ไฟนอลแฟนตาซี (วิดีโอเกม)
ไฟนอลแฟนตาซี | |
---|---|
ผู้พัฒนา | สแควร์ |
ผู้จัดจำหน่าย | สแควร์ |
ออกแบบ | ฮิโรโนบุ ซากากุจิ ฮิโรมิจิ ทานากะ อาคิโทชิ คาวาซุ โคอิจิ อิชิอิ |
โปรแกรมเมอร์ | |
แต่งเพลง | |
ชุด | ไฟนอลแฟนตาซี |
เครื่องเล่น | |
วางจำหน่าย | 18 ธันวาคม 2530
|
แนว | เล่นตามบทบาท |
รูปแบบ | ผู้เล่นคนเดียว |
ไฟนอลแฟนตาซี (อังกฤษ: Final Fantasy ญี่ปุ่น: ファイナルファンタジー; โรมาจิ: 'Fainaru Fantajī') เป็นวิดีโอเกมแนวเล่นตามบทบาท พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยสแควร์ เป็นเกมแรกในชุดเกม ไฟนอลแฟนตาซี ของสแควร์ ซึ่งสร้างโดยฮิโรโนบุ ซากากุจิ[4] เดิมทีตัวเกมเปิดตัวสำหรับเครื่องแฟมิคอม ไฟนอลแฟนตาซี ถูกทำใหม่สำหรับคอนโซลวิดีโอเกมหลายเครื่องและมักจะแถมเกม ไฟนอลแฟนตาซี II ในคอลเล็กชันวิดีโอเกม เรื่องราวของ ไฟนอลแฟนตาซี ภาคแรกจะเล่าเกี่ยวกับหนุ่มสาวสี่คนที่เรียกว่าไลท์วอริเออร์ ซึ่งแต่ละคนมีคริสตัลธาตุสี่ธาตุในโลกของพวกเขาซึ่งถูกทำให้มืดโดย Elemental Fiends ทั้งสี่ พวกเขาร่วมกันค้นหาเพื่อเอาชนะกองกำลังชั่วร้ายเหล่านี้ ฟื้นฟูแสงสว่างให้กับคริสตัล และกอบกู้โลกของพวกเขา
ไฟนอลแฟนตาซี เดิมถูกสร้างขึ้นภายใต้ชื่อระหว่างพัฒนาว่า ไฟต์ติ้งแฟนตาซี แต่มีปัญหาด้านเครื่องหมายการค้าและสถานการณ์เลวร้ายรอบสแควร์ และ ซากากุจิเองได้แจ้งให้เปลี่ยนชื่อ ตัวเกมประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์อย่างมาก ได้รับเสียงวิจารณ์ในเชิงบวก และสร้างภาคต่อและภาคเสริมที่ประสบความสำเร็จมากมายในรูปแบบของชุดเกม ไฟนอลแฟนตาซี เกมต้นฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเกมเล่นตามบทบาทที่มีอิทธิพลและประสบความสำเร็จมากที่สุดในแฟมิคอม โดยมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกมประเภทนี้เป็นที่นิยม นักวิจารณ์ยกย่องกราฟิกของเกม และวิจารณ์โดยมุ่งเป้าไปที่เวลาที่ใช้ในการค้นหาการเผชิญหน้าการต่อสู้แบบสุ่มเพื่อเพิ่มระดับประสบการณ์ของผู้เล่น ภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 ไฟนอลแฟนตาซี ทุกเวอร์ชันมียอดขายรวม 2 ล้านชุดทั่วโลก
รูปแบบการเล่น
[แก้]ไฟนอลแฟนตาซี มีระบบพื้นฐานหลัก ๆ ของเกมสวมบทบาทแบบดั้งเดิม ซึ่งประกอบด้วยแผนที่โลก, ดันเจี้ยน, ต่อสู้, นำเงินไปซื้อเวทมนตร์ อาวุธและเครื่องป้องกัน การต่อสู้จะผลัดกันโจมตีคนละหนึ่งตากับทางศัตรู โดยในเกมเราจะต้องรับบทเป็น 4 นักรบแห่งแสง ซึ่งภาคนี้เป็นเพียงภาคเดียวในชุดเกม ไฟนอลแฟนตาซี ที่ตัวหลักไม่มีชื่อแน่นอน โดยผู้เล่นจะเป็นคนกำหนดชื่อและอาชีพให้กับตัวละครเอง ซึ่งแต่ละอาชีพก็มีความถนัด ข้อดี ข้อด้อย รวมถึงอาวุธ เครื่องป้องกัน ความสามารถก็แตกต่างกันไป การเดินทางในแผนที่โลกจะต้องใช้ยานพาหนะต่าง ๆ กันตามสถานที่ เช่น ใช้เรือแคนูในการข้ามคลอง เรือเดินทะเลในการเดินทางข้ามทวีป และเรือเหาะที่สามารถบินไปได้ทั่วโลก[5]
