เกาะอีสเตอร์
เกาะอีสเตอร์ | |
---|---|
พิกัด: 27°7′S 109°22′W / 27.117°S 109.367°W | |
ประเทศ | ชิลี |
แคว้น | บัลปาราอิโซ |
จังหวัด | อิสลาเดปัสกัว |
เทศบาล | อิสลาเดปัสกัว |
ศูนย์กลาง | ฮางาโรอา |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาล |
• องค์กร | สภาเทศบาล |
• ผู้ว่าราชการจังหวัด | Laura Alarcón Rapu (อิสระ) |
• นายกเทศมนตรี | Pedro Edmunds Paoa (PRO) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 163.6 ตร.กม. (63.2 ตร.ไมล์) |
ความสูงจุดสูงสุด | 507 เมตร (1,663 ฟุต) |
ความสูงจุดต่ำสุด | 0 เมตร (0 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโน ค.ศ. 2017) | |
• ทั้งหมด | 7,750[1] คน |
เขตเวลา | UTC−6 (เวลาในประเทศชิลี) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC−5 (เวลาในประเทศชิลี) |
Country Code | +56 |
สกุลเงิน | เปโซ (CLP) |
ภาษา | สเปน, ราปานูอี |
ขับรถฝั่ง | ขวา |
เว็บไซต์ | dppisladepascua |
NGA UFI=-905269 |
อุทยานแห่งชาติราปานูอี * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | ชิลี |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (i), (iii), (v) |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2538 (คณะกรรมการสมัยที่ 19) |
พื้นที่ | 6,666 เฮกเตอร์ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
เกาะอีสเตอร์ (อังกฤษ: Easter Island); เกาะราปานูอี (ราปานูอี: Rapa Nui) หรือ เกาะปัสกัว (สเปน: Isla de Pascua) ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ในการปกครองของประเทศชิลี ตัวเกาะห่างจากฝั่งประเทศชิลีไปทางทิศตะวันตกกว่า 3,600 กิโลเมตร เกาะที่ใกล้เกาะอีสเตอร์มากที่สุดอยู่ห่างฝั่งจากถึง 2,000 กิโลเมตร จึงได้ชื่อว่าเป็นสถานที่อันโดดเดี่ยวแห่งหนึ่งของโลก ลักษณะของเกาะมีขนาดเล็ก มีพื้นที่เพียง 160 ตารางกิโลเมตร มีความยาว 25 กิโลเมตร
ประวัติศาสตร์
[แก้]ปี ค.ศ. 1680 เป็นช่วงที่ชาวเผ่าสองเผ่าที่อยู่บนเกาะ ซึ่งมีชนเผ่าหูสั้น (คาดว่าเป็นพวกที่มาจากเกาะแถบโปลีนีเซีย) กับเผ่าหูยาว (คาดว่ามาจากอเมริกาใต้) ซึ่งอยู่อย่างสงบมาช้านานได้ทะเลาะกันและทำสงครามกัน ทำให้ป่าเริ่มหมด สภาพดินเริ่มเสื่อมลง เผ่าหูสั้นซึ่งมีประชากรน้อยกว่ากลับชนะเผ่าหูยาว และช่วงที่ทำการรบอยู่นั้น พวกชาวเผ่าหูสั้นก็ได้ทำลายรูปปั้นหินและโคนรูปเกาะสลักเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นได้มีสงครามและความอดอยากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ในปี ค.ศ. 1722 นักเดินเรือชาวดัตช์นำโดย ยาโกบ โรคเคเฟน (Jacob Roggeveen) เป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาถึงได้เดินทางมาพบเกาะนี้ในวันอาทิตย์อีสเตอร์[3] และได้ค้นพบว่าบนเกาะมีชนเผ่าอาศัยอยู่สองเผ่า และได้ตั้งชื่อเกาะให้ตรงกับวันที่ได้พบคือวันอีสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1770 นักเดินเรือชาวสเปนที่เดินทางมาจากเปรูได้ค้นพบเกาะนี้อีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นบนเกาะมีซึ่งมีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ มีประชากรราว 3,000 คน แต่สี่ปีให้หลังจากนั้น กับต้นเจมส์ คุกที่เดินทางสำรวจแถบแปซิฟิกครั้งที่สอง ก็ได้พบเกาะอีสเตอร์ ซึ่งขณะนั้นประชากรบนเกาะเหลืออยู่เพียง 600-700 คน และมีผู้หญิงอยู่เพียง 30 คนเท่านั้น (มีการเล่าต่อกันมาว่าอาจเกิดจากการที่ผู้หญิงและเด็กถูกจับกิน จึงทำให้เด็กกับผู้หญิงลดน้อยลง) ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
ในปี ค.ศ. 1862 รัฐบาลเปรูได้กวาดต้อนชาวพื้นเมืองชายประมาณ 1,000 คนไปเป็นทาสบนแผ่นดินใหญ่ แต่ไม่กี่เดือนให้หลัง หลังจากทาส 15 คนที่ได้รับการปล่อยตัวเพื่อกลับมาที่เกาะ ก็ได้นำเชื้อไข้ทรพิษกลับเข้ามาด้วย ทำให้ชาวเกาะซึ่งไม่มีภูมิคุ้มกันได้ติดโรคร้ายไปด้วย ทำให้ประชากรลดลงไปมาก จากการที่ชาวพื้นเมืองไม่ได้บันทึกอะไรไว้เลย สิ่งที่ถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลังคือเล่าจากปากต่อปาก ต้นตอของสิ่งต่าง ๆ จึงได้ตายหายไปพร้อมกับชาวพื้นเมืองที่ลดจำนวนลงไปด้วย แม้จะมีข้อความสัญลักษณ์ แต่ก็ไม่สามารถถอดความได้ และยังหาคำอธิบายไม่ได้ว่าชาวเกาะอีสเตอร์ได้อพยพมาจากที่ใด
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศชิลีก็ได้ผนวกเกาะอีสเตอร์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในปี ค.ศ. 1888 หลังจากนั้นประชากรบนเกาะก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง
รูปสลักหินขนาดยักษ์
[แก้]ถึงแม้ว่าจะไม่รู้ที่มาของชาวพื้นเมืองบนเกาะ แต่ชาวพื้นเมืองก็ได้สร้างรูปสลักยักษ์ขึ้น ซึ่งสร้างจากหินและกากแร่ภูเขาไฟหรือหินบะซอลต์ ซึ่งรูปสลักในยุกแรกจะเป็นรูปสลักคนนั่งคุกเข่าในช่วงประมาณ ค.ศ. 380 ในยุคถัดมาเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 จะสลักเป็นรูปที่เรียกว่า โมไอ ซึ่งเป็นที่โดดเด่นทั่วไปบนเกาะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Censo 2017". National Statistics Institute (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2018. สืบค้นเมื่อ 11 May 2018.
