ข้ามไปเนื้อหา

กระดูกแข้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระดูกแข้ง
(tibia)
บริเวณที่เกิดการสร้างกระดูกของกระดูกแข้ง มีศุนย์กลางอยู่ 3 บริเวณ
ตัวระบุ
MeSHD013977
TA98A02.5.06.001
TA21397
FMA24476
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

กระดูกแข้ง หรือ กระดูกทิเบีย (อังกฤษ: tibia) เป็นหนึ่งในสองกระดูกของขาท่อนล่างใต้เข่า มีขนาดใหญ่กว่ากระดูกน่อง พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง

ในมนุษย์

[แก้]

ในมนุษย์ กระดูกแข้งจะพบอยู่ด้านใกล้กลางและด้านหน้ามากกว่ากระดูกน่อง (fibula) เป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในร่างกายมนุษย์รองจากกระดูกต้นขา (femur) กระดูกแข้งเกิดข้อต่อด้านบนกับกระดูกต้นขาและกระดูกสะบ้า (patella) ด้านข้างกับกระดูกน่อง และด้านล่างกับกระดูกทาลัส (talus)

ความแตกต่างระหว่างเพศ

[แก้]

ในเพศชาย กระดูกแข้งจะวางตัวในแนวดิ่งขนานกับกระดูกแข้งอีกข้าง แต่ในเพศหญิง กระดูกจะวางตัวในแนวเฉียงเล็กน้อยไปทางด้านล่างและด้านข้างเพื่อชดเชยกับความเอียงของกระดูกต้นขา

โครงสร้าง

[แก้]

โครงสร้างของกระดูกแข้งเป็นรูปคล้ายปริซึม ส่วนบนกว้างเกิดข้อต่อเข่า ส่วนล่าง 1/3 (below third) คอดลง และกว้างขึ้นอีกครั้งแต่ไม่กว้างเท่าส่วนด้านบน

กระดูกแข้งเชื่อมติดกับกระดูกน่องโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของขา (interosseous membrane) เกิดเป็นข้อต่อชนิดแผ่นเยื่อคั่น (syndesmoses)

หลอดเลือดที่เลี้ยง

[แก้]

กระดูกแข้งได้รับเลือดแดงมาจาก 2 แหล่ง[1]

  1. หลอดเลือดแดงสารอาหาร (nutrient artery) เป็นแหล่งหลัก
  2. หลอดเลือดเยื่อหุ้มกระดูก (periosteal vessels) ซึ่งมาจากหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ทิเบียล (anterior tibial artery)

ภาพอื่นๆ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. NELSON G, KELLY P, PETERSON L, JANES J. "Blood supply of the human tibia". J Bone Joint Surg Am. 42-A: 625–36. PMID 13854090.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]