เนื้อเรื่อง
[แก้]2000 ปีที่แสนยาวนาน ก่อนหน้ายุคปัจจุบัน... ปีศาจร้ายทั้ง 4 ได้ทำพันธสัญญากับอัศวินหนุ่มนาม การ์แลนด์ เพื่อมุ่งสู่การมีชีวิตอันยืนยงชั่วนิรันดร์ อัศวินหนุ่มผู้เก่งกาจคนนั้น ได้รับพลังที่เกินหยั่งถึง และเกิดใหม่ ในร่างของสิ่งมีชีวิตที่เปี่ยมไปด้วยพลังแห่งด้านมืด...ชื่อของมันคือ "เคย์ออส"
...และแล้ว เวลาก็ล่วงเลยไปถึง 2000 ปี เหล่าปีศาจร้ายทั้ง 4 ก็ได้ปรากฏตัวขึ้น คริสตัลทั้ง 4 ที่ควบคุมสมดุลของโลก...ทั้ง ดิน ไฟ น้ำ ลม ต่างก็สูญเสียประกายแสงไปสิ้น "ลิซ" โครงกระดูกผู้ฆ่าไม่ตาย ปรากฏตัวขึ้นที่ถ้ำลึกใต้ผิวโลก และทำให้ผืนดินแห้งกรัง ไร้ซึ่งพืชผล "มาลิลิธ" สตรีหกแขนที่ครึ่งร่างเป็นงูยักษ์ ปรากฏตัวขึ้นที่ใจกลางภูเขาไฟอันร้อนระอุ และทำให้เปลวเพลิงโหมกระหน่ำ ไร้การควบคุม "คราเคน" ปลาหมึกยักษ์น่าเกลียดน่ากลัว ปรากฏตัวขึ้นที่วิหารใต้บาดาล และทำให้ผืนน้ำแห้งผาก ทะเลคลุ้มคลั่ง "เทียแมท" มังกรหกหัวน่าเกรงขาม ปรากฏตัวขึ้นบนปราสาทลอยฟ้า มรดกของชนเผ่าที่ดับสูญ และทำให้สายลมบิดพลิ้ว บ้าระห่ำ จากนั้น โลกก็ดำดิ่งไปสู่ความมืดมิด...
ผู้คนทั่วทั้งโลก ต่างฝากความหวังไว้กับคำทำนายสั้นๆที่ถ่ายทอดปากต่อปากว่า "เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ความมืด ผู้กล้าทั้ง 4 จะนำแสงสว่างกลับคืนมา" และแล้วในที่สุด ก็ได้มีนักรบ 4 คน ปรากฏกายขึ้นที่อาณาจักรโคเนเรีย พร้อมกับชิ้นส่วนของคริสตัลที่ไร้ประกายทั้ง 4 ประคองแน่นไว้ในมือ
เหล่านักรบทั้งสี่ได้ออกเดินทางไปทั่วโลก ได้เผชิญกับอุปสรรคต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนำตัวเจ้าหญิงเซร่าคืนมาจากนักรบกาแลนด์ยอดองครักษ์ที่เกิดเสียสติลักพาตัวเจ้าหญิงหนีไป ปราบโจรสลัด นำมงกุฏ บุกถ้ำลึกค้นหามงกุฎมาคืนแก่ราชาไร้บัลลังก์ นำดวงตามาคืนแก่แม่มดผู้สูญเสียแสงสว่าง นำน้ำยาไปปลุกเจ้าชายเอลฟ์ที่หลับใหล ผ่านการทดสอบของราชามังกร "บาฮามุต" กำจัดเหล่าปิศาจร้ายทั้ง 4 เติมเต็มแสงสว่างให้คริสตัล นำสมดุลคืนสู่โลก
แต่แล้วในที่สุดพวกเขาก็พบกับความจริงที่มองข้ามไป ในภารกิจแรกที่เขาได้กำจัดยอดนักรบกาแลนด์ไปนั้น ไม่มีใครรู้ว่านั่นคือจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง ในขณะที่กาแลนด์พ่ายแพ้และกำลังจะจบชีวิตลงนั้นเอง เขาได้ทำพันธสัญญากับปิศาจทั้งสี่เรียบร้อยแล้ว และได้ถูกดึงไปยังอดีตเมื่อ 2,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของราชาแห่งความมืด "เคย์ออส"
เมื่อได้รับรู้ดังนั้น นักรบทั้งสี่จึงต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง ด้วยพลังแห่งคริสตัลได้นำพวกเขากลับไปยังโลกอดีตเมื่อ 2,000 ปีก่อน ที่นั่นพวกเขาได้ขัดขวางไม่ให้ปิศาจทั้ง 4 เดินทางข้ามเวลาไปสู่ยุคปัจจุบัน และรวมพลังกันปราบเคย์ออสได้สำเร็จ และในที่สุด ความสงบสุขที่แท้จริงก็กลับคืนสู่โลกอีกครั้ง...
