานอิหร่าน และปลดพระเจ้าชาห์ออกจากตำแหน่งและเข้าควบคุมการรถไฟของอิหร่านในเดินสิงหาคม ค.ศ. 1941 ต่อมาใน ค.ศ. 1942 สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรกับทั้งสองประเทศได้ส่งกำลังทหารเข้าช่วยดูแลระบบรถไฟของอิหร่าน และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน ทั้งสามประเทศก็เข้าควบคุมแหล่งน้ำมันของอิหร่านเพื่อผลประโยชน์ของประเทศของตน อำนาจของพระเจ้าชาห์ เรซาจึงสิ้นสุดลง แต่ทั้งสามประเทศก็อนุญาตให้พระโอรสของพระเจ้าชาห์ เรซาขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ได้
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 ทั้งสามประเทศได้ลงนามในข้อตกลงกับอิหร่านว่าจะยอมรับเอกราชของอิหร่าน และจะถอนกองกำลัทั้งหมดภายในหกเดือนหังจากสงครามสิ้นสุดลง สหรัฐอเมริกาได้ยืนยันข้อตกลงเดิมอีกครั้งใน ค.ศ. 1943 ในการประชมุที่จัดขึ้นในเตหะราน แต่ในปีค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตก็ยังปฏิเสธที่จะประกาศกำหนดเวลาที่จะถอนกำลังออกจากจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันตกและอาเซอร์ไบจานตะวันออก ที่ซึ่งสหภาพโซเวียตสนับสนุนการเคลื่อนไหวที่จะปกครองตัวเอง ในขณะเดียวกัน พรรคตูเดห์ที่เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่เริ่มมีอิทธิพลและมีที่นั่งในสภา เริ่มแข็งแกร่งมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคเหนือของอิหร่าน รัฐบาลอิหร่านจึงพยายามส่งกองทัพเข้าไปจัดระเบียบในภาคเหนือของประเทศ แต่พื้นที่ในภาคเหนือของอิหร่านส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ในความควบคุมของพรรคการเมืองพรรคนี้
ในที่สุด สหภาพโซเวียตก็ถอนกำลังออกจากอิหร่านในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1946 แต่สถานการณ์ก็ยังคงตึงเครียดต่อมาอีกหลายเดือน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เป็นตัวการเร่งให้เกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
ระบบการเมืองของอิหร่านได้เริ่มเปิดกว้างมากขึ้น และพรรคการเมืองต่าง ๆ ก็พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ใน ค.ศ. 1944 ได้มีการเลือกตั้งที่เป็นการแข่งขันกันอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในรอบยี่สิบปี บริษัทน้ำมันอังกฤษ - อิหร่าน ซึ่งรัฐบาลอังกฤษเป็นเจ้าของก็เริ่มผลิตและขายน้ำมันอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 ชาวอิหร่านบางคนได้เริ่มสนับสนุนให้โอนกิจการน้ำมันมาเป็นของชาติ และหลังจาก ค.ศ. 1946 เป็นตนมา แนวคิดดังกล่าวก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Imperial Standards of Iran".
- ↑ "IRAN: Keshvaré Shahanshahiyé Irân", The Statesman's Year-Book 1978–79, Springer, 2016, pp. 674–682, ISBN 9780230271074
- ↑ Parker Richards (29 January 2016). "Pahlavi, Elie Wiesel, Rev. King to Be Honored for Promoting Peace". Observer. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017.