แจสเปอร์ จอนส์
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
แจสเปอร์ จอห์น (อังกฤษ : Jasper Johns) เป็นศิลปินในศิลปะป็อปอาร์ต (Pop Art) เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 ในเมืองออกัสตา (Augusta), รัฐจอร์เจีย (Georgia) เขาใช้ชีวิตในวัยเด็กของเขาในเมืองอาร์เลนเดล(Allendale), รัฐเซาท์แคโรไลนา (South Carolina) กับปู่ย่าตายายบิดาของเขาหลังจากที่พ่อแม่ของเขาแต่งงานแล้วแยกทางกัน จากนั้นเขาก็ใช้เวลากว่าปีอาศัยกับแม่ของเขาในเมืองโคลัมเบีย (Columbia), รัฐเซาท์แคโรไลนา (South Carolina) หลังจากนั้นเขาก็ใช้เวลาหลายปีอาศัยอยู่กับป้าของเขาในเมืองเลคเมอร์เลย์ (Lake Murley), รัฐเซาท์แคโรไลนา (South Carolina) เขาจบจากโรงเรียนมัธยมในซัมเตอร์ (Sumter), รัฐเซาท์แคโรไลนา (South Carolina) ที่เขาอาศัยอยู่กับแม่ของเขา
จอห์นส์เรียนที่มหาวิทยาลัยเซาท์แคโรไลนาตั้งแต่ ค.ศ. 1947-1948 รวมสามภาคการศึกษาจากนั้นเขาก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองนิวยอร์กและศึกษาในระยะเวลาสั้น ๆ ที่โรงเรียนออกแบบพาร์สันส์ในค.ศ. 1949-1952 ต่อมา1953 เขาเป็นทหารประจำการอยู่ในเซนได, ญี่ปุ่นในช่วงสงครามเกาหลี
ในฐานะหนุ่มวัยรุ่นจอห์นย้ายจากเมืองเล็กๆในรัฐเซาท์แคโรไลนา เพื่อศึกษาจิตรกรรมในนิวยอร์ก เมืองหลวงแห่งศิลปะ ณ เวลานั้นจอห์นดิ้นรนที่จะค้นหางานในสไตล์ของเขา และเขาก็ค่อนข้างจะหงุดหงิดกับผลงานที่อยู่ในช่วงแรกเริ่มของเขา และได้ทำลายไปเป็นส่วนมากในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามเขาก็ได้ค้นพบวิธีทางเกี่ยวกับงานศิลปะของงานจิตรกรรมธงชาติ และภาพที่ใช้เป็นสัญลักษณ์อื่นๆ
ปัจจุบันจอห์นอาศัยอยู่ในเมืองชารอน (Sharon), คอนเนคติคัต (Connecticut) และเกาะเซนท์มาติน (Saint Martin)
แนวคิดการสร้างผลงาน
[แก้]เขาคือศิลปินที่ในวัย 24 ปี เขาได้ค้นพบธีมงานของตนเอง ซึ่งผลงานก่อนหน้าเขาทำลายไป และจอห์นก็ดำเนินธีมนี้มาตลอดอาชีพของเขา และยังคงมีการใช้ธีมงานลักษณะนี้ในปัจจุบัน เขายังคงเชื่อมั่นในลักษณะความคิดแบบอย่าง เขาอ้างว่า “ทุกสิ่งไม่ได้มีคุณค่าในตัวเอง” จอห์นไม่ค่อยชอบงานร่างรูปภาพ จอห์นเริ่มบทบาทของศิลปินรุ่นใหม่ในวงการศิลปะของนิวยอร์กจากจินตภาพของสิ่งที่มีรูปแบบตายตัวและเป็นของพื้นๆ เช่น เป้ายิงปืน ตัวเลข และธงชาติอเมริกา ตัวเลข ตัวอักษร หรือแม้กระทั่งเฝือกที่ใช้ใส่แขนขา สิ่งที่เป็นไปได้สำหรับเขาคือ การขยายความและแปรสภาพให้สิ่งเหล้านี้เป็นตัวแทนของความหมายรูปของจิตรกรรม โดยการเลือกเอาสัญญะ (Sign) ที่มักจะเป็นที่เข้าใจว่าคือของบางอย่างซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานและอำนวยประโยชน์ทางด้านใช้สอยเท่านั้น