การวางจำหน่ายซ้ำ
[แก้]ไฟนอลแฟนตาซี ได้รับการปรับปรุงใหม่หลายครั้งสำหรับแพลตฟอร์มต่าง ๆ และมักจะจำหน่ายคู่กันกับเกม ไฟนอลแฟนตาซี II ในคอลเล็กชันต่าง ๆ[6] ในขณะที่การรีเมคทั้งหมดเหล่านี้ยังคงเรื่องราวพื้นฐานและกลไกการต่อสู้เหมือนเดิม การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงกราฟิก เสียง และองค์ประกอบเฉพาะของเกม
ชื่อ | วางจำหน่าย | ประเทศ | แพลตฟอร์ม | ผู้พัฒนา | ผู้จัดจำหน่าย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
ไฟนอลแฟนตาซี | 2530 2533 |
ญี่ปุ่น สหรัฐ |
แฟมิคอม/นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม | สแควร์ | สแควร์ นินเท็นโด (แฟมิคอม) |
เวอร์ชันดั้งเดิม ข้อจำกัดทางเทคนิคและนโยบายการเซ็นเซอร์ของนินเท็นโดออฟอเมริกา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในองค์ประกอบบางอย่างของเวอร์ชันอเมริกา[7][8] |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2532 | ญี่ปุ่น | เอ็มเอสเอกซ์ 2 | สแควร์ | Microcabin | อัปเกรดกราฟิกเล็กน้อย ขยายเพลงและเอฟเฟกต์เสียง และเวลาในการโหลดน้อยลง |
ไฟนอลแฟนตาซี I・II | 2537 | ญี่ปุ่น | แฟมิคอม | สแควร์ | สแควร์ | "อัปเดตกราฟิกเล็กน้อย" |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2543 | ญี่ปุ่น | พอนเดอร์สวอนคัลเลอร์ | สแควร์ | สแควร์ | ภาพพื้นหลังในฉากต่อสู้ สไปรท์ที่วาดใหม่ และคล้ายคลึงกันกับเกมถัดต่อกันมา |
ไฟนอลแฟนตาซีออริจินส์ | 2545 2546 2546 |
ญี่ปุ่น สหรัฐ ยุโรป |
เพลย์สเตชัน | Tose | สแควร์ | กราฟิกใหม่ที่มีรายละเอียดมากขึ้น เพลงประกอบที่รีมิกซ์ วิดีโอภาพเคลื่อนไหวแบบเต็ม แกลอรีงานศิลป์ และฟังก์ชันบันทึก |
ไฟนอลแฟนตาซี I & II: ดอว์นออฟโซล | 2547 | ญี่ปุ่น สหรัฐ ยุโรป |
เกมบอยอัดวานซ์ | Tose | นินเท็นโด | ดันเจี้ยนเพิ่มเติมสี่แห่ง อัปเดต Bestiary และเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2547 | ญี่ปุ่น สหรัฐ ยุโรป |
โทรศัพท์มือถือ | สแควร์เอนิกซ์ บันไดนัมโคเกม |
||
ไฟนอลแฟนตาซี | 2550 2550 2551 |
ญี่ปุ่น สหรัฐ ยุโรป |
เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล | Tose | สแควร์เอนิกซ์ | กราฟิก 2 มิติความละเอียดสูง ลำดับวิดีโอภาพเคลื่อนไหวแบบเต็ม เพลงประกอบแบบรีมิกซ์ โบนัสดันเจี้ยน และสคริปต์จาก ดอว์นออฟโซล |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2552 2552 2553 |
ญี่ปุ่น สหรัฐ ยุโรป |
วี เวอร์ชวลคอนโซล | สแควร์เอนิกซ์ | เวอร์ชวลคอนโซลเวอร์ชันดั้งเดิมของแฟมิคอม | |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2552 2552 |
ญี่ปุ่น สหรัฐ |
เพลย์สเตชัน สโตร์ พีเอสวัน คลาสสิค | สแควร์ | วางจำหน่ายเวอร์ชันเพลย์สเตชันเป็นพีเอสวัน คลาสสิค | |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2553 | ทั่วโลก | ไอโอเอส | สแควร์เอนิกซ์ | สแควร์เอนิกซ์ | อิงจากเวอร์ชันเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2554 | ญี่ปุ่น ยุโรป |
