ข้ามไปเนื้อหา

แผ่นดินไหวในจังหวัดโอซากะ ค.ศ. 2018

พิกัด: 34°50′38″N 135°37′19″E / 34.844°N 135.622°E / 34.844; 135.622
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในจังหวัดโอซากะ ค.ศ. 2018
แผ่นดินไหวในจังหวัดโอซากะ ค.ศ. 2018ตั้งอยู่ในจังหวัดโอซากะ
แผ่นดินไหวในจังหวัดโอซากะ ค.ศ. 2018
เวลาสากลเชิงพิกัด2018-06-17 22:58:35
รหัสเหตุการณ์ ISC612142414
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น18 มิถุนายน ค.ศ. 2018 (2018-06-18) (พ.ศ. 2561)
เวลาท้องถิ่น7:58 น. JST
ขนาดMj 6.1 / Mw 5.5[1][2]
ความลึก13 กม. (8.1 ไมล์)
ศูนย์กลาง34°50′38″N 135°37′19″E / 34.844°N 135.622°E / 34.844; 135.622
ประเภทการเลื่อนซับซ้อนตามแนวระดับและรอยเลื่อนย้อน
ความเสียหายทั้งหมดประมาณ 180 พันล้านเยน
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้VIII (อย่างรุนแรง)
ชินโดะ 6−
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน0.9 g
สึนามิไม่มี
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 434 ราย

แผ่นดินไหวในจังหวัดโอซากะ ค.ศ. 2018 (ญี่ปุ่น: 2018年大阪府北部地震 โรมาจิ: 2018-Nen Ōsakafu hokubu jishin) เป็นแผ่นดินไหวขนาดกลาง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) เวลา 07:58 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น แผ่นดินไหวมีขนาด 6.1[3] มีจุดศูนย์กลางทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครโอซากะในเขตทากัตสึกิ ลึก 13 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในจังหวัดและเขตเมืองใกล้เคียงของโอซากะและเกียวโต ทำให้บริการไฟฟ้าและแก๊สหยุดชะงักชั่วคราว

แผ่นดินไหวดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ทำให้บริการรถไฟหยุดชะงักเป็นเวลาหลายชั่วโมง ท่อน้ำและบ้านเรือนเสียหายจากการแรงสั่นสะเทือน[4] มีผู้เสียชีวิต 4 รายและรายงานผู้บาดเจ็บสาหัส 15 ราย ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 419 ราย[5][6][7] ในจำนวนผู้เสียชีวิตยังมีเด็กหญิงวัย 9 ขวบ ที่เสียชีวิตเนื่องจากกำแพงพังถล่มลงมาทับ ทางตอนเหนือของจังหวัดโอซากะ[8]

ผลกระทบต่อเมือง

[แก้]
ความเข้มของแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวทำให้อาคารหลายแห่งและท่อน้ำใต้ดินเสียหายส่งผลกระทบให้ผู้อยู่อาศัยไม่มีน้ำใช้[9] และมีผู้ที่ต้องอยู่ศูนย์พักพิงหลังแผ่นดินไหวถึง 450 คน[10] กระเบื้องหลังคา บ้าน วัด และศาลเก่าแก่ในโอซากะร่วงหล่นลงมาที่พื้นหลายแห่ง อาคาร 170,000 หลังในโอซากะเกิดเหตุไฟดับหลังแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวยังทำให้บ้านเรือนกว่า 112,000 หลังในอิบารากิและทากัตสึกิ ขาดแก๊สหุงต้มเป็นเวลาหลายวัน แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นใจกลางเมืองทำให้ความเสียหายมีจำนวนมาก

ผลกระทบต่อผู้คน

[แก้]

มีผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันแล้ว 4 รายซึ่งเป็นผลมาจากแผ่นดินไหว[5][11][12] รวมถึงเด็กในทากัตสึกิ ที่ถูกกำแพงถล่มด้านนอกโรงเรียนประถม โดยกำแพงไม่เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะ ได้สั่งให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยของโครงสร้างบล็อกคอนกรีตที่คล้ายกันในโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ[13] นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 417 คนที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล[6]

การตอบสนอง

[แก้]

หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะได้ประกาศการช่วยเหลือและฟื้นฟู[14] กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นหลายชุดได้เดินทางไปมอบน้ำดื่มให้กับประชาชนตามคำร้องขอของหน่วยงานท้องถิ่น[15] ความกลัวว่าจะเกิดดินถล่มจากฝนตกและอาฟเตอร์ช็อก ทำให้ประชาชนหลายร้อยคนต้องย้ายเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิงสาธารณะ[16]

หลังเหตุการณ์มีข่าวลือทางออนไลน์เกี่ยวกับผู้ที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นก่ออาชญากรรมที่เป็นอันตรายเช่น การปล้นสะดมและการโจรกรรม ซึ่งปรากฏบนทวิตเตอร์และเว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ[17] รัฐบาลท้องถิ่นและสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเตือนว่า มีการแชร์ข้อมูลเท็จในช่วงเกิดภัยพิบัติ และหนังสือพิมพ์อาซาฮี ได้ตีพิมพ์บทบรรณาธิการที่วิจารณ์การแพร่กระจายความคิดเห็นที่แสดงความเกลียดชังโดยเปรียบเทียบกับข่าวลือที่คล้ายคลึงกันซึ่งเกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466 ซึ่งส่งผลให้เกิดการจลาจลทางเชื้อชาติ[18][19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "2018年6月18日 大阪府北部の地震". 防災科学技術研究所. สืบค้นเมื่อ 2018-06-19.
  2. "M 5.5 - 2km NNW of Hirakata, Japan". アメリカ地質調査所. 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 2018-06-19.
  3. "M 5.5 - 1km SSW of Takatsuki, Japan". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 18 June 2018.
  4. Johnston, Eric (18 June 2018). "At least one feared dead and several injured as strong M6.1 earthquake rocks northern Osakaa". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 18 June 2018.
  5. 5.0 5.1 "Toll rises to five after quake in Japan's Osaka" (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 19 June 2018.
  6. 6.0 6.1 "With nearly 7,000 quake-damaged homes, focus shifts to rebuilding disaster-hit areas". Mainichi Daily News (ภาษาอังกฤษ). 25 June 2018. สืบค้นเมื่อ 25 June 2018.
  7. Kimura, Reo; Hirata, Naoshi (1 August 2018). "The Earthquake in Ōsaka-Fu Hokubu on 18 June 2018 and its Ensuing Disaster". Journal of Disaster Research. 13 (4): 813–816. doi:10.20965/jdr.2018.p0813.
  8. "ด่วน! ธรณีพิโรธ เขย่า 'โอซากา' เบื้องต้นสื่อญี่ปุ่นรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วหลายราย". มติชน. 2018-06-18.
  9. "Osaka quake exposes Japan's aging infrastructure". Nikkei Asian Review. 19 June 2018. สืบค้นเมื่อ 19 June 2018.
  10. "Osaka takes stock a week after violent rush-hour quake". The Japan Times. 25 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-27. สืบค้นเมื่อ 29 June 2018.
  11. "Yahoo analysis finds traffic jams nearly doubled after Osaka quake". The Japan Times Online (ภาษาอังกฤษ). 5 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-05. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
  12. "死者5人から4人に 81歳女性は病死". Mainichi Daily News (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 29 June 2018.
  13. "Japan earthquake: Death toll climbs after 6.1 temblor strikes Osaka". CBS News. Associated Press. 18 June 2018. สืบค้นเมื่อ 18 June 2018.
  14. "Abe pledges all-out effort to deal with quake". NHK. 18 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2018. สืบค้นเมื่อ 18 June 2018.
  15. "大阪府における給水支援に係る災害派遣について(20時00分現在)" [Osaka prefecture earthquake: Disaster response team dispatch and water supply support (As of 20:00)] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Defense. 18 June 2018. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
  16. "People pile into shelters in quake-hit Osaka Prefecture as rains stir landslide fears". The Japan Times. 20 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-23. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
  17. Osaski, Tomohiro (19 June 2018). "Different disaster, same story: Osaka quake prompts online hate speech targeting foreigners". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 19 June 2018.
  18. Ryall, Julian (22 June 2018). "Social media rumour mongers accuse Chinese of looting in Osaka quake aftermath". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 20 June 2019.
  19. "Editorial: Japan must root out all false racist rumors during disasters". Asahi Shimbun. 21 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-21. สืบค้นเมื่อ 20 June 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]