ข้ามไปเนื้อหา

ไข้เวสต์ไนล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไข้เวสต์ไนล์
ไวรัสเวสต์ไนล์
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ
อาการไร้อาการ, ไข้, ปวดศีรษะ, อาเจียนหรือท้องร่วง และผื่นปวดกล้ามเนื้อ[1]
ภาวะแทรกซ้อนสมองอักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ[1]
การตั้งต้น2–14 วันหลังติดเชื้อ[1]
ระยะดำเนินโรคหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน[1]
สาเหตุไวรัสเวสต์ไนล์ แพร่กระจายโดยยุง[1]
วิธีวินิจฉัยอิงจากอาการและตรวจเลือด[1]
การป้องกันลดจำนวนยุง, ป้องกันมิให้ยุงกัด[1]
การรักษาการรักษาตามอาการ (การรักษาอาการปวด)[1]
พยากรณ์โรค10% เสี่ยงต่อการเสียชีวิตในรายที่มีอาการรุนแรง[1]

ไข้เวสต์ไนล์ (อังกฤษ: West Nile fever) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ที่แพร่กระจายโดยยุง[1] ผู้ติดเชื้อประมาณ 80% มีอาการเล็กน้อยหรือไร้อาการ[2] ผู้ติดเชื้อประมาณ 20% มีไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน และมีผื่น[1] ผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1% มีภาวะสมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ร่วมกับอาการคอแข็ง สับสน และชัก[1] ผู้ป่วยอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนในการฟื้นตัว[1] ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ระบบประสาทได้รับผลกระทบอยู่ที่ประมาณ 10%[1]

ไวรัสเวสต์ไนล์มักแพร่กระจายโดยยุงที่ได้รับเชื้อจากนกที่เป็นตัวเก็บเชื้อธรรมชาติ[1] การติดเชื้อผ่านการถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ การติดต่อจากแม่สู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ การคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบได้น้อย[1] จึงไม่ได้ติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง[3] ผู้ป่วยที่อายุเกิน 60 ปีและมีปัญหาสุขภาพอื่นมีความเสี่ยงอาการรุนแรง[1] การวินิจฉัยมักใช้การสอบถามอาการและตรวจเลือด[1]

ยังไม่มีวัคซีนสำหรับรักษาไข้เวสต์ไนล์ในมนุษย์[1] วิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงติดเชื้อคือลดโอกาสการถูกยุงกัด[1] การลดจำนวนยุงทำได้ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่เป็นน้ำนิ่ง เช่น ในยางรถยนต์เก่า ถังน้ำ หรือสระว่ายน้ำ[1] รวมถึงการใช้สารขับไล่แมลง มุ้งลวด และมุ้ง[1][3] ไม่มีวิธีจำเพาะในการรักษา มีการใช้ยาระงับปวดในการลดอาการ[1]

ไวรัสเวสต์ไนล์ถูกค้นพบในประเทศยูกันดาในปี ค.ศ. 1937 และถูกตรวจพบครั้งแรกในอเมริกาเหนือในปี ค.ศ. 1999[1][3] ไวรัสเวสต์ไนล์ยังพบในทวีปยุโรป แอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย[1] มีรายงานผู้ป่วยหลายพันรายต่อปีในสหรัฐ โดยพบมากในเดือนสิงหาคมและกันยายน[4] ไข้เวสต์ไนล์สามารถเกิดเป็นโรคระบาดได้[3] อาการโรครุนแรงอาจพบได้ในม้าซึ่งมีวัคซีนรักษา[3] ระบบเฝ้าระวังฝูงนกมีประโยชน์ในการสืบหาโอกาสการระบาดในมนุษย์ในขั้นต้น[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 "General Questions About West Nile Virus". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 19 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
  2. "Symptoms, Diagnosis, & Treatment". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 15 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2017. สืบค้นเมื่อ 15 January 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "West Nile virus". World Health Organization. July 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2017. สืบค้นเมื่อ 28 October 2017.
  4. "Final Cumulative Maps and Data | West Nile Virus | CDC". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 24 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2017. สืบค้นเมื่อ 28 October 2017.