ทุกวันนี้งานศิลปะของเขาเป็นที่รู้จักไปทั่วทุกมุมโลก และจอห์นเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับศิลปินอื่นๆที่โด่งดังในศตวรรษนี้ เช่น ปีกาโซ เป็นต้น ในต่างประเทศผลงานลักษณะนี้ยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่สำหรับตัวเขาเองนั้น เขาเลือกที่จะทำให้ผลงานของเขามีความสันโดษเข้าถึงยากและเป็นปริศนาในขณะที่สื่อมวลชนผลงานของเขาด้วยความยินดี แต่กลับมีการตีพิมพ์งานของจอห์นน้อยมากนอกสหรัฐอเมริกา ซึ่งดูเป็นเรื่องที่ประหลาดมาก
ผลงานของจอห์นมักจะเป็นการนำสิ่งของง่ายๆในชีวิตประจำวันมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ นอกจากนี้ผลงานในช่วงแรกๆของเขานั้นสร้างสรรค์เสร็จในตอนที่เขามีอายุระหว่าง 25-30 ปี
จอห์นเป็นหนึ่งในศิลปินคนแรกๆที่ใช้วัตถุต่างๆ เป็นส่วนประกอบหนึ่งในภาพเขียน และเขายังได้รับอิทธิพลจากมาร์เชล ดูชองป์ (Marcel Duchamp) จอห์นต่างตากดูชองป์ ตรงที่เขาไม่ได้ใช้เพียงวัตถุนั้นๆ แต่เขาได้ผสมผสานงานเหล่านั้นเช้ากับภาพเขียนของเขา นอกจากนี้เขายังมีบทบาทสำคัญในกลุ่มกระแส Abstract Expressionism อีกด้วย
จอห์นใช้การป้ายสีแบบ Gesturalist ทิ้งร่องรอยฝีแปรงลงทั่วทั้งผิวหน้าของภาพ ดั่งเช่นการส่งเสียงซ้ำๆกันขอคำหนึ่งคำด้วยน้ำเสียงที่ชวนให้เกิดความรู้สึก และสร้างความขัดแย้งระหว่างความแบนที่เป็นจริงของวัตถุ กับลักษณะนูนต่ำที่ใช้เทคนิดจิตรกรรมขี้ผึ้งเหลวโบราณ Encaustic การเลือกเอาวัตถุสองมิติ ทำให้การมองโดยผิวเผินอาจเห็นได้ว่าไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากของจริง งานของจอห์นจึงนับว่าเป็นจิตรกรรมแบบอเมริกันที่ได้รวมเอาความเป็นทางการ และลักษณะนามธรรมที่คุ้นตาในสังคมอเมริกาเอาไว้ด้วยกันอันเป็นลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของป๊อปอาร์ท
การแสดงออกทางศิลปะของ จอห์นเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับที่ศิลปินในยุคก่อนมีต่อสิ่งที่เขามองว่าเป็น High Art ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันจนกลายเป็นคำนิยมและใช้เป็นมาตรฐานในการวัดคุณค่าทางศิลปะ การนำเอาวัตถุสำเร็จรูปจากสังคมบริโภคมาใช้เพื่อถ่ายทอดแนวความคิดที่ว่า "วัตถุทุกประเภทเป็นสิ่งที่นำมาใช้ได้สำหรับศิลปินแบบใหม่"ตามคำกล่าวของ Allan Kaprow
จอห์นได้เขียนไว้ในสมุดร่างกายของเขาไว้ว่า "Take an Object, Do something to it และ Do something else to it" ผลงานของจอห์นให้อิทธิพลต่อแฟรงค์สเตลลา (Frank Stella)และเคนเน็ธโนแลนด์ (Kenneth Noland) รวมทั้งจิตรกรรมคัลเลอร์ฟีลด์ (Colour Field Painting) และศิลปะมินินอล (Minimal Art)
มาร์เซลิน เพลย์เน็ต (Marcelin Playnet) ผู้ที่ติดตามศิลปะของอเมริกาอย่างใกล้ชิดมาหลายปี กล่าวว่า จอห์นแตกต่างจากศิลปินคนอื่นๆที่ร่วมสมัยกับเขาเอง ตรงที่เขาผสมผสานทุกสิ่งเข้าด้วยกันและอยู่เหนือศิลปะแอคเพรสชั่นนิสม์เชิงนามธรรม Abstract Expressionism เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่า จอห์นควรจัดอยู่ในกระบวนการขับเคลื่อนของ American Pop Art หรือไม่ แต่เขาก็ถูกจัดเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มศิลปะป๊อป อาร์ต (Pop Art)
ผลงานที่เป็นที่รู้จัก
[แก้]Flag 1955 จิตรกรรมขี้ผึ้งเหลว น้ำมัน และการปะติดบนผืนผ้าใบ 107.3x153.8 ซม. The Museum of Modern Art, New York
ธงชาติอเมริกาที่แสดงออกมาในแนวสองมิติ มองโดยผิวเผินอาจไม่ได้ต่างไปจากของจริง แต่ที่จอห์นทำให้เกิดขึ้นก็คือ การเสนอภาพลักษณ์ของธงชาติขึงตึงแบนเรียบ และตัดทุกสิ่งที่จะทำให้เกิดมิติลวงตาออกซึ่งก็คือรอยยับของผ้า มีการเพิ่มเติมสีสัน ดีไซน์ หรือปล่อยไว้เหมือนจริงด้วยกรรมวิธีของการวาดภาพแบบระบายปาดป้ายเต็มที่ ธงชาติอเมริกาที่โดดเด่นของจอห์นถูกแสดงให้ผู้คนมองศิลปะในวิถีใหม่อย่างไร ? ธงชาติอเมริกาคือความหมายที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ชีวิต และคุณค่าของผู้คน คือภาพสัญลักษณ์ซึ่งทุกๆคนจำได้ จอห์นสร้างงานที่น่าดึงดูดใจโดนสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์เสมอมา และนำมาใช้ในงานจิตรกรรม ธงชาติอเมริกาของจอห์นดูเหมือนจะธรรมดาเมื่อชำเลืองมองเป็นครั้งแรก แต่ถ้าลองมองใกล้ๆจะเห็นว่าจอห์นใช้วัสดุที่แตกต่างอย่างมากเพื่อสรรค์สร้างภาพของเขา อันดับแรกจอห์นติดกาวติดกาวเล็กน้อยในหนังสือพิมพ์และสิ่งอื่นบนผืนผ้าใบ ณ ตอนนั้นจอห์นประยุกต์การวาดรูปเหนือการปะติดของวัสดุที่สร้าง เทคนิคที่ผิดปกติของจอห์นนี้เองยิ่งทำให้งานของเขาดูลึกลับ เกือบจะขรุขระ การปรากฏทำให้ผู้คนสังเกตและยกย่องว่าศิลปินสร้างงานของเขาขึ้นมาอย่างไร
Target with plaster casts 1955 จิตรกรรมขี้ผึ้งเหลวและการปะติดบนผืนผ้าใบร่วมกันการหล่อปูนปลาสเตอร์ 129.5x111.7x9 ซม. ผลงานสะสมของ Leo Castelli