- ↑ 2.0 2.1 "Censo de Población y Vivienda 2002". National Statistics Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2010. สืบค้นเมื่อ 1 May 2010.
- ↑ Salmond, Anne (2010). Aphrodite's Island. Berkeley: University of California Press. pp. 238. ISBN 9780520261143.
บรรณานุกรม
[แก้]- Diamond, Jared (2005). Collapse. How Societies Choose to Fail or Succeed. New York: Viking. ISBN 978-0143036555.
- Fischer, Steven Roger (1995). "Preliminary Evidence for Cosmogonic Texts in Rapanui's Rongorongo Inscriptions". Journal of the Polynesian Society (104): 303–21.
- Fischer, Steven Roger (1997). Glyph-breaker: A Decipherer's Story. New York: Copernicus/Springer-Verlag.
- Fischer, Steven Roger (1997). RongoRongo, the Easter Island Script: History, Traditions, Texts. Oxford and New York: Oxford University Press. ISBN 978-0198237105.
- Heyerdahl, Thor (1961). Thor Heyerdahl; Edwin N. Ferdon Jr. (บ.ก.). The Concept of Rongorongo Among the Historic Population of Easter Island. Stockholm: Forum.
- Heyerdahl, Thor (1958). Aku-Aku; The 1958 Expedition to Easter Island. Chicago, Rand McNally.
- McLaughlin, Shawn (2007). The Complete Guide to Easter Island. Los Osos: Easter Island Foundation.
- Metraux, Alfred (1940). "Ethnology of Easter Island". Bernice P. Bishop Museum Bulletin (160).
- Pinart, Alphonse (1877). "Voyage à l'Ile de Pâques (Océan Pacifique)". Le Tour du Monde; Nouveau Journal des Voyags. 36: 225.
- Routledge, Katherine (1919). The Mystery of Easter Island. The story of an expedition. London. ISBN 978-0404142315.
- Steadman, David (2006). Extinction and Biogeography in Tropical Pacific Birds. University of Chicago Press. ISBN 978-0226771427.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Altman, Ann M. (2004). Early Visitors to Easter Island 1864–1877 (translations of the accounts of Eugène Eyraud, Hippolyte Roussel, Pierre Loti and Alphonse Pinart; with an Introduction by Georgia Lee). Los Osos: Easter Island Foundation.
- Englert, Sebastian F. (1970). Island at the Center of the World. New York: Charles Scribner's Sons.
- Erickson, Jon D.; Gowdy, John M. (2000). "Resource Use, Institutions, and Sustainability: A Tale of Two Pacific Island Cultures". Land Economics. 76 (3): 345–54. doi:10.2307/3147033. JSTOR 3147033.
- Kjellgren, Eric (2001). Splendid isolation: art of Easter Island. New York: The Metropolitan Museum of Art. ISBN 978-1588390110.
- Lee, Georgia (1992). The Rock Art of Easter Island. Symbols of Power, Prayers to the Gods. Los Angeles: The Institute of Archaeology Publications. ISBN 978-0917956744.
- Pendleton, Steve; Maddock, David (2014). Collecting Easter Island – Stamps and Postal History. London: Pacific Islands Study Circle. ISBN 978-1899833221.
- Shepardson, Britton (2013). Moai: a New Look at Old Faces. Santiago: Rapa Nui Press. ISBN 978-9569337000.
- Thomson, William J. (1891). "Te Pito te Henua, or Easter Island. Report of the United States National Museum for the Year Ending June 30, 1889". Annual Reports of the Smithsonian Institution for 1889: 447–552.in Internet Archive
- van Tilburg, Jo Anne (1994). Easter Island: Archaeology, Ecology and Culture. Washington, D.C.: Smithsonian Institution Press. ISBN 978-0714125046.
- Vergano, Dan (15 November 2009). "Were rats behind Easter Island mystery?". USA Today.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เกาะอีสเตอร์ ที่เว็บไซต์ Curlie