หอศิลป์ร่วมสมัยเตหะราน
موزه هنرهای معاصر تهران | |
ก่อตั้ง | 2520 |
---|---|
ที่ตั้ง | สวนสาธารณะลาเลฮ์ เตหะราน ประเทศอิหร่าน |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 35°42′40″N 51°23′25″E / 35.7112°N 51.3904°E |
ประเภท | หอศิลป์ |
ผู้อำนวยการ | มาจิด โมลา-เนาโรซี (Majid Mola-Nourozi) |
เว็บไซต์ | www |
หอศิลป์ร่วมสมัยเตหะราน (เปอร์เซีย: موزه هنرهای معاصر تهران; อังกฤษ: Tehran Museum of Contemporary Art; ชื่อย่อ: TMoCA) เป็นหอศิลป์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศอิหร่าน ภายในมีผลงานศิลปะจากนานาชาติช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 กว่า 3,000 ชิ้น ทั้งภาพพิมพ์, ภาพเขียน และประติมากรรมจากยุโรปและอเมริกา
หอศิลป์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 ตามพระราชเสาวนีย์ของจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี ก่อนเกิดการปฏิวัติอิหร่าน 1979 เพียงสองปี[1] ทั้งนี้หอศิลป์ร่วมสมัยเตหะรานถือเป็นแหล่งสะสมงานศิลป์ตะวันตกที่ทรงคุณค่านอกทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ[2]
ประวัติ
[แก้]หอศิลป์ร่วมสมัยเตหะรานได้รับการออกแบบโดยคัมราน ดีบา (Kamran Diba) สถาปนิกชาวอิหร่าน ถูกจ้างให้สร้าง ณ บริเวณที่ติดกับสวนสาธารณะลาเลฮ์ (Laleh Park) โดยออกแบบตามอย่างสถาปัตยกรรมเปอร์เซียโบราณ ครั้นเสร็จสมบูรณ์จึงเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี พ.ศ. 2522[3] โดยตัวอาคารเป็นศิลปะร่วมสมัยได้ตัวอย่างมาจากชั้นใต้ดินของพิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ (Solomon R. Guggenheim Museum) ในนิวยอร์ก[4]: 52 เบื้องต้นมีเดวิด กัลลอเวย์ (David Galloway) และดอนนา ชไตน์ (Donna Stein) เป็นภัณฑารักษ์ภายใต้พระบรมราชินูปถัมภ์ในจักรพรรดินีฟาราห์[5][6]
พื้นที่ส่วนใหญ่ของหอศิลป์อยู่ในชั้นใต้ดินเป็นทางเดินเป็นวงลงไปสู่ห้องต่าง ๆ ข้างล่าง ส่วนในสวนของพิพิธภัณฑ์จะมีประติมากรรมตะวันตกตั้งไว้ อันเป็นผลงานของมักซ์ แอนสท์ (Max Ernst), อัลแบร์โต จาโกเมตตี (Alberto Giacometti), เรอเน มากริต (René Magritte) และเฮนรี มัวร์ (Henry Moore)[4]: 52
หลังการปฏิวัติอิหร่าน 1979 ศิลปะตะวันตกทั้งหมดถูกเก็บไว้ในห้องนิรภัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 จึงได้จัดนิทรรศการศิลปะตะวันตกครั้งแรกหลังปฏิวัติ มีการจัดแสดงผลงานของฮอกนีย์ (Hockney), รอย ลิกเทนสไตน์ (Roy Lichtenstein), เราส์เชินแบร์ก (Rauschenberg) และแอนดี วอร์ฮอล (Andy Warhol)[4]: 54 แต่ด้วยความอนุรักษ์นิยมสุดโต่งของสังคมอิหร่าน ทำให้มีการจัดนิทรรศการสำหรับงานศิลป์ตะวันตกอย่างประปรายในแต่ละปีและส่วนใหญ่ไม่ถูกจัดแสดง[4]: 54 กล่าวกันว่าศิลปวัตถุสมัยใหม่ทั้งหมดในหอศิลป์นี้มีมูลค่าราว 2.5 พันล้านปอนด์สเตอร์ลิง[7]
ในอนาคตหอศิลป์ร่วมสมัยเตหะรานได้มีการวางแผนจัดนิทรรศการการท่องเที่ยวที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีในฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ. 2559 จะมีการจัดแสดงงานศิลปะกึ่งตะวันตกและอิหร่าน 60 ครั้งในสามเดือน ที่ยิ่งใหญ่กว่าแผนการจัดนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์และสวนประติมากรรมเฮิร์สฮอร์น (Hirshhorn Museum and Sculpture Garden) ในวอชิงตัน ดี.ซี. ปี พ.ศ. 2560[4]: 52 ซึ่งทางหอศิลป์เองก็คาดหวังว่ารายได้ดังกล่าวจะมากพอที่จะซื้องานศิลปะชิ้นใหม่ ๆ มาเพิ่มเติมหลังขาดการซื้อผลงานมากว่า 40 ปี[4]: 55
