ข้ามไปเนื้อหา

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงของคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ.1999 โดยได้รับการอนุมัติจากอัครบิดรอะเลคเซย์ที่ 2 แห่งมอสโก (อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวงขณะนั้น) โดยบาทหลวงโอเลก เชเรปานิน ได้รับการแต่งตั้งให้มาปกครองคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย[1]

ประวัติการเผยแผ่

[แก้]

การเริ่มก่อตั้งศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อที่จะตอบสนองแก่ข้อเรียกร้องของเหล่าชาวออร์ทอดอกซ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย สภาบาทหลวงแห่งเขตอัครบิดรกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ได้มีการประชุมหารือในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2542 มีมติขอการดำเนินการจัดตั้งศาสนจักรขึ้นในกรุงเทพฯ โดยโบสถ์คริสตศาสนจักรออร์ทอดอกซ์แห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "อาสนวิหารแห่งนักบุญนิโคลัสผู้กระทำการอัศจรรย์" และได้มีการแต่งตั้งบาทหลวงจากยาโรสลาฟล์ คุณพ่อโอเลก เชเรปานิน (Oleg Cherepanin) เพื่อเป็นบาทหลวงประจำศาสนจักรแห่งใหม่นี้ ในปี พ.ศ. 2544 พระคุณเจ้าคิรีล อัครมุขนายกแห่งเมืองสโมเลนส์คและคาลินินกราด ประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นประธานบาทหลวงด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัสเซียได้เสด็จเยือนกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการผลลัพธ์ในการเยือนครั้งนั้น โบสถ์แห่งนักบุญนิโคลัสฯ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแทนของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ (ศาสนจักรแห่งกรุงมอสโกประจำประเทศไทย) และคุณพ่อโอเลก เชเรปานิน เป็นผู้แทนแห่งโบสถ์รัสเซียออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย เป็นผู้แนะแนวทางจิตวิญญาณ แก่หมู่ประชาชนชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย ถึงในประเทศลาวและประเทศกัมพูชา เป็นเวลายาวนานกว่า 15 ปี ของการยืนหยัดการทำงานและการสวดอธิษฐานเพื่อที่จะเปลี่ยนให้ประชาชนชาวไทยหันมายอมรับในนิกายออร์ทอดอกซ์ โดยมีบาทหลวงดาเนียล ดนัย วรรณะ เป็นบาทหลวงออร์ทอดอกซ์ชาวไทยคนแรก โดยได้รับศีลบวชเป็นบาทหลวงเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551[2]

ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ภายหลังกว่า 7 เดือน สำนักงานของกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบโบสถ์รัสเซียออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย และนั่นโบสถ์ออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยจึงได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นองค์เกี่ยวกับการช่วยเหลือทางสังคมและศาสนาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[3]

ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในการประชุมสมัชชาศักดิ์สิทธิ์ (Holy Synod) ของศาสนจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ได้มีมติพิเศษเกี่ยวกับการดูแลและอภิบาลเขตของศาสนจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าคณะนักบวชในเขตแพริชที่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยคุณพ่อโอเลก เชเรปานิน ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะให้เป็น "ผู้แทนพิเศษ" ของศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียในราชอาณาจักรไทย

โบสถ์ในประเทศไทย

[แก้]

ปัจจุบันโบสถ์คริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยมีทั้งหมด 10 แห่งดังนี้[4]

  1. อาสนวิหารนักบุญนิโคลัส กรุงเทพมหานคร
  2. โบสถ์พระตรีเอกภาพ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
  3. โบสถ์นักบุญทั้งปวง เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
  4. โบสถ์พระมารดาพระเจ้าทรงคุ้มครอง เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
  5. อารามแม่พระบรรทม จังหวัดราชบุรี
  6. โบสถ์พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏ์ธานี
  7. โบสถ์นักบุญวลาดิมีร์ จังหวัดเชียงใหม่
  8. โบสถ์กษัตริย์มรณะสักขี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  9. โบสถ์นักบุญเซอร์เกย์ แห่งราโดเนช อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด
  10. โบสถ์นักบุญเซราฟิม แห่งซารอฟสกี้ อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี[5]

เซมินารีในประเทศไทย

[แก้]
ภาพถ่ายอากาศวิทยาลัยศาสนศาสตร์คริสเตียนออร์ทอดอกซ์ (ซ้าย) โบสถ์พระตรีเอกภาพ (ขวา)

"วิทยาลัยศาสนศาสตร์คริสเตียนออร์ทอดอกซ์" (Orthodox Christian Theological College)[6]" เป็นเซมินารีแห่งแรกของนิกายออร์ทอดอกซ์ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวของวิทยาลัยตั้งอยู่ภายในเขตโบสถ์พระตรีเอกภาพ อ.ถลาง จังหวัดภูเก็ต

อ้างอิง

[แก้]
  1. หนังสือโบสถ์นิกายรัสเซียออร์โธด็อกซ์คริสเตียน พิมพ์เมื่อ ค.ศ.2001 แปลโดยบาทหลวงดนัย วรรณะ หน้าที่ 36-37
  2. http://www.orthodox.or.th/index.php?content=representation&lang=th[ลิงก์เสีย]
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-13. สืบค้นเมื่อ 2016-10-18.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 2016-10-19.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-19. สืบค้นเมื่อ 2017-08-05.
  6. "วิทยาลัยศาสนศาสตร์คริสเตียนออร์โธด๊อกซ์ในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-23. สืบค้นเมื่อ 2017-03-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]