ข้ามไปเนื้อหา

เดอะนิวสคูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเนียนสแควร์ จตุรัสที่มักถือว่าเป็นใจกลางของมหาวิทยาลัย

เดอะนิวสคูล (อังกฤษ: The New School) เป็นมหาวิทยาลัยในนครนิวยอร์ก อาคารเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในย่านชุมชน Greenwich Village ตั้งแต่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1919 โดย US Fabian Socialist และเกือบทั้งหมดของประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัย มันเป็นที่รู้จักในชื่อ New School for Social Research ระหว่าง ค.ศ. 1997-2005 มันเป็นที่รู้จักในชื่อ New School University มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบัน เมื่อ ค.ศ. 2005

นิวสคูลมีชื่อเสียงในการเรียนการสอนแบบอาวองการ์ด เป็นบ้านของ The World Policy Institute หน่วยงานวิเคราะห์นโยบายที่มีชื่อเสียง และเป็นเจ้าภาพรางวัลหนังสือ National Book Awards อันทรงเกียรติ Parsons The New School for Design เป็นวิทยาลัยศิลปะที่มีอัตราแข่งขันสูงของมหาวิทยาลัย นักศึกษาประมาณ 9,300 คนเข้าศึกษาในหลักสูตรอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา ซึ่งแบ่งเป็นแปดวิทยาลัย แต่ละวิทยาลัยเปิดสอนหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งรวมถึง สังคมศาสตร์, ศิลปศาสตร์, มนุษยศาสตร์, สถาปัตยกรรมศาสตร์, วิจิตรศิลป์, การออกแบบ, ดนตรี, การละคร, การเงิน, จิตวิทยา, และนโยบายสาธารณะ

บัณฑิตวิทยาลัยของเดอะนิวสคูลเริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1933 ในชื่อ University in Exile (มหาวิทยาลัยระหว่างเนรเทศ) โดยเป็นโครงการช่วยเหลือเร่งด่วนแก่นักวิชาการที่ถูกข่มขู่ในยุโรป ใน ค.ศ. 1934 มันได้รับการรับรองโดยสภามหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กและเปลี่ยนชื่อเป็น Graduate Faculty of Political and Social Science และใช้ชื่อนี้จนกระทั่งเปลี่ยนชื่อมาเป็น New School for Social Research ใน ค.ศ. 2005

ประวัติ

[แก้]

การก่อตั้ง

[แก้]

New School for Social Research ก่อตั้งโดยกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยและปัญญาชนใน ค.ศ. 1919 ในฐานะวิทยาลัยเสรีอนาธิปัตย์ (free school) ที่นิยมคุณค่าสมัยใหม่นิยมและก้าวหน้านิยม ที่ซึ่งนักศึกษาผู้ใหญ่สามารถ "ค้นหาความเข้าใจที่ไม่มีอคติต่อระเบียบที่มีอยู่ ความเป็นมาของมัน การเติบโต และการทำงานของมันในปัจจุบัน"[1] ในบรรดาผู้ก่อตั้งนั้นรวมถึง Charles Beard นักประวัติศาสตร์, Thorstein Veblen และ James Harvey Robinson นักเศรษฐศาสตร์, และ John Dewey นักปรัชญา, จำนวนหนึ่งเคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

วิทยาลัยถูกริเริ่มและก่อตั้งขึ้นระหว่างช่วงชาตินิยมพุ่งสูง ความระแวงสงสัยชาวต่างขาติ และการกดทับและปิดกั้นอย่างหนักด้วย Sedition Act of 1918 ระหว่างและหลังการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของสหรัฐอเมริกา

มหาวิทยาลัยระหว่างเนรเทศ

[แก้]

มหาวิทยาลัยระหว่างเนรเทศ ถูกก่อตั้งใน ค.ศ. 1933 ในฐานะภาคบัณฑิตศึกษาของ New School for Social Research เพื่อเป็นที่หลบภัยของนักวิชาการนีโอมาร์กซิสม์จาก Frankfurt School ซึ่งถูกปลดจากตำแหน่งอาจารย์ผู้สอนโดยฟาสซิสต์อิตาลี หรือต้องหลบหนีจากนาซีเยอรมนี[2]

ประเพณีทางปรัชญา

[แก้]

เดอะนิวสคูลยังรักษาประเพณีของคณาจารย์บัณฑิตศึกษาในการสังเคราะห์แนวความคิดของปัญญาชนฝ่ายซ้ายอเมริกันเข้ากับปรัชญาเชิงวิพากษ์จากยุโรป ด้วยที่มาของมหาวิทยาลัยและรากฐานอันมั่นคงภายในมหาวิทยาลัยระหว่างเนรเทศ เดอะนิวสคูล โดยเฉพาะภาควิชาปรัชญา เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยไม่กี่แห่งในสหรัฐอเมริกา ที่ให้โอกาสนักศึกษาได้ศึกษาในประเพณีการศึกษาปรัชญาแบบยุโรปภาคพื้นสมัยใหม่ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ปรัชญาภาคพื้นทวีป" (continental philosophy) ดังนั้นมันจึงเน้นการศึกษาความคิดของ Parmenides, อริสโตเติล, Leibniz, สปิโนซา, ฮูม, คานท์, Hegel, Kierkegaard, มาร์กซ์, นีทเชอ, Husserl, Heidegger, Arendt, ฟรอยด์, Benjamin, Wittgenstein, ฟูโกต์, Derrida, Deleuze, และคณะ[3] ความคิดทฤษฎีวิพากษ์ของ Frankfurt School: Max Horkheimer, Walter Benjamin, Theodor Adorno, Herbert Marcuse, Jürgen Habermas, และคณะ ยังคงมีอิทธิพลอย่างสูงในทุกภาควิชาของมหาวิทยาลัย

วิทยาลัย

[แก้]

วิทยาลัยทั้งแปดแห่งของเดอะนิวสคูล[4]:

  • The New School for General Studies
  • The New School for Social Research
  • Parsons The New School for Design
  • Milano The New School for Management and Urban Policy
  • Eugene Lang College The New School for Liberal Arts
  • Mannes College The New School for Music
  • The New School for Drama
  • The New School for Jazz and Contemporary Music

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Research School to Open". The New York Times (30 September 1919).
  2. New School History เก็บถาวร 2010-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 30 March 2009.
  3. Philosophy เก็บถาวร 2005-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at the New School
  4. "Quick Facts about The New School". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ 2010-05-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]