ฌูแซ รามุช-ออร์ตา
ฌูแซ รามุช-ออร์ตา | |
---|---|
รามุช-ออร์ตาใน ค.ศ. 2022 | |
ประธานาธิบดีติมอร์-เลสเต คนที่ 4 และ 7 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 | |
นายกรัฐมนตรี | ตาอูร์ มาตัน รูอัก ชานานา กุฌเมา |
ก่อนหน้า | ฟรังซิชกู กูแตรึช |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน 2008 – 20 พฤษภาคม 2012 | |
นายกรัฐมนตรี | ชานานา กุฌเมา |
ก่อนหน้า | ฟืร์นังดู ดือ อาราอูฌู (รักษาการ) |
ถัดไป | ตาอูร์ มาตัน รูอัก |
ดำรงตำแหน่ง 20 พฤษภาคม 2007 – 11 กุมภาพันธ์ 2008 | |
นายกรัฐมนตรี | อึชตานิฌเลา ดา ซิลวา ชานานา กุฌเมา |
ก่อนหน้า | ชานานา กุฌเมา |
ถัดไป | วีเซงตือ กูแตรึช (รักษาการ) |
นายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเตคนที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 26 มิถุนายน 2006 – 19 พฤษภาคม 2007 | |
ประธานาธิบดี | ชานานา กุฌเมา |
ก่อนหน้า | มารี อัลกาตีรี |
ถัดไป | อึชตานิฌเลา ดา ซิลวา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ฌูแซ มานูแอล รามุช-ออร์ตา 26 ธันวาคม ค.ศ. 1949 ดิลี ติมอร์ของโปรตุเกส (ปัจจุบันคือประเทศติมอร์-เลสเต) |
พรรคการเมือง | CNRT (2022–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | เฟรตีลิน (จนถึง ค.ศ. 1988) อิสระ (1988–2022) |
คู่สมรส | Ana Pessoa (หย่า) |
บุตร | 1 |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยแอนติออก The Hague Academy of International Law International Institute of Human Rights มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย |
ฌูแซ มานูแอล รามุช-ออร์ตา (โปรตุเกส: José Manuel Ramos-Horta; เกิดวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1949)[1][2] เป็นนัการเมืองชาวติมอร์-เลสเตที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีติมอร์-เลสเตตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 เขาเคยดำรงตำแหน่งนี้ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ก่อนหน้านั้นเขาเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศใน ค.ศ. 2002 ถึง 2006 และนายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเตใน ค.ศ. 2006 ถึง 2007 เขาเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1996 ร่วมกับการ์ลุช ฟีลีปึ ชีเมนึช เบลูจาก "การแก้ปัญหาความขัดแย้งในติมอร์ตะวันออกอย่างยุติธรรมและสันติ"
เนื่องจากรามุช-ออร์ตาเป็นผู้ก่อตั้งและอดีตสมาชิกเฟรตีลิน เขาเคยดำรงตำแหน่งโฆษกพลัดถิ่นแก่หน่วยต่อต้านติมอร์ตะวันออกในช่วงที่อินโดนีเซียยึดครอง (1975–1999) ในขณะที่รามุช-ออร์ตายังคงทำงานให้แก่เฟรตีลิน เขาลาออกจากพรรคใน ค.ศ. 1988 กลายเป็นนักการเมืองอิสระ[3]
หลังติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002 รามุช-ออร์ตาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศตนแรกของประเทศจนกระทั่งลาออกในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2006 ท่ามกลางวิกฤตทางการเมือง จากนั้นหลังนายกรัฐมนตรี มารี อัลกาตีรี ลาออกในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2006 ประธานาธิบดี ชานานา กุฌเมา จึงแต่งตั้งรามุช-ออร์ตาเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ สองสัปดาห์ต่อมาในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 เขาสาบานเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศ เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2007 จนถึง 2012
เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งใน ค.ศ. 2022
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]รามุช-ออร์ตาเกิดที่เมืองดิลีเมื่อ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1949 โดยเป็นลูกผสมระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวติมอร์ เขาได้เข้าร่วมกับสมาคมสังคมประชาธิปไตยชาวติมอร์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเฟรตีลิน เมื่อการลงประชามติเสร็จสิ้นลง เขากลับสู่ดิลีในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1999 และได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศหลังจากติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Nobel Peace Prize 1996 - José Ramos-Horta Facts". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2022. สืบค้นเมื่อ 23 April 2022.
- ↑ "José Ramos-Horta President East Timor club madrid member peace nobel". Club de Madrid (ภาษาสเปน). 22 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 23 April 2022.
- ↑ Lindsay Murdoch (10 July 2006). "Ramos Horta vows to rebuild Timor". The Age. Melbourne. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2017. สืบค้นเมื่อ 27 September 2006.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Nicol, Bill (2002). "Chapter Twelve: Horta: Profile of a Pragmatist". Timor: A Nation Reborn. Jakarta: Equinox Publishing. pp. 121–155. ISBN 979958986X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2023. สืบค้นเมื่อ 13 March 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ของรามุช-ออร์ตา
- ฌูแซ รามุช-ออร์ตา ที่ Nobelprize.org
- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน