ไวรัสซิกา
ไวรัสซิกา | |
---|---|
Aedes aegypti (ยุงลายบ้าน) เป็นพาหะส่งผ่านไวรัสซิกา | |
การจำแนกชนิดไวรัส | |
Group: | Group IV ((+)ssRNA) |
วงศ์: | Flaviviridae |
สกุล: | Flavivirus |
สปีชีส์: | Zika virus |
ไข้ซิกา | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | A92.8 |
ไวรัสซิกา (อังกฤษ: Zika virus; ZIKV) เป็นไวรัสในสกุลเฟลวิวิริเด่ (Flaviviridae) วงศ์เฟลวิไวรัส (Flavivirus) โดยผ่านจากยุงลาย (Aedes) อาทิเช่น ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และ ยุงลายสวน (Aedes albopictus) โดยตั้งชื่อโรคมาจากป่าซิกาใน ประเทศยูกันดา ซึ่งเป็นที่แพร่โรคซิก้าเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1947[1]
สำหรับผู้ติดเชื้อซิก้า เป็นที่รู้จักในชื่อว่า ไข้ซิกา (Zika Fever) ในผู้ติดเชื้อซิกามักจะไม่มีอาการแสดงหรือมีอาการไม่รุนแรง ซึ่งนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ทราบว่าเกิดเชื้อในเส้นศูนย์สูตรแคบ ๆ ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงทวีปเอเชีย , ปี 2014 ไวรัสซิก้าได้แพร่กระจาย ไปทางทิศตะวันออก สู่มหาสมุทรแปซิฟิก ไปยัง เฟรนช์โปลินีเซีย จากนั้นแพร่กระจายไปที่ เกาะอีสเตอร์ และในปี 2015 แพร่กระจายไปยังแม็กซิโก , อเมริกากลาง , แคริบเบียน และอเมริกาใต้ โดยเปนที่ระบาดของไวรัสซิก้าที่แพร่กระจายไปทั่วในปัจจุบัน[2]
อาการทางคลินิก
[แก้]ความเจ็บป่วยนี้คล้ายไข้เด็งกีแบบอ่อน[3] รักษาโดยการพักผ่อน[4] และไม่สามารถใช้ยาหรือวัคซีนป้องกัน[4] โรคซิกาสัมพันธ์กับไข้เหลืองและไข้ไนล์ตะวันตก ซึ่งเกิดจากฟลาวิไวรัสจากสัตว์ขาปล้องอื่น[3] ปัจจุบันคาดว่าความเชื่อมโยงระหว่างภาวะหัวเล็กเกิดในทารกแรกเกิดของแม่ที่ติดเชื้อมีความเป็นไปได้[5][6]
การแพร่ระบาด
[แก้]ในเดือนมกราคม 2559 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC) ออกคำแนะนำท่องเที่ยวในประเทศที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งร่วมการใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นและพิจารณาเลื่อนการเดินทาง และแนวทางสำหรับสตรีตั้งครรภ์[7][8] ไม่ช้ารัฐบาลหรือหน่วยงานสุขภาพอื่นก็ออกคำเตือนท่องเที่ยวคล้ายกัน[9][10][11][12] ส่วนประเทศอย่างโคลอมเบีย เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ และจาเมกา แนะนำหญิงให้เลื่อนการตั้งครรภ์จนกว่าจะทราบความเสี่ยงมากขึ้น[10][13]
20 มกราคม 2559 ชายไทยวัย 24 ปีที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศมีการติดเชิ้อไวรัส[14]
วิทยาbromine
[แก้]ไวรัสซิกาอยู่ในสกุลเฟลวิวิริเด่ (Flaviviridae) และวงศ์เฟลวิไวรัส (Flavivirus) ดังนั้นจึงมีความเชื่อมโยงกับไวรัสที่ทำให้เกิดไข้เด็งกี ไข้เหลือง ไข้สมองอักเสบ และ ไข้ไนล์ตะวันตก เช่นเดียวกับไวรัสอื่นๆในในวงศ์เฟลวิไวรัส ไวรัสซิกานั้นถูกห่อหุ้ม มีทรงยี่สิบหน้า และยังมีกลุ่มยีนเป็นอาร์เอ็นเอสายเดี่ยวแบบบวก ไวรัสนี้เกี่ยวข้องกับไวรัสสปอนด์เวนี และเป็นหนึ่งในสองไวรัสในเครือบรรพบุรุษของไวรัสสปอนด์เวนี[15][16]
กลุ่มยีนอาร์เอ็นเอแบบบวกสามารถถูกแปลโดยตรงไปเป็นโปรตีนไวรัส ไวรัสในวงศ์เฟลวิไวรัส เช่นไวรัสไข้ไนล์ตะวันตกซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน กลุ่มยีนอาร์เอ็นเอเข้ารหัสโปรตีนโครงสร้าง 3 แบบ และโปรตีนที่ไม่ใช่โครงสร้าง 7 แบบ โปรตีนโครงสร้างเป็นตัวห่อหุ้มไวรัส อาร์เอ็นเอที่ถูกทำสำเนาถูกยึดไว้ในนิวคลีโอแคพซิด สร้างจากบล็อคโปรตีนขนาด 12-kDa แคพซิดนั้นอยู่ในเยื้อหุ้มที่มาจากโฮสท์ซึ่งถูกปรับแต่งด้วยไกลโคโปรตีนไวรัสสองแบบ การแบ่งตัวของกลุ่มยีนไวรัสนั้นเริ่มจากการสร้างเส้นนิวคลีโอไทด์[ต้องการอ้างอิง]
ไวรัสซิกามีอยู่ด้วยกันสองสายพันธุ์ สายพันธุ์แอฟริกา และสายพันธุ์เอเชีย[17] การศึกษาวัฒนาการชี้ว่าไวรัสที่กำลังแพร่กระจายในสหรัฐอเมริกานั้นใกล้เคียงกับเชื้อสายเอเชียมากซึ่งเคยระบาดที่เฟรนช์โปลินีเซียใน พ.ศ. 2556–2557[17][18] ลำดับกลุ่มยีนโดยสมบูรณ์ของไวรัสซิกาได้ถูกเผยแพร่แล้ว[19] ไวรัสซิกาในซีกโลกตะวันตกถูกพบว่าเหมือนกับสายพันธุ์แอฟริกาถึง 89% แต่ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ที่พบในเฟรนช์โปลินีเซียช่วง พ.ศ. 2556 - 2557 มากที่สุด[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ATCC Product Sheet Zika virus (ATCC® VR84TM) Original Source: Blood from experimental forest sentinel rhesus monkey, Uganda, 1947". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-03. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
- ↑ McKenna, Maryn (13 January 2016). "Zika Virus: A New Threat and a New Kind of Pandemic". Germination. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
- ↑ 3.0 3.1 "Zika virus infection". ecdc.europa.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-22. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
- ↑ 4.0 4.1 "Symptoms, Diagnosis, & Treatment". Zika Virus. DVBD, NCEZID, Centers for Disease Control and Prevention.