ผลงานของศิลปินที่จัดแสดง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Tehran Museum of Contemporary Art: The Crown Jewel, The Harpers Bazaar Arabia
- ↑ Iran Has Been Hiding One of the World’s Great Collections of Modern Art, Bloomberg
- ↑ Kaur, Raminder; Dave-Mukherji, Parul (2015). Arts and Aesthetics in a Globalizing World. Bloomsbury Publishing. p. 304. ISBN 9780857855473.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Waldman, Peter; Motevalli, Golnar (23 November 2015). "The Greatest Museum Never Known". Bloomberg Businessweek. pp. 50–55.
{{cite news}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ Dehghan, Saeed Kamali. “Former queen of Iran on assembling Tehran's art collection.” The Guardian. 1 August 2012: Print.
- ↑ Iran Keeps Picassos in basement. LA Times. Kim Murphy. 19 September 2007.
- ↑ http://www.guardian.co.uk/world/2007/oct/29/artnews.iran
- ↑ "Paul Gauguin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 6 October 2015.
- ↑ Olsen, Kelly (2012-05-02). "Jackson Pollock's Splashes of Paint From Iran". WSJ. สืบค้นเมื่อ 2015-09-27.
- ↑ "At Eternity's Gate", vggallery.com. Last Retrieved 19 October 2011.
- ↑ Kim Murphy (19 September 2007). "Picasso is hiding in Iran". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
- ↑ Alberto Giacometti, Standing Woman เก็บถาวร 2013-02-04 ที่ archive.today, tmoca.com.
- ↑ Alberto Giacometti, Walking Man 1 เก็บถาวร 2011-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, tmoca.com.
- ↑ Max Ernst, Capricorn เก็บถาวร 2011-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, tmoca.com.
- ↑ "Masterpiece Basement". The New York Times. 2007-12-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2013. สืบค้นเมื่อ 2022-06-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ Dehghan, Saeed Kamali (2012-08-01). "Tehran exhibition reveals city's hidden Warhol and Hockney treasures". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 2015-09-27.
- ↑ Henry Moore, Two–Pieces Reclining Figure เก็บถาวร 2011-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, tmoca.com.
- ↑ Henry Moore, Three–Pieces Reclining Figure เก็บถาวร 2011-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, tmoca.com.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-11. สืบค้นเมื่อ 2016-01-27.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-01-27.
- ↑ Parviz Tanavoli, Sanctified 1 เก็บถาวร 2011-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, tmoca.com.
- ↑ Union, Ajax (2012-08-05). "Exclusive: Secret Iranian Art Collection Features Work from Iconic Israeli Artist Yaacov Agam". Algemeiner.com. สืบค้นเมื่อ 2015-10-06.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2015-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หอศิลป์ร่วมสมัยเตหะราน