ข้ามไปเนื้อหา

อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

{{ชีวประวัติ |ชื่อตัว= อเล็กซานเดอร์ ฟรีดมาน |ชื่อภาพ= Aleksandr Fridman.png |วันเกิด= 16 มิถุนายน ค.ศ. 1888(1888-06-16) |วันตาย= 16 กันยายน ค.ศ. 1925(1925-09-16) (37 ปี) |คำบรรยายภาพ= |ที่เกิด = เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก จักรวรรดิรัสเซีย |ที่ตาย = เลนินกราด สหภาพโซเวียต สาเหตุเกิดจาก โรคไทฟอยด์ที่วินิจฉัยผิดพลาด |งาน-อาชีพ= นักคณิตศาสตร์ นักจักรวาลวิทยา |สัญชาติ= [[ชาวไทย] |ชื่อประเทศ= รัสเซีย |เชื้อชาติ= ชาวรัสเซีย |ผลงาน= สมการฟรีดแมน, มาตรวัด FLRW |สังกัด= |วุฒิสูงสุด= |เกียรติประวัติ= |ศาสนา= }}

อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานโดรวิช ฟรีดมาน (อังกฤษ: Alexander Alexandrovich Friedman; รัสเซีย: Александр Александрович Фридман) (16 มิถุนายน ค.ศ. 1888, เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, จักรวรรดิรัสเซีย – 16 กันยายน ค.ศ. 1925, เลนินกราด, สหภาพโซเวียตรัสเซีย) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักจักรวาลวิทยาชาวรัสเซียและสหภาพโซเวียต ผู้ค้นพบคำตอบของการขยายตัวของเอกภพจากสมการสนามของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปในปี ค.ศ. 1922 สอดคล้องกับการสังเกตการณ์ของ เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1929 บทความวิชาการของฟรีดมานใน ค.ศ. 1924 เรื่อง "Über die Möglichkeit einer Welt mit konstanter negativer Krümmung des Raumes" (ความเป็นไปได้ของโลกในอวกาศโค้ง) ได้ตีพิมพ์ในวารสารฟิสิกส์ของเยอรมัน Zeitschrift für Physik (Vol. 21, pp. 326-332) แสดงแบบจำลองฟรีดมานสามแบบซึ่งอธิบายถึงความโค้งของอวกาศที่มีค่าเป็นบวก ศูนย์ และลบ ตามลำดับ ซึ่งเป็นเวลา 1 ทศวรรษก่อนที่โรเบิร์ตสันและวอล์กเกอร์จะตีพิมพ์งานวิเคราะห์ของพวกเขา

ผลงานสำคัญที่เป็นเสาหลักส่วนหนึ่งของทฤษฎี[[Big bang ]] คือ มาตรวัดฟรีดมาน-เลไมเตร-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ หรือ มาตรวัด FLRW เป็นผลลัพธ์จากสมการสนามของไอน์สไตน์ที่อธิบายถึงความเป็นหนึ่งเดียวและสอดคล้องกันทั้งหมดของเอกภพ ตั้งชื่อตามนามสกุลของนักวิทยาศาสตร์ 4 คนที่ได้ศึกษาหาทางอธิบายความจริงข้อนี้ในช่วงระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1920 - 1930 โดยมีการทำงานเป็นเอกเทศแยกกับฟรีดมาน

ผลงานสำคัญ

[แก้]
  • Friedman, A. (1922). "Über die Krümmung des Raumes". Zeitschrift für Physik. 10 (1): 377–386. doi:10.1007/BF01332580. (English translation in: Gen. Rel. Grav. 31 (1999), 1991-2000.)
  • Friedman, A. (1924). "Über die Möglichkeit einer Welt mit konstanter negativer Krümmung des Raumes". Zeitschrift für Physik. 21 (1): 326–332. doi:10.1007/BF01328280. (English translation in: Gen. Rel. Grav. 31 (1999), 2001-2008.)

ดูเพิ่ม

[แก้]