- ↑ Oliveira Melo, A. S.; Malinger, G.; Ximenes, R.; Szejnfeld, P. O.; Alves Sampaio, S.; Bispo de Filippis, A. M. (1 January 2016). "Zika virus intrauterine infection causes fetal brain abnormality and microcephaly: tip of the iceberg?". Ultrasound in Obstetrics & Gynecology (ภาษาอังกฤษ). 47 (1): 6–7. doi:10.1002/uog.15831. ISSN 1469-0705.
- ↑ "Epidemiological update: Outbreaks of Zika virus and complications potentially linked to the Zika virus infection". European Centre for Disease Prevention and Control. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
- ↑ "Zika Virus in the Caribbean". Travelers' Health: Travel Notices. Centers for Disease Control and Prevention. 15 January 2016.
- ↑ Petersen, Emily E.; Staples, J. Erin; Meaney-Delman, Dana; Fischer, Marc; Ellington, Sascha R.; Callaghan, William M.; Jamieson, Denise J. "Interim Guidelines for Pregnant Women During a Zika Virus Outbreak — United States, 2016". Morbidity and Mortality Weekly Report. 65 (2): 30–33. doi:10.15585/mmwr.mm6502e1.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อITV-2016-01-22a
- ↑ 10.0 10.1 "Pregnant Irish women warned over Zika virus in central and South America". RTE. 2016-01-22. สืบค้นเมื่อ 2016-01-23.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ3News-NZ-2016-01-22a
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBBC-2016-01-24a
- ↑ ฦ"Zika virus triggers pregnancy delay calls". BBC. 23 January 2016. สืบค้นเมื่อ 23 January 2016.
- ↑ www.thairath.co.th/content/566292
- ↑ Knipe, David M.; Howley, Peter M. (2007). Fields' Virology (5th ed.). Lippincott Williams & Wilkins. pp. 1156, 1199. ISBN 978-0-7817-6060-7.
- ↑ Faye, Oumar; Freire, Caio C. M.; Iamarino, Atila; Faye, Ousmane; de Oliveira, Juliana Velasco C.; Diallo, Mawlouth; Zanotto, Paolo M. A.; Sall, Amadou Alpha; Bird, Brian (9 January 2014). "Molecular Evolution of Zika Virus during Its Emergence in the 20th Century". PLoS Neglected Tropical Diseases. 8 (1): e2636. doi:10.1371/journal.pntd.0002636. PMC 3888466. PMID 24421913.
- ↑ 17.0 17.1 Enfissi, Antoine; Codrington, John; Roosblad, Jimmy; Kazanji, Mirdad; Rousset, Dominique (16 January 2016). "Zika virus genome from the Americas". Lancet. 387 (10015): 227–8. doi:10.1016/S0140-6736(16)00003-9. PMID 26775124.
- ↑ Zanluca, C.; de Melo, V. C.; Mosimann, A. L.; Dos Santos, G. I.; Dos Santos, C. N.; Luz, K. (June 2015). "First report of autochthonous transmission of Zika virus in Brazil". Memorias do Instituto Oswaldo Cruz. 110 (4): 569–72. doi:10.1590/0074-02760150192. PMC 4501423. PMID 26061233.
- ↑ Kuno, G.; lChang, G.-J. J. (1 January 2007). "Full-length sequencing and genomic characterization of Bagaza, Kedougou, and Zika viruses". Archives of Virology. 152 (4): 687–696. doi:10.1007/s00705-006-0903-z. PMID 17195954.
- ↑ Lanciotti, Robert S.; Lambert, Amy J.; Holodniy, Mark; Saavedra, Sonia; Signor, Leticia del Carmen Castillo (2016). "Phylogeny of Zika Virus in Western Hemisphere, 2015". Emerging Infectious Diseases. 22 (5). doi:10.3201/eid2205.160065. สืบค้นเมื่อ 25 February 2016.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Zika Virus". Division of Vector-Borne Diseases (DVBD), National Center for Emerging and Zoonotic Infectious Diseases (NCEZID). Centers for Disease Control and Prevention. 19 January 2016.