จอห์นได้เริ่มทำงานด้วยกรรมวิธีจิตรกรรมขี้ผึ้งเหลวและทำการหลอมปูนปลาสเตอร์ส่วนของศีรษะและส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อนของเขาใน ค.ศ. 1954 เทคนิคจิตรกรรมขี้ผึ้งเหลวนี้ไม่ค่อยถูกนำไปใช้รวมเม็ดสีและขี้ผึ้งร้อนแล้วทาบนพื้นผิว จอห์นต้องการจะปกปิดร่องรอยขั้นตอนในการวาดภาพโดยเขาจะใช้การวาดภาพโดยใช้ฝีแปรงและขึ้ผึ้ง เขามักจะนำหนังสือพิมพ์มาใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในงานของเขา ตั้งแต่ ค.ศ. 1955 เขาเริ่มทำผลงาน ธง ก่อนแล้วต่อมาเข้าก็ได้สร้างผลงานอื่นอีก แนวความคิดในการสร้างภาพของเขาก็จะตระหนักเสมอมาว่าภาพวาดเป็นสิ่งสำเร็จรูป (Ready Made) และมีอยู่ในชีวิตประจำวัน เขามักจะสร้างผลงานให้ดูแตกต่างหรือบิดเบือนไปจากความจริง จอห์นได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับขอบเขตระหว่างศิลปะกับความจริง สัญลักษณ์และสิ่งของที่ซึ่งถูกค้นพบในวัฒนธรรมเดียวกัน นอกเหนือจากผลงาน ธง ของเขาแล้ว ผลงานของเขามักจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ที่สากล ซึ่งสัญลักษณ์นี้เพ็งเล็งความสนใจของผู้ชมจากการวาดผ่านการมองเห็นด้วยสายตา ตั้งแต่นั้นมาเขาก็มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงานมากขึ้น การหล่อปูนปลาสเตอร์ส่วนต่างของร่างการเป็นจำนวนมากเป็นจุดมุ่งหมายหลักในการทำผลงานชิ้นนี้ ซึ่งมีการใช้สีหลายๆและตั้งอยู่ล่างกับบานพับไม้ และหลังจากที่เขาได้ลงสีรูปหล่อและบริเวณรอบข้างแล้ว สิ่งเหล่านี้ได้ทำให้เขานึกถึงการระบายสีน้ำบนกระป๋องที่เป็นสิ่งเชื่อมโยงให้เขาสร้างผลงานใน ค.ศ. 1960 เป็นเวลาต่อมา
Painted Bronze 1960 โลหะระบายสี 14x20.3x12.1 ซม. Oeffentliche Kunstsammlung Basel, Kunstmuseum
ระหว่าง ค.ศ. 1959 จอห์นได้สร้างสรรค์ชิ้นงานสำริดที่ผลิตขึ้นด้วยความพิถีพิถันจากวัตถุธรรมดาสามัญ เช่น ไฟฉาย และหลอดไฟ เริ่มด้วยงานค้นคว้าของเขาเกี่ยวกับวัตถุที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ โดยตั้งข้อสงสัยในเรื่องแนวคิดของความจริงในความสัมพันธ์ที่โยงไปสู่ตัวแทนของเขา ในปีถัดมาเขาประดิษฐ์กาแฟกระป๋องภายใต้ชื่อยี่ห้อ Sararin ซึ่งใช้ได้จริง พู่กันและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กระป๋องทั้งหมด จนกระทั่งถึงงานสำริดทั้งสองชิ้น การเลือกกระป๋องเบียร์ Baliantine ได้รับมาจากเรื่องราวเล็กๆน้อยๆของศิลปินที่ได้ฟัง William de Kooning บรรยายเกี่ยวกับความสามารถของ Leo Castelli ในการค้าขายอย่างแท้จริง แม้กระทั่งกระป๋องเบียร์ 2 กระป๋อง จอห์นยึดถือแนวคิดในงานกระป๋องทั้ง 2 ใบของเขา แม้ว่ามันจะมียี่ห้อและรายละเอียดการวาดที่เหมือนกัน แท้ที่จริงทั้งสองมีการออกแบบที่ต่างกัน กระป๋องด้านซ้ายคือรูปแบบของสมัยที่นิยมแบบเก่า ถูกเปิดโดยรูเล็กๆที่ผิวด้านบน (เห็นเหมือนรอยโดนเจาะ 2 รอย) ในขณะที่กระป๋องอีกใบหนึ่งคือรูปแบบใหม่ที่มาพร้อมกับฝาที่เปิด การพิจารณาถึงผลิตภัณฑ์ชั้นรองนี้พัฒนาโดยการอธิบายด้วยวิธีการที่แยบยล ที่ซึ่งจอห์นเขียนถึงความเหมือนกันทางโลกท่ามกลางความแตกต่างที่ดูไม่โดดเด่น