เพลย์สเตชัน สโตร์ เกมเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิลที่สามารถดาวน์โหลดได้ | สแควร์เอนิกซ์ | เวอร์ชันเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล วางจำหน่ายเป็นเกมเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิลที่สามารถดาวน์โหลดได้ | |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2555 | ทั่วโลก | วินโดวส์โฟน | สแควร์เอนิกซ์ | อิงจากเวอร์ชันไอโอเอส | |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2555 | ทั่วโลก | แอนดรอยด์ | สแควร์เอนิกซ์ | สแควร์เอนิกซ์ | อิงจากเวอร์ชันไอโอเอส แต่ไม่มีดันเจี้ยนโบนัส Bestiary และเครื่องเล่นเพลง |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2556 | ญี่ปุ่น | นินเท็นโด 3ดีเอส เวอร์ชวลคอนโซล | สแควร์ | สแควร์เอนิกซ์ | เวอร์ชวลคอนโซลเวอร์ชันดั้งเดิมของแฟมิคอม |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2556 | ญี่ปุ่น | วียู เวอร์ชวลคอนโซล | สแควร์ | สแควร์เอนิกซ์ | เวอร์ชวลคอนโซลเวอร์ชันดั้งเดิมของแฟมิคอม |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2558 | ญี่ปุ่น | นินเท็นโด อีซ๊อป | สแควร์เอนิกซ์ | สแควร์เอนิกซ์ | อิงจากเวอร์ชันเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล พร้อมกราฟิกสเตอริโอสโคปิกสามมิติที่อัปเดต[9] |
ไฟนอลแฟนตาซี I & II อัดวานซ์ | 2559 | ญี่ปุ่น | วียู เวอร์ชวลคอนโซล | สแควร์ | สแควร์เอนิกซ์ | เวอร์ชวลคอนโซลเวอร์ชันดั้งเดิมของเกมบอยอัดวานซ์ |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2559 | สหรัฐ ยุโรป |
เอ็นอีเอสคลาสสิกคอลเลคชัน | สแควร์ | สแควร์เอนิกซ์ นินเท็นโด |
จำลองเวอร์ชันดั้งเดิมเป็นเกมที่สร้างขึ้นสำหรับระบบ |
ไฟนอลแฟนตาซี | 2564
2566 |
ทั่วโลก | ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ สตีม ไอโอเอส แอนดรอยด์ |
สแควร์เอนิกซ์ | สแควร์เอนิกซ์ | รีมาสเตอร์ 2 มิติจากเกมต้นฉบับ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "NES Games" (PDF). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 21, 2010. สืบค้นเมื่อ September 24, 2011.
- ↑ "Final Fantasy VII: In the Beginning...". Electronic Gaming Monthly. No. 93. Ziff Davis. April 1997. p. 72.
- ↑ Diaz, Ana (June 30, 2021). "Final Fantasy Pixel Remaster's first three games come to PC and mobile in July". Polygon. สืบค้นเมื่อ June 30, 2021.
- ↑ "Interview with Hironobu Sakaguchi". Shūkan Famitsu. ASCII Corporation. 1998-06-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-06. สืบค้นเมื่อ 2011-02-06.
- ↑ Final Fantasy Explorer's Handbook (instruction manual). Square. 1989. NES-FF-USA.
- ↑ "Final Fantasy Retrospective: Part I". GameTrailers. July 15, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2015. สืบค้นเมื่อ October 16, 2008.
- ↑ "Final Fantasy One". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2015. สืบค้นเมื่อ January 3, 2015.
- ↑ "Final Fantasy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2015. สืบค้นเมื่อ January 3, 2015.
- ↑ "Final Fantasy 1 Coming To Nintendo 3DS eShop With 3D Support". Siliconera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 19, 2014. สืบค้นเมื่อ September 17, 2014.