ข้ามไปเนื้อหา

นาฬิกาช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาฬิกาช้างในเอกสารของ อิสมาอีล อัลญะซะรี (ค.ศ. 1206) จาก ตำราความรู้ของเครื่องกลอันปราดเปรื่อง[1]
นาฬิกาช้างที่สร้างขึ้นจริง จัดแสดงในอิบน์ บะฏูเฏาะฮ์มอล ดูไบ

นาฬิกาช้าง (อังกฤษ: elephant clock) เป็นสิ่งประดิษฐ์ยุคกลางโดย อิสมาอีล อัลญะซะรี (1136–1206) วิศวกรและนักประดิษฐ์นาฬิกาหลายชนิด

กลไกเวลาของนาฬิกานั้นมาจากแอ่งน้ำที่ซ่อนไว้ในตัวช้าง ในถังน้ำมีถ้วยลึกลอยอยู่ ซึ่งมีรูเล็ก ๆ อยู่ตรงกลาง โดยถ้วยนี้จะใช้เวลาครึ่งชั่วโมงพอดีในการที่น้ำจะเติมเช้าจนเต็ม ทันใดเมื่อถ้วยจมลงก็จะดึงเส้นเชือกที่ติดกับกลไกแบบม้าโยกในหอคอยบนเหนือช้าง ปล่อยให้ลูกบอลหล่นลงมาในปากของงู ทำให้งูล้มไปด้านหน้าและดึงถ้วยขึ้นมาจากน้ำโดยใช้เชือก ในขณะเดียวกัน ระบบเส้นเชือกจะทำให้หุ่นในหอคอยยกหัวขึ้นทางซ้ายหรือขวา ส่วนควาญช้างจะตีกลอง ซึ่งจะบอกว่าครบครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมง ถัดมา งูจะหักกลับไปที่เดิม และวนเวียนวงจรนี้ใหม่อีกครั้ง[2]

ในปัจจุบันมีการสร้างนาฬิกาช้างขึ้นจริงมากมายภายใต้องค์กร 1001 อินเวนชั่นส์ และนำไปจัดแสดงทั่วโลกตั้งแต่ปี 2006 ในปี 2010 ขณะที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ลอนดอน นักข่าวบีบีซี นิค ฮิงงัมเคยชื่นชมว่าสิ่งประดิษฐ์ยักษ์นี้ "อลังการ"[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ibn al-Razzaz Al-Jazari (ed. 1974), The Book of Knowledge of Ingenious Mechanical Devices. Translated and annotated by Donald Routledge Hill, Dordrecht/D. Reidel.
  2. Robinson, Andrew (2007), The Story of Measurement: From Cubits to Megabytes, Thames & Hudson, ISBN 978-0-500-51367-5
  3. "Science Museum exhibition of Muslim heritage". BBC News. 21 January 2010. สืบค้นเมื่อ 2 December 2014.
  4. "1001 Inventions: Discover the Muslim Heritage in Our World". Time Out London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-22. สืบค้นเมื่อ 2 December 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]