Three Flags,1958 จิตรกรรมขี้ผึ้งเหลวบนผืนผ้าใบ 76.5x116x12.7 ซม. Whitney Museum of American Art, New York
ธงที่มี3สีแดง ขาวและน้ำเงินซ้อนทับกันของจอห์น ซึ่งทำให้จุดที่เล็กที่สุดอยู่ใกล้คนดูที่สุด เป็นเทคนิดการกลับทัศนียภาพอย่างหนึ่ง รูปภาพลึก5นิ้วและมีคุณลักษณะเหมือนวัตถุ มันประกอบไปด้วยงานศิลปะต่างๆทีสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่2ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่ดูเหมือนว่าจะบุกรุกเข้าไปในที่ว่างในจิตใจของคนดูอย่างแท้จริง
Numbers in Color, 1958–59 จิตรกรรมขี้ผึ้งเหลวและการปะติดบนผืนผ้าใบ 170x126 ซม. Albright-Knox Art Gallery, Buffalo, New York
สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีคอลลาจและเอ็นคุสติก (กรรมวิธีจิตรกรรมขี้ผึ้งเหลว) จะเห็นตัวเลขเรียงรายกันเป็นแถว ลักษณะองค์ประกอบภาพเรขาคณิตแบบมองเดรียน และบางสิ่งบางอย่างที่ดูคล้ายหุ่นนิ่ง ทิวทัศน์ที่กระจัดกระจาย เป็นการสร้างสมดุลระหว่างความแปลกใหม่และเรื่องราวที่ซับซ้อน
Ventriloquist 1983 จิตรกรรมขี้ผึ้งเหลวบนผืนผ้าใบ 190.5x127 ซม. The Modern of Fine Art, Houston
ภาพจิตรกรรมของจอห์นชิ้นนี้ รวมเอาธงชาติอเมริกากับวัสดุธรรมดาอื่นๆ คือ ธงชาติ 2 ผืนตรงกลางซึ่งผิดสี แก้วและชามที่ดูเหมือนว่าจะลอยอยู่กลางอากาศ ซึ่งถามว่าทำไมศิลปินเลือกวาดภาพในวิธีการนี้ นั้นก็เพราะว่าหากเราสังเกตรูปร่างของปลาวาฬที่ประตู ซึ่งก็ให้ความหมายที่แสดงให้เห็นถึงปลาวาฬขนาดใหญ่จากนิยายของประเทศอเมริกา คือ เรื่อง Moby Dick
ลำดับเหตุการณ์ชีวิต
[แก้]ค.ศ. 1930 - เกิดที่เมือง ออกัสต้า รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 15 พฤษภาคม เป็นบุตรชายของ Jasper John และ jean riley john เขใช้ชีวิตในวัยเด็กหลังจากที่พ่อแม่แยกทางกันกับปู่ย่า ป้า และลุง ในเมืองอาเลนเดล (Allendale) รัฐเซาท์แคโรไลนา (South Carolina) เขาไปเรียนที่เมืองโคลัมเบีย (Columbia) และที่เมืองคอร์นเนอร์ (Cornner) ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นชุมชนเล็กๆในรัฐเซาท์แคโรไลนา (South Carolina) เขาสำเร็จการศึกษาจากสถาบันซัมเตอร์ (Sumter) ในรัฐเซาท์แคโรไลนา (South Carolina) ที่ซึ่งเขาอาศัยอยู่กับพ่อของเขา พ่อเลี้ยงและน้องสาวและน้องชายคนละพ่อ
ค.ศ. 1947-1948 - ศึกษามหาวิทยาลัยเซาท์แคโรไลนา South Carolina
ค.ศ. 1949 - ศึกษาที่โรงเรียนสอนศิลปะในนิวยอร์ก ได้รับทุนการศึกษา เขาได้ทำงานเป็นเสมียนและใช้เวลาสองปีในกองทัพ และไปประจำอยู่ที่ญี่ปุ่นจนถึงค.ศ. 1952
ค.ศ. 1952 - ทำงานอยู่ในร้านขายหนังสือมาร์โบโร (Marboro) ในวิทยาลัยฮันเตอร์ (Hunter) เป็นเวลาสองวัน
ค.ศ. 1955 - ผลงาน Flag ผืนแรก (สีขาว), ผลงาน Target และผลงานปูนปลาสเตอร์บนใบหน้าครั้งแรก รวมถึงผลงาน Numbers
ค.ศ. 1956-57 - วาดผลงาน Alphabets (สีเทา) ครั้งแรก และเริ่มต้นนำเอาวัตถุเข้าสู้ผลงานจิตรกรรมของเขาลงบนผืนผ้าใบ
- เขามีส่วนร่วมในโรงเรียนศิลปินนิวยอร์ก (New York School Artist) ซึ่งเป็นรุ่นต่อมาที่จัดนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์ Jewish
- ติดต่อกับ Leo Castelli และแขวนงานชิ้นหนึ่งของเขาในหอศิลป์
ค.ศ. 1958 - จัดนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกที่ Leo Castelli Gallery ด้วยงาน Flag Target และ Numbers
- ภาพวาดชิ้นหนึ่งของเขาถูกปรากฏอยู่บนปกของนิตยสารที่สำคัญของประเทศอเมริกา (Art New)
- อัลเฟรด บาร์ (Alfred Barr) ผู้อำนวยการแห่ง Museum of Modern Art in New York ซื้อผลงานบางชิ้นของเขา
- จอห์นเริ่มทำผลงานที่เป็นสามมิติด้วย เช่น ไฟฉาย และหลอดไฟ
- แสดงผลงานในศาลาประเทศอเมริกางาน Venice Bienale
ค.ศ. 1959 - พบมาร์เชล ดูชองป์ (Marcel Duchamp) และดูงานนิทรรศการของเขาที่พิพิธภัณฑ์ Philadelphia
ค.ศ. 1960 - ปีแห่ง ballantine ale และ Savarin Coffee ภาพพิมพ์ครั้งแรกที่ ULAE (Universal Limited Art Editions) ด้วยการเชิญชวนของทาเทียนนา กรอสแมน (Tatiana Grossman)
ค.ศ. 1961 - ผลงาน Maps ของประเทศอเมริกา ครั้งแรก
ค.ศ. 1962 - วาดภาพ Fool’s House
ค.ศ. 1963 - สร้างพื้นฐานของศิลปะสื่อการแสดงสดร่วมสมัย วาดผลงาน Diver และ Periscope
ค.ศ. 1964 - จัดผลงานย้อนหลังเดี่ยวที่พิพิธภัณฑ์ Jewish ด้วยรายบทความโดยจอห์น เคค (John Cage) และอลัน โซโลมอน (Alan Solomon)
- เที่ยวฮาวายและญี่ปุ่น
- วาด Watchman งาน Venice Biennale
- ผลงานย้อนหลังนิทรรศการที่ Whitechapel หอศิลป์ในกรุงลอนดอน
ค.ศ. 1965 - จัดนิทรรศการใน Pasadena โดย Walter Hopps
- ได้รางวัลที่งาน Bienale of Prints ใน Ljubljana ประเทศยูโกสลาเวีย
ค.ศ. 1966 - จัดงานนิทรรศการวาดภาพในวอชิงตัน
ค.ศ. 1967 - ชนะรางวัลการเข้าร่วมแข่งขันงาน Sao Paulo Biennale
ค.ศ. 1968 - ทำงานชุด Number และ Letter ภาพพิมพ์ที่ Gemini ใน Los Angeles
- งานพิมพ์ของเขาจะดำรงอยู่ตำแหน่งในชีวิตของเขาจนถึงค.ศ. 1970
ค.ศ. 1970 - จัดผลงานพิมพ์ย้อนหลังของเขา โดย Richard Field ที่พิพิธภัณฑ์ Philadelphia
ค.ศ. 1972 - Crosshatchings ปรากฏขึ้นเป็นเวลาแรกในขนาดใหญ่ จากงานจิตรกรรม Unititled
ค.ศ. 1973 - เจอ Samuel Beckett ในปารีส หนังสือของเขาจัดแสดงในค.ศ. 1975
- บันทึกราคารายจ่ายโดย Park Bernet เพื่อ Double White Map ซึ่งขายไปในงานประมูล 240.000 ดอลล่า
ค.ศ. 1974 - วาด Scent ด้วยความภักดีต่อ Pollock
ค.ศ. 1975 - แสดง Fizzles/Foirades โดย Samuel Beckett ที่ Crommelynck ทำงานในปารีส
- วาดภาพ The Dutch และ Weeping Women
ค.ศ. 1977 - จัดงานนิทรรศการย้อนหลังที่พิพิธภัณฑ์ Whitney ด้วยผลงานมากกว่าสองร้อยชิ้น
- งานนิทรรศการเดินทางแสดงที่ทวีปปและประเทศญี่ปุ่น
ค.ศ. 1978 - นิทรรศการสำคัญของงานพิมพ์โดย Richard Field ที่มหาวิทยาลัย Wesleyan
ค.ศ. 1979 - ทำงานนิทรรศการ Poof โดย Christian Geelhaar ปรากฏขึ้นครั้งแรกที่พิพิธภัณฑ์ Basle เดินทางตลอดทวีปยุโรป
ค.ศ. 1980 - พิพิธภัณฑ์ Whitney ซื้อผลงาน Tree Flag ราคา 1.000.000 ดอลลาร์
ค.ศ. 1981 - วาดผลงานระหว่าง The Clock and the Bed แรงบันดาลใจโดย Edvard Munch
ค.ศ. 1982 - ทำงานพิมพ์ใหม่ที่ ULAE
ค.ศ. 1985-86 - หลังจากที่เรียนรู้มาเยอะ เริ่มวาด The Four Seasons
ค.ศ. 1987 - Leo Castelli แสดงงาน The Four Seasons ในหอศิลป์ของเขาในทางตะวันตกของถนน Broadway
ค.ศ. 1988 - The Four Seasons ชนะรางวัลใหญ่ในงาน Venice Biennale
อ้างอิง
[แก้]- Georgian Encyclopedia.org, New Georgia Encyclopedia 16 January 2009.
- Jasper Johns (born 1930); The Metropolitan Museum of Art, New York.
- Brad Finger, 13 American Artists Children Should Know, (New York : Prestel, 2010)
- Betti-Sue Hertz. Jasper Johns' Green Angel: The Making of A Print Resource Library (San Diego Museum of Art) January 29, 2007
- Georges Boudaille, JASPER JOHNS, (London : Academy Editions, 1991)
- Rosenthal, Nan. "Jasper Johns (born 1930)". In Heilbrunn Timeline of Art History. New York: The Metropolitan Museum of Art, 2000–.
- Mark Francis, Pop, (London : Phaidon Press, 2010)
- ระพัฒน์ พิตรปรีชา, โลกศิลปะศตวรรษที่ 20, (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2545)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- http://www.jasperjohns.com/
- http://www.metmuseum.org/toah/hd/john/hd_john.htm
- http://www.theartstory.org/artist-johns-jasper.htm
- http://www.pbs.org/wnet/americanmasters/episodes/jasper-johns/about-the-painter/54/